วช.
จากโมเดล Thailand 4.0 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของรัฐบาลนั้น ส่งผลให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องปรับระบบการทำงาน ให้ตอบรับกับสภาวการณ์บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หรือ Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานในเส้นทางการวิจัยและพัฒนาของประเทศมาเป็นเวลารวม 54 ปี มีนโยบายที่ชัดเจนและได้ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารองค์กรใหม่ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Thailand 4.0 และ TISTR 4.0 เพื่อให้มีความเหมาะสมคล่องตัวและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน นำไปสู่การผลักดันให้เกิดผลงานในมิติต่างๆ ด้วยการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ช่วยเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ดังนี้ 7การให้บริการวิจัยและพัฒนายุค 4.0 ได้แก่ การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยการจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมด้านเกษตร อาหาร สมุนไพร และศูนย์
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคเหนือ จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาคประจำปี 2560 (Regional Research Expo 2017)” ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2560 ณ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภูมิภาค” ในวันที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 09.00 น. โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ศาตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารักษี อธิการบดี มหาวทิทยาลัยนเรศวร และรองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ ประธานเครือข่ายภูมิภาค : ภคเหนือร่วมพิธีเปิด พลเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในภูมิภาคเกิดความสนใจในการนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวม โดยเฉพาะเป็นการเปิดโอกาสให้ปราชนได้ทราบถึงค
ด้วย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชำติ (วช.) มีนโยบายที่จะส่งเสริมและเชิดชูเกียรติ นักวิจัยไทย ซึ่งได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและวงวิชาการเป็นส่วนรวม และเพื่อให้นโยบายนี้บรรลุผล สำเร็จด้วยดี วช.จึงได้จัดให้มีการเสนอชื่อนักวิจัยเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่น แห่งชาติในแต่ละสาขาวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยได้ทำการคัดเลือกนักวิจัยที่มีจริยธรรม และมีคุณสมบัติ เหมาะสมเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการ มีผลงานวิจัยสร้างคุณประโยชน์ต่อวงวิชาการและประชาชน สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่น เพื่อประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติในแต่ละสาขาวิชาการ เป็นประจำทุกปี สำหรับปี ๒๕๖๐ นี้ วช. ได้กำหนดระยะเวลาสำหรับให้หัวหน้าหน่วยราชการระดับกระทรวง กรม หรือเทียบเท่า และรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษา หรือระดับคณะ หรือเทียบเท่า นิติบุคคล ภาคเอกชน รวมทั้งสมาคมต่างๆ หรือผู้ที่เคยได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่น แห่งชาติ ที่ประสงค์จะเสนอชื่อนักวิจัยเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชำติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พิจารณาเสนอชื่อนักวิจัยที่สมควรได้รับกา