แล้ง
สถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกในปัจจุบันดูจะ “วิกฤต” มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากตัวเลขสภาพน้ำในอ่างล่าสุดของกรมชลประทาน ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า อ่างเก็บน้ำบางพระ เหลือปริมาตรน้ำใช้การได้เพียง 29 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 28%, อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 21 ล้าน ลบ.ม. หรือ 14%, อ่างเก็บน้ำประแสร์ 79 ล้าน ลบ.ม. หรือ 29%, อ่างเก็บน้ำดอกกราย 25 ล้าน ลบ.ม. หรือ 32% และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ 5 ล้าน ลบ.ม. หรือ 12.7% ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำของภาคตะวันออก ปัจจุบันอยู่ที่ 4,167 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี หรือเฉพาะ 3 จังหวัด ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะอยู่ที่ 2,419 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ในจำนวนความต้องการใช้น้ำ 4,167 ล้าน ลบ.ม. นั้น เป็นน้ำเพื่อการเกษตร คิดเป็นสัดส่วนถึง 74% (3,097 ล้าน ลบ.ม.) รองลงมา ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม 17% (713 ล้าน ลบ.ม.) และอุปโภค-บริโภค และการท่องเที่ยว 9% (356 ล้าน ลบ.ม.) ทว่าสถานการณ์ภัยแล้งเฉพาะภาคตะวันออกในปีนี้กลับรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยกรมชลประทานได้รับข้อมูลสภาพอากาศล่าสุด คาดการณ์ปริมาณฝนระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน จะมีปริมาณน้อย และฝนปีนี้จะมา “ล่าช้า” กว่าปกต
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ทั้งในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ และ อ.สังขละบุรี มีปริมาณน้ำน้อยที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา หลังจากพื้นที่เหนือเขื่อนต้องเผชิญปัญหาฝนทิ้งช่วง โดยพบว่า บ้านแพริมแม่น้ำรันตีจำนวนมาก บริเวณสะพานรันตี อยู่ในสภาพต้องเกยตื้นอยู่บนบก หลังระดับน้ำลดลง เช่นเดียวกับระดับน้ำในแม่น้ำรันตีบริเวณนี้ที่มีสภาพตื้นเขิน จนเด็กๆ สามารถลงไปยืนกลางน้ำได้ ซึ่ง อ.สังขละบุรี เป็นพื้นที่ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำสำคัญ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี ที่ทำหน้าที่คอยเติมน้ำลงในเขื่อนวชิราลงกรณ แต่ปีนี้กลับพบว่าในพื้นที่ต้นน้ำทั้ง 3 สาย มีปริมาณฝนน้อยมาก และเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วง นายไววิทย์ แสงพานิชย์ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนวชิราลงกรณมีปริมาณน้ำที่กักเก็บเพียง 4,500 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากเทียบกับภาวะปกติของทุกปี เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมซึ่งถือเป็นช่วงกลางเดือนของฤดูฝนของที่นี่ปริมาณน้ำในเขื่อนจะอยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านลู
ชาวนาโคราช ยอมเสี่ยงหว่านข้าวแห้งรอฝน 5 เขื่อนหลักใหญ่ในพื้นที่ น้ำเหลือเฉลี่ย 33% ชาวนาโคราช – วันที่ 13 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่ ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ต่างพากันไถปรับดิน และหว่านข้าวบนผืนดินที่แห้งแล้ง ซึ่งที่ชาวนาเรียกกันว่า “หว่านแห้ง” บนพื้นที่นาหลายร้อยไร่ หลังจากเข้าสู่ช่วงฤดูทำนาปี มาเกือบ 2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับปลูกข้าว เนื่องจากปีนี้ฝนทิ้งช่วงนาน จึงทำให้คลองธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำต่างๆ เหลือน้ำน้อย ทางสำนักชลประทานที่ 8 จึงงดจ่ายน้ำลงสู่คลองธรรมชาติ พร้อมทั้งประกาศให้เกษตรกรเลื่อนการทำนาปีไปอย่างไม่มีกำหนด โดย นายอิ่ม กรวยสวัสดิ์ อายุ 53 ปี ชาวนา ต.ดอนตะหนิน เปิดเผยว่า ปีนี้ได้ลงทุนปลูกข้าวนาปี จำนวน 49 ไร่ โดยแต่ละปีจะหว่านข้าวนาปี ตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. แล้ว แต่ปีนี้น้ำในคลองต่างๆ แห้งขอด ไม่สามารถสูบขึ้นมาใส่นาเพื่อที่จะหว่านข้าวได้ เพราะภาวะฝนทิ้งช่วงนาน ซึ่งหากรอนานกว่านี้ จะไม่ทันในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี จึงตัดสินใจยอมเสี่ยงหว่านข้าวแห้งเพื่อรอคอยฝนที่อาจจะตกลงมาบ้างในช่วงนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำภายใน 5 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของ จ.นคร
ผ่าแผนรับมือวิกฤตแล้งสาหัส : รายงานพิเศษเศรษฐกิจ – ช่วงฤดูแล้งจะกินเวลายาวนาน 6 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย.-เม.ย. ซึ่งผ่านมาแล้ว 4 เดือนเศษ เริ่มเห็นสัญญาณความรุนแรงเกิดขึ้นในภาคอีสาน และภาคเหนือ เขื่อนหรืออ่างหลายแห่ง น้ำเริ่มแห้งขอดไม่มีน้ำใช้ อ่างกว่า 100 แห่งทั่วประเทศมีปริมาณน้ำเหลือใช้น้อยมากไม่ถึง 30% ของความจุ ในจำนวนนี้มีอ่างขนาดใหญ่ อ่างขนาดกลาง 12 แห่งที่ไม่เหลือน้ำใช้แล้วโดยเฉพาะในภาคอีสาน อ่างขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 35 อ่าง มีปริมาณน้ำ 46,606 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 66% ปริมาณน้ำใช้การ 23,063 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ ส่วนอ่างขนาดกลาง 419 แห่ง มีปริมาณน้ำ 2,856 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 51% ปริมาณน้ำใช้การหรือ 2,431 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 47% ของความจุอ่างฯ สำหรับอ่างขนาดกลาง 12 อ่าง ที่ไม่เหลือน้ำใช้แล้ว ในภาคอีสาน ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำห้วยทรายสว่าง สกลนคร 2.ห้วยหินแตก สกลนคร 3.ห้วยนาบ่อ สกลนคร 4.น้ำซับคำโรงสี สกลนคร 5.หนองสำโรง อุดรธานี 6.ห้วยจานใต้ ร้อยเอ็ด 7.หนองผือ ร้อยเอ็ด 8.ห้วยสวาย บุรีรัมย์ 9.ห้วยจระเข้มาก บุรีรัมย์ 10.ห้วยใหญ่ บุรีรัมย์ 11.ห้วยตะคร้อ นครราชสีมา และเขื่อนในภาคต
สทนช. ชี้พื้นที่นอกเขตชลประทาน 11 จังหวัด 1.5 แสนไร่ เสี่ยงขาดน้ำ เตือนเกษตรกรงดปลูกพืช นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานภาพอากาศ พบปรากฏการณ์เอลนิโญ กำลังอ่อน จะยังคงต่อเนื่องไปจนถึงเดือน เม.ย. 62 และเข้าสู่สภาวะเป็นกลาง ซึ่งประเมินสภาพอากาศใกล้เคียงปี 2550 ซึ่ง สทนช. ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม วิเคราะห์สภาพอากาศและฝน เพื่อเตรียมความพร้อมมาตรการป้องกันต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ฤดูร้อน โดยชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในช่วงต้นฤดูแล้ง พร้อมจัดทำข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ แบ่งเป็น การอุปโภค บริโภค ในเขตพื้นที่ให้บริการของการประปา โดยในส่วนการประปานครหลวงมีปริมาณน้ำเพียงพอตลอด ปี’62 ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ต้องหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเพื่อสำรองในฤดูแล้ง เพื่อเตรียมมาตรการรองรับ โดยอาจจะมีการขุดน้ำ การต่อท่อลำเลียงน้ำ เป็นต้น ส่วนภาคการเกษตร พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร นอกเขตชลประทาน จำนวน 11 จังหวัด 26 อำเภอ 71 ตำบล พื้นที่รวม 151,552 ไร่ ได้แก่ ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพ
นายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เปิดเผยว่า สำนักงานชลประทานที่ 1 สรุปสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำปิงตอนบน ในเขต สชป.1 (ชม.และ ลพ.) (4 มี.ค.62) ซึ่งพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิงตอนบนครอบคลุม 11 อำเภอ ใน จ.เชียงใหม่ และ 4 อำเภอ ใน จ.ลำพูน โดยเปรียบเทียบกับปี 2561 ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง สภาพน้ำท่าใกล้เคียงปี 2561 ทั้งนี้ความต้องการ (DEMAND) ในช่วงฤดูแล้ง-ปลายเดือนพฤษภาคม พื้นที่การเกษตร 161,901 ไร่ มีความต้องการใช้น้ำ 180 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) การอุปโภค-บริโภค (ประปา) มีความต้องการน้ำ 21 ล้าน ลบ.ม. และประเพณี-การท่องเที่ยว (สงกรานต์) มีความต้องการใช้น้ำ 1 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณความต้องการใช้น้ำทั้งสิ้น 202 ล้าน ลบ.ม. โดยจะใช้น้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 110 ล้าน ลบ.ม. และ Base Flow 92 ล้าน ลบ.ม. สำหรับน้ำต้นทุน (SUPPLY) ในปัจจุบันพบว่า เขื่อนแม่งัดฯ มีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ที่ 230.15 ล้าน ลบ.ม. (86.85%) น้อยกว่าปี 2561 อยู่ที่ 0.34% ซึ่งการจัดสรรน้ำลงลำน้ำปิงในปี 2561 จัดสรรลง 95 ล้าน ลบ.ม. (แบบรอบเวรแบ่งเป็น 19 งวด) (ไม่มีปัญหาภัยแล้ง) ขณะที่แผนปี 2562 จะจัดสรรลงลำน้ำแม่ปิ
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมานตอนบน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มแม่บ้านขายของในสถานท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำ วอนรัฐช่วย เนื่องจากน้ำในอ่างเก็บน้ำหมานตอนบน ได้เกิดแห้งขอดและแห้งมากที่สุดในรอบ 32 ปี หลังจากการสร้างอ่างเก็บน้ำมา ชาวบ้านใน 4 หมู่บ้าน ในตำบลน้ำหมานได้รับผลกระทบนักท่องเที่ยวหาย แพล่องไม่ได้ ด้านเกษตรขาดน้ำอย่างหนัก พืชรอแห้งตาย อ่างเก็บน้ำหมาน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาภูมิภาคจังหวัดเลย และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวล่องแพที่เคยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ปัจจุบันไร้นักท่องเที่ยว ชาวบ้านขาดรายได้ นางดอกไม้ เกตกรม อายุ 52 ปี ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มแม่บ้านล่องแพบ้านโป่งเบี้ย ต.น้ำหมาน อ.เมือง จ.เลย ได้เผยว่า ตั้งแต่ได้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นมา ปีนี้ถือว่าแล้งที่สุดในรอบ 32 ปี น้ำแห้งมาก ปกติทุกปีน้ำแห้งแต่ก็ไม่แห้งมากเท่าปีนี้ ในขณะนี้ชาวบ้านที่ทำเกษตรหวังพึ่งอ่างเก็บน้ำก็ไม่ได้ ด้านล่างน้ำในหมู่บ้านไม่มีน้ำเลย คูคลองแห้งขอดหมด แม้ชาวบ้านปลูกแก้วมังกรที่เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย แก้วมังกรยังจะยืนต้นตาย ส่วนด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะมาล่องแพก็ลำบาก นักท่องเที่ยวต้องเดินลงจ
เขื่อนอุบลรัตน์-สิรินธร-จุฬาภรณ์ วิกฤตหนัก เหลือน้ำใช้แค่ 5-8% กรมอุตุฯ เตือนปีนี้ฤดูร้อน-แล้งมาเร็วและนานกว่าทุกปี อุณหภูมิจะพุ่งอีก 1-2 องศา ขอนแก่นหนักสุด น้ำเหลือน้อยมาก สภาอุตสาหกรรมหารือด่วนกระทรวงพาณิชย์ “ข้าว-มัน-น้ำตาล” ผลผลิตลดหวั่นกระทบเป้าส่งออก 1.6 หมื่นล้านเหรียญ เกษตรฯ สั่งงดทำนาปรังรอบ 3 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย ปี 2562 จะเริ่มใน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ไปจนกระทั่งถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2562 โดยฤดูร้อนปีนี้จะร้อนมากกว่า ปี 2561 และร้อนมากกว่าปกติอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยฤดูร้อนจะมาเร็วและนานมากกว่าทุกปี ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมและรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เขื่อนอีสานวิกฤต สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเมื่อเร็วๆ นี้และได้มีการรายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อน) ทั่วประเทศขณะนี้ อยู่ที่ 48,280 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 68 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 24,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52) เทียบกับ ปี 2561 (52,142 ล้า
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาเริ่มขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะแม่น้ำลำน้ำมาศ พื้นที่ ต.ประสุข อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก เชื่อมต่อระหว่างอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา หล่อเลี้ยงคนในตำบลประสุข 10 หมู่บ้าน ปัจจุบันเริ่มแห้งขอด บางช่วงสามารถเดินข้ามได้ นางสุนี เจริญศรี อายุ 52 ปี ชาวบ้าน บ้านละโว้ หมู่ที่ 20 ต.ประสุข อ.ชุมพวง กล่าวว่า ปีนี้ภัยแล้งมาเร็ว อีกทั้งฤดูฝนที่ผ่านมา พื้นที่มีฝนตกน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำภายในลำน้ำมาศ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักในอำเภอชุมพวงแห้งขอด ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงโคกระบือ นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ 5 แห่ง ของ จ.นครราชสีมา ขณะนี้อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าทุกปี มีปริมาณน้ำกักเก็บรวม 505.03 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 50.16 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 1,006.90 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ
เมื่อวันที่ 1 กุมพาพันธ์ ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่รายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่ จ.ยโสธร ในปีนี้ถือว่าภัยแล้งมาเร็วกว่าทุกปีและเริ่มส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งส่อเค้าถึงแล้งหนักและมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดแม่น้ำชีที่เป็นลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่าน จ.ยโสธร ปริมาณน้ำเริ่มแห้งขอดเป็นช่วงๆ อย่างเช่น ที่บริเวณด้านหลังวัดบ้านคุยตับเต่า ต.ขุมเงิน อ.เมือง จ.ยโสธร จากเดิมที่เคยมีปริมาณน้ำเต็มฝั่ง แต่พอถึงหน้าแล้งปริมาณน้ำแห้งขอดลงอย่างรวดเร็ว จนเหลือแต่พื้นทรายเป็นบริเวณกว้าง และพบว่าน้ำชีแห้งขอดจนมองเห็นพื้นทรายทอดยาวตามแม่น้ำชีกว่า 1 กิโลเมตร ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชีและเคยใช้เรือพายของตัวเองในการสัญจรไปมาเดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำชีรวมทั้งนำเรือออกหาจับปลาในแม่น้ำชีไปขายต้องปล่อยให้เรือของตัวเองทิ้งเคว้งคว้างอยู่ริมตลิ่ง เพราะไม่เหลือน้ำที่จะต้องใช้เรือได้อีกแล้ว ขณะที่เกษตรกรที่ทำนาปรังในพื้นที่ก็หวั่นเกรงว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำชีอาจจะไม่เพียงพอในการทำนาปรังในปีนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากปริมาณน้ำบริเวณที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำส่งให้เกษตรกรได้ทำนาปรังในพื้นที่กว่า 10,00