ลิ้นจี่
ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย นิยมปลูกมากทางภาคเหนือตอนบน เป็นพันธุ์ชนิดกลางที่โตเร็ว ทรงพุ่มใหญ่ ใบหนา ออกดอกประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บได้ราวเดือนพฤษภาคม ติดผลดีสม่ำเสมอ ผลดก ผลผลิตสูง รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม คุณภาพดี ได้รับความนิยมอย่างมาก คุณธรรม คำเงิน บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 11 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกลิ้นจี่เป็นอาชีพจำนวน 2 พันธุ์ คือ ฮงฮวยกับจักรพรรดิ โดยปลูกฮงฮวยเป็นหลักเพราะมีคุณภาพมากกว่า ปลูกมากว่า 30 ปี พื้นที่ปลูก 7 ไร่ มีจำนวนกว่า 400 ต้น ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นแบบเชิงเขาหรือสันเขา มีระยะปลูก 5 คูณ 5 เมตร คุณสมบัติเด่นของฮงฮวยคือ มีรสหวาน ผลเล็ก เนื้อหนา โดยเฉพาะเมื่อปลูกในพื้นที่แม่อาย คุณธรรมชี้ว่า น่าจะเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของดินที่มีลักษณะเป็นดินดำและแดง อากาศดี น้ำดี โดยเฉพาะความหนาวเย็นซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการทำให้ดอกสมบูรณ์ช่วยทำให้ผลลิ้นจี่มีคุณภาพและสมบูรณ์ ยิ่งหนาวมากยิ่งชอบ แต่หากปีไหนหนาวน้อย แถมมีฝนร่วมด้วยก็จะสร้างปัญหาต่อผลผลิตทันที ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกครั้งแรกได้มาจากการตอนกิ่ง เวลาปลูกให้ขุดหลุมลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ไม่ต้องรองก้นหลุม
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้สำคัญทางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบน แต่เกษตรกรก็มีความเสี่ยงในด้านการผลิต คือผลแตกและร่วง การห่อช่อผลลิ้นจี่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพพรีเมี่ยม (Premium) สีสวยและราคาดี คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่โดยทั่วไปมักจะประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ ผลแตก และผลร่วง ทั้งนี้เพราะในช่วงที่ลิ้นจี่ติดผลเจริญเติบโตใกล้จะเก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่าย ประมาณปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งช่วงนี้สภาพอากาศร้อนและเจอฝนตกสลับกัน 2-3 ครั้ง จึงทำให้ผลลิ้นจี่แตกและร่วง ด้วยเหตุนี้เกษตรกรส่วนมากจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งเก็บผลผลิตและจำหน่าย ทำให้ได้ราคาต่ำ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอแนะนำเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ ดังนี้ การปฏิบัติดูแลลิ้นจี่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน (ช่วงของการพัฒนาผล) เกษตรกรควรให้น้ำ 250-350 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 ผสม 60-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ป้องกันศัตรูพืช – ไข่หนอนเจาะขั้วผลเกิน 5% พ่นไซฟลูทร
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลิ้นจี่แม่กลอง…ยังไม่วาย” ซึ่ง วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ จัดขึ้น ภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดสมุทรสงครามด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชให้ได้รับผลผลิตตามฤดูกาล การยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยว และการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูลิ้นจี่ ทำให้มีการผลิตลิ้นจี่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยมีเกษตรกร ผู้แทนจากสำนักงานเกษตร มหาวิทยาลัย กลุ่มแปลงใหญ่ลิ้นจี่ อำเภออัมพวา อำเภอบางคนที ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เข้าร่วมการอบรมกว่า 100 คน ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรมสู่ภูมิภาค อันจะก่อให้เกิดการลงทุนของเกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สร้า
ไร่ บี.เอ็น. (B.N.) …นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่นี่จำหน่ายพืชผัก ผลไม้นานาชนิดตามฤดูกาล ปัจจุบัน ไม้ผลสำคัญที่ ไร่ บี.เอ็น. ภาคภูมิใจนำเสนอคือ ลิ้นจี่นานาพันธุ์ ทั้งที่นำพันธุ์ดีมาจากประเทศจีน เช่น พันธุ์กุ๊ยบิ และพันธุ์ลิ้นจี่ที่ทางไร่ได้พัฒนาขึ้นมาเองให้มีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมกับท้องถิ่น ได้แก่ พันธุ์ป้าชิด พันธุ์ป้าอี๊ด พันธุ์ลุงเจิด ซึ่งมีลักษณะผลโต เนื้อแห้งหนา รสหวาน หอม เมล็ดส่วนใหญ่ลีบเล็ก โดยมีผลผลิตให้ชิมระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม ของทุกปี 47 ปี ไร่ บี.เอ็น. การมาเยือน ไร่ บี.เอ็น. ในครั้งนี้ ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหาร ไร่ บี.เอ็น. จำนวน 2 ท่าน คือ “คุณโจ้ หรือ คุณจุลพงษ์ คุ้นวงศ์” ผู้จัดการ ไร่ บี.เอ็น. และน้องสาว คือ คุณชลธิชากร คุ้นวงศ์ ที่ดูแลด้านการตลาดโดยตรง คุณโจ้ เล่าถึงความเป็นมาของ ไร่ บี.เอ็น. ว่า “คุณบรรเจิด คุ้นวงศ์” คุณพ่อของเขาได้เข้ามาบุกเบิกทำ ไร่ บี.เอ็น. เมื่อปี 2512 โดยปลูกไม้ผลหลายชนิด เช่น ส้ม มะม่วง อะโวกาโด พลับ ลำไย น้อยหน่าออสเตรเลีย ทั้งนี้ คุณบรรเจิดสนใจปลูกลิ้นจี่จึงได
ลิ้นจี่ นพ.1 หรือ ลิ้นจี่ พันธุ์นครพนม 1 เป็นสายพันธุ์ที่เกิดการกลายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชสวนนครพนม มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญเติบโต ออกดอกติดผลสม่ำเสมอทุกปี ผลลิ้นจี่ นพ.1 จะมีลักษณะที่ค่อนข้างกลม เปลือกสีแดงเข้ม ผิวขรุขระไม่เรียบ เนื้อด้านในสีขาว ไม่แฉะ รสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน รสชาติดี อร่อย นิยมรับประทานผลสด หรือแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋อง เป็นต้น ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายใน นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังช่วยลดอาการกระหายน้ำได้ และหากนำเนื้อลิ้นจี่มาตากแห้งแล้วต้มกินเป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการปวดโรคไส้เลื่อนหรือลูกอัณฑะบวม และยังช่วยรักษาโรคโลหิตจาง คุณรัศมี อุทาวงศ์ อายุ 53 ปี อาศัยอยู่ที่สวนลิ้นจี่ อุทัยรัศมี จังหวัดนครพนม ปัจจุบัน คุณรัศมีประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกลิ้นจี่ นพ.1 จำนวน 30 ไร่ คุณรัศมี เล่าว่า ตนเองมีความชื่นชอบและหลงใหลในการทำเกษตรมาตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องด้วยต้องไปช่วยคุณพ่อทำงานในสวนอยู่บ่อยๆ คุณรัศมีเกิดในครอบครัวเกษตรกร ที่ทำการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ หลากหลายชนิด ด้วยความเคยชินจากการ
จุดเด่น ของ ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด เริ่มเป็นที่รู้จักในท้องตลาดตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน เนื่องจากมีลักษณะเด่นที่โดนใจผู้บริโภคทั่วไป นั่นคือ ผลโต มีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อแห้งหนา มีเมล็ดเล็กลีบเป็นจำนวนมาก ทางไร่จะคัดผลผลิตออกขายใน 2 เกรด คือเกรดพรีเมี่ยม เน้นคัดผลสวย เมล็ดลีบเล็ก และตัดก้านสั้น และสินค้าเกรด เอ คัดผลสวย มีก้าน เมล็ดขนาดปกติ แต่มีรสชาติอร่อยเหมือนเกรดพรีเมี่ยม ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2 เนื้อแห้งหนา รสหวาน หอม เมล็ดลีบเล็ก ปลูกต้นลิ้นจี่ในระบบชิด การปลูกลิ้นจี่ใหม่ในระบบชิด เช่นเดียวกับการปลูกลิ้นจี่ของจีน โดยทดลองปลูกลิ้นจี่ในระยะห่าง 3×3.50 เมตร จำนวน 150 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อต้นลิ้นจี่อายุ 1 ปีครึ่ง จะดูแลควบคุมทรงต้นไม่ให้สูงเกิน 2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสวน ซึ่งต้นลิ้นจี่ที่ปลูกในระบบชิด สามารถผลิดอกออกผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์เทคนิคการควั่นกิ่งจากจีนมาใช้ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่ติดผล สามารถลดปัญหาผลร่วง และช่วยให้ต้นลิ้นจี่มีรสชาติดีขึ้น ลิ้นจี่ป้าชิด 2 ให้ผลดก คุ้มค่ากับการ
ปลายเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องไปเดือนมิถุนายน เป็นช่วงฤดูของไม้ผลสีแดงออกสู่ตลาด รสชาติดี มีหลายสายพันธุ์ แต่ละพื้นที่ปลูกจะมีความโดดเด่นของรสชาติที่แตกต่างกัน ว่ากันว่า ผลไม้ชนิดนี้ชอบสภาพอากาศหนาวเย็นจึงจะให้ผลผลิตดี เช่น ที่จังหวัดเชียงราย เกษตรกรที่นำลิ้นจี่เข้ามาปลูกเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ก็เพราะเห็นว่า ราคาดี และสภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสม ที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง ขณะที่สับปะรดนางแล และภูแล ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง คุณบัวขาว ขันจันทร์แสง ไม่ได้ปลูกสับปะรดเหมือนเกษตรกรทั่วไป แต่เป็นเกษตรกรรายที่ยังคงปลูกลิ้นจี่อยู่จนถึงปัจจุบัน และนำลิ้นจี่เข้ามาปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นรายแรกๆ “ปี 2518 เป็นปีแรกที่นำลิ้นจี่เข้ามาปลูก เพราะยุคนั้นราคาลิ้นจี่ค่อนข้างสูง จึงนำพันธุ์มาจากทางอำเภอแม่สาย และสภาพอากาศมีความเย็นต่อเนื่องเหมาะสมดี นำกิ่งพันธุ์มาปลูกบนพื้นที่ 4 ไร่ จากนั้นขยายพันธุ์จากกิ่งพันธุ์ที่เจริญเติบโตเอง แล้วนำไปปลูกเพิ่มบนพื้นที่อีกแปลง ทั้งหมด 15 ไร่” สายพันธุ์ที่คุณบัวขาวนำมาปลูก มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ฮงฮวย โอวเฮียะ จักรพรรดิ และ กิมเจ็ง พันธุ์ฮงฮวย เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโต
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 เชียงใหม่ (สศท.1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ของ สศท.1 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตลิ้นจี่ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสำคัญที่สุดของประเทศ โดยคาดว่าปี 2564 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ วันที่ 15 มกราคม 2564) ทั้ง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ยืนต้น 74,199 ไร่ ลดลงจากปี 2563 ที่มีจำนวน 74,433 ไร่ (ลดลง 234 ไร่ หรือร้อยละ 0.31 เนื้อที่ให้ผล 68,968 ไร่ ลดลงจากปี 2563 ที่มีจำนวน 69,252ไร่ (ลดลง 284 ไร่ หรือร้อยละ 0.41) ส่วนผลผลิตรวม 23,665 ตัน ลดลงจากปี 2563 ที่มีจำนวน 26,654 ตัน (ลดลง 2,989 ตัน หรือร้อยละ 11.21 ) ทั้งนี้ เนื้อที่ยืนต้นและเนื้อที่ให้ผลของทั้ง 3 จังหวัดลดลง เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือมีการโค่นต้นแก่อายุ 25 ปีขึ้นไปที่ให้ผลผลิตน้อย อีกทั้งยังปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน และส้ม ด้านผลผลิตรวมทั้ง 3 จังหวัด ลดลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการแทงช่อดอก ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดประมาณช่วงเดือน
ปลายเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องไปเดือนมิถุนายน เป็นช่วงฤดูของไม้ผลสีแดงออกสู่ตลาด รสชาติดี มีหลายสายพันธุ์ แต่ละพื้นที่ปลูกจะมีความโดดเด่นของรสชาติที่แตกต่างกัน ว่ากันว่า ผลไม้ชนิดนี้ชอบสภาพอากาศหนาวเย็น จึงจะให้ผลผลิตดี เช่นที่จังหวัดเชียงราย เกษตรกรที่นำลิ้นจี่เข้ามาปลูกเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ก็เพราะเห็นว่า ราคาดีและสภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสม ที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง ขณะที่สับปะรดนางแลและภูแล ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง คุณบัวขาว ขันจันทร์แสง ไม่ได้ปลูกสับปะรดเหมือนเกษตรกรทั่วไป แต่เป็นเกษตรกรรายที่ยังคงปลูกลิ้นจี่อยู่จนถึงปัจจุบัน และนำลิ้นจี่เข้ามาปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นรายแรกๆ “ปี 2518 เป็นปีแรกที่นำลิ้นจี่เข้ามาปลูก เพราะยุคนั้นราคาลิ้นจี่ค่อนข้างสูง จึงนำพันธุ์มาจากทางอำเภอแม่สาย และสภาพอากาศมีความเย็นต่อเนื่องเหมาะสมดี นำกิ่งพันธุ์มาปลูกบนพื้นที่ 4 ไร่ จากนั้นขยายพันธุ์จากกิ่งพันธุ์ที่เจริญเติบโตเอง แล้วนำไปปลูกเพิ่มบนพื้นที่อีกแปลง ทั้งหมด 15 ไร่” สายพันธุ์ที่คุณบัวขาว นำมาปลูกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ฮงฮวย โอวเฮียะ จักรพรรดิ์ และกิมเจ็ง พันธุ์ฮงฮวย เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร
ระยะนี้อุณหภูมิสูงขึ้น และมีหมอกในตอนเช้ามืด กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ให้เฝ้าระวังไรกำมะหยี่ลิ้นจี่ เพราะเป็นไรศัตรูลิ้นจี่ที่มีความสำคัญมาก สามารถพบได้ในระยะใบเพสลาดและระยะเริ่มแตกใบอ่อนชุดที่สาม มักพบไรชนิดนี้ชอบดูดทำลายตาดอก ใบอ่อน ยอด และผลของลิ้นจี่ ทำให้ตาดอกไม่เจริญ ใบที่ถูกไรเข้าทำลายจะมีลักษณะอาการหงิกงอ และโป่งพองขึ้นเป็นกระเปาะ ผิวใบบริเวณที่ไรดูดกินจะสร้างขนสีน้ำตาลขึ้นและสานเป็นแผ่นติดต่อกัน ซึ่งไรจะใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวอยู่ในขนที่สร้างขึ้นที่ผิวใบนี้ โดยจะมีลักษณะนุ่มหนาคล้ายพรม เมื่อเริ่มในระยะแรกจะมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มในเวลาต่อมา จากนั้นไรจะเริ่มเคลื่อนย้ายหาใบใหม่เพื่อดูดทำลายต่อไป ใบและยอดที่ถูกทำลายจะแห้งและร่วง ต้นที่ถูกไรทำลายรุนแรง จะแคระแกรน และไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร บางครั้งจะพบปื้นขนสีน้ำตาลเกิดขึ้นที่ช่อดอกและผลอ่อนด้วย เกษตรกรควรหมั่นสำรวจส่องดูไรกำมะหยี่ลิ้นจี่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบมีการระบาดของไรรุนแรงจนมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมี ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งที่ใบและยอดถูกไรทำลายนำไปเผาทิ้งนอกแปลงปลูกก่อน แล้วจึงพ่นสา