สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 89 เป็นผลงานปรับปรุงพันธุ์พืช ภายใต้การสนับสนุนของแหล่งทุนวิจัยคือ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้ทุนพัฒนาวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม สนับสนุนการวิจัยและ ทุนการศูนย์นิสิตปริญญาเอก ดร.มงคล ศรีจันทร์ ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท (มหาวิทยาลัยนเรศวร) และที่ปรึกษารอง ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ 2. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการปลูกทดสอบ 4 สถานี ได้แก่ อ่างขาง อินทนนท์ แม่สาใหม่ และแม่แฮ และการเก็บรักษาโครงการวิจัยเรื่อง “การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีก่อนและหลังเก็บเกี่ยวสตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 89 ในเขตภาคเหนือ” ดำเนินโครงการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท และคณะนักวิจัย แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตสารแอนโทไซยานินในสตรอเบอร์รี ณ สถานีเกษตรโครงการหลวงทุ่งหลวง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ รศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าวว่า สตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 89 เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างสตรอเบอร์รีพันธุ์ 329 เป็นสายพันธุ์พ่อและสตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นสายพันธุ์แม่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือภาคีด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวทีเสวนาการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “PA Forum : EP.1 – Active Environment for All การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ขับเคลื่อนแนวคิดพื้นที่สุขภาวะที่ทุกคนมีส่วนร่วม นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า วันนี้พฤติกรรมเนือยนิ่งแผ่กระจายไปทั่วเหตุเพราะสังคมก้มหน้า ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น หรือคนแก่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หลักฐานเชิงประจักษ์ 15 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตและเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการสวนหัวใจเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ขณะที่ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองเองก็เพิ่มถึง 3 เท่า สิ่งที่ สสส. ดำเนินการก็คือการเชื่อมโยงความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ประชาสังคม และประชาชน ข้อมูลจากสหประชาชาติ ระบุว่า กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทย (ตั้งแต่อายุ 30-70 ปี) สูงถึงร้อยละ 74 สสส. จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในแง่การลดค
อีกหนึ่งก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ มุ่งสู่หมุดความสุขอย่างยั่งยืนทั้งกายและใจของคนทุกเพศทุกวัย เมื่อเร็วๆ นี้ Imagine Thailand Movement โดย ‘ดร.อุดม หงส์ชาติกุล’ ผู้นำการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ยกทัพเหล่าผู้นำชุมชน และเยาวชน นักขับเคลื่อนสุขภาวะ ต.คลองพน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ กว่า 20 ชีวิตขึ้นเหนือร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนรู้การพัฒนาชุมชนสู่พื้นที่สุขภาวะต้นแบบ กับผู้นำชุมชน และแกนนำเยาวชน ต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่านเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ นำความรู้กลับไปพัฒนาพื้นที่ตนเองให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ ปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยง ดร.อุดม หงส์ชาติกุล กล่าวว่า กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้ผู้นำและแกนนำเยาวชนทั้งสองพื้นที่ได้มาเรียนรู้ร่วมกัน เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการวางแผนยุทธศาสตร์เคลื่อนไปข้างหน้าในการพัฒนาตำบลของตนเองให้เป็นตำบลสุขภาวะต้นแบบต่อไป แต่ละชุมชนมีจุดเด่นของตัวเอง ทำอย่างไรให้นำจุดเด่นนั้นมาส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะ ส่งเสริมให้เกิดการกินดีอยู่ดี มีความสุขทั้งกายใจ ซึ่งคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกคนสามารถนำจุดแข็งของชุมชนตนเองขึ้นมาขยายผล และท
วันนี้ ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ใช่จะมีชื่อเสียงในเรื่องการทำไชโป้วเท่านั้น ที่นี่ยังได้ชื่อว่าเป็นแหล่งของปราชญ์ชุมชน ไม่ว่าจะเป็น’มานพ มีจำรัส’ หรือ’ครูนาย’ ศิลปินเต้นร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร กระทรวงวัฒนธรรม หรือครูกอล์ฟ’ธนกร สดใส’ ผู้เชี่ยวชาญการทำบายศรี รวมทั้งผู้นำ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในอีกหลากหลายสาขา ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าคนเหล่านี้ได้รวมตัวกัน เป็นกลุ่มผู้ก่อการดี เพื่อช่วยกันพัฒนา ขับเคลื่อนให้เจ็ดเสมียน เป็นตำบลสุขภาวะ โดยได้ร่วมกับ Imagine Thailand Movement ภายใต้การนำของ ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้ง Social Lab ห้องปฏิบัติการทางสังคม (ประเทศไทย) และผู้นำการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้พลังความร่วมมือของเหล่าผู้ก่อการดีสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมายให้คนทุกเพศทุกวัยในเจ็ดเสมียน อยู่อย่างมีความสุขมีสุขภาพดีทั้งกาย ใจ ปลอดจากปัจจัยเสี่ยง ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ได้เชื้อเชิญเหล่าผู้ก่อการดีกว่า 20 คนของเจ็ดเสมียน ทั้งปราชญ์ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ตั
“การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ประโยคที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับองค์กรอนามัยโลกที่ได้ให้คำนิยามคำว่า ‘สุขภาพ’ ในความหมายกว้างขึ้นหมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง “สังคมสุขภาพดี” กลุ่ม Sahagroup Healthcare & Wellness ภายใต้เครือสหพัฒน์ จัดการบรรยายด้านสุขภาพ 3 หัวข้อ กิจกรรมส่วนหนึ่งของงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งที่ 26 ได้แก่ สุขภาพดีในสถานประกอบการ, การใช้ชีวิตให้สุขภาพดี อายุยืน ยืนได้ และ จะอยู่อย่างไรให้หุ่นดี อนามัยดี ภูมิดี นอนดี โดยผู้มีประสบการณ์ในแต่ละด้านนำองค์ความรู้มาบรรยาย พร้อมแนะนำการใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข และมีสุขภาพดี ตอบโจทย์ผู้ที่รักสุขภาพ และส่งเสริมตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยมี นายปณิธาน ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการ บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) และ ประธานกลุ่ม Sahagroup Healthcare & Wellness ให้เกียรติเป็น Moderator และเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมสัมมนาที่เป็นประโยชน์ในครั้งนี้ เริ่มต้นการเสวนาในหัวข้อแรก “สุขภาพดีในสถานประกอบการ” การขับเคลื่อนจากสังคมสุข
ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้รู้จักพืชกระท่อมมานานกว่า 100 ปี ใช้เป็นยารักษาโรค เป็นของขบเคี้ยวระหว่างเพื่อนฝูง และเป็นของกินเพื่อต้อนรับแขกที่มาเยือน ไม่ต่างจากกินหมากพลูของชาวภาคกลาง การเคี้ยวใบกระท่อมอยู่ในวิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้เช่นเดียวกับ “การดื่มกาแฟของคนเมือง” ก่อนการไปทำงานในแต่ละวัน เพราะเชื่อว่า การเคี้ยวใบกระท่อม จะช่วยให้ทำงานได้ยาวนานขึ้น ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์กระท่อมในฐานะพืชสมุนไพร พบว่า ความรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ได้ถ่ายทอดสู่ลูกหลานรุ่นต่อรุ่นในการใช้ใบกระท่อมรักษาโรค ได้แก่อาการไอเรื้อรัง ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อย ปวดท้อง แผลอักเสบ แก้ไข้ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมะเร็ง ฯลฯ อาจใช้ ใบกระท่อมเป็นยาหลักหรือยารอง ในการบรรเทาอาการท้องร่วง หรือบางตำรับ อาจผสมกับเครื่องยาที่มีรสฝาด และเครื่องยาลดอาการท้องอืดเช่นเดียวกัน ภูมิปัญญาการใช้พืชกระท่อมในการรักษามีมานานมากแล้วและค่อย ๆ สูญหายไปตามกาลเวลา ตายไปพร้อมกับหมอพื้นบ้าน แม้ว่ากระท่อมได้รับการบรรจุเป็นยาในตำราแพทย์แผนไทย แต่การนำมาใช้ถูกจำกัดด้วยก
วันนี้ (30 สิงหาคม 2564) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดงานสัมมนาออนไลน์ Brainpower Symposium ในหัวข้อ “New Era, New Brainpower, New Skills: ทัศนะการพัฒนากำลังคนเพื่อโลกยุคใหม่” โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันอุดมศึกษากว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ร่วมรับฟังมุมมองต่อสถานการณ์และการคาดการณ์อนาคตด้านการพัฒนาบุคลากรนำไปสู่การออกแบบทิศทางการพัฒนาบุคลากรได้ตรงตามความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเปิดตัวหนังสือ “Multi Mentoring System วิจัยไทยก้าวไกลด้วย MMS” สังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ริเริ่มและทำงานร่วมกัน โอกาสนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการเปิดงานพร้อมกับกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “The Next Step of Brainpower” ระบุว่า ในปัจจุบันจะพบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มในด้านการพัฒนากำลังคนที่ดี เมื่อดูจากดัชนีการพ
“ไก่พื้นเมือง” หรือ “ไก่บ้าน” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชาของเนื้อไก่” เพราะแข็งแรง ทนทาน เลี้ยงดูง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มีความต้านทานโรคสูง เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม มีไขมันต่ำ นำมาปรุงอาหารได้อร่อยหลากหลายเมนู ยกตัวอย่างเช่น “ไก่บ้านตะนาวศรี” ที่มีรสชาติและรสสัมผัสอร่อยเข้มข้นถูกปากผู้บริโภคแล้ว เนื้อไก่ยังมีโปรตีนสูง แต่มีปริมาณไขมันต่ำกว่าไก่ทั่วไป จึงได้รับความนิยมสูงติดตลาดมานานกว่า 20 ปี “ไก่บ้านตะนาวศรี” นับเป็นไก่พื้นเมืองสายพันธุ์เดียวที่ถูกนำมาพัฒนาเชิงการค้าอย่างครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “บริษัท ตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด” ซึ่งกลายเป็นผู้นำตลาดไก่พื้นเมืองครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของเมืองไทยอีกด้วย กว่าจะเป็น “ไก่บ้านตะนาวศรี” ด้วยความช่างคิดของ “คุณลิขิต สูจิฆระ” ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท ตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด ซึ่งผันตัวเองจากการเป็นอาจารย์ทางด้านเกษตรมาใช้ชีวิตแบบเกษตรกรเต็มขั้น ท่านไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาและปรับปรุงทั้งสายพันธุ์และกระบวนการเลี้ยงไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านให้มีคุณภาพดีขึ้น ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ทำอย่างไรให้ไก่พื้นบ้าน มีคุณภาพเนื้อที่ดี อร่อย เหมา
ตลอดระยะเวลา 55 ปี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มุ่งมั่นสร้าง Better Life คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชนบท Better Community ชุมชนที่ดีและเข้มแข็งขึ้น และ Better Pride สร้างความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนงานพัฒนาชนบทว่า ธ.ก.ส. มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เน้นดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด มีการจัดการด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยเน้นความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส. มุ่งเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริหารจัดการทางการตลาด เช่น การเชื่อมโยงตลาด Social C
เชื่อว่า หลายคนชอบกินปลากุเลาเค็ม โดยเฉพาะเมนูข้าวผัดปลากุเลาเค็ม ทอดมันปลากุเลาเค็ม สปาเกตตี้ปลากุเลาเค็ม หลนปลากุเลาเค็ม คะน้าปลากุเลาเค็ม ผัดผักบุ้งปลากุเลาเค็ม กุ้งสับผัดปลากุเลาเค็ม ยำปลากุเลาเค็มทอด หากมีเมนูอาหารเหล่านี้วางตรงหน้า มั่นใจว่าหลายคนคงขอเติมข้าวสวยอีกหลายๆ รอบ เพื่อลิ้มลองรสชาติความอร่อยของปลากุเลาให้สะใจกันสักมื้อ วิถีชีวิตปลากุเลา “กุเลา” เป็นปลาที่ชอบอยู่เป็นฝูง มักหากินหน้าดินโคลน ตั้งแต่ริมชายฝั่งทะเลไปจนถึงบริเวณห่างจากฝั่งประมาณ 5 กิโลเมตร พบมากบริเวณปากอ่าวปัตตานี ปากคลองต่างๆ กุเลาเป็นสัตว์น้ำที่ชอบล่าเหยื่อ โดยเฉพาะสัตว์น้ำตัวเล็กๆ เช่น ปลาหลังเขียว ปลากะตัก กุ้งเคย ฯลฯ นับเป็นความโชคดีที่ได้พบเห็นปลากุเลาในทะเลปัตตานี เพราะเป็นดัชนีชี้วัดว่า ท้องทะเลปัตตานียังคงมีความอุดมสมบูรณ์ ระบบห่วงโซ่อาหารในทะเลยังเป็นไปอย่างครบวงจร มีสัตว์น้ำขนาดเล็กที่เป็นแหล่งอาหารของปลากุเลาและปลาใหญ่ชนิดอื่นๆ ชาวประมงพื้นบ้านปัตตานียังคงใช้เครื่องมืออวนปลากุเลาในการจับปลากุเลา ซึ่งเป็นอวนที่ต้องพึ่งพาการไหลของกระแสน้ำเป็นหลัก ช่วงเวลาที่ชาวประมงพื้นบ้านมักจับปลากุเลาได้ คือช่ว