เมล็ดพันธุ์ข้าว
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการผลิตข้าวมากที่สุดในโลก และมีมูลค่าการส่งออกหลักแสนล้านบาทต่อปี โดยเบื้องหลังความสำเร็จนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจาก “เมล็ดพันธุ์ข้าว” ที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตต่อไร่สูงตอบสนองความต้องการของเกษตรกร และเป็นที่ต้องการของท้องตลาด ถูกใจผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดย “กรมการข้าว” มีบทบาทสำคัญในการอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ ภารกิจของกรมนั้นครอบคลุมหลายด้าน ทั้งการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าว การสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตข้าว การให้ความรู้และฝึกอบรมเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ท้าทายและต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ คุณมาริสา แย้มสาหร่าย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนงานวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวเผยว่า เส้นทางการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์ถือเป็นภารกิจที่ยาวนาน ศูนย์วิจัยข้าวแต่ละแห่งนั้นไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง แต่ต้องมีการร่วมมือกัน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวให้รองรับการทำนาของเกษตรกร ซึ่งข้าวสายพันธุ์ใหม่นั้นจะต้องเป็นข้าวที่สายพั
แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมีน้อย หาซื้อได้ยาก ราคาค่อนข้างแพง เป็นปัญหาหนึ่งในการทำนา แต่ที่จังหวัดสุรินทร์ยังไม่สิ้นคนดี เมื่อมีผู้นำสหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด ได้ริเริ่มและนำแนวคิดมาให้สมาชิกปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี โดยการสนับสนุนด้านวิชาการและเสริมทักษะทุกขั้นตอนการผลิตจากภาครัฐและเอกชน ผลคือทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีปลูกและขาย และได้ก้าวเปลี่ยนสู่วิถียังชีพที่มั่นคง คุณธนาบูลย์ สุขปัญญา อดีตผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ ที่ปรึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์ (ด้านการเกษตร) เล่าให้ฟังว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนา แต่ละปีประเทศไทยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ในราว 670 ล้านกิโลกรัม แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตได้ก็ไม่เพียงพอ หาซื้อยาก ราคาค่อนข้างแพง จึงส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตรรวมกลุ่มปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว การปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกสหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด จะได้รับความรู้วิชาการและเสริมทักษะในทุกขั้นตอนจากนักวิชาการเกษตรศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินท
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า เนื่องในวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคลแรกนาขวัญปีนี้ กรมการข้าวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว นำเมล็ดพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานทั้งหมด 6 พันธุ์ จำนวน 2,244 กิโลกรัม นำเข้าพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2566 และนำไปบรรจุซองพลาสติก จำนวน 400,000 ซอง เพื่อแจกจ่ายให้ผู้สนใจและชาวนาทั่วประเทศ รับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ประกอบด้วย 1) ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าที่ทนแล้งได้ดีพอสมควร เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและดินเค็ม จำนวน 539 กิโลกรัม บรรจุ 80,000 ซอง 2) ปทุมธานี 1 เป็นข้าวเจ้าผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง จำนวน 325 กิโลกรัม บรรจุ 60,700 ซอง 3) กข43 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทานดี ข้าวสุกนุ่ม มีกลิ่นหอมอ่อน ค่อนข้า
ปัจจุบันชาวนากำลังประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ผลผลิตลดต่ำลง ส่วนหนึ่งเกิดจากเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นโดยการหันมาเลือกใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีมีคุณภาพ จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยกระดับรายได้ให้แก่ชาวนาและยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันทั้งในด้านการเป็นผู้ผลิตและการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก กรมการข้าว จึงมีนโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มชาวนา โดยให้ความสำคัญกับศูนย์ข้าวชุมชนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นองค์กรชาวนาที่มีความเข้มแข็งมั่นคงและเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาข้าวและพัฒนาศักยภาพชาวนาในแต่ละท้องถิ่น นายขจร โนวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการผลิตข้าว เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กรมการข้าวได้รับแจ้งความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศประมาณ 60 ล้านไร่ หรือประมาณ 1,300,000 ตัน ซึ่งเมล็ดพันธุ์ส่วนนี้ มีผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จากหลายภาคส่วน อาทิ กรมการข้าว ผลิตอยู่ประมาณ 90,000 – 120,000 ตัน ศูนย์ข้าวชุมชน ประมาณ 110,000 ตัน สหกรณ์การเกษตรประมาณ 40,000 ตัน และภาคเอกชนประมาณ 400,000 ตัน แต่ที่ผ่านมา การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรจากผู้ผลิตเมล็ด
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว นำทีมผู้บริการกรมการข้าวและคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ ร่วมแถลงข่าวการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว ปี 2566 ณ ห้องประชุมจักรพันธุ์ กรมการข้าว นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยหลังการแถลงข่าวว่า ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญกับสังคมไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การทำนาเป็นอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประชากรในประเทศ ประมาณ 4.6 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตข้าวได้ปีละกว่า 30 ล้านตันข้าวเปลือก ดังนั้น อาชีพชาวนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าข้าวคุณภาพดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ผลผลิตเฉลี่ยข้าว ยังมีผลผลิตต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 353 กิโลกรัมต่อไร่ สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเก็บไว้เองหลายรอบซึ่งมีคุณภาพต่ำ การที่จะปลูกข้าวให้ได้ผลดีมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพของดิน ปริมาณน้ำ และเทคโนโลยี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เมล็ดพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชและได้เมล็ดพันธุ์
เมื่อเร็วๆ นี้ มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ระหว่างสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลกสมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย) สมาคมโรงสีข้าวไทย และสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ณ ห้องประชุมจักรพันธุ์ อาคารกรมการข้าว พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืนในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ทางสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก เป็นผู้พัฒนาส่งเสริมชาวนาและเกษตรกรผ่านโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โดยที่ผ่านมาเป็นโครงการนำร่องระยะที่ 1 ที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นผู้จัดสรรงบประมาณลงมาเพื่อดำเนินการในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ปัจจุบันโครงการใกล้แล้วเสร็จ และกำลังจะเริ่มโครงการนำร่องระยะที่ 2 อีก 60 กองทุนหมู่บ้าน ในเดือนธันวาคม 2565 นี้ โดยสัญญาความร่วมมือฉบับนี้จัดทำเพื่อแสดงถึงความร่วมมือของ 4 สมาคม ที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรชาวนาไทยให้ทำการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ตามแนวทางของรัฐบาล ประกอบด้วย สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย) สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และสมาคมโรงสีข้าวไทย ด้วยค
“กล้า-แกร่ง” สร้างธุรกิจการเกษตรผ่านเครือข่าย Supply Chain คุณภาพ ร่วมพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวมาตรฐานด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งซัพพลายให้ชาวนาเพื่อยกระดับข้าวไทยให้มีผลผลิตที่ดีขึ้น คุณยวเรศ เหลืองวิชชเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กล้า-แกร่ง จำกัด เปิดเผยถึงเส้นทางแห่งความสำเร็จว่า ในอดีตตนเองเคยทำธุรกิจไม้แปรรูปมาก่อน ต่อมาจึงมองเห็นถึงโอกาสในการดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิต-พัฒนาเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าข้าวคุณภาพดีมีมาตรฐาน จำหน่ายให้เกษตรกรชาวนาเพาะปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ คุณยวเรศ เหลืองวิชชเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กล้า-แกร่ง จำกัด สำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทคือ การส่งเสริมให้เครือข่ายเกษตรกรชาวนาปลูกข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกขายกลับคืนเข้าสู่บริษัท โดยกระบวนการปลูกข้าวแบบทำนาดำ ที่ใช้เทคโนโลยีรถดำนาแบบปักดำ ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพและได้พันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ ไม่มีความปนเปื้อนของพันธุ์ข้าว และสามารถบำรุงรักษาต้นข้าวได้ง่าย ทั้งนี้ เนื่องด้วยการ “ปลูกข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว” เป็นการปลูกที่ต้องเพิ่มความเข้มข้นในทุกกระบวนการ และต้องตรวจสอบความบริสุทธิ์
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความต้องการยกระดับศักยภาพการผลิตข้าวของไทย โดยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อยกระดับคุณภาพข้าวและชาวนาไทย จึงได้มอบหมายให้กรมการข้าว โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งเพิ่มศักยภาพการผลิตและการส่งออกข้าวไทยเพื่อให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก นายประภัตร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันชาวนามีการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องนาน 10 ปี ทำให้คุณภาพข้าวและผลผลิตข้าวลดลง กรมการข้าวจึงได้จัดทำโครงการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าว และได้มีการประชุมร่วมหารือกับผู้บริหารกรมการข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการโครงการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี โดยมีเป้าหมายในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศ 27.5 ล้านไร่ ในฤดูการผลิต 2565-2567 โดยจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ปี คือปีที่ 1 (ปี 2565) เป้าหมาย 5 ล้านไร่ ปีที่ 2 (ปี 2566) เป้าหมาย 10 ล้านไร่ และปีที่ 3 (ปี 2567) เป้าหมาย 12.5 ล้านไร่ รวมเป็น 27.
อาชีพเกษตรกรรม นับเป็นรายได้หลักของคนไทยจำนวนมาก แต่ในวันนี้ เมืองไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนในภาคเกษตร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไปสู่ THAILAND 4.0 ของรัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินนโยบายเกษตรอัจฉริยะ ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาทดแทนแรงงานคน และส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนในอนาคต กลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย ต้นแบบนาแปลงใหญ่ของจังหวัดมหาสารคาม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มชาวนา ภายใต้การนำของ นายบุญมา พลภักดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยเตย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในท้องถิ่น พวกเขารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ในปี 2559 พวกเขาเริ่มจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน ก่อนจะพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้า
กรมการข้าว เตรียมใช้ศูนย์ข้าวชุมชน-นาแปลงใหญ่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 100,000 ตัน แก้ปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวในฤดูการผลิต ปี 2563 ชู “ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสวนแตง” เป็นต้นแบบผลิตเมล็ดพันธุ์ดี สร้างอาชีพ-รายได้มั่นคงสู่เกษตรกร นางจุรี ภัทรกุลนิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม และนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยเกษตรกร จึงมีนโยบายสำคัญ ในการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรมีความกินดีอยู่ดี โดยมอบหมายให้กรมการข้าว ไปดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเกษตร ได้แก่ การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวคุณภาพ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกร สามารถผลิตข้าวคุณภาพได้ คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี โดยปัจจุบันเกษตรกรมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ดีในปริมาณจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเกษตรกรมีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง บางส่วนซื้อเมล็ดพันธุ์ดีจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ปีละประมาณ 3 แสนกว่าตัน นางจุรี กล่าวว่า