โซลาร์เซลล์
ในยุคที่ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พลังงานกลายเป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญที่เกษตรกรต้องแบกรับ ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำรดพืชภายในแปลง หรือจะเป็นการเปิดเครื่องปั๊มน้ำ และเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติต่างๆ ภายในสวน โซลาร์เซลล์หรือพลังงานแสงอาทิตย์จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายอย่างไฟฟ้าได้แล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เกษตรกรหลายท่านจึงค่อยๆ เริ่มหันมาใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งในพื้นที่สวน เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในช่วงกลางวัน ทั้งในระบบสูบน้ำอัตโนมัติ ระบบรดน้ำพืชแบบสปริงเกลอร์ ไปจนถึงการเปิดพัดลมหรือเครื่องพ่นหมอกในโรงเรือน การลงทุนติดตั้งอาจมีค่าใช้จ่ายในระยะแรก แต่ในระยะยาวช่วยประหยัดค่าไฟได้มาก และบางรายสามารถคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี หนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เห็นโอกาสจากพลังงานทางเลือกคือ คุณต้อม-ภานุพงษ์ คำกวีปราชญ์ อดีตวิศวกรหนุ่มที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ พลิกชีวิตสู่เส้นทางเกษตรกรรมด้วยการปลูกฝรั่งบนพื้นที่ 6 ไร่ โดยใช้โซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานหลักในการบริหารจัดการสวน ตั้งแต่ระบบส
ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในหลากหลายธุรกิจ รวมไปถึงโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร ที่เกษตรกรหลายๆ ท่าน ได้นำโซลาร์เซลล์เข้ามาใช้ในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตร ด้วยเหตุนี้ การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน อีกทั้งเป็นการลงทุนระยะยาว แต่จะเลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน และคุ้มค่าแก่การลงทุนตามไปดูกันเลย ก่่อนอื่น เราต้องรู้ประโยชน์ของโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร และการแก้ปัญหาระยะยาว สู่การ เกษตรสมัยใหม่ อย่างไร โซลาร์เซลล์สามารถปรับปรุงและให้ความสะดวกสบายกับเกษตรกร เช่น ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์, ไฟม้าพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องดักแมลงไฟ แสงอาทิตย์ และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถให้ความสะดวกสบายแก่เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลปราศจากพลังงานและไม่ใช้พลังงาน อีกทั้ง การผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ยังสามารถใช้กับ การผลิตทางป่าไม้ หรือ การทำน้ำชลประทานได้อีกเช่นกัน ก่อนอื่นจะพาทุกคนมาทำความรู้จัก “โซลาร์เซลล์” (Solar Cell) หรือที่เรียกกันว่า “เซลล์แสงอาทิตย์” คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลง
ส.ป.ก. ชูไอเดียประหยัดน้ำ รับมือ “เอลนีโญ” จัดเวิร์กช็อปถ่ายทอดหลักสูตร “ปลูกผักสวนครัวระบบน้ำหยด” ต่อยอดโครงการบ่อน้ำบาดาลโซลาร์เซลล์ฯ นำร่องในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์-พิษณุโลก ด้านเกษตรกรเผยแล้งนี้หมดห่วงมั่นใจมีน้ำในการทำการเกษตรเพียงพอแน่นอน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า หลังจาก ส.ป.ก. ประสบความสำเร็จในการผลักดันโครงการก่อสร้างบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรแล้วเสร็จ จำนวน 41 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 28 จังหวัด คิดเป็น 66.13% ของพื้นที่เป้าหมาย มีพี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์ไปแล้ว 1,096 ครัวเรือน มีพื้นที่รับประโยชน์ 11,590 ไร่ โดยประโยชน์ของโครงการเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองและช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนประเภทผิวดิน เนื่องจากพื้นที่ ส.ป.ก. ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทานและเป็นพื้นที่ห่างไกลจากระบบไฟฟ้า ส.ป.ก. จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ นำมาใช้ในระบบสูบส่งกระจายน้ำเข้าแปลงเกษตรกรรมเพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคล
นายบุญชัย ก่อเกียรติพิทักษ์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานสนับสนุนการผลิต และทีมช่างจิตอาสา บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) สาขาโรงงานพระประแดง ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงรายใหญ่ในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้าหัววัว-คันไถ จัดกิจกรรมทีมช่างเพื่อน้องประจำปี 2566 ณ โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูประถัมภ์ โดยสร้างแปลงปลูกผักเพื่อโครงการสวนสวยกินได้ รวมทั้งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามทางเดิน และพัดลมเพดานในศูนย์เรียนรู้ของโรงเรียน ทั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญและใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยสนับสนุนกิจกรรมของสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง Thai Central Chemical Public Company Limited held the technician team for the children project in 2023 Mr. Bunchai Kokiatphithak – General Manager of Operation Support Division together with technician and volunteer team at Prapadaeng Plant site of Thai Central Chemical Public Company Limited (TCCC), a leading high quality NPK compound fertilizer producer and distributor of chemical fertilizer in Thailand under OX-Brand, held the technician team for the ch
กยท. หนุนงบ 49(3) มอบเกษตรกรสวนยางต้นแบบฯ ติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อจัดการระบบน้ำในสวนยางแบบวนเกษตร ลดต้นทุน สร้างรายได้เสริมจากพืชแซมและปศุสัตว์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย นายเกียรตินันท์ ยิ้นซ้อน ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย นำคณะเจ้าหน้าที่ กยท. จังหวัดเชียงราย และสื่อมวลชน ลงพื้นที่สวนยางพาราของเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบระดับสาขาและระดับจังหวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีซ้อน ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยมี นางสาวชรินทร์ทิพย์ เชื้อเมืองพาน เจ้าของสวนยางพาราต้นแบบ และ นายจัตุรัส กั้นสกุล เกษตรกรชาวสวนยาง ให้การต้อนรับ นายจัตุรัส ให้ข้อมูลว่า พื้นที่สวนยางมีประมาณ 30 ไร่ เป็นสวนยางที่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง และได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ กับ กยท. ตั้งแต่ปี 2558 โดย กยท. ได้จัดทำข้อมูลพื้นที่สวนยาง สามารถค้นหาพิกัดผ่านระบบ GIS รองรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่ง กยท. มีนโยบายให้เกษตรกรชาวสวนยางทำการเกษตรแบบเกษตรก
ปัญหาสำคัญในการทำเกษตรกรรมหรือการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลคือ การไม่มีไฟฟ้าใช้ และการขาดแคลนน้ำ ดังกรณี “ไร่นาสวนผสม” พื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน ของ ลุงเปี๊ยก หรือ นายสาทิตย์ เปี่ยมพิชัย เกษตรกรบ้านหนองน้ำใส หมู่ที่ 14 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เดิมประสบปัญหาน้ำประปาและไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ทำให้การใช้ชีวิตของครอบครัว ทั้งการทำไร่และการดูแลสัตว์เลี้ยงภายในไร่ที่ผ่านมาต้องอาศัยแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมัน และกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถยนต์สำหรับชาร์จไฟ โดยจะต้องคอยนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟในชุมชนที่มีไฟฟ้าทุกๆ 3 วัน และยังประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอในการทำเกษตรช่วงฤดูแล้ง ลุงเปี๊ยก เล่าว่า พื้นที่ตรงนี้ เป็นที่ ส.ป.ก. ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ขณะที่บ่อน้ำที่มีอยู่เป็นบ่อเก่า ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำในบ่อจะแห้งเนื่องจากสภาพบ่อที่เสื่อมโทรมและตื้นเขิน ทำให้น้ำไม่พอใช้ เวลาจะใช้น้ำก็ต้องนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้ง ส่วนพื้นที่ไหนที่ท่อไปไม่ถึงก็ต้องใช้วิธีหามน้ำหิ้วน้ำไปรดต้นไม้ เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยมีการใช้สารเคมีมาก่อน ซึ่งก่อนที่จะมาทำไร่นาสวนผสม ลุงก็เริ่มจากการปลูกอ้อยและมันสำปะ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร รุกติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์ม และโรงงานแปรรูปอาหาร 180 แห่ง ภายในปี 2566 ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 65 เมกะวัตต์ในปีนี้ และเพิ่มเป็น 100 เมกะวัตต์ ในปี 2568 ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟส่งเสริมและมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ประกอบด้วยโซลาร์บนหลังคา (Solar Rooftop) โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) และโซลาร์บนทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยในปีนี้ มีแผนเร่งดำเนินการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในฟาร์มและโรงงานมากกว่า 180 แห่ง กำลังผลิตรวม 65 เมกะวัตต์ และตั้งเป้าหมายในปี พ.ศ. 2568 เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 100 เมกะวัตต์ ซีพีเอฟ ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้ว
การดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ล้วนจำเป็นต้องอาศัยพลังงาน ในการขับเคลื่อนแทบจะทุกขั้นตอนการดำเนินงาน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อผลิตสินค้า เริ่มตั้งแต่กระบวนผลิต, การขนส่งและจัดเก็บวัตถุดิบ ก่อนขนส่งเพื่อจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SME จำนวนมาก หันมาตระหนักและใส่ใจในการประกอบธุรกิจที่นำไปสู่ความยั่งยืน เช่น มีการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน อาทิ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า หรือ “โซลาร์เซลล์” (Solar Cell) ที่นอกจากจะช่วยลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้าได้แล้ว ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการทำธุรกิจอีกด้วย ซึ่งบริษัท มหาชัยซีฟู๊ด โฮลดิ้ง จำกัด คืออีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทที่นอกจากจะใช้กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาดให้สินค้าและบริการเติบโต ผู้บริหารยังมุ่งเน้นเรื่อง Sustainability ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนควบคู่กับการสร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม คุณพิทูร สุวรรณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท มหาชัยซีฟู๊ด โฮลดิ้ง จำกัด เผยถึงรูปแบบการทำธุรกิจของมหาช
นายชวณัฐ ถวิลการ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยโสธร เปิดเผยว่า ปัจจุบันเรื่องของพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด ปราศจากมลพิษ พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นเรื่องต้นๆ ที่ถูกแนะนำและนิยมอย่างแพร่หลาย พลังงานแสงอาทิตย์นำมาแปรเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าใช้ได้ด้วย “โซลาร์เซลล์” รวมทั้งถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพื่อลดต้นทุนช่วยเพิ่มผลผลิตได้ แต่ใช่ว่าเกษตรกร องค์กรเกษตรกรจะเข้าถึงได้ง่ายนัก ด้วยแนวคิดของประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้กล่าวไว้ว่าเกษตรกรต้องลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้อยู่รอดภายใต้สถานการณ์หลากหลายที่รุมเร้าในปัจจุบันและต่อยอดไปยังอนาคตได้ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยโสธร จึงได้มีการเข้าพบเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งจัดประชุมเพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร แล้วนำปัญหาเหล่านั้นประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขให้ถูกเรื่อง ตรงประเด็น นำไปสู่โครงการต่างๆ อาทิ โครงการอบรมอาชีพหลักสูตร ยกระดับฝีมือสาขาการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร โดยประสานงานกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยโสธร ที่มีเป้าหมายร่วมกันคือ อยากให้เกษตรกร ชา
เมื่อเร็วๆ นี้ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมกันเปิดตัว “โซลาร์เจเนอเรชั่น วิทยาลัยแสงอาทิตย์ (SOLAR GENERATION)” จากการระดมทุนผ่านกองทุนแสงอาทิตย์ เพื่อติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้วิทยาลัยสายอาชีพ 7 แห่ง แห่งละ 10 กิโลวัตต์ทั่วประเทศ โดยใช้เงินในการติดตั้งแห่งละ 400,000 บาท สร้างการเรียนรู้และการจ้างงานจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มศักยภาพด้านการใช้พลังงาน และมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ กล่าวว่า แสงอาทิตย์คือความเป็นธรรมด้านพลังงานที่ให้ความเสมอภาคกับทุกภาคส่วน การเข้าถึงแสงอาทิตย์คือสิทธิของมนุษย์ทุกคน กองทุนแสงอาทิตย์เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่มีแนวคิดเดียวกัน แต่แนวคิดนี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มุ่งมั่นผลักดันให้ประชาชนเป็นได้แค่ผู้จ่ายเงินซื้อพลังงานภายใต้การผูกขาดของอุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิล โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ วิถีชีวิตของผู้คน อย่างที่เราจะเห็นได้จากการคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าฟอสซิลในหลายพื้นที่ กองทุนแสงอาทิตย์เริ่มต้นจากกา