เกษตรพอเพียง
คุณสุพรรณ คำเถิง เจ้าของ “ สุพรรณฟาร์ม ” ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พลิกชีวิตจากข้าราชการครูมาประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างพอเพียง เริ่มจากเลี้ยงกบและไก่พื้นเมือง เพื่อนำมาเป็นอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน ก่อนพัฒนาเป็นอาชีพหลัก สร้างได้ให้กับครอบครัวอย่างยั่งยืน ฟาร์มกบ คุณสุพรรณ กล่าวว่า ทางสุพรรณฟาร์ม ได้เริ่มต้นเลี้ยงกบ ตั้งแต่ปี 2549 โดยใช้เวลาว่างช่วงรับราชการครูมาทำฟาร์มเลี้ยงกบในบ้าน ลงทุนสร้างบ่อซีเมนต์ จำนวน 10 บ่อสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร พื้นเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำตรงส่วนที่ลาดที่สุด ก่อนนำกบลงเลี้ยงจะทำการล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ใส่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกล้างให้สะอาด ตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง 1-2 วัน จึงค่อยนำกบมาลงเลี้ยงในบ่อ โดยปีแรกซื้อลูกกบมาเลี้ยงในราคาตัวละ 3 บาท ในปีที่สองสามารถเพาะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เองได้ จึงลดต้นทุนการผลิตลง หลังจากที่ได้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบแล้ว บ่อที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะนำใบหญ้าหรือพันธุ์ไม้น้ำสำหรับเป็นที่เกาะของไข่ บ่อขยายพันธุ์ต้องอยู่กลางแจ้งได้รับแสงแดดเพียงพอเพื่อช่วยให้ไข่ฟักเป็นตัวเร็วขึ้น
“รายได้จากการทำเกษตรอย่างเดียวตอนนี้ เลี้ยงคน 9 คน ควาย 4 ตัว หมา 7 ตัว” เป็นโจทย์ที่เล็กทั้งสองตั้งไว้และกำลังเดินหน้าอย่างเต็มพลัง ด้วยสองแรงฮึดจากความฝันบวกกับแรงต้านจากคนรอบข้าง ทั้งสองเดินหน้าอย่างช้าๆ แต่มั่นคง สร้างอาหารปลอดภัยให้กับตนเอง คนรอบข้าง รวมถึงชุมชน ก็ถึงวันที่ทั้งสองเชื่อมั่นว่าเส้นทางที่เดินมานั้นถูกต้องและยั่งยืนแน่นอนแล้ว จึงชวนครอบครัวน้องๆ มาร่วมเดินไปด้วย “เล็กเชื่อมั่นแน่นอนเหรอว่าจะพาหลากหลายชีวิตให้เดินไปกับเราจนถึงฝั่งฝัน” “แน่นอนพี่ เล็กฝ่าด่านใหญ่มาได้แล้ว ก่อนนั้นแม่จะเป็นคนแรกที่ขวางเราอยู่เสมอ ออกมาทำเกษตรแล้วจะได้อะไร จะกินอะไร เงินเดือนก็มากมาย จะมาเหนื่อยทำไม” “อะไรทำให้มั่นใจ” “แววตาของแม่จ้า ในวันที่แม่มาช่วยกำผักเตรียมไปขาย วันนี้แม่มีรอยยิ้มที่มีความสุขมาก พูดไม่หยุดปากเลย” “แล้วน้องๆ มาอยู่ด้วย จะมีงานอะไรให้ทำเหรอ” “พี่รู้ไหม งานในฟาร์มในแต่ละวัน เราแทบไม่มีเวลาว่างเลยนะ กิจกรรมหลัก กิจกรรมรองมีมาให้ได้ลงมือไม่หยุดหย่อน” “มีอะไรบ้าง” “หลักๆ นะพี่ จุดทำปุ๋ยหมัก ที่นี่เราจะทำตามสูตรแม่โจ้ เป็นปุ๋ยหมักไม่กลับกองตามอาจารย์ลุง จุดเผาถ่าน ได้ทั้งถ่า
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว คำพูดที่เรามักจะได้ยินจากคนยุคสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ในยุคก่อน ซึ่งในปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้หาได้ยากเต็มที อย่างที่เขาพูดกันว่า ยิ่งมีความเจริญเท่าไร ความเป็นธรรมชาติก็จะลดลง ผู้คนรักสบายมากขึ้น บวกกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ด้านเกษตรกรรม เกษตรกรก็หันพึ่งสารเคมีในการปลูกพืชผลกันมากขึ้น และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หายไป แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกหลายคนที่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาธรรมชาติ ดังเช่น คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ หันทำเกษตรแบบอินทรีย์ งดใช้สารเคมี ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักไว้กินเอง ได้สุขภาพ มีเงินเหลือเก็บ มีแบ่งปัน คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อดีตข้าราชการ หันยึดหลักเกษตรพอเพียง อยู่ได้แบบไม่เดือดร้อน คุณพีระพงษ์ เล่าว่า ตนก็ใช้ชีวิตเหมือนกับคนทั่วไปสมัยเด็กตื่นเช้าหิ้วกระเป๋าไปเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงจบปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ สาขาพืชศาสตร์ จบมาเข้าทำงานที่กรมส่ง
เรียนจบโบราณคดี เคยทำงานอยู่กับทีวี บูรพา การที่ต้องมาทำธุรกิจ บนพื้นที่สวนปาล์ม วิชาการที่ร่ำเรียนมาและประสบการณ์การทำงานในสายงานการสื่อสาร จึงแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลยกับการจัดสรรพื้นที่สวนเกษตรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเนิ่นนาน ให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้ คุณเอกจิตรา กฤษณสุวรรณ หรือ คุณเตย วัย 31 ปี เจ้าของสวน Tonphet และเจ้าของเรื่องราวข้างต้น เธอเล่าให้ฟังว่า “สวน Tonphet แห่งนี้ มันเริ่มมาจากการที่มีพื้นที่อยู่แล้ว ประมาณ 10 ไร่ อยู่ที่จังหวัดระนอง เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน พื้นที่นี้เคยเป็นสวนทำพริกไทย แต่ด้วยสภาพพื้นที่ทำให้การปลูกพริกไทยไปไม่รอด เพราะพื้นที่จังหวัดระนองมีฝนมาก แดดไม่เพียงพอต่อการที่จะทำให้พริกไทยแห้งได้ จึงนำเอาปาล์มมาปลูกในพื้นที่นี้แทนตามธรรมชาติ สวนแห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ว่าง ที่คุณพ่อมาใช้พักผ่อนในยามที่แกรู้ตัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เตยตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อกลับมาอยู่บ้านเกิด ตอนเริ่มต้นที่ตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างที่สวนนี้ ก็ทำเป็นร้านอาหาร การตอบรับถือว่าดีมากๆ แต่มันกลับไม่ตอบโจทย์พื้นที่ ที่เราต้องการให้เป็นจ
คุณอิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย อยู่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วทำงานประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเริ่มรู้สึกเบื่อกับงานทางด้านนี้ โดยก่อนหน้านั้นคุณย่ารู้สึกคิดถึงเธอจึงอยากให้มาหางานทำอยู่ใกล้บ้าน เพื่อที่จะได้มีเวลาอยู่กันอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เธอตัดสินใจและย้ายมาอยู่บ้านเกิดในเวลาต่อมา “ช่วงที่ลาออกจากงาน ก็กลับมาอยู่ที่บ้านก่อน ช่วงนั้นก็คิดว่าเราน่าจะทำอะไรได้บ้าง ก็เลยมีความคิดที่จะทำเกี่ยวกับเรื่องเกษตร แต่ก็รู้สึกหนักใจ เพราะเราเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย แต่ก็มีใจที่อยากจะทำ ก็มาเห็นว่าส่วนใหญ่พื้นที่นี้จะทำนากันส่วนมาก ก็เลยมีแนวความคิดที่จะทดลองทำนา โดยที่อยากจะทำแบบไม่ใช้สารเคมี เรียกว่าทำแบบอินทรีย์ ก็เลยตั้งใจทำอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา” คุณอิงณภัสร์ เล่าถึงที่มาด้วยใบหน้าปนรอยยิ้ม ก่อนที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง คุณอิงณภัสร์ เล่าว่า ได้ไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งที่เป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร โดยกินนอนอยู่ที่นั้นเป็นเวลาถึง 6 เดือน จึงทำให้ได้เรียนรู้วิถีชิวิตการทำนาในระบบอินทรีย์ และการปลูกพืชผักปลอด
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ โครงการ 1 ไร่ 1 แสน หอการค้าจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายสมบัติ สมบูรณ์เทอดธนา ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกทักษะเกษตรกรรมแบบเศรษฐกิจพอเพียง, เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรสามารถดำรงชีพได้, เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม สำหรับโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ของ นายตู้ สมนึก เกษตรกรชาว จังหวัดสุรินทร์ แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชผสมผสานและเลี้ยงสัตว์ บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ได้อย่างลงตัวและเป็นระเบียบสัดส่วน มีความสวยงามอย่างยิ่ง ประกอบด้วย เลี้ยงสัตว์ สวนผลไม้ นาข้าว ผลผลิตทั้งหมดนำไปจำหน่ายหมุนเวียนสับเปลี่ยนได้ตลอดทั้งปี รายได้ปีละประมาณ 4-5 แสนบาท ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด
หลังจากได้เข้าศึกษาดูงานด้านการพัฒนาที่ดิน ที่ โครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทางพระราชดำริไว้ โดยมี บุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการโครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม คอยให้คำปรึกษานำแนวพระราชดำริของพระองค์ไปประยุกต์ใช้ ทั้ง อาคม เข็มทอง และ นิตยา สว่างวงศ์ สองสามีภรรยาวัย 49 ปีเท่ากัน จึงพากันกลับมาพลิกฟื้น “ไร่เข็มทอง” บนผืนดิน 40 ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งทั้งคู่ได้ลงทุนซื้อมาในสนนราคา ไร่ละ 70,000 บาท โดยใช้รถไถปรับแปรสภาพจากบ่อลูกรังเสื่อมโทรมริมเชิงเขา เป็นหลุมเป็นบ่อขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะสามารถปลูกอะไรได้ ให้กลายสภาพเป็นผืนดินเรียบ พร้อมปรับสภาพดินด้วยการใช้ปุ๋ยคอก แล้วช่วยกันปลูกพืชผักและผลไม้มากมายหลากหลายชนิด เช่น หน่อไม้ มะขามยักษ์ สะเดา มะฮอกกานี มะม่วง ส้มโอ น้อยหน่า มะพร้าว กระท้อน กล้วย ขนุน ลำไย หมากเม่า หนำเลียบ กระเจี๊ยบ มะนาว ม
หากเอ่ยชื่อ จินตนา ไพบูลย์ หรือ “ป้านุ้ย” สาวใหญ่วัย 50 ปี แห่งบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ในแวดวงเกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพรคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเธอถือเป็นผู้หญิงแถวหน้า ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที ที่เคยฝากผลงานด้านเกษตรกรรมผสมผสาน รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ชาวชุมพรและบุคคลทั่วไปได้รู้จักมาแล้วมากมาย ป้านุ้ย เป็นชาวชุมพรที่เกิดในครอบครัวชาวสวนแห่งหมู่บ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เธอจึงเติบโตมากับพืชผัก ผลไม้ แทบทุกชนิดที่พ่อแม่ปลูกไว้กินและขายเป็นรายได้หลักของครอบครัว ปัจจุบันป้านุ้ยมีพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 30 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสวนทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มังคุด และกล้วยเล็บมือ ซึ่งป้านุ้ยทำมาได้ประมาณ 25ปี จนในปี 2549 ป้านุ้ยได้เดินทางไปเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิน ภายในชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท 2 วัน 1 คืน จึงได้รับความรู้มากมาย เช่น การทำน้ำส้มควันไม้ การทำเตาเผาถ่านอิวาเตะ การเลี้ยงกบคอนโดฯ การเลี้ยงหมูหลุม การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ฯลฯ โดยวิทยากรคุณภาพที่เป็น
หลังจากทราบว่า โรงเรียนวัดปากลัด (ผลาคารบำรุงวิทย์) หมู่ที่ 2 บ้านปากลัด ตำบลคลองเขิน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นโรงเรียนที่แบ่งพื้นที่ทำแปลงเกษตร และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการเกษตรเป็นพื้นฐาน โดยที่ผ่านมา ผ่านการประกวดกลุ่มยุวเกษตรกรระดับจังหวัด ผ่านการคัดเลือกได้รางวัลที่ 2 ระดับจังหวัดมาแล้ว แม้ว่าเด็กนักเรียนที่มีอยู่เรียกได้ว่า มีเพียงแค่หยิบมือเดียว เพราะเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีการเรียนการสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัด และมีนักเรียนทั้งหมด 107 คน บุคลากรประจำการ 6 คน เท่านั้น จึงเป็นเหตุผลที่ผู้เขียนต้องเดินทางมาพบกับครูและนักเรียนที่โรงเรียนด้วยตนเอง เพราะเป็นโรงเรียนที่อาศัยพื้นที่วัด จึงมีชื่อโรงเรียนสอดคล้องกับชื่อวัด เหมือนโรงเรียนอื่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริจาคจากวัด โรงเรียนวัดปากลัด (ผลาคารบำรุงวิทย์) มีพื้นที่ทั้งหมด ราว 5 ไร่ แต่อาคารใช้สอยมีเพียงอาคารเรียนไม้หลังเล็ก 2 ชั้น พิจารณาจากสภาพแล้วน่าจะก่อตั้งมานาน แต่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมทาสีให้สดใสเสมือนใหม่ เป็นแรงจูงใจให้เด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรและประชาชน มีการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนมาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างครูบัญชีอาสาหรือ“อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี”ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการเป็นวิทยากร วิทยากรผู้ช่วย เพื่อสอนแนะ กระตุ้นการเรียนรู้ และติดตามผลการทำบัญชีของเกษตรกร รวมถึงการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชนของตนและพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และครูบัญชี ได้ช่วยเสริมสร้างให้เกษตรกรได้ใช้บัญชีไปใช้วิเคราะห์ต้นทุนการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนธุรกิจในครัวเรือนของตนได้ คุณบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ดำเนินการส่งเสริมองค์ความรู้ทางบัญชีสู่เกษตรกรโดยผ่านสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ทั่วประเทศและเครือข่ายครูบัญชีอาสา เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจในการนำระบบบัญชีไปใช้ในการบริหารจัดการภาคการเกษตรได้อย่างเหมาะสม สมดุล และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำการเกษตรได้มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน โด