สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
นายณะที ไกรลพ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลให้แก่นักศึกษาที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมพัฒนาฟีเจอร์การเกษตรอัจฉริยะบน LINE OA BAAC ตามโครงการ “SMART LINE OA FOR SMART FARMER” ซึ่ง ธ.ก.ส. ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีโอกาสนำเสนอแนวคิดแข่งขัน ประลองความรู้ ค้นหาไอเดียพัฒนาฟีเจอร์การเกษตรอัจฉริยะบน LINE OA BAAC ซึ่งมีนักศึกษาสมัครส่งผลงานประกวดจำนวน 76 ทีม โดยผู้ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมลิ้นชักซ้อนทับได้ ชื่อผลงานจัดหางานสำหรับเกษตรกร ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Sompong Team ชื่อผลงาน PLANTING PLANNING_FEATURE ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมทีเด็ดอยู่นี่ ชื่อผลงาน จองคิวเครื่องจักรกลการเกษตร ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท และรางวัลอื่นๆ ตามลำดับ ธ.ก.ส. มุ่งหวังให้โครงการครั้งนี้เป็นแรงผลักดันให้นักศึกษา และเกษตรกรรุ่นใ
นายไพศาล หงษ์ทอง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมเปิดโครงการ “SMART LINE OA FOR SMART FARMER” จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษา ได้มีโอกาสนำเสนอแนวคิด ประลองความรู้ แข่งขันลงมือปฏิบัติงานจริงผ่าน LINE Official BAAC Family โดยให้นักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ค้นหาไอเดียพัฒนาฟีเจอร์การเกษตรบน LINE OA BAAC โดยได้รับเกียรติจาก LINE thailand มาให้ความรู้จุดประกายแนวคิดใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมพัฒนาฟีเจอร์การเกษตรอัจฉริยะเข้าประกวดชิงรางวัลมูลค่ารวม 35,000 บาท ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) บูรณาการการศึกษารูปแบบใหม่ “เรียนร่วมกับการทำงาน” ผ่านโครงการ Co-Creation ยกระดับศักยภาพคนรุ่นใหม่ ติดอาวุธระหว่างเรียน เปิดโอกาสได้นำทักษะความรู้ด้าน STEM (Science Technology Engineering Mathematics) และดิจิทัล ควบคู่กับความเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ สร้างสรรค์นวัตกรรมรองรับความต้องการอุตสาหกรรมอาหาร และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การลงนามในครั้งนี้ เป็นการผนึกกำลังระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจพัฒนาการศึกษาของเยาวชนไทย “ร่วมสร้างคน สร้างอนาคต สร้างเครือข่าย” ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและตลาดแรงงาน โดยซีพีเอฟมีส่วนร่วมเพื่อผลิตบัณฑิตวิศวกรคุณภาพที่มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurial mindset) นอกจากการเรียนภาคทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษามีโอกาสได้ทำงานและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากผู้เชี่ยวชาญของซีพีเอฟ โดยนำร่องความร่วมมือด้านวิศวกรรมศาสตร์ ใน 4 หลักสูตรสาขาวิชา ได้แก่ วิศวกรรมการผลิตเชิงบูรณาการ วิศวกรรมระบบไอทีแ
วช. หนุนทีมวิจัย ม.บูรพา พัฒนาคลังข้อมูลดีเอ็นเอบาร์โค้ดของปลาฉลาม-ปลากระเบนในประเทศไทย และพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ช่วยให้เห็นภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคุมการค้าปลาฉลามได้อย่างเหมาะสม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา ในการพัฒนาคลังข้อมูลดีเอ็นเอบาร์โค้ดของปลาฉลามและกระเบนในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ข้อมูลดีเอ็นเอใช้จำแนกชนิดฉลามและกระเบนร่วมกับสัณฐาน ช่วยให้เห็นภาพความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์กลุ่มนี้ในหลายระดับ ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูปจากฉลามและกระเบน ที่มีการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ครีบปลาฉลามตากแห้ง ครีบปลาฉลามบรรจุกระป๋อง อาหารที่ทำจากชิ้นส่วนของปลาฉลามหรือกระเบน ซึ่งข้อมูลพันธุกรรมจะถูกนำมาช่วยระบุชนิดของปลาฉลาม-กระเบนที่เป็นชนิดคุ้มครองและหายาก ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ละเมิดกฎหมายได้ และทำให้ผู้ผลิตมีความระมัดระวังในการใช้วัตถุดิบด้วย ซึ่งเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยา
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดงานการสัมมนาความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมนวัตกรรม Agriculture Solar Solutions เพื่อโครงการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ สู่เป้าหมายความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy Model to Sufficiency Economy Development Zones for Human Stability & Sustainable Development) ระหว่างกระทรวงมหาดไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กลุ่มบริษัท AMARENCO และมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ โดยมี ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา Mr. Alain Desvigne ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท AMARENCO คุณสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดุสิตธานี นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ นายกสมาคมสถาบันทิวา รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้แทนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (อว.) จับมือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สร้างความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค งานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน พร้อมส่งเสริมการใช้ประโยชน์สู่ภาคอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร – รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีข้อตกลงที่จะร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค งานวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง พร้อมส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดังกล่าว สู่การประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งร่วมพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมสร้างความร่วมมือเครือข่ายงานวิจัยที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน” “สถาบันฯ มีพันธกิจในการวิจัย ให้บริการส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และการใช้ประโยชน์นำไปสู่การยกระดับ และพัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขี
AXONS (แอ๊กซอน) บริษัทเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร (Agritech) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ “42 บางกอก” สถาบันโปรแกรมเมอร์ชั้นนำระดับโลก ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม และพัฒนาโปรแกรมเมอร์ด้าน Agritech ยกระดับศักยภาพภาคเกษตรกรรมของไทยสู่ยุคดิจิทัล พิธีลงนาม MOU ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ นายสรรเสริญ สมัยสุต กรรมการผู้จัดการ แอ๊กซอน ร่วมลงนามโดยมี นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และ ผศ.ดร. ชัยยันต์ เจตนาเสน รักษาการแทนอธิการ 42 บางกอก เป็นสักขีพยาน ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายสรรเสริญ กล่าวว่า ความร่วมมือของสององค์กรในครั้งนี้ เพื่อผลิตโปรแกรมเมอร์ที่มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาคุณภาพของบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมของประเทศและของโลก โดยเฉพาะในด้านธุรกิจเกษตรอุ
ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งมีความต้องการใช้ก๊าซออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์สูง เพื่อนำมาใช้รักษาผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายแห่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณถังออกซิเจนที่โรงพยาบาลเตรียมไว้มีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ความดันบรรยากาศสูง ซึ่งส่วนใหญ่มีให้บริการเฉพาะในโรงพพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีต้นทุนในการก่อสร้างและติดตั้งสูงมาก โรงพยาบาลขนาดกลาง ขนาดเล็กจึงไม่มีให้บริการ ทำให้ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการวิกฤต และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาอาการด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังของเยื่อหุ้มกระดูก โลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดเป็นจำนวนมาก โรคคาร์บอนมอนนอคไซด์เป็นพิษ / การสำลักควันไฟ ฯ ต้องมารอรับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่่านั้น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาเครื่องผลิตแก๊สออกซิเ
วช.หนุนทีมวิจัย สจล.ถ่ายทอดกระบวนการผลิตไอน้ำสมุนไพร ต่อยอดองค์ความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ชี้เป็นเทคโนโลยีการเกษตรแบบปลอดภัย สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดย วช. ได้ให้ทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการการยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ประจำปี 2564 (การพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทางพระราชดำริ) ให้กับ “โครงการการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ด้วยไอน้ำสมุนไพร: ชุมชนพึ่งตนเอง ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี” ซึ่งมี “ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน” จากสถาบันเทคโนโลยีพร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) นำโดย ดร. ณัฐภพ สุวรรณเมฆ นักวิจัย ทีมวิจัยสิ่งทอ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. ผศ.ดร. ลำแพน ขวัญพูล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คุณนวลนภา เจริญรวย เจ้าของสวนทุเรียน“สวนสไตล์ช๊าลฮิ” อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ร่วมเปิดตัว “นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน Magik Growth เพื่อชาวสวนยุคใหม่ ลดใช้สารเคมี” ภายใต้โครงการการขยายผลนวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวนเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวสวนทุเรียน ดร. ณัฐภพ สุวรรณเมฆ นักวิจัยทีมวิจัยสิ่งทอ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า ในปี 2564 ทุเรียนเป็นพืชส่งออกอันดับ 2 รองจากยางพารา โดยการส่งออกทุเรียนสดและแช่แข็งตลอดเดือนมกราคม-พฤษภาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 58,344 ล้านบาท แต่ชาวสวนทุเรียนยังประสบปัญห