อภัยภูเบศร
หนึ่งในความปรารถนาของใครหลายๆ คน คือการมีบ้านที่ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้ ดอกไม้นานาพันธุ์ ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งคนที่มีความฝันที่จะมีบ้านเล็กๆ สักหลัง แล้วปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ล้อมรอบบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวขจี อีกทั้งยังเพิ่มสีสันสดใส ที่ได้จากดอกไม้เวลาบานสะพรั่งด้วย แต่ใครบ้างที่จะทราบว่า ดอกไม้แสนสวยที่บ้างก็มีกลิ่นหอมดึงดูดทั้งคนและแมลง บ้างก็มีสีสดสวยดึงดูดสายตาเหล่านั้น นอกจากจะใช้ประดับเพิ่มความงามให้กับบ้านแล้ว ยังเป็นสมุนไพรมากคุณค่าอีกด้วย ตัวอย่างไม้ดอกที่เราพบเจอกันได้บ่อยๆ ที่ไม่ได้เป็นแค่ต้นไม้ประดับ แต่ยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยดูแลสุขภาพเราด้วย 1. ปีบ หรือกาสะลอง ต้นไม้สูง ออกดอกขาวโพลนทั้งต้น กลิ่นหอมโชยตามลมอย่างต้นปีบนี้ ไม่ได้แค่สวยและหอมอย่างเดียว เพราะดอกของต้นปีบ ใช้เป็นสมุนไพรในการแก้โรคหอบ หืด ได้โดยการนำดอกมามวนสูบ 2. เบญจมาศ ดอกไม้ที่เป็นไปด้วยกลีบเล็กๆ อัดซ้อนกันจนแน่นอย่างเบญจมาศนี้ ไม่ได้แค่สวยอยู่แต่ในแจกันเท่านั้น เราสามารถนำดอกและใบมาคั้นเป็นยาสมุนไพร ใช้สำหรับรักษาบาดแผล หรือจะนำไปต้มดื่มรักษาโรคนิ่ว โรควัณโรค และโรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง 3. บุนนาค ไม้ดอกกลีบบางน่
ตะไคร้ ช่วยให้ผมดกดำ ลดปัญหาผมแตกปลาย ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเส้นผมให้คุณได้อย่างปลอดภัย เพียงแค่คุณนำต้นตะไคร้มาสัก 3-4 ต้น นำมาล้างให้สะอาด จากนั้นแกะเปลือกนอกที่แข็งๆ ของตะไคร้ออก สัก 2-3 เปลือก แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนเล็กๆ จะตำหรือใส่เครื่องปั่นก็ได้ แต่ต้องทำให้ได้เนื้อตะไคร้ที่ละเอียดๆ จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำตะไคร้เข้มข้นที่ได้จากการปั่นหรือตำจนละเอียด นำน้ำตะไคร้ที่ได้มาใส่ผมที่สระสะอาดแล้ว หมักทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ใช้น้ำตะไคร้หมักผมหลังสระผมทุกครั้ง ควรทำติดกันเป็นเวลา 1-2 เดือน ผลที่ได้ก็คือ คุณจะมีผมที่ดกดำเงางาม และไม่มีปัญหาเส้นผมแตกปลาย แถมยังทำให้เส้นผมของคุณมีน้ำหนักอีกด้วย สมุนไพรรักษารากผม ทำให้ผมหงอกช้า กระเทียม กระเทียมสามารถช่วยทำให้รากผมของคุณแข็งแรงและหงอกช้าได้ เพียงแค่คุณนำกระเทียม 3-4 กลีบหรือหัวมาปอกเปลือกออก แล้วนำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมรวมกันกับน้ำมันมะกอกประมาณ 5-8 ช้อนโต๊ะ แล้วนำส่วนผสมที่ได้ใส่ถ้วยหรือขวดปิดฝาให้แน่นทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำมาใช้ได้โดยการนำมานวดให้ทั่วหนังศีรษะที่สระสะอาดแล้ว จากนั้นหมักทิ
อาหารที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของไทย ลาว เขมร และญวน ผู้เขียนเองและเจ้าหน้าที่หลายคนของมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีโอกาสได้ไปเรียนกับเจ้าของตำรับ อย่าง คุณวิสาศ ปกมนตรี ตัวอย่างอาหารที่ผู้เขียนรับประทานแล้วติดใจ เช่น แกงส้มเปลือกแตงโมใส่ปลากรอบ ส้มตำท่านเจ้าคุณ ซึ่งก็คือส้มตำมะระขี้นกใส่ปลากรอบ นั่นเอง ที่ติดใจก็เพราะว่าเป็นตำรับอาหารที่ผู้เขียนแค่ได้ยินชื่อก็คิดว่า ไม่น่าจะอร่อยแล้ว แต่ผิดคาด พอได้รับประทานกลับอร่อยไม่น่าเชื่อ อย่าง แกงส้มปลากรอบ โดยปกติแล้วผู้เขียนไม่ค่อยชอบรับประทานปลา เพราะกลิ่นคาวของปลาดุกไม่ถูกกับผู้เขียนนัก แต่แกงส้มปลากรอบนี้ทำให้ติดใจ เพราะปลากรอบที่ใส่ลงไป ทำให้น้ำแกงส้มกลมกล่อมและหอม ส่วนเปลือกแตงโมต้องเคี่ยวจนเปื่อยก็ยิ่งอร่อย ส่วนเคล็ดลับที่ไม่ลับอีกอย่างก็คือ เด็ดยอดผักแขยงใส่ลงไปด้วยก่อนยกลง ยิ่งทำให้รสชาติอร่อย ยิ่งซดน้ำแกงส้มร้อนๆ กลิ่นของผักแขยงที่ขึ้นจมูก ทำให้อาการคัดจมูกหายเป็นปลิดทิ้ง ผักแขยงหรือผักมะออม นี้ เป็นผักที่พบได้ทั่วไปในทุ่งนา กลิ่นที่ฉุนของผักส่งผลดีต่อร่างกายมากมาย อาทิ ช่วยแก้หวัดคัดจมูก เป็นต้น ส่วนตำรับที่สอง ที่ผู้เขียนติดใ
หัวหอมแดง เป็นเครื่องเทศคู่ครัวทุกบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างรู้จักกันทุกคน ทั้งปลูกง่าย ไม่ว่าจะปลูกบนที่ดินในสวนหรือในกระถาง ในด้านสรรพคุณของหัวหอมแดงนั้น ชาวไทใหญ่นับว่าหัวหอมเป็นยาดีสำหรับท่านผู้หญิง เนื่องจากช่วยบำรุงน้ำดี เพิ่มธาตุไฟในช่องท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร บำรุงโลหิตสตรี คุณผู้หญิงทุกท่านควรกินหัวหอมแดงสดก่อนถึงวันที่ประจำเดือนมา เพราะเชื่อว่าจะช่วยล้างมดลูกให้สะอาด ช่วยขับเลือดเน่าเสียที่ตกค้างในมดลูกให้หมด ผิวสวยหน้าใส สุขภาพดีมีกำลัง แต่ถ้าหากกินในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้มีกลิ่นตัว เนื่องมาจากการขับออกมาทางผิวหนังของร่างกาย นอกจากจะเป็นยาดีสำหรับสุภาพสตรีแล้ว หัวหอมแดงยังช่วยขับปัสสาวะ หากมีอาการบวม ปัสสาวะไม่ดี การนำหัวหอมแดงมาต้มน้ำดื่มก็จะทำให้ปัสสาวะได้ดีขึ้นด้วย หากเด็กมีอาการปัสสาวะขัด ปวดตอนปัสสาวะ ให้นำหัวหอมแดงย่างไฟแล้วห่อด้วยผ้า นำมาแปะประคบท้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะของเด็ก ไม่นานอาการปัสสาวะขัดก็จะดีขึ้น หากเป็นก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่ยังไม่โตมาก ให้นำหัวหอมแดงมาทุบบดปั่นเอาน้ำหอมแดงชงดื่ม เป็นเครื่องดื่ม ก้อนนิ่วจะออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หัวหอม
มีหลากหลายสมุนไพรที่ช่วยในการรักษาโรคและให้คุณประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างน่าสนใจ ขิงถือว่าเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความโดดเด่นในเรื่องของรสชาติและกลิ่น ซึ่งไม่ว่าจะนำขิงมาทำเป็นเครื่องดื่ม ดัดแปลงและแปรรูปเป็นเมนูของหวานต่างๆ ก็ล้วนให้สรรพคุณที่ดีต่อร่างกายทีเดียว รู้จักสมุนไพรขิง ขิง (ginger) สมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู อีกทั้งยังมากมายไปด้วยสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการรักษาโรคได้เป็นอย่างดี รสชาติของขิงจะเผ็ดร้อน หากแต่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต เส้นใย และโปรตีน ทุกส่วนของขิง เช่น ราก เหง้า ต้น แก่น ดอก ใบ และผล ก็ล้วนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด คุณค่าทางโภชนาการของขิง ในส่วนของขิง 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้ พลังงาน 25 กิโลแคลอรี โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม เส้นใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.02 ม
“กัญชาเป็นเหมือนวัฒนธรรม อยู่คู่กับชาติพันธุ์ และคนไทยมายาวนานมากแล้ว…” “แต่กัญชาที่เรากำลังพูดถึง เวลานี้ เป็นเหมือนของใหม่ที่เรายังไม่รู้จักสรรพคุณมันดีพอ” “กัญชาไม่ใช่ซุปเปอร์ฮีโร่ อย่างที่หลายคนพยายามปลุกปั้น แต่เป็นสมุนไพรที่ใช้กันปกติในครัวเรือน ช่วงเวลาหนึ่งจนกระทั่งหายไป เพราะถูกบัญญัติว่าเป็นยาเสพติด และกลับมาอีกครั้งในเวลานี้ ซึ่งกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใหม่สำหรับคนไทย” ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายถึงนิยามของ “กัญชา” ในแบบของนักสมุนไพรมือวางอันดับต้นๆ ของประเทศไทย “ที่บอกว่ากัญชาอยู่คู่กับชาติพันธุ์และคนไทยมานาน เพราะก่อนหน้านี้เคยไปอรุณาจัล ซึ่งเป็นดินแดนหนึ่งที่อยู่ใต้การปกครองของอินเดีย คนที่นั่นเรียกกัญชาว่ากัญชา ตามภาษาที่คนไทยเรียกกันนั่นแหละ นอกจากนี้ ชาวชนเผ่าต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และที่อยู่ชายขอบรอบๆ ที่อยู่ห่างไกลเกินกว่าที่กฎหมายจะเข้าไปควบคุมอย่างเคร่งครัดได้ ก็มีการใช้กัญชาเป็นพืชผักและยาสมุนไพรรักษาโรค ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้” รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รพ.เจ้าพระยา
ชื่อวิทย์ Hyptis suaveolens (L.) Poit. ชื่อวงศ์ LAMIACEAE ชื่ออื่นๆ แมงลักป่า กะเพราป่า อีตู่นา Chinese Mint. Mint Weed, Pignut, Wild Spikenard ลักษณะทั่วไป แมงลักคา เป็นไม้ล้มลุก ตระกูลเดียวกับกะเพรา สะระแหน่ อายุปีเดียว มีกลิ่นหอม ลำต้นและกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มีขนทั่วลำตัว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบหยักมนหรือหยักซี่ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ช่อดอกแบบช่อกระจุก ดอกย่อยแบบรูปปากเปิด กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีม่วง พบได้ตามที่รกร้างทั่วไป เป็นพืชคนละชนิดกับแมงลักที่ใช้รับประทานเป็นอาหารพบทั่วไปในไทย แมงลักคาใช้เป็นอาหารได้ ยอดอ่อนแมงลักคาใช้เป็นผักแกล้มได้เช่นเดียวกับแมงลัก แต่กลิ่นฉุนกว่า เมล็ดพวกนี้ทานได้คล้ายเมล็ดแมงลัก เมล็ดแมงลักคานำมาแช่น้ำแล้วจะพองออกเป็นวุ้นเช่นเดียวกับเมล็ดแมงลัก ใช้เป็นอาหารสุขภาพ ผสมน้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน เป็นอาหารหวาน การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แมงลักคา ยากันยุงฤทธิ์แรงที่ปลอดภัย แมงลักคา เป็นวัชพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและกำจัดแมลงและกันยุง จัดว่าเป็นสมุนไพรไล่แมลงกัน
เมื่อไม่นานมานี้ คนทางอีสานแทบทุกจังหวัดจะนิยมปลูกว่านหอมไว้หน้าบ้าน เป็นทั้งว่านศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตามหานิยม เป็นเครื่องหอม เป็นสมุนไพร และเป็นอาหาร เชื่อกันว่าว่านหอมเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ มีพลังในการปราบมารหรือภูตผีปีศาจ โดยเล่าว่า ในสมัยที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ มีมารมาผจญ พระแม่ธรณีต้องบีบมวยผมเพื่อให้น้ำท่วมมาร พระพุทธเจ้าได้ประทานว่านหอมนี้ลงไปในน้ำเพื่อปราบมารนั้นด้วย ดังนั้น ในการขับไล่ผีของชาวบ้านอีสานในสมัยก่อนจะใช้ว่านหอมแช่น้ำให้คนไข้กิน และเชื่อกันว่าไม้ที่มีกลิ่นหอมเป็นไม้ของเทพ ว่านหอมจึงเป็นพืชสิริมงคลที่คนทางอีสานจะผสมใส่ลงในน้ำเพื่อสรงน้ำพระหรือสรงน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ และใช้ผสมในพระเครื่อง เด่นในทางเมตตามหานิยม ว่านหอมยังใช้เป็นว่านมหาเสน่ห์เวลาชายหนุ่มจะไปจีบสาว นิยมนำว่านหอมมาปลุกเสกด้วยคาถา แล้วใช้เขียนคิ้ว ทาปาก และอาจหุงใส่น้ำมันหรือสีผึ้งเก็บไว้ใช้ทาปากเพื่อให้ได้รับความเมตตา ความรักใคร่เอ็นดู จากเพื่อนฝูง ญาติมิตร เจ้านาย หรือเพศตรงข้าม ว่านหอม ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านหอมมงคล กล่าวคือในงานมงคลจะขาดว่านหอมไม่ได้ โดนเฉพาะในงานแต่งงาน จะมีสูตรเครื่องหอมที่ทำจากสมุนไพ
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและวัยผู้ใหญ่กลางคน ซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่กินเข้าไปได้หมด จึงทำให้น้ำตาลคั่งอยู่ในเลือด ถ้ามีน้ำตาลในเลือดมากจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ จึงเรียกอาการดังกล่าวว่า “เบาหวาน” (เบา หมายถึง ปัสสาวะ) ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ได้มีการบันทึกไว้เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคเบาหวาน โดยเน้นการใช้พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านที่หาง่ายในท้องถิ่น และส่วนใหญ่มักใช้มาประกอบเป็นอาหารกินเป็นประจำ เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทยในสมัยโบราณ “กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น” มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ปัจจุบันพฤติกรรมกินอาหารเปลี่ยนแปลงไป มีค่านิยมเลียนแบบสังคมตะวันตก เน้นการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งมีไขมันสูงและกินผักน้อยลง ดังนั้น หากมองไปรอบครัวของเรา อาจจะพอหาสมุนไพรพื้นฐานที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้กินได้ ดังนี้ มะระ ใช้ผลดิบที่ยังไม่สุกและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักจิ้ม ผลของมะระนำมาลวกกินกับน้ำพริก ซึ่งจะมีสรรพคุณทางยาตามตำรายาไทยว่า มะระขี้นก เป็นยารสขม ช่วยเจริญอาหาร น้ำคั้นจากผลช่วยแก้ไข้และใช้อมแก้ปากเปื่อย ใบสดของมะระขี้นก หั่นชงกับน้ำร้อนใช้ถ่ายพยาธิเข็ม
แผลเป็น หากใครเป็นแล้วมีแต่จะรำคาญใจเมื่อพบเห็น ฝากรอยที่ไม่อาจหายเรียบได้ดังเดิม บางคนเกิดแผลเป็นชนิดรอยนูน ก็ยิ่งทุกข์ใจ โดยเฉพาะถ้าเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ตามข้อต่อบนร่างกายที่ใช้เคลื่อนไหว อาจจะทำให้คนไข้ขยับเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก ซึ่งต้องทำการรักษาต่อไป ดังนั้น การดูแลป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นหรือการลดรอยแผลเป็น จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยหากท่านมีแผลเป็นใหม่ๆ ให้นวดหรือกดบริเวณนั้นอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 3-6 เดือน อีกวิธีการที่ทำได้ด้วยตนเองคือ ใช้แผ่นซิลิโคนปิดแผล หลังจากแผลหายดีแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ โดยแนะนำให้ปิดด้วยแผ่นซิลิโคนไว้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 2-3 เดือน นอกจากนั้น ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นๆ อีกหลายแบบ เช่น การใช้เลเซอร์ การทายา การผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดรอยแผล จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ สมุนไพรหลายชนิดที่มีคุณสมบัติดังกล่าว สมุนไพรที่มีงานวิจัยสนับสนุนมากชนิดหนึ่งคือ หัวหอม โดยได้มีการทำเป็นสารสกัดใส่ในผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อ จากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าได้ผลดีในด้านของการลดรอยดำของแผล และยิ่งถ้าใช้ร่วมกับแผ่นซิลิโ