เกษตรกรต้นแบบ
ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรไปสู่การเกษตรยุคใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนภาคการเกษตร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบยุคใหม่ประจำปี 2024 จำนวน 5 สาขาที่มีผลงานโดดเด่น ทั้งด้านทักษะความสามารถในการปรับตัว สร้างความหลากหลายของผลผลิต สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สุดยอดเกษตรกรกรแห่งปี 2024 ซึ่งเป็นต้นแบบเกษตรยุคใหม่ จำนวน 5 สาขา ได้แก่ . 1.สาขา สินค้าเกษตรมูลค่าสูง : อดีตวิศวะต่อยอดสวนมะนาวสู่ คาเฟ่ Lemon Me Farm อ่านเพิ่มเติมได้ที่ . อดีตวิศวะ ต่อยอดสวนมะนาว ใช้เทคนิค “คลุมถุง” มะนาวติดลูกดก สร้างเงินล้าน . สาขา เกษตรผสมผสาน : ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน“คุ้มจันทวงษ์” กับสารพัดพืชทำเงิน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_298022 . สาขา เกษตรหลังเกษียณ : ข้าราชการเกษียณทำสวนคนเดียว 30 ไร่ด้วยนวัตกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_297841 . สาขาเกษตรอินทรีย์ : อดีตช่างภาพพูลิตเซอร์ ทำนาอินทรีย์ สืบสานพันธุ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเดินหน้าสนับสนุนงบประมาณ และองค์ความรู้ให้เกษตรกรสมาชิกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นเกษตรกรต้นแบบ หลังให้งบสนับสนุนกว่า 1.2 หมื่นโครงการ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) กล่าวถึงความสำเร็จในภารกิจด้านการฟื้นฟู และสนับสนุนอาชีพเกษตรกรในช่วงที่ผ่านมาว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิก กฟก.อยู่ จำนวน 5,288,306 ราย ขึ้นทะเบียนองค์กร56,725 องค์กร มีการอนุมัติโครงการต่าง ๆ ที่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร เสนอมาขอรับงบประมาณสนับสนุน จำนวน 123,75 โครงการ แบ่งเป็นประเภทอุดหนุน 9,561 โครงการ เป็นเงิน 407.9 ล้านบาท และประเภทกู้ยืม 2,814 โครงการ เป็นเงิน 1,120 ล้านบาท รวมทั้งหมด 1,527.9 ล้านบาท โดยภายหลังที่ กฟก.เข้าสนับสนุนด้านงบประมาณ มีเกษตรกรจำนวนมาก ที่เป็นต้นแบบและประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งการปลูกพืช ประมง และเลี้ยงสัตว์ เช่น กลุ่มปลูกผักปลอดสารเคมีของกลุ่มเกษตรกรยั่งยืนดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี ที่ได้ใบรับรองแหล่งผลิต GAPประเภทผัก มีการส่งจำหน่ายภายในชุมและบริเวณใกล้เคียง ทำ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดตัวโครงการ “New Gen Hug บ้านเกิด ซีซั่น 2” ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการ “New Gen Hug บ้านเกิด ซีซั่น 1” เพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจในการเข้าสู่ธุรกิจการเกษตร และยกระดับไปสู่เกษตรมูลค่าสูง รวมถึงการต่อยอดธุรกิจไปสู่การทำธุรกิจแบบ Next Normal ด้วยการเฟ้นหา “เกษตรกรต้นแบบ” ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ ผ่านการแข่งขันในรูปแบบรายการ REALITY และ PITCHING SHOW สุดเข้มข้น โดยเปิดรับสมัครเกษตรกรยุคใหม่จากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อเข้าร่วมแข่งขันชิงรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยมี “นายฉัตรชัย ศิริไล” ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมด้วย “นายมนูญ ทนะวัง” ผู้ชนะสาขาเกษตรท่องเที่ยวชุมชน และ Best of the Best ประเภทเดี่ยว โครงการ “New Gen Hug บ้านเกิด (ซีซั่น 1)” มาร่วมแชร์ความสำเร็จในการทำธุรกิจการเกษตรมูลค่าสูง พร้อมเปิดตัวคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รายการ New Gen Hug บ้านเกิด ซีซั่น 2 ได้แก่ “ดร.ศิริกุล เลา
“ทำไม่เยอะ ทำน้อยๆ แต่เรามีกำลังใจที่จะทำตลอดเวลา ทำไม่ต้องเยอะ ทำแล้วมีเงินมีตังค์ใช้ เหลือกินก็แจก เหลือแจกก็ขาย” นี่เป็นคำให้สัมภาษณ์ของ คุณเจริญ สุขวิบูลย์ ชาวสวนเกษตรผสมผสาน ที่คลุกคลีอยู่กับการเกษตรมาเกือบ 20 ปี ถือเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ หันมาทำเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ คุณเกษตรชัย แปลนดี เกษตรอำเภอลำปลายมาศ เล่าว่า สำหรับเกษตรผสมผสานของ คุณเจริญ สุขวิบูลย์ เป็นเกษตรต้นแบบอย่างแท้จริง เนื่องจากว่าการทำการเกษตรครอบคลุมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพืชไม้พุ่มอย่าง ไผ่ ที่สร้างรายได้จากการนำเอาหน่อไม้จากต้นไผ่มาขาย และยังมีการเจาะน้ำจากกอไผ่เพื่อไปขาย ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ที่ดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมเข้ามาจากการทำปุ๋ยหมักชีวภาพขาย ที่ได้มาจากการเลี้ยงโค โดยวิธีการทำปุ๋ยหมัก จะนำมูลโคมาทำตามกระบวนการและปล่อยทิ้งไว้ให้ครบกำหนดวัน จากนั้นนำมาขายและสามารถใช้กับพืชที่ปลูกภายในสวนของเขาเองอีกด้วย “ด้วยประสบการณ์มากถึง 10 กว่าปี ที่คลุกคลีอยู่กับการเกษตร ศึกษาเรียนรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเกษตร จนทำให้ได้รับการยกย่องจากชาวบ้
6 เกษตรกรดีเด่นระดับประเทศปี 2566 จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เตรียมเข้ารับรางวัล หลังกรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศผลการประกวด โดยรางวัลชนะเลิศเป็น ศพก. จากจังหวัดนครราชสีมา โดดเด่นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ จนมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปสนใจเข้าเรียนรู้จำนวนมาก พร้อมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรระดับประเทศ ได้ประกาศผลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่นระดับประเทศ ปี 2566 โดยคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นตัวอย่างในการขยายผลส่งเสริมการเกษตร การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร โดยผลการประกวดมีดังนี้ 1.รางวัลชนะเลิศ ได้แก่นายอรุณ ขันโคกสูง เกษตรกรต้นแบบ ศพก.อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2.รางวัลรองชนะเลิศอัน 1 ได้แก่นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ เกษตรกรต้นแบบ ศพก.อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 3.รางวัลร
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออกไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงรับเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการฯ และพระราชทานชื่อโครงการฯ ว่า “โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์” ซึ่งแปลว่า “น้ำทิพย์รักษาช้างให้แข็งแกร่งยืนยงดุจเพชร” ตามพระบรมราโชบายที่จะให้อนุรักษ์ป่าและช้าง และการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับช้างอย่างมีความสุข และทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2542 เกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งของคนกับช้างป่า ความว่า “ ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอการปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า…” โดยมีมูลนิธิพัชรสุธา คชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า รวมทั้งการอนุรักษ์แ
คุณพิสิตร์ ภูโท หรือ ผู้ใหญ่สิตร์ บ้านโนนสำเริง ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โทรศัพท์ 089-285-5962 เป็นเกษตรกรต้นแบบด้านการทำสวนทุเรียน โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน ระดับจังหวัด และยังเป็นคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลน้ำอ้อม ผู้ใหญ่พิสิตร์ ทำสวนทุเรียน เนื้อที่ 20 ไร่ นอกจากนั้นยังปลูกมันสำปะหลังอีกกว่า 10 ไร่ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูก การดูแลรักษา การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การผสมเกสร และการเก็บเกี่ยวทุเรียน และที่สำคัญสวนทุเรียนของผู้ใหญ่พิสิตร์ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เครือข่ายด้านการปลูกทุเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรในพื้นที่และผู้ที่สนใจการทำสวนทุเรียน คุณพิสิตร์ เริ่มปลูกทุเรียนเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา โดยยังไม่มีความรู้และเข้าใจธรรมชาติของผลไม้ชนิดนี้ดีนัก กระทั่งเพื่อนที่ทำงานด้านเกษตรแนะนำให้รู้จักเจ้าหน้าที่เกษตรที่จันทบุรี เพื่อให้ทดลองปลูกก่อนสัก 1 ไร่ ผู้ใหญ่พิสิตร์เผยว่า แปลงทดลอง 1 ไร่ ปลูกโดยขาดความรู้และทักษะ ไม่รู้แม้กระทั่งช่วงเวลาการดูแลและใส่ปุ๋ยจึงไม่ได้ใส่ม
คุณวีนัด สำราญวงศ์ จังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่มีผลงานโดดเด่นในเรื่องการปลูกดูแลอ้อยตอ ที่ขยายผลผลิตนับสิบปี แนวคิดในการทำอ้อยอย่างยั่งยืนคือ ตัดอ้อยสดส่งขายโรงงานน้ำตาลโดยไม่มีการเผาใบอ้อย เพื่อลดโลกร้อน รักษาระบบนิเวศในไร่อ้อย อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ให้อยู่ในสภาพธรรมชาติ นอกจากนี้ มุ่งรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยตัดอ้อยสด ตัดใบอ้อยทิ้งในแปลง และการฉีดน้ำหมักปุ๋ยยูเรีย ช่วยเร่งการย่อยสลายของใบอ้อยทุกปี ทำให้ดินมีความชื้น มีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ตออ้อยที่ 4 ไม่ต้องปลูกอ้อยใหม่ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถลดต้นทุนการผลิตในการเตรียมดิน ค่าปลูก ค่าพันธุ์อ้อย ค่ากำจัดวัชพืช และค่าปุ๋ยที่เกินความจำเป็น การตัดอ้อยสด นอกจากได้ค่าขายต้นอ้อย และค่าความหวานเพิ่ม ซีซีเอส (CCS.) ทางโรงงานน้ำตาลยังให้เงินเพิ่มจากการตัดอ้อยสด ตันละ 30-50 บาท ทำให้มีผลกำไรเพิ่มขึ้น คุณวีนัด ตั้งใจเลี้ยงอ้อยไว้ตอนานอย่างยั่งยืน โดยไม่นำรถตัดอ้อยซึ่งเป็นเครื่องจักรกลขนาดใหญ่เข้าในแปลงอ้อย เพื่อไม่ให้ตออ้อยถูกทำลายและดินแน่นจนเกิดดินดาน สามารถไว้ตอได้นานหลายสิบปี โดยให้ผลผ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่พระราชทานให้คนไทยเมื่อ 30 กว่าปีก่อน มีความทันสมัยและใช้ได้ผลดีตลอดเวลา เพราะการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยให้คนไทยก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสติดตาม คุณวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คุณวิจิตร คงสงฆ์ เกษตรอำเภอบางสะพาน คุณเบญจพร ตั้งวิชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ คุณธนนันท์ สนสาขา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปเยี่ยมชมกิจการสวนเกษตรผสมผสานของ คุณประเสริฐ ยุวกาฬกุล ที่ทำรายได้ทะลุหลักล้านได้ไม่ยาก แค่ใช้หลัก “การตลาดนำการผลิต” คุณวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า คุณประเสริฐ ยุวกาฬกุล เกษตรกรต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบัน เขาเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่มีจิตสาธา
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น. นายภาชน์ จารุภุมมิก หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ลงพื้นที่โครงการส่งเสริมระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นแปลงที่ดินของเกษตรกรต้นแบบ (นายวินัย พรมสุภาพ) เลขที่ 7 บ้านคลองกุ่ม หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีนายวินัย พรมสุภาพ มีพื้นที่ทำการเกษตร รวม 50 ไร่ ได้ทำการเกษตรในแปลงที่ดิน ได้แก่ การปลูกไม้ผล ไม้กินได้ พืชผักสวนครัว พืชไร่ เช่น มะม่วง มะขามเทศ น้อยหน่า ไผ่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยใช้บ่อบาดาล จำนวน 1 บ่อเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล ซึ่งเพียงพอต่อการทำการเกษตร โอกาสนี้ ท่านหัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม ได้รับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรค ของเกษตรกรในโครงการฯ และได้ให้แนวทางการทำการเกษตรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นและเป็นการครองตนได้อย่างผาสุกตลอดไป