ลดโลกร้อน
พฤกษา ฉลองความสำเร็จในการดำเนินโครงการ “วนพลัส รีไซเคิล” ปี 2567 ที่ได้ร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะในชุมชน และสร้างความตระหนักรู้ในกลุ่มลูกบ้านของพฤกษา 31 โครงการ รวมกว่า 9,666 ครอบครัว ร่วมคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลตามมาตรฐาน นำโดย นายธีระ ทองวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) นางสาวจิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และนายชนัมภ์ ชวนิชย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด โดยในปีนี้ได้รวบรวมขยะรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ได้กว่า 2,302 กิโลกรัม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 8,204 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2e) เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 859 ต้น การดำเนินโครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพฤกษาและพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อม 5 องค์กร ได้แก่ บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด, บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไททัน อินโนเวชัน จำกัด และบริษัท บี เอส กล๊าสรีไ
‘ประเทศไทย’ เดินหน้า เศรษฐกิจพอเพียง-ESG-ตั้งเป้าลดโลกร้อนใน 17 ปี เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เร่งเปลี่ยนประเทศไทยเติบโตแบบ Low Carbon ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-นโยบายเศรษฐกิจ BCG” แนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน-ขับเคลื่อน SDGs ประเทศไทย นายกฯ เศรษฐา ประกาศ ณ SDG Summit 2023 นิวยอร์ก ตั้งเป้าลดโลกร้อน “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 40% และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ใน 17 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 0 ใน 42 ปี จากการที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศ คำแถลงแรก ณ Trusteeship Council Chamber สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2023 (Sustainable Development Goals (SDG) Summit 2023) เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ใจความระบุว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-นโยบายเศรษฐกิจ BCG” คือแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน-ขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย BlackRock ตอบรับร่วมมือธุรกิจ BCG ไทย ความสำเร็จแรก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการเยือนสหรัฐฯ คือ กา
บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ลุยขยายโมเดลความสำเร็จ “เกษตรปลอดการเผา และเกษตรลดโลกร้อน” จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของจังหวัดอุดรธานี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ สร้างโมเดล “อุดรธานี เมืองต้นแบบปลอดการเผา และลดโลกร้อน” เป็นจังหวัดที่ 8 ดึงองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร เอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้า มุ่งแก้ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร ตลอดจนบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พร้อมตั้งเป้าลดการเผาในพื้นที่การเกษตรให้เป็นศูนย์ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลให้ความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนโดยสั่งการให้เร่ง บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาค สำหรับภาคการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี ในห้วงระหว่างเดือนธันวาคม ถึงเมษายนของทุกปี มักมีการเผากำจัดวัชพืชและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาไฟป่าหมอกควันปกคลุม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยจังหวัดอุดรธานี มีนโยบายแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ผลักดันนโยบายการงดเผาฟางข้าวและใบอ้อยของภาครัฐ แก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและอนุภ
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรเเละสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาเงินทุนสนับสนุนของ (Grant agreement) ในโครงการ Thai Rice NAMA “เทคโนโลยีการทำนา และมาตรการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการทำนาที่ยั่งยืนและลดโลกร้อน” พร้อม นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว นายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรเเละสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เเละ นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทยเเละประเทศมาเลเซีย องค์กรความร่วมมือประหว่างประเทศของเยอรมัน ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตามที่ กรมการข้าว เเละองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอร์มัน (GIZ) มีความร่วมมือดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เเละลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice NAMA) ในพื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เเละสุพรรณบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถส่งผลต่อการลดภาวะโลกร้อนเเละเพิ่มประสิทธ
อิฐก่อสร้างสามัญหรืออิฐมอญ ที่ใช้ในปัจจุบันผลิตมาจากการใช้ดินเหนียว แกลบ ทราย หรือขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบนำมาผสมกับน้ำแล้วขึ้นรูปโดยการอัดลงในแบบพิมพ์ ผึ่งให้แห้งก่อนนำมาเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ในการผลิตผู้ผลิตต้องมีความชำนาญการในการผสมวัตถุดิบ หากไม่ชำนาญคุณภาพของก้อนอิฐจะไม่สม่ำเสมอและเกิดความเสียหายในกระบวนการผลิตสูงมาก โดยเฉพาะขั้นตอนการเผา ภายหลังกระบวนการเผา เนื้อดินเหนียวเกิดการหดตัว ยากต่อการควบคุม เนื่องจากขั้นตอนการเผาเป็นขั้นตอนสำคัญของการผลิตอิฐมอญให้มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งข้อเสียในกระบวนการเผาทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และปัจจุบันวัสดุเศษไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาหายาก ผู้ประกอบการจึงหันมาใช้แกลบแทน จึงทำให้เกิดปัญหามากขึ้นคือ กลิ่น ควัน เขม่า และฝุ่นมาก ส่งผลทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและก่อมลภาวะจากการเผา เพื่อเป็นแก้ปัญหาการสูญเสียต่างๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนอีกด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ได้คิดค้นกรรมวิธีใหม่ในการผลิตอิฐก่อสร้าง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับจังหวัดสระบุรี และ บริษัท ซีพี – เมจิ จำกัด จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี สานต่อความร่วมมือเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทย เดินหน้าลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน กิจกรรมปลูกป่าโครงการรักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักแผ่นดิน ในวันนี้ (27 พ.ค.) มี นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ นายอนันต์ ปิ่นน้อย ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ นายนิธิ อาจสมรรถ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด เครือข่ายจิตอาสา และประชาชนในพื้นที่ร่วมปลูกต้นไม้ ภายใต้โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2564 และเนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563
มูลนิธิโครงการหลวง และ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมบนฐานความรู้ที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสร้างความเข้มแข็งของคนและชุมชน รวมถึงบูรณาการระหว่างหน่วยงาน จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนและสนับสนุนให้ชุมชนโครงการหลวงและชุมชนโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงดำรงชีวิตแบบ “ชุมชนคาร์บอนต่ำ สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้อย่างยั่งยืน” โดย ดร. สุมาลี เม่นสิน และคณะ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ทำการค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูล ได้ว่า “วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติธรรมชาติ.. ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั่วโลก” ไม่ว่าจะเป็นการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก น้ำท่วม ฤดูกาลแปรปรวน ขาดแคลนน้ำ ไฟไหม้ป่า ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม และการเกิดพายุ แม้กระทั่งการระบาดของโรคชนิดใหม่ “ใครทำให้เกิด” คำตอบคือ มนุษย์ เป็นผู้สร้างและ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) จัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล รักษ์โลก CPF Run for Charity at Fort Adisorn 2020 ในรูปแบบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ หรือ “Carbon Neutral Event” เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน โดยในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก พันเอกปัญญา สุดนาวา ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลค่ายอดิศร พันโทฐากูร ประกอบบุญ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนค่ายอดิศร นายอุทัย สังข์วงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลหนองแค และ นางสาวอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจ อบก. ร่วมเปิดงาน พร้อมด้วยนักวิ่งกว่า 2,000 คน ร่วมวิ่งรักษ์โลก ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี นายวิโรจน์ คัมภีระ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะประธานชมรม ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ กล่าวว่า กิจกรรม ซีพีเอฟ เดิน-วิ่งการกุศล แบบคาร์บอนนิวทรัล ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี ครั้งนี้ บริษัทฯ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมบรรเท
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ โครงการ Thai Rice NAMA เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 14.9 ล้านยูโร จาก NAMA Facility ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (2561-2566) เพื่อดำเนินงานพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกร 100,000 ครัวเรือน ในเขต 6 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.8 ล้านไร่ โดยมีวัตถุประสงค์…เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมแก่เกษตรกรทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการทำนาแบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืน (GAP++), เพื่อพัฒนาและขยายธุรกิจการให้บริการเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, เพื่อให้มีมาตรการจูงใจที่สนับสนุนให้ภาคการผลิตข้าวทั้งระบบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่