ส้มโอทับทิมสยาม
“อำเภอทองผาภูมิ” จังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งขุนเขาและสายน้ำ ดินดี น้ำดี ปลูกอะไรก็งดงาม รสชาติอร่อย โดยเฉพาะผลไม้คุณภาพดี รสชาติอร่อย ได้แก่ เงาะทองผาภูมิ หวานล่อน กรอบ อร่อย ทุเรียนทองผาภูมิดีกรีแชมป์โลก เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ กล้วยไข่ลิ่นถิ่น เนื้อแน่น หอม หวาน รสชาติอร่อยแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งปลูกส้มโอส่งออกขนาดใหญ่อีกด้วย “จีนแส การ์เด้น” เป็นหนึ่งในผู้ผลิตส้มโอส่งออกรายใหญ่ของอำเภอทองผาภูมิ สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ เลขที่ 123/9 หมู่ที่ 5 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 084-104-3210 และ 092-462-9292 ศูนย์รวมสายพันธุ์ส้มโอ คุณสานุ จีนแส เกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งเป็นทายาทของสวนจีนแส การ์เด้น เล่าให้ฟังว่า คุณพ่อได้บุกเบิกทำสวนจีนแส การ์เด้น ตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ช่วงแรกปลูกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งและส้มโอพันธุ์ทองดีเป็นหลัก จนถึงปัจจุบันคุณพ่อได้ปลูกและสะสมส้มโอสายพันธุ์ดีไว้มากมาย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีข้อดีแตกต่างกันไป เช่น ส้มโอขาวแตงกวา ผลไม้เด่นขึ้นชื่อของจังหวัดชัยนาท มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ รสชาติหวานซ่อนเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด
กว่า 10 ปีมานี้ ตลาดส้มโอทับทิมสยาม ผลไม้เด่นอีกชนิดของชาวปากพนัง นครศรีธรรมราช ดูจะคึกคักและมาแรงมาก ส่งผลให้ชาวสวนหันมาทุ่มเทดูแลเอาใจใส่การปลูกอย่างเต็มที่ก็ยิ่งเพิ่มความอร่อย หวาน และกลิ่นหอมให้กับพันธุ์ส้มโอเนื้อแดงมากขึ้น คุณชนะวัฒน์ มากลับ บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 15 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 099-330-0762 fb: ชนะวัฒน์ มากลับ มีพื้นที่ปลูกส้มโอทั้งหมด 9 ไร่ จำนวนประมาณ 220 ต้น ปลูกส้มโอทับทิมสยามอย่างมีคุณภาพ ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด บริหารจัดการสวนอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานของสำนักงานเกษตร เพื่อให้ได้ส้มโอทับทิมสยามที่มีรสอร่อย มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค จนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดส้มโอทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมส่งตรงถึงหน้าบ้าน คุณชนะวัฒน์ปลูกส้มโอทับทิมสยามด้วยการใช้กิ่งพันธุ์ตอนมาจากสวนของชาวบ้านในพื้นที่ กับอีกส่วนหนึ่งซื้อมาเสริม ปลูกในพื้นที่แปลงใหม่ เนื่องจากปากพนังเป็นพื้นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมขัง การปลูกส้มโอจึงต้องยกร่อง โดยขุดดินชั้นล่าง ความลึก 2-3 เมตร ขึ้นมาทำเป็นคันดินปลูก แล้วปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ปลูกพืชคลุมดินแล้วไถกลบ ลักษณะ
วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ กลุ่มสารนิเทศและ ประชาสัมพันธ์ วช. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เยี่ยมชมโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานและรักษาคุณภาพสู่ชุมชนต้นแบบการผลิตส้มโอทับทิมสยามเชิงพาณิชย์” โดยมี รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นหัวหน้าโครงการฯ เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาจัดการความรู้แบบครบวงจร พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาผลักดันชุมชนต้นแบบการผลิตและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวของส้มโอทับทิมสยามที่มีคุณภาพสูงที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยมี รศ.ดร.นริศ ท้าวจันทร์ แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางปฏิมา ยิ่งขจร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอปากพนัง และเกษตรกรในพื้นที่ ร่วมรับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมโครงการวิจัยฯ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยาม ไร่ทรัพย์สุวรรณ และสวนส้มโอ ป้าแดง-ลุงแอ๊ด อ
“ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม” ต้นกำเนิดสายพันธุ์จากภาคใต้ เปลือกบาง มีเนื้อสีแดงเข้มเหมือนสีทับทิม รสชาติหอมหวาน เนื้อนุ่มน่ารับประทาน ซึ่งส้มโอพันธุ์นี้แตกต่างจากส้มโอพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน มีลักษณะประจำพันธุ์ที่โดดเด่น คือ เนื้อผลมีสีชมพูเข้มจนถึงแดงเหมือนสีทับทิม ผิวผลส้มโอและหลังใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ มีความเฉพาะเจาะจงกับสภาพพื้นที่ จึงปลูกกันไม่แพร่หลาย ปัจจุบันพบว่าส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และจำหน่ายได้ในราคาสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค คุณสุธาทิพธ์ อิ่มสำราญ อายุ 48 ปี และ คุณประดิษฐ อิ่มสำราญ อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12/2 หมู่ ที่ 9 ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เจ้าของสวนชื่อ “ส้มโอทับทิมสยาม ตามรอยพ่อ” ซึ่งปลูกต้นส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม จำนวน 16 ไร่ คุณสุธาทิพย์ ได้เล่าว่า เดิมตนทำงานอยู่ธนาคาร เพิ่งลาออกมาได้ประมาณ 8 เดือน เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วน คุณประดิษฐ ทำงานอยู่ที่การไฟฟ้านครหลวง และเป็นคนจังหวัดสิงห์บุรี และยังคงทำงานอยู่ ตนมีคุณพ่อเป็นเจ้าของสวนส้มโอพันธุ
ส้มโอทับทิมสยาม ถือเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่เป็นของดีขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราชในเวลานี้ ที่สามารถปั่นรายได้เข้าสู่กระเป๋าเกษตรกร เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค คุณปรเมศวร์ วัลดาว เกษตรตำบลคลองน้อย เล่าว่า คุณเสริม แขดวง ถือเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านการเงิน เศรษฐกิจ หรือพูดง่ายคือความเก่ง ความรอบรู้ ต่อมาด้านศีลธรรม คือเรื่องของการแบ่งปันความรู้ การช่วยเหลือผู้อื่น รวมไปถึงส่งมอบโอกาสดีๆ ให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีพืชผลเศรษฐกิจทำรายได้ดีอย่างส้มโอทับทิมสยาม ด้วยสาเหตุที่ว่า ยังไม่มีคู่แข่งผลิตส้มโอทับทิมสยามที่ได้คุณภาพ และผ่านการรับรองจาก GI ถึงแม้อาจจะมีเกษตรกรนอกอำเภอ นอกจังหวัด เอากิ่งพันธุ์ไปปลูก แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของรสชาติ ความหวาน ได้ดีกว่าส้มโอทับทิมสยามของตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช “ผมมองว่าในพื้นที่นี้ มันก็เป็นส้มโอทับทิมสยาม และถ้าให้พูดกันตรงๆ พืชที่ทำรายได้ดีที่สุดของอำเภอปากพนัง คือส้มโอทับทิมสยาม แต่ว่า
ทับทิมสยาม ไม่ใช่พันธุ์ส้มโอดั้งเดิมในพื้นที่ปากพนัง หากแต่เป็นส้มโอพันธุ์พูโก หรือ ปูโก พืชท้องถิ่นเมืองของบ้านปราโอ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่ร่วมปลูกกับส้มโอพันธุ์อื่นๆ เช่น ขาวทองดี โรตี บานหยา เป็นต้น รวมไปถึงการทำเป็นสวนผสมผลไม้ชนิดอื่นๆ ไปพร้อมด้วย ทั้ง มังคุด ทุเรียน ลองกอง เงาะ เป็นต้น มีข้อมูลที่ คุณวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 สุราษฎร์ธานี เล่าถึง คุณหวัง มัสแหละ นำกิ่งพันธุ์มาปลูกเป็นรายแรก ในปี พ.ศ. 2523 จากนั้นก็แพร่หลาย เป็นที่รู้จักกันต่อๆ มา จนถึงเมื่อราวปี พ.ศ. 2544 คุณอัมพร สวัสดิ์สุข บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 15 บ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย เกษตรกรเมืองปากพนังเริ่มปลูกในพื้นที่ของตนเอง ต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น ที่บ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยปกติแล้ว พื้นที่ในเมืองนครศรีธรรมราชก็มีพืชท้องถิ่นอื่นๆ อีกหลากหลายชนิด ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ ตลอดจนส้มโออยู่แล้ว แต่เมื่อได้ทดลองนำกิ่งพันธุ์ส้มโอชนิดใหม่มาปลูก ก็ดูจะให้ผลผลิตดี โดยเฉพาะพื้นที่ในอำเภอปากพนัง ที่มีสภาพเป็
“ส้มโอทับทิมสยาม” ผลไม้ทำเงินของคนลุ่มน้ำปากพนัง ด้วยจุดเด่นเนื้อผลหรือกุ้งมีขนาดเล็กเบียดเสียดกันจนแน่น ไม่แตกง่าย ไม่แฉะน้ำ แห้งกรอบ เนื้อสีชมพูถึงแดงคล้ายทับทิม เมล็ดเรียงชิดแกนผล รสชาติหวานและหอมนุ่ม ไม่มีรสขมติดลิ้น ส่งผลให้ ส้มโอทับทิมสยาม เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ไม่ยาก โดยตลาดส่งออกหลักของส้มโอทับทิมสยามคือ ประเทศจีน นับเป็นผลไม้สร้างเงินสะพัดของคนปากพนัง นครศรีธรรมราชได้เป็นอย่างดี คุณวาริน ชิณวงศ์ หรือ พี่น้ำ กรรมการหอการค้าไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิณวงศ์กรุ๊ป 2014 จำกัด สวนอยู่ที่ หมู่ที่ 15 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตนักธุรกิจ ไอที ผันตัวเป็นเกษตรกรมืออาชีพ ปลูกส้มโอทับทิมสยามส่งออก สร้างรายได้เริ่มต้นหลักล้าน ด้วยเทคนิคการจัดการสวนอย่างเป็นระบบ และทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้วอยู่เสมอ พี่น้ำ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตนเคยประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจด้าน ไอที มาก่อน แต่เนื่องจากธุรกิจ ไอที ที่ทำมาเกือบ 18 ปี เริ่มเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่านจากคอมพิวเตอร์มาเป็นสมาร์ทโฟน ส่งผลให้ธุรกิจมียอด
เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ลุยพื้นที่เร่งพัฒนาคุณภาพส้มโอทับทิมสยาม สินค้าเด่นลุ่มน้ำปากพนัง ให้ได้มาตรฐาน ผลิตตามหลักวิชาการ จัดการดี เก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม จะได้ส้มโอคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของลูกค้า จากการบอกกล่าวของ คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้พูดถึงเรื่องสินค้าดังของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในยุคนี้ต้องยกให้ส้มโอทับทิมสยามที่เป็นพืช GI ปลูกได้ดีเฉพาะในพื้นที่ตำบลคลองน้อย และตำบลใกล้เคียงของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกรวมประมาณ 2,953 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 2,501 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 7,503,000 กิโลกรัม หรือประมาณ 5,002,000 ผล เกษตรกรที่ทำสวนส้มโอทับทิมสยามส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ปลูกไม่เกิน 10 ไร่ แต่เนื่องจากส้มโอทับทิมสยามมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้ได้รสชาติที่อร่อย หวานเข้ม หอม และมีสีแดงจัด เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สามารถขายที่หน้าสวนได้ราคาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ผลละ 200 บาท สถานการณ์การผลิตและแนวโน้มในอนาคต เกษตรกรจะหันมาปลูกส้มโอทับทิมสยามกันมากขึ้น และเริ่มเข้าสู่มาตรฐานการผลิตพืช GAP มากขึ้น จนกระท
“ส้มโอทับทิมสยาม” ไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสินค้าขายดีที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะคนจีน ที่ชื่นชอบส้มโอจากประเทศไทยมากเป็นพิเศษ เนื่องจากส้มโอทับทิมสยาม มีเนื้อแดง รสหวานฉ่ำ อร่อย น่ารับประทาน แถมยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีสรรพคุณทางยา มีวิตามินซีสูง สาวจีนจึงนิยมรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก ดังนั้น ส้มโอทับทิมสยาม จึงมีโอกาสส่งออกไปขายในประเทศจีนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2561 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนทุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์โดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2560 ให้กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำสำหรับสวนส้มโอทับทิมสยาม ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนส้มโอทับทิมสยามและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในระดับผู้นำในพื้นที่ รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี และ รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี แ
“ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม” ต้นกำเนิดสายพันธุ์จากภาคใต้ เปลือกบาง มีเนื้อสีแดงเข้มเหมือนสีทับทิม รสชาติหอมหวาน เนื้อนุ่มน่ารับประทาน ซึ่งส้มโอพันธุ์นี้แตกต่างจากส้มโอพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน มีลักษณะประจำพันธุ์ที่โดดเด่น คือ เนื้อผลมีสีชมพูเข้มจนถึงแดงเหมือนสีทับทิม ผิวผลส้มโอและหลังใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ มีความเฉพาะเจาะจงกับสภาพพื้นที่ จึงปลูกกันไม่แพร่หลาย ปัจจุบันพบว่าส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และจำหน่ายได้ในราคาสูง ราคาจากในสวนเฉลี่ยแล้ว ผลละ 200-300 บาท และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค คุณสุธาทิพธ์ อิ่มสำราญ อายุ 48 ปี และ คุณประดิษฐ อิ่มสำราญ อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12/2 หมู่ที่ 9 ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เจ้าของสวนชื่อ “ส้มโอทับทิมสยาม ตามรอยพ่อ” ซึ่งปลูกต้นส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม จำนวน 16 ไร่ คุณสุธาทิพย์ ได้เล่าว่า เดิมตนทำงานอยู่ธนาคาร เพิ่งลาออกมาได้ประมาณ 8 เดือน เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วน คุณประดิษฐ ทำงานอยู่ที่การไฟฟ้านครหลวง และเป็นคนจังหวัดสิงห์บุรี และยังคงทำงานอย