เกษตรกรดีเด่น
ผลจากสภาวะทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง สร้างปัญหาส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรรมในยุคก่อนที่ชาวบ้านนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันเป็นส่วนใหญ่ พอเกิดปัญหาความแปรปวนทางธรรมชาติจึงสร้างความเสียหายโดยตรงกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวทันที ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกับรายได้ในการทำมาหากิน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมผสานบนเงื่อนไขของความพอเพียง พึ่งพาตนเอง และลดรายจ่าย เมื่อชาวบ้านได้น้อมนำไปปฏิบัติต่างประสบผลสำเร็จกันถ้วนหน้า อีกทั้งบางรายสามารถผลักดันไปสู่แนวทางเกษตรอินทรีย์แล้วจับมือกับกลุ่มธุรกิจเปิดตลาดเป็นสินค้าออร์แกนิก นายสมัย แก้วภูศรี หรือ ลุงสมัย อายุ 64 ปี เจ้าของสวนสองพิมพ์ เลขที่ 45/1 หมู่ที่ 12 ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อีกทั้งยังเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ และเกษตรกรผู้ป
“อ้อยโรงงาน” เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดชลบุรี เนื้อที่ปลูก รวม 1.4 แสนไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน ต่อไร่ ทั้งนี้ พบว่าอ้อยโรงงานมีแนวโน้มลดลงจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาภัยแล้ง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ การบริหารจัดการไร่อ้อยที่ขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งพื้นที่การเกษตรที่ลดลงจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย เพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย ให้มีผลผลิตและเกิดรายได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งรณรงค์ลดการเผาอ้อยในช่วงฤดูตัดอ้อย เพราะนอกจากสร้างมลภาวะต่อสภาพอากาศและสุขภาพร่างกายแล้ว ยังทำให้ดินเสื่อมโทรมส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรงอีกด้วย YSF ชวการ ช่องชลธาร เกษตรกรดีเด่น ปลูกอ้อยโรงงาน กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี เพื่อเผยแพร่และยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณชน เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพตนเอง ตลอดจนเป็นเกษตรกรต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษาผลงานจากตัว
“ขั้นตอนของการเลี้ยงกุ้งที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมบ่อ และคุณภาพน้ำ ดังนั้น บ่อพักน้ำจึงจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกุ้งมาก เพื่อให้น้ำมีคุณภาพ นอกจากนี้ คุณภาพของลูกกุ้งที่นำมาก็สำคัญ ต้องเลือกลูกกุ้งจากแหล่งที่ได้ผ่านการรับรองการตรวจคุณภาพและโรคของกุ้ง” ข้อมูลข้างต้น คุณวศิน ธนภิรมณ์ วัย 68 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจากการนั่งคุยยาวนานค่อนชั่วโมง ประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งของคุณวศินไม่เป็นรองใคร แม้กระทั่งเพื่อนบ้านรอบข้างหรือคนในอำเภอหนอกจิกที่เคยเลี้ยงกุ้งมาด้วยกัน ล้มเลิก เปลี่ยนอาชีพจากเลี้ยงกุ้งไปทำการประมงชนิดอื่นกันเกือบหมด เพราะประสบภาวะขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้ง สำหรับคุณวศินเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น ประสบการณ์ที่คุณวศินได้รับ ช่วยกระตุ้นสร้างแนวคิดการเลี้ยงกุ้งอย่างถูกวิธี มีเทคนิคการสร้างธรรมชาติการเลี้ยงกุ้งให้เกิดความสมดุล ทำให้บ่อกุ้งที่เลี้ยงมา 30 ปี ยังคงเป็นบ่อกุ้งมาโดยตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเป็นทำการประมงชนิดอื่น อีกทั้งปีที่ผ่านมา คุณวศินเอง ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ประจำปี 2561 คุณวศิน ธนภิรมณ์ อยู่บ้านเลขที่ 104/5 หมู่ที่ 1
8 ปีก่อน คุณวุฒิไกร ช่างเหล็ก เริ่มทำฟาร์มกระเบนน้ำจืดอย่างจริงจัง ทั้งที่ไม่มีความรู้ทางด้านการประมงหรือการทำฟาร์มมาก่อน “ผมจบวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ส่วนตัวชอบเลี้ยงปลา เคยลองเลี้ยงปลาคาร์พ เลี้ยงแล้วตาย ลองศึกษาหาข้อมูลก็พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ปลาตาย จึงเริ่มพัฒนาระบบการเลี้ยง แยกเป็นน้ำ อาหาร อากาศ หากเข้าใจอัตราการเลี้ยงในบ่อนั้นๆ เช่น ของเสียที่เกิดขึ้นในระบบ อัตราส่วนน้ำกับอัตราส่วนจำนวนปลา ก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก” แรกเริ่มของการเลี้ยงปลาเริ่มที่ปลาคาร์พ แต่ไม่นับรวมในจำนวน 8 ปีที่ผ่านมา เพราะเมื่อรู้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากอะไร สิ่งที่คุณวุฒิไกรมอง คือตลาดต้องไปได้ดีด้วย เขาจึงเลือกเลี้ยงปลาอโรวานาและปลากระเบนน้ำจืด มาพร้อมๆ กัน ตลาดปลาอโรวานาและกระเบนน้ำจืดขณะนั้น มูลค่าหลายแสน เป็นแรงจูงใจอย่างดีที่ทำให้คุณวุฒิไกร เริ่มเพาะเลี้ยงจริงจัง และพบว่ากระบวนการเพาะของปลาอโรวานากับปลากระเบน มีความแตกต่างในเทคนิคการเพาะเลี้ยง ปลาอโรวานาค่อนข้างลำบากเรื่องการแยกเพศ ส่วนปลากระเบนสามารถแยกเพศได้ชัดเจนกว่า ทำให้ปลาอโรวานาไม่เพิ่มจำนวนเพาะ แต่ยังคงเหลือเลี้ยงไว้ดูเล่น
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง โชว์ผลงานการพัฒนาเกษตรกร จนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนปี 64 ของภาคตะวันออก ที่เน้นบังคับทุเรียนออกดอก ออกผลนอกฤดู จนได้ราคาดี แถมจัดการพื้นที่แบบลดต้นทุน ใช้เครื่องจักรกล ระบบน้ำอัจฉริยะสั่งการทางมือถือ และปลูกพืชแซมหลากหลายเป็นรายได้ก่อนทุเรียนให้ผลผลิต นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ( สสก. 3 ) เปิดเผยว่า นายสุเทพ จรูญชนม์ เกษตรกรอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการพิจารณา ให้ได้รับรางวัล เกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวน ระดับเขตภาคตะวันออก ประจำปี 2564 เนื่องจากเป็นผู้ประสบผลสำเร็จเรื่องการทำสวนทุเรียนนอกฤดู โดยบังคับดอกทุเรียนให้ออกก่อนฤดูกาล ทำให้ผลผลิตมีราคาดี กำหนดราคาขายเองได้ นายปิยะ กล่าวต่อไปว่า นายสุเทพ ถือเป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้ แม้ในปีแรกๆ ที่ทำนอกฤดูจะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ต้นทุเรียนให้ผลผลิตเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น แต่ไม่ละความพยายาม ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังจากผู้มีประสบการณ์และนักวิชาการการเกษตร เช่น การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในพื้นที่เพาะปลูกเพื่อ
“อินทผลัม” เป็นหนึ่งในผลไม้ทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ราคาขายผลสด 400-500 บาท ต่อกิโลกรัม อินทผลัมแม้เป็นไม้ผลต่างถิ่นที่นำเข้ามาปลูกในไทย แต่เกษตรกรไทยมีฝีมือด้านการปลูก สามารถปรับการปลูกให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพได้ไม่ยาก ซึ่ง “คุณครองจักร งามมีศรี” เป็นหนึ่งในเกษตรกรคนเก่ง ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการผลผลิตอินทผลัมได้เป็นอย่างดี และสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรีคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2564 ของจังหวัดลพบุรี ครูเกษียณ สนใจปลูกอินทผลัม คุณครองจักร งามมีศรี เป็นอดีตข้าราชการครู ที่เกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. 2555 เนื่องจากมีนิสัยรักการปลูกต้นไม้ จึงสนใจปลูกไม้ยืนต้นเพื่อสร้างป่าให้กับชุมชน บนพื้นที่ 58 ไร่ แต่ด้วยประสบการณ์ด้านการปลูกต้นไม้มีน้อย ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกตายไปประมาณ 50% ต่อมาปี พ.ศ. 2556 ลูกชายซื้ออินทผลัมผลสดจากประเทศบาห์เรนมาให้ลองรับประทาน ก็รู้สึกติดใจในรสชาติและประโยชน์ของอินทผลัม คุณครูครองจักรจึงได้ทดลองนำเมล็ดไปเพาะในกระถาง ปรากฏว่าเมล็ดสามารถงอกได้ จึงสนใจศึกษาการปลูกอินทผลัมอย่างจริงจัง ปี พ.ศ. 2557 คุณครูคร
นิยม คงเมฆ อยู่บ้านเลขที่ 186 หมู่ 4 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. 084-0638634 ครั้งหนึ่งเขาคือ เกษตรกรผู้ยากจน แต่ในวันนี้เขาคือเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ และยังเป็นประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนวังอ่าง ซึ่งมีสมาชิกถึง 702 ครัวเรือน ได้ก้าวเดินไปบนอาชีพการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชแบบพอเพียง ในวันนี้ วังอ่างได้กลายเป็นตำบลที่สามารถผลิตสินค้า โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ ทั้งเป็ด ไก่ แพะ เป็นต้น ส่งจำหน่ายทั้งในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง พลิกจากเกษตรกรยากจนมาสู่พอมีพอกิน จากจุดเริ่มต้นของชีวิตที่เป็นเกษตรกรที่มีฐานะยากจน จึงทำให้พี่นิยมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในสภาพล้มลุกคลุกคลานมาอย่างต่อเนื่อง “แต่ก่อนลำบากมากครับ โดยเฉพาะหนี้สินมีมากมายเลยครับ แต่ผมก็ไม่ท้อสู้กับภรรยามาตลอด“ พี่นิยม กล่าว จุดสำคัญที่ทำให้พี่นิยมตัดสินใจปรับเปลี่ยนพลิกชีวิตตัวเองมีสาเหตุมาจากการจำหน่ายผลผลิต ซึ่งถูกพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อกดราคามาโดยตลอด “ผมเริ่มต้นเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ขายในปี 2539 พอในช่วงปี 2540 ที่ประเทศเราประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นปีที่ผมลำบากมาก เพราะผลิตอะไรออกมาจำหน่ายพ่อ
ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งจำหน่ายยังต่างประเทศและส่งขายในตลาดปลาใหญ่ในเขตเมือง แม้จะมีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลายฟาร์ม แต่การไม่เอ่ยถึง “มณฑา ฟาร์ม” คงไม่ได้ เพราะเจ้าของฟาร์มปลาสวยงามแห่งนี้ มีดีกรีถึงเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2555 ในสาขาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ เพราะการเริ่มต้นบุกเบิกสร้างฟาร์มปลาจากเล็กไปใหญ่อย่างมีระบบและได้คุณภาพมาตรฐานฟาร์ม จึงทำให้มณฑา ฟาร์ม ติดอันดับต้นๆ ของฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งออกรายใหญ่ ชื่อฟาร์มตรงตามชื่อเจ้าของ คุณมณฑา สร้อยแสง เจ้าของฟาร์ม เริ่มต้นทำฟาร์มปลาจากประสบการณ์แบบครูพักลักจำในวัย 20 ตอนปลาย หลังหน่ายจากอาชีพสาวโรงงาน และเก็บงำความรู้ที่ได้จากการช่วยพี่สะใภ้ทำฟาร์มปลาสวยงามมานาน ด้วยเงินเพียง 15,000 บาท ที่ติดลบ เพราะเป็นเงินกู้ที่นำมาเป็นต้นทุนก้อนแรก คุณมณฑา ใช้สร้างล็อกได้ถึง 10 ล็อก และเงินอีกจำนวน 1 ใน 3 หมดไปกับการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงปลา พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลา คุณมณฑาหาซื้อในละแวกไม่ไกลบ้าน เพ
คุณศิริวัฒน์ ศรีสระคู อายุ 65 ปี กำลังศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง อาชีพปลูกสวนป่า อยู่บ้านเลขที่ 144 หมู่ที่ 4 ตําบลกําแพง อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ (087) 947-0812 ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน ในปี 2538 มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้จากสํานักงานป่าไม้ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้ามาส่งเสริมให้มีการปลูกป่าในที่ดินของตนเอง จึงได้ตัดสินใจปลูกไม้ประดู่ซึ่งเป็นไม้ถิ่นเดิม จํานวน 28 ไร่ โดย มีการศึกษาหาความรู้พลิกฟื้นผืนไร่เป็นสวนป่าและไม้ผล มีการใช้พื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ โดยปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจร่วมกับไม้ผลและพืชเกษตร เช่น – ไม้เศรษฐกิจรอบตัดฟันปานกลาง – ไม้เศรษฐกิจรอบตัดฟันสั้น ได้แก่ วิธีเจาะบ่อน้ำบาดาลมาใช้ในสวนป่า สวนผลไม้ และพืช ไม้ยูคาลิปตัส – ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง – พืชเกษตร ได้แก่ กระชาย ขิง ข่า ฯลฯ มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในสวนป่า โดยการระหว่างรอผลผลิตจากไม้สวนป่าที่ปลูก โดยการใช้ใบเลื่อยกลมแบบประยุกต์ติดตั้งกับเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่มาประยุกต์ใช้ในการทําไม้ออก สามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการทําไม้ออกได้เป็นอย่างด
วันที่ 16 มิถุนายน 2546 นับเป็นวันสำคัญของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านปางมะนาว ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ด้วยเป็นวันจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านปางมะนาว โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 11 ราย และจากก้าวแรกของการเริ่มต้นจนมาถึงวันนี้ การดำเนินงานของกลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านปางมะนาวได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีผลงานต่าง ๆ ออกมาให้เห็นอย่างเด่ชัด จนกลายเป็นกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างของจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านปางมะนาว ตั้งอยู่เลขที่ 49 หมู่ 11 ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร โทร. 087-729 -0765 ปัจจุบัน มีสมาชิก 37 คน และมี นายไพบูลย์ ศรีภักดี เป็นประธานกลุ่ม มีคณะกรรมการบริหาร 7 คน ทุนดำเนินการ 606,800 บาท มีทรัพย์สินมูลค่า 471,500 บาท มีผลผลิตโคขุนออกสู่ตลาดทั้งคอกรวม และคอกแยกไม่น้อยกว่า 300 ตัว ต่อรุ่น (4 เดือน) รวมกลุ่มแก้ปัญหา จากที่ต่างคนต่างทำ กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนบ้านปางมะนาว เดิมเกษตรกรประกอบอาชีพปลูกมันสำปะหลังเพียงอย่างเดียว ต่อมาปี 2546 ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มฯ เพื่อหาเงินไปซื้อโคมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม “ตอนแรกมีลักษณะต่างคนต่างเลี้ยง ไม่มีร