วิสาหกิจชุมชน
“น่าน” เป็นหนึ่งในเสน่ห์มนตราแห่งลานนา “แอ่วน่านม่วนไจ๋” ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ เพราะน่านเป็นเมืองแห่งความสุข สงบ สะอาด มีแหล่งธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ พืชไร่ไม้ผลก็มากมี รสชาติอาหารพื้นเมืองก็อร่อยเด็ด ชาวเมืองน่านน่ารัก มีน้ำใจ อัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้ผู้มาเยือนหลายราย “ตกหลุมรัก” Slow Life Slow City ของเมืองน่านอย่างถอนตัวไม่ขึ้น อย่างเช่น “บัณฑูร ล่ำซำ” เจ้าสัวใหญ่ผู้กุมบังเหียนธนาคารกสิกรไทย ที่ย้ายสำมะโนครัวมาเป็นพลเมืองน่านแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ไปแล้ว วิสาหกิจชุมชนชีววิถี ตำบลน้ำเกี๋ยน วิสาหกิจชุมชนชีววิถี ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เป็นต้นแบบชุมชนแห่งการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพได้อย่างยั่งยืน ปี 2550 ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ได้นำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์ และใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ได้นอกจากจะปลอดภัยต่อผู้ใช้ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน และสร้างโอกาสมีรายได้สู่ชุมชน กิจการกลุ่มชีววิถีเป็นธุรกิจชุมชนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน ซึ่งชาวบ้านทุกคนถือหุ้นเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน บริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการคัดเลือกคณะกร
อย. ปรับแก้ กม. ลูกกรณีวิสาหกิจชุมชนปลูก ‘กัญชา’ ทางการแพทย์ ส่วนปัญหาสิทธิบัตรกัญชาคนละส่วน เมื่อวันที่ 14 มกราคม นพ. สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำอนุบัญญัติหรือกฎหมายลูกรองรับร่าง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ ว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ระหว่างนี้ ทาง อย. ได้เตรียมกฎหมายลูกรองรับ ขณะเดียวกันยังมีร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดก็อยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ใกล้เสร็จแล้ว โดยประมวลกฎหมายฯ จะนำร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับกัญชาเข้าไปด้วย ก็ขึ้นอยู่กับว่าอันไหนประกาศก่อน อย่างไรก็ตาม ในส่วนกฎหมายลูกทั้ง 8 ฉบับ ก็จะเหลือแค่รายละเอียด และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็จะปรับแก้ให้เหมาะสม โดยจะมีเรื่องหลักๆ ทั้งการอนุญาตปลูก การผลิต นำเข้า เป็นต้น “อย่างการปลูกเดิมคนอาจมองว่า เข้มงวดเกินไป เนื่องจากของเดิมไม่มีการควบคุมวิสาหกิจชุมชน แต่ล่าสุดมีการอนุญาตให้วิสาหกิจชุมชนปลูกได้ เราก็ต้องมาปรับแก้กฎหมายลูก เพื่อให้ไปกับการอนุญาตวิสาหกิจชุมชนด้วย ซึ่งจุดนี้จะให้ชัดเจนในเรื่องก
ปลูกกัญชา สัญชาติไทย – เมื่อวันที่ 11 ม.ค. นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปรามปรามยาเสพติด กล่าวถึงความคืบหน้า การนำกัญชาใช้ทางการแพทย์ ว่าขณะนี้รอตัวร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดฯที่มีการเปลี่ยนแปลงตามประมวลยาเสพติดในสาระสำคัญกัญชายังเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมายส่วนการผ่อนปรนเพื่อให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หรือการศึกษาวิจัยได้ สำหรับประเด็นการนำเข้า ส่งออก จำหน่ายครอบครอง อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการแพทย์เภสัชกรเป็นผู้ได้รับอนุญาต แต่ในกรณีการขออนุญาตปลูกที่เป็นบุคคลจะต้องเป็นการรวมตัวกันเป็นลักษณะสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจสังคมที่จดทะเบียนและต้องดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐและที่สำคัญผู้ที่จะดำเนินการได้ จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น หากดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ ก็ต้องมีบุคคลที่ต้องมีสัญชาติไทยอย่างน้อย 2 ใน 3 ส่วนการดูแลและจัดการหน่วยงานรัฐจะต้องจัดวางระบบก่อนอนุญาตให้บุคคลและวิสาหกิจชุมชนเข้าไปดำเนินการ เลขาธิการป.ป.ส.กล่าวอีกว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ยังอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกและขายมะพร้าวมากเป็นอันดับต้นของประเทศ แม้จะเป็นรองจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างอยู่บ้างก็ตาม แต่ผลิตผลที่ได้จาก “มะพร้าว” ก็มีหลากหลาย และได้รับการยอมรับในคุณภาพไม่น้อย เกือบทุกส่วนของต้นมะพร้าวที่ไม่ได้ขายผลสด จะถูกแปรรูปขาย สร้างรายได้เช่นกัน ทางมะพร้าวแก่ ที่หลุดร่วงจากต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นำไปสุมโคนต้นไม้บางชนิด เพื่อประโยชน์ในทางการเกษตร แต่ยังมีส่วนหนึ่งที่ปล่อยทิ้งไว้ หรือ กำจัดทิ้ง โดยการเผา สร้างมลภาวะทางอากาศ และทำให้หน้าดินสูญเสียแร่ธาตุ ในบางมุมมองชาวบ้านหรือเกษตรกร อาจไม่ได้มองเช่นนั้น เมื่อเห็นว่าทางมะพร้าวแก่ที่หลุดร่วงจากต้น ไม่มีประโยชน์ หากนำไปกำจัดได้ ก็น่าจะเป็นผลดี แต่สำหรับคุณฐนโรจน์ ชัยสิริธนานนท์ หรือ คุณนัต กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น คุณฐนโรจน์ เดิมที่เป็นชาวนนทบุรี แต่ปักหลักมีครอบครัวอยู่ที่ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยความสนใจในการทำเกษตรกรรม จึงศึกษาและปลูกไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไว้จำนวนหนึ่ง แม้คุณฐนโรจน์ จะไม่ได้ปลูกมะพร้าวเหมือนเช่นเกษตรกรรายอื่นทำ แต่คุณฐนโรจน์ก็เห็นคุณค่าของทางมะพร้าวแก่ท
กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน อย่าลืมต่อทะเบียน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2562 ระหว่าง วันที่ 1-30 มกราคม 2562 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชน เป็นการรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดคุณค่า สร้างรายได้ มุ่งสู่ประโยชน์ของกลุ่ม โดยภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ และมีหน่วยงานภาครัฐคอยสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินกิจการของวิสาหกิจชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กรมส่งเสริมการเกษตรขอเชิญชวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เข้ามาต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2562 ที่จะมีขึ้นในช่วง วันที่ 1-30 มกราคม 2562 โดยต้องเป็นกิจการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ต้องมีการดำเนินการจริงอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน พร้อมยื่นแบบ คำขอดำเนินกิจการต่อ ประกอบด้วย แบบคำขอดำเนินกิจการต่อ (แบบ สวช. 03) แผนประกอบการ ผลการดำเนินงาน และแบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หากวิ
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) บึงกาฬ และจังหวัดบึงกาฬ เจ้าภาพหลักในการจัด “งานวันยางพารา บึงกาฬ 2562” ได้เปิดเวทีเสวนาปราชญ์ชาวบ้าน ในหัวข้อ “วิสาหกิจชุมชนยางพาราต้นแบบ” โดย คุณธนวนิช ชัยชนะ ประธานวิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง จังหวัดบึงกาฬ ต้นแบบประชารัฐ จังหวัดบึงกาฬ คุณธนวณิช ชัยชนะ หรือ “คุณอ๊อด” เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่สวมหมวกหลายใบในฐานะ ประธานเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดบึงกาฬ และเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง ขณะเดียวกัน คุณอ๊อด ยังมีธุรกิจส่วนตัว ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีแก้วรับเบอร์เทค จำกัด คุณอ๊อด มีอาชีพทำสวนยางพารา 76 ไร่ ในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย ยางก้อนถ้วยมีปัญหาโดนกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางมาโดยตลอด คุณอ๊อดจึงรวมกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในท้องถิ่น นำน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผ่นออกจำหน่าย ปรากฏว่า ขายได้ราคาดีและมีผลกำไรมากขึ้น ต่อมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินกิจกรรม “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง เป็นหนึ่งในสถ
นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การจัดงานตลาดเกษตรปลอดภัย “Farm @Home” เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตามนโยบายประชารัฐ คือความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้พบปะผู้บริโภค ได้เรียนรู้ และเข้าใจหลักการตลาดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม โดยสินค้าที่มาจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์แปรรูป สินค้าหัตถกรรม สินค้าที่เกิดจากการผลิตของเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน สินค้าจาก Smart Farmer /Young Smart Farmer กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมการเกษตรต่างๆ ที่ได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ และสินค้าด้านการเกษตรที่มีปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากสินค้าล้นตลาดหรือมีราคาตกต่ำในช่วงกระจุกตัวของฤดูกาลผลิต ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาวางจำหน่าย พร้อม โดยบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนและจัดเตรียมพื้นที่ในการวาง
บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจาก 6 พื้นที่ มาร่วมแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ในด้านการทำเกษตรกรรมยุคใหม่ ในงาน “สานความร่วมมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกและจำหน่ายผลผลิตข้าวของวิสาหกิจชุมชนให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง โดยเน้นให้ความรู้แก่ชาวนาเพื่อพัฒนาจุดแข็ง สร้างเสริมเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ มองหาโอกาสและช่องทางการตลาดใหม่ๆ ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างรายได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนนำไปสู่การกินดี อยู่ดี มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐด้านการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ Smart Agricultural Curve เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่จัดขึ้นนี้เป็นการต่อยอดมาจาก โครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 มีวิสาหกิจชุมชนและศูนย์การเรียนรู้ที่มาเข้าร่วมงาน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด จัดตั้งเมื่อ 24 สิงหาคมคม 2555 สมาชิกแรกตั้ง 7 คน สมาชิกปัจจุบัน 90 คน ประธานกลุ่ม นายศักดิ์ชัย เอี่ยมบุญญฤทธิ์ ที่ทำการกลุ่ม บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โทรศัพท์ 061-660-0955 ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เกิดจากการรวมกลุ่มคนในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวทำกิจกรรมเพื่อหารายได้เสริมจากอาชีพประมงชายฝั่งและแปรรูปสัตว์น้ำและช่วยกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่ ปี 2547 จึงเกิดการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ตำบลน้ำเชี่ยวมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เช่น ปู ปลา หอย และนก นอกจากนั้น บ้านน้ำเชี่ยวยังมีเอกลักษณ์ของวิถีชุมชนของการอยู่ร่วมกันของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ปี 2549 ได้ริเริ่มปรับปรุงบ้านพักอาศัยให้เป็นโฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สมาชิกและชุมชนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม วิสาหกิจช
ข้าวอินทรีย์เป็นการผลิตข้าวที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ตลอดจนสารสังเคราะห์ต่างๆ ทุกชนิด อีกทั้งยังต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และเทคนิคอื่นๆ ตามมาตรฐานอินทรีย์อีกมากมาย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานในประเทศจึงมีน้อย ขณะเดียวกัน ก็มีเกษตรกรรายใหม่สมัครใจเข้ามาปลูกข้าวอินทรีย์กันเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแรงจูงใจจากราคาขายและความต้องการของตลาดที่ยังเปิดกว้าง คุณประมวล ขันธ์เพชร ประธานกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง” ตั้งอยู่เลขที่ 157 หมู่ที่ 5 ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ บอกว่า ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่ประสบปัญหาการปลูกข้าวมายาวนานจนมีรายได้ลดลงหรือบางรายมีหนี้สินจึงตัดสินเปลี่ยนมาปลูกข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานภายใต้ความอดทนต่อระเบียบ เงื่อนไขทั้งในเรื่องขั้นตอนการปลูก รวมถึงความซื่อสัตย์ เพราะเล็งเห็นว่ากำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคซึ่งมีตลาดรับซื้อแน่นอนในราคาที่ดี ประธานกลุ่มกล่าวยอมรับว่าการปลูกข้าวอินทรีย์ในยุคแรกของการปรับเปลี่ยนในสังคมคนทำนาด้วยกันยังไม่มีใครยอมรับ หรือแม้แต่ในจังหวัดอำนาจเจริญยังไม่ใช่กลุ่มใหญ่ที่เข้มแข็ง ด้วยเ