วช.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประกวดวาดภาพ “STAY HOME NO COVID DRAW BETTA” โครงการ National Betta BioResource Project (NBBRP)หรือ โครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ ซึ่ง วช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมมือกันทำวิจัยโครงการ “การวิจัยเพื่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมปลากัดพื้นเมืองอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเศรษฐกิจ” เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงพันธุ์ปลากัดและพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ยกระดับชนิดและสายพันธุ์ของปลากัดไทยให้มีคุณค่าแก่การเป็นสัตว์น้ำประจำชาติมากยิ่งขึ้นตามแนวนโยบายรัฐ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรปลากัดให้แพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรปลากัดให้แพร่กระจายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19 จึงได้จัดให้มีการประกวดวาดภาพขึ้น การประกวด แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ 1. ภาพวาดปลากัดแบบ Hand painting (สำหรับร
ปัจจุบัน ประเทศไทย มีความตื่นตัวทางด้านพลังงานทดแทนอย่างมาก รัฐบาลมีนโยบายรณรงค์สนับสนุนงานวิจัยเรื่องการใช้พลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น รวมทั้งดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม จนกลายเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้าเป็นระบบสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญ และถือเป็นความต้องการพื้นฐานของประชาชน วช. ผลักดันต้นแบบชุมชนสีเขียว ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ตามการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาล ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทน จึงได้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยพลังงานทดแทน (โครงการท้าทายไทย) ที่ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ภายใต้ชื่อ โครงการ “การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ในชุมชนสีเขียว” แก่ ศาสตราจารย์ ดร. ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะ ที่มุ่งศึกษาวิจัยและนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีจากงานวิจัยด้านพลังงานไปใช้ในชุมชน ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และใช้พลังงานให้เกิดประสิท
“พลังงาน” นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ ยิ่งโลกพัฒนามากขึ้นเท่าไร ปริมาณความต้องการใช้พลังงานก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น พลังงานหลัก เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ ที่ได้จากฟอสซิล มีแนวโน้มลดลงและมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ รวมทั้งสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพราะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล เป็นที่มาของปัญหาภาวะเรือนกระจก และวิกฤตโลกร้อนในปัจจุบัน ทุกวันนี้ หลายประเทศทั่วโลกหันมาสนใจใช้ “พลังงานทดแทน” ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีเวลาหมด (Renewal Energy) และมีต้นทุนต่ำ ประหยัดทรัพยากรแรงงานและค่าใช้จ่าย ช่วยแก้ปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างดี วช. หนุนสร้างงานวิจัยสีเขียว ผลิตพลังงานทดแทนลดโลกร้อน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองประธานคณะกรรมการกำกับโครงการวิจัยท้าทาย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้า
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ประกาศการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย “สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ” ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานราชการในกระทรวงดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. ใหม่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อเป็นกลไกการบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ มีผลใช้บังคับในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ มีผลให้ วช. ได้ปรับเป็น “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” วช.มีหน้าที่ใน 7 ภารกิจที่สำคัญในระดับประเทศ เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ จัดทำฐานข้อมูลและดัชนีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ, ริเริ่ม ขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ, จัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย, ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เ
เมื่ออดีตที่ผ่านมา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เคยได้รับผลกระทบทางสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาน้ำจืดขาดแคลน น้ำเค็ม น้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออาชีพเกษตรกรรม ในหลายพื้นที่ไม่สามารถปลูกพืชได้ ถึงปลูกได้ก็ให้ผลผลิตน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของพระองค์ จึงมีพระราชดำริจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเน้นแก้ปัญหาน้ำ พื้นที่ทำการเกษตร พัฒนาสิ่งแวดล้อม คมนาคม การสื่อสาร สวัสดิการ และส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาพื้นที่ทำกินให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์สร้างอาชีพใหม่ที่ก่อให้เกิดเป็นรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมากมาย และหนึ่งในอาชีพที่เกิดขึ้นในชุมชน คือ การต่อยอดน้ำวัตถุดิบที่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นสินค้าจำหน่ายสร้างรายได้เสริม ในพื้นที่บ้านท่าเตียน ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร มีหลากหลายอาชีพที่เกิดขึ้นมาหลังจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพร
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้นำโดรนสำรวจ ที่ วช. ได้ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ พัฒนาซอฟท์แวร์ ซึ่งสามารถทำแผนที่ทางอากาศแบบสามมิติได้ด้วยตัวโดรนเอง ซึ่งเป็นแผนที่ 3 มิติที่มีความละเอียดสูงมาก รวมถึงสามารถสั่งการให้โดรนเข้าถึงเป้าหมาย โดยป้อนค่าพิกัดละติจูดและลองติจูดได้อย่างแม่นยำ นอกจากทำแผนที่แล้ว ยังสามารถส่งสิ่งของ สามารถสั่งขึ้นจากพื้นสู่อากาศด้วยคำสั่งเสียง เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ ในการค้นหาจุดที่ผู้ประสบภัย ซึ่งโดรนสำรวจดังกล่าวเป็นโดรนที่มีขนาดเล็ก มีเส้นทแยงมุม ประมาณ 1 ฟุตครึ่ง มีระบบเซ็นเซอร์ป้องกันรอบตัวเมื่อบินแล้วเจอสิ่งกีดขวางก็จะหยุด เมื่อบินต่อไปแล้วสามารถจะบินกลับมาที่ตำแหน่งเดิมได้ ทนแรงลมได้ถึง 40 น็อต ความเร็ว 80 กม./ชม. และสามารถบินผ่านฝนปรอยๆ ได้ มีความสามารถในการถ่ายภาพ ในระดับ 4K การบินในแต่ละครั้ง นานประมาณ 20 นาที ซึ่งจะใช้ภาพ 3 มิติ บริเวณเขาโดยรอบของถ้ำที่ถ่ายจากโดรนนี้ เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ แผนที่ที่ได้จากโดรนนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการค้นหาจุดที
วันที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์การประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วิจัยยุคใหม่เข้าถึงประชาชน” เวลา 09.00 น. โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเป็นกลไก การบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ตรงกับความต้องการ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการร่วม สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) สำนักงบประมาณ มีหน้าที่ขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้ทิศทางการทำงานวิจ
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศควบคู่กับการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรมให้ตอบสนองความต้องการของภาค การผลิตและการบริการ และเพื่อความสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดและใช้ประโยชน์องค์ความรู้และเทคโนโลยีจากการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นในเชิงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนองนโยบายรัฐบาลดังกล่าว โดยให้ความสำคัญกับการสร้างนักวิจัยและนักประดิษฐ์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและด้านการประดิษฐ์ในสถาบันการศึกษา โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพิ่มทักษะ เทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมแก่นิสิต นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรม วช. ได้มีการดำเนินการดังกล่าว มาอย่างต่อเนื่อง และใน ปี 2561 นี้ ได้กำหนดจัดกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและนักประดิษฐ์สายอุดมศึกษา ดังนี้ ครั้งที่ 1 กิจกรรมบ่มเพาะเพื่อพัฒนานวัตกรรมสายอุดม
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัยและเครือข่ายพันธมิตร มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย จัดงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2561 ยิ่งใหญ่ นำทัพผลงานประดิษฐ์คิดค้นทั้งในประเทศและนานาชาติ มาจัดแสดงกว่า 1,000 ผลงาน ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า งานวันนักประดิษฐ์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่มีผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย”หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไชยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยและเป็นครั้งแรกของโลก โดยในปีนี้ “งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2561 (Thailand Inventors’ Day 2018)” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ Event Hall 98 – 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการสภานโยบายวิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ มีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์มาตรการและแนวทางการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและประเมินผลการวิจัยของประเทศ รวมทั้งกำหนดส่งเสริมและกำกับมาตรฐานการวิจัย ตลอดจนพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยเพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ วช.ได้จัดสรรงบประมาณแผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยเร่งด่วน กลุ่มเรื่องข้าวให้กับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) บริหารจัดการงบประมาณและสนับสนุนทุนวิจัย ให้กับโครงการวิจัยทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว แก่ ดร.นิสากร แซ่วัน แห่งสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ทำการศึกษาวิจัยการสกัดสารออกฤทธิ์ทางเครื่องสำอางสำหรับชะลอความชรา โดยสารสกัดที่ได้สามารถกระตุ้นการฟื้นฟูความเสียหายของดีเอ็นเอในเซลล์ผิวและกระตุ้นการสร้างคลอลาเจน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และสารสกัดที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติต้านอนุม