เกษตรพอเพียง
นายสมชาย ชาตะรูปะ ประธานกลุ่มเกษตรอาสาพอเพียง ผู้อยู่อาศัยในโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 1 (อาคารแปลง G) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า “กลุ่มเกษตรอาสาพอเพียง” เริ่มต้นจากการที่การเคหะแห่งชาติกับผู้อยู่ในอาศัยในชุมชนได้ร่วมกันคิดเรื่องการสร้างพื้นที่สีเขียวในชุมชน และผู้อยู่อาศัยก็ลงความเห็นว่าควรจะปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่ด้วย การเคหะฯ จึงสนับสนุนส่งทั้งเมล็ดพันธุ์ ดิน และปุ๋ย มาให้ผู้อยู่อาศัยช่วยกันปลูกจากนั้นจึงมีการรวมตัวกันของสมาชิกจัดตั้งเป็น “โครงการเกษตรอาสาพอเพียง” เพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นระบบชัดเจน และโปร่งใส มีการจัดตั้งคณะกรรมการของโครงการและเปิดรับสมัครสมาชิก โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นายสมชายกล่าวต่อว่า ในช่วงแรกคนในชุมชนยังไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ ไปตลาดซื้อผักมาทีก็ทำกินไม่หมด เกิดการเน่าเสีย และผักในตลาดก็ไม่ใช่ผักอินทรีย์ พอคนในชุมชนเห็นว่าสามารถปลูกผักได้เองก็เริ่มสนใจเข้าร่วมด้วย มาช่วยกันรดน้ำ ปลูกผัก พรวนดิน ปลูกเองกินเอง ปลอดสารพิษ ได้สร้างกิจกรรมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วย ใครได้มารดน้ำผักก็เท่ากับไ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรและประชาชน มีการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนมาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างครูบัญชีอาสาหรือ“อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี” ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการเป็นวิทยากร วิทยากรผู้ช่วย เพื่อสอนแนะ กระตุ้นการเรียนรู้ และติดตามผลการทำบัญชีของเกษตรกร รวมถึงการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชนของตนและพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และครูบัญชี ได้ช่วยเสริมสร้างให้เกษตรกรได้ใช้บัญชีไปใช้วิเคราะห์ต้นทุนการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนธุรกิจในครัวเรือนของตนได้ คุณขนิษฐา มะโนสมบัติ หรือ ครูรุ่ง อายุ 46 ปี ครูบัญชีดีเด่น รองชนะเลิศอันดับ 2 ประจำปี 2558 จากจังหวัดเชียงราย นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของครูบัญชีที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยนำระบบบัญชีมาใช้เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงแก่นแท้ของความพอเพียง และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีบริหารจัดกา
อาชีพเกษตรกรรม นอกจากจะเป็นกระดูกสันหลังของชาติแล้ว ยังกลายเป็นอาชีพรองรับสำหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษา หรือแม้กระทั่งนักธุรกิจร้อยล้าน พันล้าน จะประสบความสำเร็จจากอาชีพประจำแล้วอยากทำเกษตรเพิ่ม หรือผิดหวังจากงานประจำแล้วมาทำเกษตรก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงมีใจรักและความตั้งใจ อาชีพเกษตรกรรมไม่เคยทำร้ายใครอยู่แล้ว คุณชยพล กลมกล่อม สมาร์ทฟาร์มเมอร์นักพัฒนา อยู่บ้านเลขที่ 388 หมู่ที่ 19 ตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อดีตเป็นนักธุรกิจบ้านจัดสรรอยู่ที่กรุงเทพฯ ประสบวิกฤตฟองสบู่แตก ปี 2540 เจอกับภาวะหนี้สินมากมาย จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นหนทางดำเนินชีวิต และเบนเข็มอาชีพสู่การเป็นเกษตรกรปลูกผักมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว จุดเปลี่ยน จากปลูกผัก 500 ไร่ สู่วิถีชีวิตเกษตรกรพอเพียง คุณชยพล เล่าว่า หลังจากหมดเนื้อหมดตัวจากวิกฤตฟองสบู่แตก ตนใช้เวลากว่า 2 ปี ในการเริ่มทำชีวิตใหม่ เริ่มต้นกับอาชีพใหม่ คือการมุ่งมั่นที่จะเป็นเกษตรกร โดยเริ่มจากการเช่าพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานส่งไร่สุวรรณ จำนวน 5 ไร่ จากนั้นค่อยขยับขยายเช่าพื้นที่ปลูกเพิ่มเป็น 80 ไ
คุณนิตย์ เครือน้อย อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา อดีตช่างเฟอร์นิเจอร์ ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรแบบผสมผสาน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยใช้พื้นที่ปลูกผักพื้นบ้าน เลี้ยงไก่ หมู และปลา สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างดี คุณนิตย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์ แต่มาสมัยนี้ผู้คนหันไปใช้เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปจึงไม่มีงานทำ ตอนแรกๆ ได้หันมาปลูกผักบุ้ง แล้วให้น้องนำไปขายที่ตลาด จากนั้นเมื่อตลาดเริ่มโตขึ้น จึงทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชหมุนเวียน โดยจุดประกายความคิดจากแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทานไว้ ใช้พื้นที่นาของตัวเองจำนวน 5 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ที่อยู่อาศัย 1 ส่วน ที่ทำเกษตร 4 ส่วน ใช้พื้นที่ทั้งหมดให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการปลูกพืชแซม เพื่อให้พืชได้เอื้อประโยชน์ต่อกัน และที่สำคัญคือทำเกษตรแบบปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมี ทำเกษตรแบบผสมผสาน คือ เลี้ยงหมู ไก่ และปลูกผักพื้นบ้านหลากหลายชนิด เช่น ผักบุ้งจีน พริก มะเขือ ผักชี สะระแหน่ ขึ้นฉ่าย จึงทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอด สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ผลผลิตที
จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ทำการเกษตร 937,692 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวพื้นเมืองเป็นหลัก แต่จุดอ่อนของจังหวัดอำนาจเจริญก็คือ มีพื้นที่ระบบชลประทานน้อยมาก เพียงแค่ 3-5% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด การทำเกษตรส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก บางปีฝนฟ้าอากาศไม่เป็นใจเกิดภาวะฝนแล้งซ้ำซาก เกษตรกรขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรให้ผลผลิตตกต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภคและการตลาด ตั้งแต่ ปี 2551 เป็นต้นมา เกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญได้รวมตัวกันขับเคลื่อนการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ภายใต้ชื่อเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ ควบคู่กับดำเนินโครงการ “เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พวกเขาพยายามพึ่งพาตนเอง ตามวิถีความพอเพียง เช่น ขุดสระตามไร่นา เพื่อลดปัญหาฝนทิ้งช่วง ขุดลอกห้วย หนอง คลอง บึง พร้อมจัดทำเป็นทำนบกั้นน้ำเป็นช่วงๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว พวกเขายังดำเนินโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงจังหวัดอำนาจเจริญ โดยช่วยกันผลิตปุ๋ยชีวภาพ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ปลูกผักสวนครัว การทำเกษตรอิ
เศรษฐกิจพอเพียงระดับเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจเพื่อการเกษตรที่เน้นการพึ่งพาตนเอง เกษตรกรจะใช้ความรู้ ความสามารถ ในการบริหารจัดการที่ดินโดยเฉพาะแหล่งน้ำ และกิจกรรมการเกษตรได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกรเอง โดยพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในไร่นาและทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ให้มีความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตรในไร่นา มีกิจกรรมที่ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคแก่กัน กิจกรรมเสริมรายได้ ใช้แรงงานในครอบครัวทำงานอย่างเต็มที่ ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการผสมผสานการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง ในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุณอุดม ดอกแดง เกษตรกรหัวไวใจสู้ วัย 50 ปี หรือที่เพื่อนเกษตรกรเรียกว่า “พี่ปู” อยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 12 ตำบลเด่นใหญ่ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ดำเนินชีวิตด้วยการทำการเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถมีกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นมาเป็นลำดับ สลัดความยากลำบากด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความภาคภูมิใจในผลงานที่ออกมา พี่ปู กล่าวถึงการดำเนินงานการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงว่า หลังจากใช้ชีวิตด้วยการยึดอาชีพรับจ้างมาโดยตลอด แต่มองไม่เห็นความมั่นคงและช
สวัสดีท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่านครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับในช่วงเวลานี้ บางท่านอาจยังทำงานอยู่ที่เดิม บางท่านอาจเปลี่ยนงานใหม่ และอาจมีบางท่านที่ออกจากงานด้วยเหตุผลที่ผู้บริหารแจ้งมา ไม่ว่าจะอย่างไรเราทุกคนก็ต้องกินต้องใช้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันนะครับ อย่าลืม สวมหน้ากาก ล้างมือ และรักษาระยะห่างเอาไว้ อาชีพเกษตร เป็นหนึ่งอาชีพที่สำคัญในการเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงผู้คนพลเมือง เป็นต้นๆ ของห่วงโซ่อาหารที่ใช้ในการบริโภคของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ไปจนถึงกระบวนการแปรรูปต่างๆ เกษตรกรคือกำลังสำคัญ ไม่ว่าจะเหตุการณ์ปกติหรือผิดปกติใด แต่เมื่อใดที่เกษตรกรเดือดร้อน ก็จะส่งผลไปถึงผู้บริโภคไม่มากก็น้อย ปัญหาหลักที่เกษตรกรต้องเจอก็คือ แล้ง น้ำท่วม แมลงศัตรูพืชลง ผมมีโอกาสได้ลงพื้นที่ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยการประสานงานกับเพื่อนในพื้นที่ จากข่าวที่แจ้งมาว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำท่วมหนัก จึงรวบรวมสิ่งของที่ชาวบ้านต้องการนำไปแจก ทั้งเพื่อชดเชยในสิ่งที่เสียหาย และร่วมเป็นกำลังใจให้กัน เราคนไทยมีอะไรพอช่วยกันไหวก็ช่วยกัน สำหรับพื้นที่ๆ ผมและทีมงานไปช่วยเหลือก็ประ
การทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ไม่มีคำจำกัดความ ไม่มีกติกาหรือกฎตายตัว ว่าต้องเป็นพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด ทั้งนี้ เพราะแต่ละพื้นที่และท้องถิ่นมีสภาพทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน เพียงแต่การผสมผสานนี้ขอให้ยึดหลัก สร้างความร่มรื่น แล้วให้พืชหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกันมีการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติให้มากที่สุด และสำคัญที่สุดคือผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน คุณจินดา ฟั่นคำอ้าย อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อดีตศึกษานิเทศก์ จังหวัดลำปาง เป็นอีกท่านหนึ่งที่สนใจการทำเกษตรผสมผสาน แล้วตั้งใจเดินตามแนวทางนี้ในบั้นปลายชีวิต จึงวางแผนล่วงหน้าก่อนจะเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา อดีตศึกษานิเทศก์ท่านนี้ให้เหตุผลที่เลือกแนวทางการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน เนื่องจากสมัยที่รับราชการได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน ตลอดจนศึกษาหาความรู้ด้านการทำเกษตรหลายแห่ง หลายด้าน ล้วนพบว่าการทำเกษตรกรรมแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะเกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายมาก เพราะรายได้ของการมีชีวิตแบบชาวไร่ ชาวนา ส่วนใหญ่เกิดจากการทำเกษตรกรรม แ
คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หรือเมืองน้ำดำ กาฬแปลว่า ดำ, สินธุ์แปลว่า น้ำ ครับ เดินทางเข้าพื้นที่บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 4 ดินแดนห่างไกลและไกลมาก สมัยก่อนเรียกว่า ขึ้นรถ ลงเรือ โหนเครือ ขี่ม้า อยู่ระหว่างภูปอ กับภูเป้ง และภูค่าว แต่ที่นี่เป็นถิ่นน่าอยู่ คุณลุงวิชิต บุญคง อายุ 76 ปี คุณป้าอัญชลี มีมา 65 ปี พื้นเพเป็นคนจังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 134 หมู่ที่ 4 บ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. (081) 445-7840 ซื้อที่ดิน 2 ไร่ ลูกๆ รับราชการที่จังหวัดสุโขทัย พื้นที่เพียงน้อยนิด ต้องสร้างผลประโยชน์ทุกตารางนิ้ว สร้างบ้านพักอาศัย 1 งาน เปิดเป็นร้านค้าปลีกสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป ที่ตรงข้ามโรงเรียนบ้านโพนสวาง จะปลูกพืชไร่ คงไม่พออยู่พอกิน คุณลุงวิชิต บอกว่า ตนเองเป็นช่างก่อสร้าง ไม่มีความรู้เรื่องภาคการเกษตร แต่มี คุณฉัตรา ปทุมพร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นที่ปรึกษา จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเพาะชำกล้าไม้ กับสำนักงานเกษตรอำเภอสหัสขันธ์ คุณลุงวิชิต พาเดินนำชมสวนที่มีความหลากหลาย เรือนเพาะชำขนาด 6×6 เมตร มีไม้ผลที่ผ่านก
คุณคำเดื่อง ภาษีชาวอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ เดิมได้ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว คือการปลูกปอ ในช่วงแรกราคาผลผลิตดีจึงได้กู้เงินเพื่อลงทุนขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปเรื่อยๆ จนชาวบ้านในชุมชนต่างก็หันมาปลูกปอกันทุกคน เมื่อผลผลิตออกมามาก พืชที่เคยราคาดีก็ตกต่ำจนไม่มีราคา ประสบปัญหาการขาดทุนจึงได้หันมาปลูกอ้อยและมันสำปะหลังโดยการกู้เงินมาลงทุน ทำให้มีหนี้สะสมเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นจำนวนมากโดยไม่รู้ตัว ทำให้ท้ายที่สุดคุณคำเดื่องต้องหันไปหาอบายมุข ติดสุรา สูบบุหรี่ หลังจากกู้เงินมาทำการเกษตรจนเป็นหนี้สินมากมาย คุณคำเดื่องได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาชีวิตด้วยการมองดูความผิดพลาดของตนเองที่ผ่านมา จึงเริ่มลดปริมาณการใช้ปุ๋ยและพบว่าปริมาณผลผลิตคงเดิมแต่ค่าใช้จ่ายลดลง จึงมีแนวคิดดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง โดยยึดแนวทางปรัญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนในที่สุดสามารถปลดหนี้ได้ และได้ทดลองทำนาแบบธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี ก็ประสบความสำเร็จจากวิถีทางเกษตรกรรมธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมี แต่ซากพืชและฟางคือสิ่งวิเศษที่สุดที่ธรรมชาติให้มารักษาผืนดินที่เสื่อมโทรมโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี เมื่อประสบความสำเร็จตามแน