โอท็อป
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 ระดับประเทศ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) มอบหมายให้ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โอกาสนี้ นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) ในฐานะ ผู้แทนกระทรวง อว. เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน “วว. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร ให้สามารถนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ดีมีมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ มุ่งพัฒนาโอท็อปยุคใหม่ โดยเปลี่ยนจากโอท็อปแบบดั้งเดิม มาเป็นโอท็อปที่เน้นการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างมูลค่าและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์สะท้อนถึงความคิดในเชิงภูมิปัญญา การดึงเสน่ห์จากวัฒนธรรมพื้นบ้านมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที
เมื่อพูดถึง “ขนมลา” อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากับบุคคลโดยทั่วไปมากนัก เนื่องจากแปลกทั้งชื่อและรูปแบบ เพราะขนมลาเป็นขนมพื้นบ้านของท้องถิ่น อาจจะรู้จักกันเพียงภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนแหล่งที่ทำขนมลากันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง รสชาติดี อร่อยที่สุดคือ ขนมลาจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านทางภาคใต้ของประเทศไทย ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหมับ เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา เป็นต้น ขนมลา เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ใครเป็นคนคิดทำขึ้น ครั้งแรก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่า ชาวบ้านปากพนังรู้จักทำขนมลาขึ้นใช้ในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องจัดหมับไปทำบุญที่วัดในแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็น “วันสารท” โบราณมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า ในงานบุญสารทเดือนสิบนั้น บรรพบุรุษผู้ล่วงลับที่ไปตกระกำลำบากอยู่ในยมโ
กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่หลายคนกำลังให้ความสนใจบริโภค โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ประชาชนนิยมรับประทานเป็นลำดับต้นๆ เพราะด้วยรสชาติและกลิ่นของกาแฟที่เตะจมูก ทำให้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคอย่างยาวนาน สำหรับแหล่งผลิตกาแฟในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในช่วงนี้คือ กาแฟที่ผลิตในชุมชน จากกลุ่มแม่บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสะพานโยง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล กลุ่มแม่บ้านเกษตกรบ้านสะพานโยง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 506 หมู่ที่ 1 จัดตั้งขึ้นจากลุ่มสตรีในชุมชน ที่ได้รวมตัวสร้างกิจกรรมเสริมด้วยการทำขนมพื้นเมืองทั่วไปจำหน่าย ภายใต้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐที่มาให้การสนับสนุน แต่ด้วยข้อจำกัดของการทำขนมหลายอย่างที่กลุ่มไม่สามารถดำเนินการต่อได้ กลุ่มจึงหยุดทำไประยะหนึ่ง และเริ่มรวมกลุ่มใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งครั้งนี้ทางกลุ่มได้หันมาจับข้าวพื้นเมืองที่ปลูกกันอยู่ในพื้นที่แปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชนและกลุ่ม กลุ่มมีสมาชิกเริ่มแรกเพียงแค่ 35 คน รวมกันทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย จนปัจจุบันมีสมา
หลายจังหวัดในประเทศไทย ที่มีพื้นที่ติดกับทะเล ไม่ว่าจะเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือทะเลอันดามัน ล้วนแต่มีความน่าอิจฉาในความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารที่ขึ้นชื่อหลายเมนูที่มนุษย์อย่างเราๆ ชื่นชอบ จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดต้นๆ ที่เมื่อเอ่ยชื่อแล้วต้องนึกถึงเมนูอาหารทะเลและที่ขาดเสียไม่ได้ คือ อาหารทะเลแปรรูป ที่สามารถเก็บเอาไว้รับประทานได้นานๆ เพราะคนจันทบุรีคือผู้ผลิตสินค้าบริโภคในหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นผู้แปรรูปสินค้าอาหารที่ขึ้นชื่อมากมาย และหากจะพูดถึงอาหารทะเลแปรรูป ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค หรือบรรดากุ๊ก เชฟ ผู้เลือกสรรวัตถุดิบในการประกอบอาหารแล้วหละก็ จะต้องพูดถึง กุ้งแห้ง ของดีเมืองจันทบุรี ที่ได้รับการบอกต่อว่า อร่อย มีรสชาติเค็มกำลังดี ที่สำคัญสะอาด เก็บได้นานไม่เหม็นหรือขึ้นราง่าย กุ้งแห้ง ของดีเมืองจันท์ ติดอันดับสินค้าแปรรูปโอท็อป กับฝีมือการผลิตอย่างเชี่ยวชาญ ตราบที่มีมนุษย์อยู่คู่กับทะเลเลยก็ว่าได้ หนึ่งในผู้ผลิตสินค้า “กุ้งแห้ง” ของดีเมืองจันทบุรี ได้ให้ข้อมูลว่า อาชีพการทำกุ้งแห้งนี้ ถือเป็นอาชีพแห่งวิถีชีวิตของประชาชน ชาวอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ที่ยึดอาชีพการทำกุ้งแห้
นายวีระพงษ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้จัดทำโครงการพัฒนากลไกกลาง เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด ในปี 2563 เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ โดยมีสมาคมสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เป็นหน่วยร่วมดำเนินโครงการสร้าง e-Marketplace Platform ชื่อ Star Market เพื่อเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ สำหรับจัดจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ทั่วประเทศ สำหรับที่มาโครงการ Star Market นั้น สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้รับทราบแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมครบวงจร หรือมาตรการ MSMA 2020 จำนวน 13 มาตรการ เพื่อให้ความช่วยเหลือ SME ด้านการจำหน่ายสินค้า และได้มีมติเห็นชอบในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอนุมัติการจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมครบวงจร ดำเนินการ 13 มาตรการ และ 1 ใน 13 มาตรการ คือ การส่งเสริมด้านการตลาดโดยการพัฒนากลไกกลางเพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ ขยายฐานลูกค้า สร้างรายได้ยั่งยืน ผอ.สสว. ระบุว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ดร. บัณฑิต ฝั่งสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นประธานเปิดงาน “OTOP i style (OTOP Innovation Style) 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” และร่วมกิจกรรมปรุงเมนูเด็ด “เปาะเปี๊ยะสวรรค์” ที่นำผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการมาใช้เป็นวัตถุดิบ ได้แก่ หมูทุบอบลำไย และน้ำเสาวรสสด ในวันพุธที่ 11 กันยายน 2562 เวลา 14.00 น. ณ บริเวณชั้น 1 ศูนย์การค้า เซ็นทรัล พลาซ่า จังหวัดอุดรธานี ทั้งนี้ วว. มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานดังกล่าวเพื่อพัฒนาโอท็อปยุคใหม่ โดยเปลี่ยนจากโอท็อปแบบดั้งเดิม มาเป็นโอทอปที่เน้นการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างมูลค่าและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์สะท้อนถึงความคิดในเชิงภูมิปัญญา การดึงเสน่ห์จากวัฒนธรรมพื้นบ้านมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) หรือมีการสร้างสรรค์คุณค่า (Value Creation) ที่สอดคล้องกับความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง การจัดงาน OTOP i style ที่จังหวัดอุดรธานีในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการมาร่วมจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าทั้งหมด 40 ราย จาก 14 จังหวัด แบ่งเป็นกลุ่มอาหารและ
“กล้วยเล็บมือนาง” ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญและขึ้นชื่อของเกษตรกรจังหวัดชุมพร ดังคำขวัญประจำจังหวัดว่า “ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก” จากคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่น พบว่า กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยท้องถิ่น อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดชุมพร มีรสชาติหอม หวาน อร่อยกว่ากล้วยเล็บมือนางที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ เนื่องด้วยพันธุ์กล้วย สภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และจากการที่เกษตรกรในจังหวัดชุมพรจำนวนมากนิยมปลูกกล้วยเล็บมือนาง ทำให้ผลผลิตล้นตลาด จึงนำกล้วยเล็บมือนางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น กล้วยเล็บมือนางอบแห้ง กล้วยเล็บมือนางทอดกรอบ กล้วยเล็บมือนางอบเคลือบช็อกโกแล็ต และอื่นๆ ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดมา สำหรับคุณค่าของ กล้วยเล็บมือนาง นั้นอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาท ช่วยควบคุมความดันโลหิต และการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ ร่วมกับฟอสฟอรัสในการนำออกซิเจนไปยังสมอง ช่วยปล่อยพลังงานออกมาจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน และการสร้างไกลโคเจน ไม่ว่าจะเป็นกล้วยสดหรือตากแห้
คุณจันตนา นามกร ประธานกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตำบลบ้านทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ได้พาเทคโนโลยีชาวบ้าน เข้าชมกระบวนการทำกล้วยเล็บมือนางแปรรูป คุณจันตนา เล่าว่า เมื่อก่อนเคยทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าและช่างทำผมมาก่อน แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแม่บ้านทะเลทรัพย์ หลังจากนั้น ก็มาเป็นประธานกลุ่มการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของตำบลบ้านทะเลทรัพย์ คุณจันตนา บอกว่า กล้วยเล็บมือนางที่แปรรูป เป็นกล้วยเล็บมือนางของจังหวัดชุมพร นำมาจากเกษตรกรที่ลงชื่อเป็นสมาชิกของทางกลุ่มแม่บ้านทะเลทรัพย์ กระบวนการผลิตใช้เวลาทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ทางกลุ่มแม่บ้านทะเลทรัพย์จะเน้นในเรื่องของคุณภาพ การยืดอายุของอาหารเพราะว่าจะคงความกรอบและสีสันที่สวยงามไว้ได้นาน…จึงได้ใช้ถุงแบบไนโตรเจนเพื่อให้ดูแลผลิตภัณฑ์ได้นาน 6 เดือน วิธีการแปรรูป นำกล้วยเล็บมือนางแก่ 70 เปอร์เซ็นต์ มาปอกเปลือกชั้นนอกของกล้วยออก พอเสร็จแล้ว ก็นำกล้วยใส่ลงไปในถังน้ำที่ประกอบด้วยน้ำมันเล็กน้อย เพราะว่าต้องการให้ยางของกล้วยแยกตัวออกจากลูกกล้วย จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสไลซ์กล้วยลงไปในกระทะ…จะต้องดูอุณหภูมิในกระทะก่อนว่าได้ประมาณ 70-80 อ
ในงาน “OTOP CITY 2017” ที่กรมการพัฒนาชุมชนจัดขึ้นวันที่ 17-25 ธันวาคมที่ผ่านมา นับว่าคึกคักสำหรับการช็อปส่งท้ายปี โดย “อภิชาติ โตดิลกเวชช์” อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน คาดว่าจะสร้างเงินสะพัดกว่า 1,200 ล้านบาท โดยมีหนึ่งในบูทที่น่าสนใจ คือ บูทสินค้าของฝาก gift set ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยการจัดเซตสินค้าของฝากจากทั่วทุกภูมิภาคในราคาสุดคุ้ม ทั้งนี้หลายปัจจัยที่ทำให้สินค้าโอท็อปได้รับความนิยมมากขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการตื่นตัวของผู้ประกอบการที่เริ่มหันมาพัฒนาคุณภาพสินค้าของตัวเอง เนื่องจากต้องผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ของสินค้าโอท็อป ทำให้รูปแบบและแพ็กเกจจิ้งของสินค้าได้รับการพัฒนาตามไปด้วย เป็นการยกระดับสินค้าโอท็อปให้เกิดการแข่งขันโดยไม่ด้อยไปกว่าสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป “สุรพงษ์ ณรงค์น้อย” ประธาน บริษัท ชุมพร โอท็อปอินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด กล่าวว่า การจัดกิฟต์เซตสินค้าโอท็อปนั้นได้รวบรวมสินค้าโอท็อปที่มีคุณภาพจากทุกภาคของประเทศมาขายในราคาพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย อาหาร หัตถกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นสินค้าในเครือข่ายเทรดเดอร์ ที่กรมพัฒนาชุมชนได้มอบหมายให้ จ.กาญจนบุรี ชุมพร สระบุรี แ
นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า สมอ.ได้นำนวัตกรรมการเข้าถึงข้อมูลด้านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ด้วยการเพิ่มคิวอาร์โค้ดในใบรับรองเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้ผู้ได้รับการรับรองนำไปแสดงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการรับรองของผลิตภัณฑ์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ได้รับการรับรอง มผช.ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น นายณัฐพล กล่าวว่า นอกจากนี้ สมอ.ได้ปรับปรุงกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยลดระยะเวลาดำเนินการจาก 73 วันทำการ เหลือ 33 วันทำการ เริ่มดำเนินการในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยการลดขั้นตอนนี้ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ยื่นคำขอ ความพร้อมของสถานประกอบการ อาทิ จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และต้องมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนเ