วช.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการสภานโยบายวิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ มีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์มาตรการและแนวทางการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและประเมินผลการวิจัยของประเทศ รวมทั้งกำหนดส่งเสริมและกำกับมาตรฐานการวิจัย ตลอดจนพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยเพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ วช. ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรในการสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับประชาชน โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้กล่องอนุบาลนางพญาผึ้ง และเครื่องเก็บพิษผึ้ง เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ วช.สนับสนุนทุนให้กับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี ดร.อุไรวรรณ อินต๊ะถา แห่งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และคณะเป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากพบว่า เกษตรกรมีการเพาะพันธุ์ผึ้งนางพญาเพื่อขยายจำนวนรังผึ้งยังประสบปัญหาในการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัย หลังจากเพาะพันธุ์ผึ้งนางพญาแล้วยังคงมีการอนุบาลผึ้งต่อเนื่องในกล่องผึ้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของผึ้งในการขยายจำนวน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เชิญชวนสัมผัสโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์คิดค้น พร้อมเรียนรู้จากกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจหลายเวที ภายในงานวันนักประดิษฐ์ ลงทะเบียนก่อน 18 มกราคมนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จัดกิจกรรมทุกปี เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์การจดทะเบียนและทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันชัยพัฒนา”แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยและเป็นครั้งแรกของโลก โดยปีนี้ วช.ร่วมกับเครือข่ายเปิดเวทีต้อนรับนักประดิษฐ์และผู้สนใจร่วมกิจกรรมในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2561 (Thailand Inventors’ Day 2018) ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์นี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ภายใต้รูปแบบกิจกรรม “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งเป็นการนำเ
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมตรี เป็นประธานเปิดงาน ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 : วิจัยขายได้ ที่ไปรษณีย์กลางบางรัก พร้อมด้วย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการจัดงานดังกล่าว เพื่อตอบรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้นำงานวิจัยมาพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรม และปัจจัยหลักสำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและประเทศไทย 4.0 โดยพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผลงานวิจัยรวมกว่า 3 แสนผลงาน ร้อยละ 40 จากผลงานวิจัยทั้งหมดเป็นงานวิชาการ และมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ได้นำมาพัฒนาและใช้จริง การจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นการนำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่งานวิจัย ไปสู่ผู้ที่ต้องการนำไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นรูปธรรมในเชิงพาณิชย์ ที่จะสามารถมาช่วยขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ดีขึ้น นำประเทศไทยไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกทั้งตั้งเป้าว่า
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นำผู้บริหารและข้าราชการ วช. ปลูกดอกดาวเรือง ณ ห้องกิจกรรม ชั้น ๑ อาคาร วช. ๔ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เพื่อแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามที่ กระทรวงมหาดไทยได้เชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่าทั่วประเทศปลูกดอกดาวเรือง หรือดอกไม้สีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้บานสะพรั่งทั่วประเทศในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ วช.จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงความอาลัย และแสดงความจงรักภักดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้ดอกดาวเรืองบางสะพรั่งในช่วงเดือนตุลาคม ให้ทันงานพระราชพิธีถวายพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ ๙ และถวายเป็นพระราชกุศลและแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ จากภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายภาคทฤษฎี และสาธิตวิ
ไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลบนวิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยมีภารกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศในหลายด้าน เพื่อปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในทศวรรษนี้ได้ โดยมีความมุ่งมั่นที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Base Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ด้วยหลักคิดในการเปลี่ยนสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการ ศาสตราจารย์นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าสู่ประเทศไทย ๔.๐ โดยร่วมกับ ๔ มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมเตรียมจัดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มผู้รับประโยชน์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประจำปี ๒๕๖๐ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี คณครูประทุม สุริยา อุปนายกสมาคมพลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืน กล่าวรายงานการดำเนินโครงการ และ ดร.นพดล โค้วสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายวิชาการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวต้อนรับ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม กล่าวว่า วช. และสำนักงาน กปร. ได้มีความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ในการร่วมนำส่งองค์ความรู้ เทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นความต้องการที่มาจากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ความดูแลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ย่อยที่ต้องการนำองค์ความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนา จำนวนมากกว่า ๓๐ องค์ความรู้ และเทคโนโลยี อาทิเช่น เทคโนโลยีการปลูกมะนาวนอกฤดูในกระถาง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก เป็นต้น โดยมีเจ้าหน้าที่และกลุ่มเกษตร
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอเชิญนักวิจัย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการ การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๖ และงานแสดงสินค้าประจำปี ๒๕๖๐” หัวข้อ “แผนกลยุทธ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศยุค ๔.๐” ในระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร จัดโดย สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แจ้งว่า วช.ได้กำหนดจัด “การประชุมวิชาการ การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๖ และงานแสดงสินค้า ประจำปี ๒๕๖๐” เพื่อให้ผู้ใช้สัตว์ ผู้ผลิตสัตว์ คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ และผู้บริหารหน่วยงานที่มีการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของงานเกี่ยวกับงานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดสรรงบประมาณให้แก่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. รับผิดชอบในการคัดเลือกและบริหารโครงการภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการประเทศโดยเร่งด่วน : กลุ่มเรื่องข้าว ภายใต้ยุทธศาสตร์ในการวิจัย 6 ด้าน โดยได้สนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยโครงการวิจัย เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติกำจัดวัชพืชในนาข้าว” แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไทยศิริ เวทไว แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าว โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาหุ่นยนต์กำจัดวัชพืชอัตโนมัติขึ้น เนื่องจากเห็นว่าการกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการทำนา วัชพืชจะแย่งอาหาร แสงแดด และพื้นที่การเติบโตจากต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวไม่เติบโตหรือโตช้ากว่าที่ควร ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงและลดรายได้ของชาวนาจากการทำนา ซึ่งการกำจัดวัชพืชในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน วิธีแรกคือ การใช้แรงงานคนในการถอนต้นวัชพืช ซึ่งต้องอาศัยแรงงานคนจำนวนมากและมีค่าแรงที่สูง วิธีที่สองคือ การใช้สารเคมีใ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ติดปีกนักวิจัยให้เข้มแข็ง กระตุ้นให้ปรับความคิดและสร้างความรู้ใหม่ มุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดอบรมและบรรยายพิเศษ หัวข้อ ติดปีกความคิด ตีโจทย์สร้างงานวิจัย และแนวทางการจัดทำข้อเสนอการวิจัยให้ได้ใจแหล่งทุน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.จัดขึ้น ที่โรงแรมมารวยการ์เด้น วันนี้ (12 มิ.ย.60) ว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกจำเป็นต้องสร้างความรู้โดยนักวิจัย แต่กระบวนการสร้างความรู้ของประเทศไทยที่ผ่านมายังเป็นลักษณะลองผิดลองถูก ดังงานวิจัยในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อช่วง 20 ปีผ่านมากว่า 100,000 เรื่อง พบว่าอยู่ในข่ายที่ใช้ประโยชน์ได้เพียง 1,000 กว่าเรื่อง ขณะเดียวกัน ความรู้ที่เกิดขึ้นมากมายนั้นก็มีวันหมดอายุ ดังนั้น นักวิจัยจำเป็นต้องสร้างความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา โดยนักวิจัยต้องตั้งคำถามและหาเป้าหมายจากโจทย์ในงานวิจัยนั้น ๆ ดังนั้น จึงต้องเริ่มต้นที่นักวิจัย โดยอาจทบทวนงานวิจัยของต่างประเทศ และไม่ควรลอกเลียนแบบหรือทำตาม แต่ควรพัฒนาจนไปสู่การวิจัยเพิ่มเติม
นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองประเมินผลและจัดการความรู้งานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานมอบเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้ ให้กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโนนรัง ตำบล สาวิถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น นายธีรวัฒน์ บุญสม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองประเมินผลและจัดการความรู้งานวิจัย วช. เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ของโครงการที่ได้รับการขึ้นบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย และได้รับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ไทย ประจำปี ๒๕๕๙ เรื่อง “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้” ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโนนรัง จังหวัดขอนแก่น โดยกิจกรรมในงานได้มีการให้ความรู้และสาธิตการใช้เครื่อง หลังจากนั้นได้มีการมอบเครื่องดังกล่าวให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวชุมชนบ้านโนนรัง ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวบ้านหนองช้าง ตำหนอง