ไก่งวง
ไก่งวง จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขนที่เห็นชัด แต่มีหนังย่นๆ และตุ่มคล้ายหูด ขนหางมี 28-30 เส้น แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ตัวผู้มีเดือย ขนตามลำตัวเป็นเงา ไก่งวงดั้งเดิมเป็นไก่ป่า พบบริเวณตอนเหนือและตอนกลางของทวีปอเมริกา และบริเวณประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลางตอนเหนือ ในอดีตไก่งวงเป็นสิ่งที่หาเจอยากมากในประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าแทบไม่เคยเห็นเมนูนี้บนอยู่โต๊ะอาหาร แต่กลับพบมากในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตามบันทึกจากหลายๆ ที่เกี่ยวกับประวัติคริสตจักรได้ระบุว่า ไก่งวงได้เผยแพร่เข้าสู่ยุโรปเป็นที่แรกๆ โดยมีพ่อค้ารายหนึ่งซื้อไก่งวง จำนวน 6 ตัว มาจากพ่อค้าชาวอินเดียนแดงในเม็กซิโก และนำไปขายที่เมืองบริสทอล ประเทศอังกฤษ โดยผู้ที่ได้กินไก่งวงเป็นคนแรกๆ ก็คือ “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7” ได้ทรงโปรดเสวยไก่งวงในเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งนับว่าเป็นเหมือนวันขึ้นปีใหม่ของชาวยุโรป และก็เป็นวันรวมญาติด้วย นับจากนั้นมาชาวอังกฤษ จึงยึดหลักปฏิบัติตามเฉลิมฉลองด้วย “ไก่งวง” จนถึงทุกวันนี้ หากกล่าวถึงการเลี้ยงไก่งวงในประเทศไทย ในอดีตอาจไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ในปัจจุบ
“การทำเกษตรของคนรุ่นใหม่ คือการเรียนรู้จากคนรุ่นเก่าที่ทำสมัยก่อน มาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราโตมากับยุคที่มีเทคโนโลยี การทำเกษตรและการหาองค์ความรู้ ตลอดไปจนถึงในเรื่องของการทำการตลาด เทคโนโลยีปัจจุบันจึงช่วยเราได้มาก การขายออนไลน์จึงตอบโจทย์ เมื่อเรามีรายได้อยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เราสามารถทำเกษตรบนที่ดินของเราได้ โดยที่เราไม่ต้องจากบ้านไปทำงานที่อื่น แต่มีความสุขและเกิดรายได้จากผืนแผ่นดินของเราเอง” ไก่งวง เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่ปัจจุบันมีเกษตรกรหลายพื้นที่นิยมเลี้ยง โดยการเลี้ยงจะเน้นทั้งสวยงามและนำมาประกอบอาหาร เพราะไก่งวงเป็นไก่ที่มีเนื้อเยอะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ต้ม ลาบ หรือแกงป่า ก็มีรสชาติที่ดีไม่น้อยทีเดียว จึงทำให้เกษตรกรบางรายเมื่อเลี้ยงไก่งวงแล้ว ได้เปิดร้านอาหารเพื่อนำเนื้อที่ได้มาประกอบอาหารสร้างรายได้แบบครบวงจร ส่งผลให้เกิดรายได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ คุณนฤดม ผิวจันทร์ ทำฟาร์มไก่งวงอยู่ที่บ้านทับใหญ่ ตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง อายุ 25 ปี จบการศึกษาทางด้านครูภาษาไทย ดีกรีเกียรตินิยมอั
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดวงดาว สอนพิมพ์ อายุ 38 ปี เกษตรกร ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร เปิดเผยว่า แต่เดิมที่บ้านทำร้านอาหาร ต่อมาเห็นว่าไก่งวงยังขาดตลาด เพราะมีกระแสการบริโภคไก่งวงมากขึ้นเนื่องจากเนื้อมีคุณภาพดีกว่าสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ย่าง ต้ม ตุ๋น อบยาจีน ลาบไก่งวง จึงศึกษาพบว่า ไก่งวงเป็นไก่ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณตอนเหนือและตอนกลางของทวีปอเมริกา โดยมีพันธุ์ไก่งวงอยู่ 7 สายพันธุ์ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอยู่ 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์อเมริกันบรอนซ์ พันธุ์เบลท์สวิลล์สมอลไวท์ และพันธุ์ลูกผสม จึงนำเอาทั้ง 3 สายพันธุ์ มาเลี้ยงในพื้นที่ 40 ไร่ของตนเอง เริ่มแรกเลี้ยงไก่งวงไม่กี่ตัว โดยปล่อยเลี้ยงให้หากินตามธรรมชาติและเลี้ยงในโรงเรือน ให้อาหาร เช่น รำข้าว ข้าวโพด หรืออาหารสำเร็จรูป หรือแม้แต่เศษอาหารจากครัวเรือน นำไปผสมกับผักบุ้ง หยวกกล้วยก็ได้ ส่วนการผสมพันธุ์ปล่อยให้ไก่งวงจับคู่ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ จัดสถานที่ให้แม่ไก่งวงออกไข่และฟักไข่ ประมาณ 30 วัน แม่ไก่งวงจะฟักไข่ นำไก่งวงที่ฟักจากไข่ไปยังกรงอนุบาล หมั่นดูแลให้อาหารสำเร็จรูปเป็นหลั
ไก่ต๊อก เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ชนิดหนึ่ง หากินตามพื้นดิน อาศัยอยู่ตามป่าโปร่งและทุ่งหญ้า เดิมทีแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา มีลักษณะจะงอยปากสั้นและหนา มีเหนียงสีเทาอมดำห้อยอยู่ที่จะงอยปากล่างแผ่ไปทั้ง 2 ข้างของคาง และมีเหนียงสีขาวประแดงบริเวณใต้ขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง ลำตัวป้อม ขนหางสั้น ปลายชี้ลง ขาแข็งแรง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อเจอศัตรูจะบินขึ้นต้นไม้ คนเรานิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและเลี้ยงกินเนื้อกินไข่ ไก่งวง เป็นนกประเภทหนึ่งที่บินไม่ได้ พบในสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขน มีหนังย่นๆ และตุ่มคล้ายหูด แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ขนตามลำตัวเป็นเงา ในการประกอบอาหาร นิยมยัดไส้หลากหลายชนิด แล้วนำไปปรุงแต่งเป็นอาหาร ในปัจจุบัน พบว่า ผู้คนนิยมกินเนื้อไก่งวงกันมากขึ้น ทั้งทางยุโรปและแถบเอเชียบ้านเรา ทั้งลาว เวียดนาม รวมทั้งในประเทศไทยของเรา ไก่งวงจึงเป็นสัตว์ปีกเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงอย่างงดงาม เหมือนกับสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ เช่นเดียวกับไก่ต๊อก ที่เมื่อก่อนคนเราจะเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงาม แต่ต่อมามีผู้
บึงกาฬ เป็นจังหวัดน้องใหม่ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 2554 ให้เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ในอดีตเป็นชุมชนที่มีขนาดเล็กและเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ด้วยภูมิภาคที่มีเนื้อที่ทอดยาวตามลำน้ำโขง ทำให้มีความห่างไกลจากตัวเมืองหนองคายเป็นอย่างมาก ความสามารถในการพัฒนาจึงไม่สะดวกเท่าที่ควร และมีความยากลำบากในการติดต่อประสานงานต่างๆ เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ จึงได้มีการเรียกร้องไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อตั้งเป็นจังหวัดในปี 2537 กว่าจะได้ตั้งเป็นจังหวัดใช้เวลาเกือบ 20 ปี การทำเกษตรส่วนใหญ่ของจังหวัดบึงกาฬ เกษตรกรนิยมที่จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อผลผลิตของพืชชนิดนั้นมีจำนวนที่มากขึ้นก็จะทำให้ราคาลดลง จึงเป็นผลทำให้เกษตรกรจำหน่ายสินค้าได้ราคาต่ำกว่าทุนที่ลงไป ซึ่งต่อมาภาครัฐได้มีการจัดการให้เกษตรกรทำพืชชนิดแบบตลาดนำ โดยไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากเกินไปแต่ต้องหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อให้มีรายได้แบบหมุนเวียน ซึ่งจังหวัดบึงกาฬ จัดได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการทำสวนยางพาราเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ดี แต่ถ้าราคายางตกการมีอาชีพเสริมสำรองไว้เพื่อทดแทนจากการทำสวนยางจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยการเ
วิสาหกิจชุมชนไก่งวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ต่อยอดการเลี้ยงไก่งวงเกือบ 600 ตัว มีการแปรรูปสินค้าทั้งเนื้อไก่งวงจำหน่ายหลากหลายเมนู อีกทั้งนำขนไก่งวงที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดิน มาสร้างมูลค่าเพิ่มสามารถขายได้กิโลกรัมละถึง 2,000 บาท นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สไตล์ต่างๆ รูปแบบแฮนเมด ทั้งหมวก สายคาดหมวก ขณะที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จากประเทศภูฏานเดินทางมาศึกษาดูงานเทคนิคการเลี้ยงด้วยความสนใจ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่งวงราชบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 2 ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี มี นางสาวศรีสุนันท์ เดชบุตร อายุ 40 ปี เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 20 ราย ได้เริ่มเลี้ยงไก่งวงสายพันธุ์อเมริกันบอล ลักษณะตัวสีดำใหญ่ สายพันธุ์สมอลไวท์ ลักษณะตัวสีขาว และอีกหลายสายพันธุ์ย่างเข้าสู่ปีที่ 6 แล้วสำหรับการเลี้ยงไก่ของที่นี่เกือบ 600 ตัว มีการนำเนื้อไก่งวงมาแปรรูปทำอาหารหลากหลายที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำพริกไก่งวง ไก่งวงจ้อทอด ลาบไก่งวง ผัดเผ็ดไก่งวง และยังมีไก่งวงอบ มีทั้งขายเป็นตัวเป็นผลิตภัณฑ์ส่งจำหน่ายทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดได้รับความสนใจจากธุรกิจโรงแรม ร้านค้าต่างๆ ทั้งตลาดนัดเกษตรกรของรัฐ รวมทั้งผู้ที่ชื่นชอ
เรื่องราวของสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ พบหลายลักษณะด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกแตกต่างกันออกไป อย่างไก่แจ้ ไก่อู ไก่ชน ไก่ต๊อก ไก่งวง ไก่คอล่อน ไก่เก้าชั่ง ไก่เบตง แต่ละลักษณะที่พบอยู่ มีพันธุ์แยกย่อย เช่น ไก่ชน มีพันธุ์เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียวพาลี และอื่นๆ ส่วนไก่งวง เป็นไก่ตัวใหญ่ มีลักษณะแตกต่างจากไก่ทั่วไป ไก่งวง ภาษาอังกฤษคือ Turkey จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Meleagridinae สกุล Meleagris มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขนที่เห็นชัด แต่มีหนังย่นๆ และตุ่มคล้ายหูด…ขนหางมี 28-30 เส้น แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ลักษณะนิ้วตีนเหมือนกับไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือย ขนตามลำตัวเป็นเงา ไก่งวง ดั้งเดิมเป็นไก่ป่า ที่พบ 2 ชนิด คือ Meleagris gallopavo พบบริเวณตอนเหนือ และตอนกลางของทวีปอเมริกา และ Agriocharis ocellata พบบริเวณประเทศเม็กซิโก และอเมริกากลางตอนเหนือ ลักษณะของไก่งวงป่า ตัวผู้จะมีน้ำหนัก 22-27 กิโลกรัม บริเวณคอและหัวมีลาย คอมีเหนียง มีต่างหูสีสดใสห้อยลงมาตั้งแต่จะงอยปาก และห้อยลงมาทางด้านข้าง ต่างหูนี้สามารถหดหรือขยายตัวได้ ตัวผู้มีกระจุกขน
ในวันนี้สำหรับไก่งวงแล้ว ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานเป็นอย่างมาก สังเกตุได้จากปัจจุบันได้มีฟาร์มเพาะเลี้ยงไก่งวงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด และเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนไก่งวงกันมาอย่างต่อเนื่อง เบญจพรศิริฟาร์ม ที่มีคุณเบญจพร เบญจพรศิริ เป็นเจ้าของ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 119 หมู่ 5 ต.โพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 08-0460-8969,08-6857-2747 เป็นหนึ่งในฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงไก่งวงรายใหญ่ โดยปัจจุบันมีไก่งวงที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มมากว่า 1,000 ตัว ด้วยความทุ่มเทของผู้เป็นเจ้าของและครอบครัว ในการพัฒนาการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม พัฒนาด้านสายพันธุ์ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ฟาร์มแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกจากกรมปศุสัตว์ให้เข้ารับรางวัลชนะเลิศระดับเขต และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร สำหรับกาเรลี้ยงไก่งวงนั้น เบญจพรศิริฟาร์ม ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เริ่มต้นการทำฟาร์มในปี 2524 ซึ่งขณะนั้นได้ทำฟาร์มในลักษณะของเกษตรผสมผสาน กอปรไปด้วยกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายชนิด “ในช่วงแรกนั้นสัตว์ที่สร้างรายได้ให้มากที่สุดคือ การเลี้ยงหม
ไก่งวงปัจจุบันเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน เหมือนสัตว์เศรษฐกิจตัวอื่นๆ อยู่ที่เราจะมีแนวทางและวิธีการอย่างไร ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ เลี้ยงเพื่อการจำหน่ายตัวลูกไก่งวง และเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเนื้อไก่งวง คุณธนศักดิ์ คำด่าง เป็นหนึ่งในเกษตรที่หันมาให้ความสนใจเพาะเลี้ยงไก่งวงเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับการทำเกษตรผสมผสาน ที่บ้านเลขที่ 209 หมู่ที่ 4 บ้านโคกก่อง ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม คุณธนศักดิ์ เล่าให้ว่าว่า เดิมประกอบอาชีพรับราชการครู ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตนมีความรู้สึกว่าไม่ไม่ชอบอาชีพข้าราชการ จึงตัดสินใจลาออกและไปศึกษาด้านกฎหมายต่อแต่ก็ยังไม่ชอบ จนสุดท้ายตัดสินใจไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นศึกษาเรื่องเกี่ยวกับดินเป็นหลัก ตลอดระยะเวลาที่อยู่ญี่ปุ่นได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น เห็นความแตกกต่างของกลุ่ม คือ คนทำงานภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่ประกอบชีพเพาะปลูก “คนที่ทำงานภาคอุตสาหกรรม ต้องทำงานหนัก ตื่นเช้าแต่กลับบ้านดึก ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ผิดกับภาคการเกษตรที่เป็นเจ้านายของตัวเอง มีรายได้ อยากทำงานเวลาไหนก็ได
ในวันนี้สำหรับไก่งวงแล้ว ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากปัจจุบันได้มีฟาร์มเพาะเลี้ยงไก่งวงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด และเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนไก่งวงกันมาอย่างต่อเนื่อง เบญจพรศิริฟาร์ม ที่มี คุณเบญจพร เบญจพรศิริ เป็นเจ้าของ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 119 หมู่ที่ 5 ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 080-460-8969, 086-857-2747 เป็นหนึ่งในฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงไก่งวงรายใหญ่ โดยปัจจุบันมีไก่งวงที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มมากว่า 1,000 ตัว ด้วยความทุ่มเทของผู้เป็นเจ้าของและครอบครัว ในการพัฒนาการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม พัฒนาด้านสายพันธุ์ ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่ผ่านมา ได้ทำให้ฟาร์มแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกจากกรมปศุสัตว์ให้เข้ารับรางวัลชนะเลิศระดับเขต และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร สำหรับการเลี้ยงไก่งวงนั้น เบญจพรศิริฟาร์ม ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เริ่มต้นการทำฟาร์มในปี 2524 ซึ่งขณะนั้นได้ทำฟาร์มในลักษณะของเกษตรผสมผสาน กอปรไปด้วยกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายชนิด “ในช่วงแรกนั้นสัตว์ที่สร้างรายได้ให้มากที่สุดคือ การ