อาชีวศึกษา
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย โดยชุดโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา” จัดมหกรรมพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา ภายใต้แผนงานวิจัย“การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา” ณ โรงแรมหาดแก้วรีสอทร์ โดยมี ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย เป็นประธานเปิดกิจกรรม และปาฐกถา “นวัตกรรมการศึกษาสู่การยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ” โดย ศึกษาธิการจังหวัดสงขลาหรือผู้แทน มทร.ศรีวิชัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ชุดโครงการวิจัยภายใต้แผนงานสำคัญ (Flagship) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้งานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่วางไว้ ภาย
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรสองปริญญาทางด้านผู้ประกอบการฐานนักปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรม ซี ซีคเกอร์ กระบี่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี นำโดย ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.บุญฤทธิ์ โอมณี คณบดีคณะศิลปศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ นำโดย ผศ.ธรรมศักดิ์ พุทธกาล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ผศ.สุธรรม ชุมพร้อมญาติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ผศ.ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมชี้แจงแนวทางการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร(RUTS02)ปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565 ก่อนจะมีการชี้แจงเรื่องการพัฒนาหลักสูตรสองปริญญาทางด้านผู้ประกอบการฐานนักปฏิบัติ โดย ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และการชี้แจงแนวทางการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรสองปริญญา(RUTS02) โดย ผศ.ธนัสถ์ นนทพุทธ หัวหน้าสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม และอาจารย์ฉารีฝ๊ะ หัดยี ผ
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพภาคที่ 1 นำคณะตรวจเยี่ยมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นางปัทมา วีระวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ พร้อมด้วย นายนิวัฒน์ ภาตะนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประสิทธิภาพการทำงานของ“เรือลอกตะกอนแบบตีกวนและดูดกลับ” และ “เรือเก็บผักตบชวาแบบอัดก้อน” ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสุบิน แพทย์รัตน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัย ให้การต้อนรับ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า เรือลอกตะกอนแบบตีกวนและดูดกลับและเรือเก็บผักตบชวาแบบอัดก้อนใช้หน้าประตูระบายน้ำและคลองสาธารณะ เป็นนวัตกรรมที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ในการคิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สร้างต้นแบบ และออกแบบให้มีความกะทัดรัด สามารถใช้งานไ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาส 60 ปี วช. “การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการบินโดรนแปรอักษร ระดับอาชีวศึกษา” ระหว่างวันที่ 25 – 27 ตุลาคม 2562 ศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาส 60 ปี วช. “การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการบินโดรนแปรอักษร ระดับอาชีวศึกษา” ซึ่ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับจัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ณ อาคารวช. 4 วช. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวว่า วช.สนับสนุนและพัฒนาทักษะของเยาวชนด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกอบรมเพื่อนำโดรนมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านการประดิษฐ์แก่เยาวชน วช.ได้ดำเนินการสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้โดรนเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เทคโนโลยีมีความก้
ศธ. เร่งขยายผลการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านศูนย์ฝึกอบรมอาชีพประจำอำเภอห่างไกล เพื่อให้บริการประชาชนเข้าถึงการบริการด้านการศึกษาวิชาชีพได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามที่นโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการยกระดับการศึกษาของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยกิจกรรมจัดการเรียนการสอนศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพประจำอำเภอห่างไกล นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐ โดยพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ที่มีความหลากหลายเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ในการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต จากการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิชาชีพ และขยายพื้นที่บริการด้านวิชาชีพในเขตพื้นที่ห่างไกล ปัจจุบัน มีทั้งหมด 23 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอห่างไกลและการคมนาคมไม่สะดวก ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการได้รับการศึกษาสายวิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประชาชนประจำอำเภอห่างไกลและอำเภอหน้าด่าน
ชื่อเกษตรเขาเขียวคงไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก รู้จักกันก็แต่คนในวงการอาชีวศึกษาสายเกษตร หรือรู้จักเขาเขียวกันว่า เขาเขียวเป็นสวนสัตว์เปิดอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี “เกษตรเขาเขียว” เป็นชื่อเรียกของโรงเรียนเกษตรกรรมราชบุรี ก่อตั้งมานานเกือบ 5 ทศวรรษ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2507 จังหวัดราชบุรีมีความประสงค์ที่จะจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมและได้มีหนังสือแจ้งไปยังกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ทราบว่าจังหวัดราชบุรีมีพื้นดินของจังหวัดเป็นป่าสงวนฯ อยู่บริเวณเขาเขียว ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม ประมาณ 8,000 ไร่ ต่อมากรมอาชีวศึกษาจึงได้มีการประชุมคณะกรรมการและมีมติอนุมัติให้ตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมราชบุรีขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2512 โดยมีคณะกรรมการจากจังหวัดราชบุรีเข้าร่วมและฝ่ายของกรมอาชีวศึกษา ซึ่งมี นายระบิล สิตสุวรรณ รองอธิบดีกรมอาชีวศึกษา นายเชิญ มณีรัตน์ หัวหน้ากองโรงเรียนเกษตรกรรม ดร.บัญญัติ วิโมกขสันต์ และ นายสัณหจิตต์ ฐาปนะดิลก เป็นผู้ประสานงานเพื่อจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมราชบุรี ในที่ประชุมได้ตกลงให้ย้ายสถานที่ก่อสร้างจากการสำรวจพื้นที่ไว้ก่อนแล้วประมาณ 608 ไร่ เป็นพื้นที่ที
“กล้วยไข่” เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดกําแพงเพชร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยไข่พันธุ์กําแพงเพชร ในระยะห่าง 2×2 เมตร มีการตัดแต่งหน่อทุกระยะการเจริญเติบโตและหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต แปลงปลูกกล้วยไข่จะให้ปุ๋ย 2 ครั้ง คือ หลังปลูกประมาณ 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว 1 เดือน ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ คือ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15, 46-0-0 ใส่ครั้งละ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อต้น ส่วนปุ๋ยอินทรีย์จะใช้มูลไก่และกากชานอ้อย อัตรา ไร่ละ 1,000 กิโลกรัม ด้านการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะอาศัยการสังเกตก่อนเก็บผลผลิต โดยใช้วิธีการนับอายุดูสี ดูเหลี่ยมของผล ดูขนาดผลและนับวันกล้วยไข่ออกดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมซื้อขายกล้วยไข่โดยใช้หน่วยในการขายเป็น “ตั้ง” มีเป็นส่วนน้อยที่ทําการซื้อขายโดยชั่งเป็นกิโลกรัม กล้วยไข่คุณภาพดี ต้องมีขนาดหวีสมบูรณ์ 6 หวี ในแต่ละหวี มีไม่น้อยกว่า 12 ผล “ปุ๋ยอินทรีย์” ตัวช่วยลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต ปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่อยากได้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยลดต้นทุน และเพิ่มปริมาณผลิตผล ควบคู่กับการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ครูพิมลพรรณ พรหมทอง หรือ “ครูเอ๋” โทร. 086-421-313
กระทรวงศึกษาธิการ เผยเอกชนร่วมแชร์ข้อมูลความต้องการแรงงานในระบบบิ๊กดาต้า “พล.อ. สุรเชษฐ์” มั่นใจกำลังคนอาชีวศึกษาเรียนจบมีงานทำทุกคน ตอบโจทย์ความต้องการตลาดและสนองนโยบายรัฐบาล “ไทยแลนด์ 4.0” สืบเนื่องจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำแผนผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ล่าสุด (7 ธ.ค. 61) พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช. ศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ/นโยบายสำคัญของรัฐบาล ด้านการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ที่วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี ปรากฏว่า แผนงานพัฒนาด้านกำลังคนอาชีวศึกษามีความก้าวหน้าตามลำดับ พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช. ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรกในพื้นที่ EEC และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนประสบความสำเร็จ และขยายการจัดตั้งศูนย์ฯ ไปยังภูมิภาคอื่นตามการบริหารราชการของรัฐบาล รวมเป็น 1 ศูนย์กลา
พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ/นโยบายสำคัญของรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา ของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่ วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 9/2561 ณ จังหวัดหนองคาย
กระแสทุเรียนหมอนทองไทยที่กำลังมาแรง สร้างปรากฏการณ์ขายดีขายได้มากกว่า 80,000 ลูก ทางเว็บไซต์ในเวลาเพียง 1 นาที จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันไปหลายแง่มุม แต่อย่างไรก็ดี ทุเรียน ก็เป็น “ราชาแห่งผลไม้ไทย” ที่มีชื่อเสียง เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญที่มีการผลิตและจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ กระแสขายทุเรียนออนไลน์ยังได้สร้างกระแสรับรู้ให้เกิดการบริโภคภายในประเทศมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับชาวสวนทั้งหลาย แต่ปัญหาสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกพื้นที่ชุมชนก็คือ การเพิ่มพื้นที่ขยะจากเปลือกทุเรียน ที่นอกเหนือจากกลิ่นแล้ว ก็ยังมีหนามแหลมคม เป็นปัญหาตามมาซึ่งเป็นหน้าที่ของเทศบาล อบต. ชุมชนต่างๆ ในการกำจัดดูแล นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จ.นครราชสีมา ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเป็นที่มาให้เกิดการค้นคว้าจนกระทั่งพบว่า เปลือกทุเรียนหมอนทอง มีปริมาณเซลลูโลสซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังเซลล์พืชอยู่ถึง 30% และสามารถนำเซลลูโลสมาแปรคุณสมบัติเป็น “คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ CMC (Carboxymethy Cellulose)” ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว สามารถใช้เป็นส่วนผสมในการทำผงซักฟอกแ