แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
รสชาติอันแสนนุ่มนวลละมุนลิ้นและกลิ่นอันหอมหวานที่แฝงไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้เองที่ทำให้ “กาแฟขี้ชะมด” กลายเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการอย่างสูงสุดในตลาดกาแฟทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของเรา ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ธุรกิจกาแฟขี้ชะมดถูกนำเสนอในเชิงลบเนื่องจากฟาร์มแบบปิดเลี้ยงดูแบบทารุณกรรมสัตว์ บังคับให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ ทานได้เพียงแค่ผลกาแฟจนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและเจ็บป่วยล้มตายในที่สุด ทำให้ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของอังกฤษอย่างเซลฟริดจ์สประกาศยกเลิกการจำหน่ายกาแฟขี้ชะมดที่ถูกส่งมาจากฟาร์มแบบปิด ทางสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ( WSPA ) จึงรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อแต่กาแฟขี้ชะมดที่มาจากตามธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งเป็นนโยบายเดียวกับกาแฟขี้ชะมดแบรนด์ไทย อย่าง Blue gold ฟาร์มชะมดระบบเปิดรายใหญ่แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เลี้ยงดูชะมดในระบบนิเวศแบบเปิด ทำให้ชะมดใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ สามารถเลือกอาหารได้ด้วยตัวเอง ฟาร์ม Blue gold ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 100 ไร่ มีชะมด 300 ตัว เลี้ยงดูในฟาร์มระบบนิเวศแบบเปิด ไม่มีการกักขัง ชะมดสามารถเดินไปไหนมาไหนก็ได้ ปืนป่ายต้นไม้ตามใจชอบ สา
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกภายใต้ชื่อ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” นำพื้นที่ 14 ไร่ ภายในสำนักงาน ปลูกป่าแบบผสมผสานกับพืชผัก เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลาง จังหวัดระยอง เผยอนาคตจะเป็นแหล่งพักผ่อนเชิงเกษตรแบบผสมผสานระหว่างป่าปลูกกับพืชผัก เมื่อเร็วๆ นี้ นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง นำคณะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ และปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกภายใต้ชื่อ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” สืบสานสู่ 100 ล้านต้น ณ บริเวณพื้นที่แปลงเกษตรด้านหลังภายในสำนักงาน โดยมีเป้าหมายการปลูก จำนวนกว่า 1,400 ต้น เพื่อคืนผืนป่าให้กับแผ่นดิน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในสำนักงาน ให้มีอากาศบริสุทธิ์ ด้วยวิธีดูแลบ้านด้วยธรรมชาติ โครงการ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” ทางคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระ
เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิชัย วงษ์บัวงาม เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี มอบหมายให้ นางพิมพา ดวงประชา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นางสาวพรพรรณ นุชโพธิ์พันธุ์ นักวิชาการ ส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายสมรักษ์ สื่อสกุล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมลงพื้นที่ติดตามงานและจัดเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการส่งเสริมและพัฒนางานท่องเที่ยววิถีเกษตร ประจำปี พ.ศ. 2563 ณ ไม้เค็ดโฮมสเตย์ ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้รับคำแนะนำให้จัดเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ สำหรับนำไปปรับใช้ตามสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ในโอกาสนี้ นายหอม เกษรศิริ เกษตรอำเภอเมืองปราจีนบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ฯ ให้การต้อนรับและลงพื้นที่ติดตามงานดังกล่าว โดยแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลไม้เค็ด เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ปรับปรุงบ้านให้เป็นที่รับรองนักท่องเที่ยว สำหรับเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนปราจีนบุรี ซึ่งไม้เค็ดโฮมสเตย์นี้ เป็นที่พักและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่ามกลางบรรยากาศสวนผลไม้นานาชนิด โดยเฉพาะทุเรียน GI และแปลงดอกหน้าวัว ควบคุมด้วย SMART FARM และมีกิจกรรม อาทิ ปั่นจักรยานชมสวนและ
เพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มครอบครัว ที่มองหากิจกรรมท่องเที่ยว และเรียนรู้ใกล้ๆ กรุง หมู่บ้านปฐม หรือ Patom Organic Village ในสวนสามพราน ซึ่งมีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวที่ให้ทั้งความเพลิดเพลิน สร้างแรงบันดาลใจ จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจัดโปรโมชั่นพิเศษ มอบส่วนลดค่าบัตรผ่านประตูและค่าบัตรกิจกรรม 50% สำหรับลูกค้าที่ซื้อใน Line Add @patom ขณะที่ด้านมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 การรักษาระยะห่าง มีครบทุกจุด ตั้งแต่บริเวณทางเข้าจนถึงโซนกิจกรรม นายอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการ สวนสามพราน เปิดเผยว่า จากพื้นฐานความตั้งใจให้หมู่บ้านปฐม ได้สร้างแรงบันดาลใจการเรียนรู้ ซึมซับ วิถีการกิน-อยู่ และการดูแลสุขภาพ เชื่อมั่นว่า จะได้รับความสนใจจากกลุ่มครอบครัวที่วันนี้หันมาใส่กับความปลอดภัย อาหาร วิถีชีวิตเรียบง่าย ความพอเพียงรวมถึงต้องการมีพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกัน ซึ่งหมู่บ้านปฐมมีรูปแบบกิจกรรมที่สอดรับความต้องการเหล่านี้ อยู่แล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมเวิร์คช้อปตามเส้นทางวัตถุดิบ ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัยได้สนุกร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และมี
“ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2” เป็นหนึ่งในสินค้าขายดีที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ไร่บีเอ็น (BN) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไร่บีเอ็นปลูกและขายที่นี่ พืชผัก ผลไม้นานาชนิดตามฤดูกาล ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ลิ้นจี่นานาพันธุ์ที่มาจากประเทศจีน เช่น พันธุ์กุ้ยบี พันธุ์จุดบิจี๊ ควบคู่กับการพัฒนาสายพันธุ์ลิ้นจี่จากการเพาะเมล็ด จนประสบความสำเร็จได้ลิ้นจี่พันธุ์ใหม่ที่เจริญเติบโตได้ดีกับสภาพอากาศของเมืองไทย เช่น พันธุ์ป้าชิด พันธุ์ป้าอี๊ด พันธุ์ลุงเจิด ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ผลโต เนื้อแห้งหนา รสหวานหอม เมล็ดลีบเล็ก จำหน่ายผลผลิตให้ผู้สนใจได้ลิ้นลองรสชาติความอร่อย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคมของทุกปี คำว่า “ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2” มาจากชื่อคุณแม่ ของ คุณโจ้ หรือ คุณจุลพงษ์ คุ้นวงศ์ ผู้จัดการไร่ บี.เอ็น. นั่นเอง ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2 มีคุณภาพดีเหมาะสำหรับปลูกเชิงเกษตรอุตสาหกรรม เพราะให้ผลผลิตคุณภาพดี และติดผลง่ายกว่าลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะเด่นที่โดนใจผู้บริโภคทั่วไป นั่นคือ ผลโต มีรสชาติหวานกรอบ เนื้อแห้งหนา มีเมล็ดเล็กลีบ ที่ผ่านมาทา
กรมส่งเสริมการเกษตรส่งสุขปีใหม่มอบให้เกษตรกรและประชาชน พร้อมเปิดให้บริการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์ปฏิบัติการในสังกัด 21 แห่ง เชิญชวนท่องเที่ยวฟรี!!! 28 ธ.ค. 2562 – 5 ม.ค. 2563 นี้ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดได้ดำเนินการโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2563 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการสร้างความสุขให้กับคนในชาติด้วยการดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างความสุข กระตุ้นการใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจฐานรากและชุมชน ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการที่เป็นแหล่งเรียนรู้และมีความพร้อมให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนเข้าชมและเรียนรู้ฟรีในช่วงเทศกาลปีใหม่ จำนวน 21 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง) จ
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ล่าสุด ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ได้รับโล่รับรองมาตรฐาน การท่องเที่ยวไทย ปี 2562 จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้มาตรฐาน จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนและผู้ที่สนใจมาเที่ยวชมได้ทุกวันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือนำคณะมาศึกษาดูงานด้านการเกษตรได้โดยแจ้งและประสาน/ล่วงหน้า ซึ่งศูนย์ผึ้งจันทบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 188/2 หมู่ที่ 1 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150 โทรศัพท์ (039) 389-244 ภายในศูนย์ผึ้งจันทบุรี มีฐานเรียนรู้หลากหลายแบบธรรมชาติ สามารถสัมผัสได้จริงด้วยตนเองการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง รวมถึงจุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ การปลูกพืชผักอินทรีย์แบบยกแคร่/ระบบให้น้ำแบบทันสมัย (IT) วิธีปลูกผักในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น และอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย และพบกับเครื่อข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง : ผัก : ผ
นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 (สวพ. 8) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน สวพ. 8 ได้ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นของแต่ละจังหวัดยกระดับเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ หลังจากก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปกล้วยฉาบน้ำตาลโตนดรำแดงพร้อมทั้งส่งเสริมการตลาดให้กับชุมชนควบคู่กัน โดย สวพ. 8 ร่วมกับชุมชนจัดทำตลาดพรีเมี่ยมรำแดงแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ที่บ้านป่าขวาง ต. รำแดง อ. สิงหนคร จ. สงขลา ซึงถือเป็นงานวิจัยที่พัฒนาชุมชนและเห็นผลได้จริง ตั้งแต่สร้างความเข้มแข็งชุมชน ผลิตพืชผสมผสาน รับรองมาตรฐาน แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มตลาดจัดจำหน่ายและการท่องเที่ยวจนได้รับการชื่นชมจาก พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ที่สามารถขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการผลิตพืชที่ยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จในเชิงรูปธรรม ในการส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนนำวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ในครอบครัว ด้าน นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้
ในอดีตที่ผ่านมา ปู่ย่าตายายของเราส่วนมากจะมีอาชีพทางการเกษตร ท่านเหล่านั้นทำการเกษตรด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ ผืนดิน ป่าเขา แม่น้ำ เสมือนผู้มีพระคุณที่เกื้อหนุนแก่สรรพชีวิตทั้งหลายในโลก ท่านเหล่านั้นได้ใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติอย่างทะนุถนอมค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่างประหยัดและใช้อย่างมีคุณค่าที่สุด การแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ เช่น การทำขวัญข้าว กลายเป็นเรื่องงมงายในปัจจุบัน หลังจากที่เราทำเกษตรยุคใหม่ซึ่งเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีทั้งสารเคมีกำจัดโรคพืช กำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ยั้งมือ โดยมุ่งหวังผลผลิตที่ได้เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงสารตกค้างที่อยู่ในพืชผักที่ผลิตซึ่งจะส่งผลร้ายต่อผู้บริโภคและตัวเอง คนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ หลายท่านหลังที่จะมาเกษียณในชีวิตปั้นปลายที่ไร่นาในต่างจังหวัด หรือบางท่านสามารถกลับมาใช้ชีวิตกลางไร่นาในวัยหนุ่มสาว เช่น ครอบครัวสิทธิชัย ซึ่งมี คุณวิรัตน์ สิทธิชัย และ คุณสานิต สิทธิชัย น้องชาย กับพี่ๆ น้องๆ ในครอบครัวฝันอยากเป็นครอบครัวเกษตรกรตามวิถีของบรรพบุรุษอีกครั้งที่อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี คุณสานิต กล่าวถึงความเป็นมาเป็นไปว่า “ดั้งเดิมพ่อแม่ย้ายจากจังห
กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมผลักดันเกษตรกร สู่ปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2562 ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบการทำสวนสละครบวงจร –เน้นแปรรูปสละสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีนักส่งเสริมการเกษตรครอบคลุมในทุกตำบล ทำหน้าที่ให้ความรู้ คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่เกษตรกร พร้อมช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรในด้านต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถผลักดันเกษตรกรในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความเข้มแข็งไปด้วยกัน หนึ่งในเกษตรกรรายนั้นคือ นายอาทิตย์ มติธรรม ชาวอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกษตรกรที่ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นเกษตรกรต้นแบบการทำสวนสละครบวงจร เน้นการแปรรูปผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่ม ผู้ได้รับรางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ประจำปี 2562 ซึ่งได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลปราชญ์เกษตรดีเด่น ในงานพระราช พิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ.2562 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9