ไก่แจ้
ไก่แจ้ ถูกจัดให้เป็นไก่สวยงาม แบ่งเป็นไก่ไทยและไก่สากล ไก่ไทยมีความโดดเด่นเรื่องสีสันมากกว่า ส่วนไก่สากลได้เปรียบเรื่องคุณลักษณะที่สวยงาม สำหรับไก่ฟอร์มประกวดจะยึดลักษณะของไก่สากล แต่ความสวยงามจะพิจารณาสีตามแบบไก่ไทย หากใครสามารถเพาะไก่ลูกผสม ที่มีลักษณะไก่แบบฟอร์มประกวด มีสีแบบไก่ไทย จัดว่าเป็นไก่แจ้ราคาดี การเลี้ยงไก่แจ้เพื่อความสวยงาม ราคาซื้อขายขึ้นกับกระแสและความนิยมสีสันของไก่ เช่น สีขาวหางดำ ไก่แจ้สีเบญจรงค์ เป็นต้น คุณธรรมรัตน์ สมเสร็จ เจ้าของฟาร์มไก่แจ้ “น้ำพักน้ำแรง” เลขที่ 1/6 ซอย 3 หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 087-821-4803 ได้แบ่งปันเทคนิคการเลี้ยงไก่แจ้ ให้กับผู้สนใจเลี้ยงไก่แจ้มือใหม่ ดังนี้ เริ่มเลี้ยงตั้งแต่เป็นลูกเจี๊ยบ สำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่ควรฝึกพื้นฐานการเลี้ยงไก่แจ้ตั้งแต่เป็นลูกเจี๊ยบ โดยใช้หลักการดูแลไก่แจ้เล็กเหมือนกับการเลี้ยงไก่ทั่วไป ให้อาหาร ให้น้ำผสมวิตามิน ให้ความอบอุ่น กรงควรมีมุ้งกันยุง ให้วัคซีนตามวัยที่กรมปศุสัตว์กำหนด หลังจาก 1 เดือน ไม่จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด แต่ควรเพิ่มขนาดพื้นที่กรงให้เหมาะสม ควรปล่อยเลี้ยงไก่รุ่นหรือไก่ให
คุณประภาส บัวบาน หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ โอเล่ การละคร เป็นอีกหนึ่งศิลปินพื้นบ้านที่ต้องมีการปรับตัวในช่วงโควิด-19 ด้วยเช่นกัน โดยเขาได้มาทำอาชีพเสริมคือ การเพาะพันธุ์ไก่แจ้สวยงาม ฟาร์มชื่อ “เจ๊เอยไก่แจ้เสริมดวงบารมี” เพื่อสร้างรายได้เสริม เรียกได้ว่าจากอาชีพเสริมทำเล่นๆ ช่วงโควิด-19 กำลังกลับกลายมาทำรายได้เทียบเท่าเป็นอาชีพหลักกันเลยทีเดียว ศิลปินเพลงฉ่อย เลี้ยงไก่แจ้เพราะใจรัก คุณโอเล่ เล่าให้ฟังว่า ช่วงที่ยังไม่ได้มาเลี้ยงไก่แจ้เต็มตัวเหมือนเช่นทุกวันนี้ จะเดินสายทำการแสดงตามจังหวัดต่างๆ ด้วยตัวเขาเองมีประสบการณ์ในเรื่องของการแสดงเพลงฉ่อยเพื่อการศึกษา การแสดงส่วนใหญ่เป็นเพลงฉ่อยเกี่ยวกับวรรณคดีไทยตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศไทย ต่อมาเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ไม่สามารถออกไปทำการแสดงได้ ซึ่งก่อนนั้นเขาได้มีการเลี้ยงไก่แจ้ไว้อยู่ที่บ้านบ้างบางส่วน เมื่อเห็นว่าไม่สามารถออกเดินทางไปทำการแสดงได้ จึงได้กลับมาคิดทบทวนและตั้งใจจริงที่จะเพาะพันธุ์ไก่แจ้เป็นอาชีพในเวลาต่อมา “ช่วงนี้ก็จะเข้าปีที่ 3 แล้ว ที่งานแสดงฉ่อยของผม ไม่สามารถที่จะออกไปทำการแสดงได้ ก่อนหน้าที่โควิดจะเข้ามา 1 ปี
ชมรมไก่แจ้ทวารวดี เป็นชมรมไก่แจ้ที่รวมเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของ คนเลี้ยงไก่แจ้สวยงามทุกเพศ ทุกวัย และสมาชิกคนรักไก่แจ้ รวมถึงผู้เลี้ยงไก่แจ้ในหลายจังหวัด โดยมี คุณธรรมรัตน์ สมเสร็จ หนุ่มใหญ่วัย 39 ปี เป็นประธานชมรม ทั้งยังก่อตั้งฟาร์มเล็กๆ ที่รวบรวมสายพันธุ์มาตรฐานไก่แจ้ขึ้น ใช้ชื่อว่า ไก่แจ้ “น้ำพักน้ำแรง” บ้านคุณธรรมรัตน์ เพื่อเพาะและขยายพันธุ์ไก่แจ้ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น คุณธรรมรัตน์ บอกว่า ปัจจุบันไก่แจ้ถูกจัดให้เป็นไก่สวยงาม เมื่อมีเวทีประกวดจะดูที่ความสวยงามเป็นหลัก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปร่างลักษณะแล้ว ไก่แจ้สายพันธุ์ต่างประเทศจะได้เปรียบ เพราะมีคุณลักษณะที่สวยงามกว่า ส่วนไก่แจ้สายพันธุ์ไทยจะได้เปรียบเรื่องของสีสัน เพราะความชอบเลี้ยงสัตว์เป็นงานอดิเรกในวัยเยาว์ ไก่แจ้ นก และปลา จึงเป็นสัตว์ที่คุณธรรมรัตน์เลือกมาเลี้ยงและให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีขนาดเล็ก จับต้องได้ โดยก่อนหันมามุ่งมั่นกับการขยายพันธุ์ไก่แจ้อย่างจริงจัง คุณธรรมรัตน์มีไก่แจ้ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นหลายร้อยตัว กระทั่งปี 2540 ถูกชักชวนให้เข้าวงการไก่แจ้ เริ่มจากการเป็นสมาชิกชมรมอนุรักษ์ไก่แจ้แห่งประเทศไทย จังหว
ลพบุรี เป็นจังหวัดที่ไม่ใกล้และไม่ไกลกรุงเทพฯ ศูนย์กลางเมืองใหญ่เท่าไรนัก ระยะทางโดยประมาณถึงอำเภอที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองไม่ถึง 200 กิโลเมตรดี มีความหลากหลายในวิถีและการดำรงชีวิต ผู้คนดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และอีกส่วนหนึ่งในเมืองเป็นข้าราชการ คุณจรูญโรจน์ สัตยารักษ์ ก็เป็นข้าราชการทหารนายหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พร้อมกับ คุณภูริตา สัตยารักษ์ ภรรยา ทั้งคู่ไม่มีลูก ด้วยเหตุนี้จึงมีเวลาว่างจากอาชีพหลักพอสมควร “ไก่แจ้” ผุดเข้ามาในหูบ่อยครั้ง เมื่อคุณจรูญโรจน์และภรรยา อยากมีสัตว์เลี้ยงไว้ผ่อนคลายและแก้เหงายามว่างเว้นจากงานประจำ และตลาดออนไลน์เป็นตัวกระตุ้นให้คุณจรูญโรจน์เห็นว่า พื้นที่ของไก่แจ้บนตลาดออนไลน์กว้างมาก มีผู้คนจำนวนมากที่ให้ความสนใจ เลี้ยงเล่น และเพาะจำหน่ายเป็นฟาร์มใหญ่ คุณจรูญโรจน์ จึงเริ่มต้นด้วยการซื้อไก่แจ้สีขาวหางดำและสีเบญจรงค์ผ่านตลาดออนไลน์ พิจารณาจากความชอบที่แรกเห็น และยังไม่รู้จักรายละเอียดเกี่ยวกับไก่แจ้มากมายนัก อีกทั้งคิดเลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนผ่อนคลายยามเหงากับภรรยา หลังเริ่มเลี้ยงไปได้เพียง 2 สัปดาห์ เห็นมีการจัดประกวดไก่แจ้ ด้วยคว
ไก่แจ้เป็นไก่พื้นบ้านที่มีขาสั้น แต่ด้วยลักษณะฉะเพราะของไก่แจ้ที่สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำไปเลี้ยง เกษตรกรหลายคนก็หันมาเลี้ยงไก่แจ้ ทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพราะว่าไก่แจ้นั้นมีราคาขาย ที่สูงกว่าพันธุ์ไข่หรือพันธุ์เนื้อมาก โดยราคาที่ซื้อขายกันอยู่ที่หลักพันบาทจนถึงหลักหมื่นบาท คุณณรงค์ฤทธิ์ ยำบ๊ะ (หรือบังลิก) อายุ 40 ปี อาศัยอยู่ คลอง 12 ลำลูกกา ถ.ลำไทร ซอย 2 จังหวัดปทุมธานี เป็นเกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้ เจ้าของเพจไก่แจ้บ้านบังลิก ปัจจุบันบังลิกเป็นเกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้ อาชีพเกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้เป็นเพียงอาชีพเสริม ของบังลิก เนื่องด้วยปัจจุบัน บังลิก เป็นพนักงานประจำอยู่ของบริษัทแห่งหนึ่ง บังลิก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งคนที่นำความชื่นชอบ มาเป็นอาชีพเสริมที่หารายได้เพิ่มให้กับครอบครัว จุดเริ่มต้น ในการเข้ามาสู้วงการไก่แจ้ของบังลิกเริ่มจาก ครอบครัวทำอาชีพเลี้ยงไก่กินเนื้อ แต่ด้วยความชอบส่วนตัว ชื่นชอบ ในลักษณ์พิเศษของไก่แจ้ที่ขาสั้น ตัวอ้วนกลม และสีขนที่สวยงามอย่างเป็นเอกลักษณ์ มีเสน่ห์ในตัวเอง ทำให้บังลิกหลงไหลในเสน่ห์ของไก่แจ้อย่างปฏิเสธไม่ได้ บังลิก กล่าวว่า ตนเองได้ศึกษาข้อมูลและอยู่ในเเวดวงไก่
“ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าอยากจะเลี้ยง” คุณสนธยา ชาติประสบโชค ผู้คร่ำหวอดในวงการไก่แจ้ไทยมานานเกือบ 30 ปี บอกกับเทคโนโลยีชาวบ้านด้วยน้ำเสียงขึงขัง ซึ่งการที่คุณสนธยายืนยันเช่นนี้ ก็หมายถึง หากต้องการเลี้ยงไก่แจ้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าคนที่ต้องการเลี้ยงมีความตั้งใจจริง คุณสนธยา เป็นชายวัยกลางคน มีความสนใจและรักสัตว์ปีกมาตั้งแต่เด็ก จริงจังที่สุดก็คือ การเลี้ยงไก่แจ้ แม้กระทั่งตอนที่เรียกตัวเองว่าเป็นการเลี้ยงเล่น ยังมีไก่แจ้ที่เลี้ยงไว้เกือบ 400 ตัว โดยไม่เคยผ่านวงการประกวดไก่แจ้มาก่อน เพราะในยุคนั้นการติดต่อสื่อสารและส่งข่าวสารเรื่องของการจัดงานประกวด การซื้อขาย เป็นไปด้วยความยาก ไม่ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน คุณสนธยาจึงเป็นเพียงผู้รักและผู้เลี้ยง ที่มีไก่แจ้ไว้ในครอบครองที่เริ่มจากความชอบเท่านั้น “ผมเริ่มเลี้ยงจริงๆ ราว 30 ปีก่อน เลี้ยงไปเรื่อยเปื่อย ซื้อทุกสี เก็บไปเรื่อยๆ จนมีไก่แจ้สะสมไว้เกือบ 400 ตัว ตลอดเวลาที่เลี้ยงก็ศึกษาเรื่องของการเลี้ยงไก่แจ้ เห็นว่ามีการประกวด แต่ด้วยการสื่อสารที่ไม่ทันสมัย ทำให้ไม่ค่อยรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวในวงการประกวดไก่แจ้ จึงไม่ได้สนใจนัก กระทั่งวันหนึ่งเ
ชมรมไก่แจ้ทวารวดี เป็นชมรมไก่แจ้ที่รวมเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของ คนเลี้ยงไก่แจ้สวยงามทุกเพศ ทุกวัย และสมาชิกคนรักไก่แจ้ รวมถึงผู้เลี้ยงไก่แจ้ในหลายจังหวัด โดยมีคุณธรรมรัตน์ สมเสร็จ หนุ่มใหญ่วัย 40 ปีเศษ เป็นประธานชมรม ทั้งยังก่อตั้งฟาร์มเล็กๆ ที่รวบรวมสายพันธุ์มาตรฐานไก่แจ้ขึ้น ใช้ชื่อว่า ไก่แจ้ “น้ำพักน้ำแรง” บ้านคุณธรรมรัตน์ เพื่อเพาะและขยายพันธุ์ไก่แจ้ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น คุณธรรมรัตน์ บอกว่า ปัจจุบันไก่แจ้ ถูกจัดให้เป็นไก่สวยงาม เมื่อมีเวทีประกวดจะดูที่ความสวยงามเป็นหลัก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปร่างลักษณะแล้ว ไก่แจ้สายพันธุ์ต่างประเทศจะได้เปรียบ เพราะมีคุณลักษณะที่สวยงามกว่า ส่วนไก่แจ้สายพันธุ์ไทย จะได้เปรียบเรื่องของสีสัน เพราะความชอบเลี้ยงสัตว์เป็นงานอดิเรกในวัยเยาว์ ไก่แจ้ นก และปลา จึงเป็นสัตว์ที่คุณธรรมรัตน์เลือกมาเลี้ยงและให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีขนาดเล็ก จับต้องได้ โดยก่อนหันมามุ่งมั่นกับการขยายพันธุ์ไก่แจ้อย่างจริงจัง คุณธรรมรัตน์มีไก่แจ้ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นหลายร้อยตัว กระทั่งปี 2540 ถูกชักชวนให้เข้าวางการไก่แจ้ เริ่มจากการเป็นสมาชิกชมรมอนุรักษ์ไก่แจ้แห่งประเทศไทย
มีโอกาสได้จับเข่านั่งคุยกับ คุณกิตติชัย ไกลถิ่น ประธานชมรมผู้เพาะพันธุ์ไก่ซารามอประเทศไทย ถึงการเลี้ยงไก่ซารามอ ความนิยม การเพาะพันธุ์ การจัดการประกวด และอื่นๆ อีกมาก ทำให้ได้ทราบว่า ไก่ซารามอ เข้ามาในเมืองไทยนานแล้ว แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากเลี้ยงแล้วจะเพาะให้ได้ไก่ซารามอสวยๆ ทำได้ยาก แม้จะมีการจัดประกวดไก่ซารามอขึ้นทุกปี แต่ก็มีคนเลี้ยงหน้าใหม่เพิ่มเข้ามาน้อย ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงไก่ซารามาในประเทศไทยกว่า 50 ราย และมีผู้เลี้ยงในพื้นที่ภาคใต้มากที่สุด ไก่ซารามอ มีถิ่นกำเนิดในรัฐกลันตัน ของประเทศมาเลเซีย และเป็นไก่สายพันธุ์พื้นเมืองของรัฐกลันตัน มีลักษณะประจำตัวที่แปลกไม่เหมือนใคร เพราะมีหน้าอกตั้งสูง คล้ายกับทหารยืนตรง น้ำหนักของไก่ซารามอเมื่อโตเต็มที่ 250-500 กรัม ต่อตัวเท่านั้น จึงให้คำนิยามว่า เป็นไก่ขนาดเล็กที่สุดในโลก คุณกิตติชัย เล่าถึงที่มาของการเลี้ยงไก่ซารามอว่า เขาชอบไก่มาตั้งแต่เล็ก เมื่ออยู่ประถมศึกษาปีที่ 6 ก็ซื้อลูกเจี๊ยบที่ถูกพ่นสีมาเลี้ยง เมื่อไก่โตขึ้นเป็นไก่เนื้อ จึงนำไปขาย เห็นว่าการเลี้ยงไก่ก็ทำเงินได้ จึงคิดซื้อไก่ขนาดเล็กมาเลี้ยง เพราะไม่ต้องการให้ไก่โต ได้
“เลี้ยงไก่แจ้ไม่ซับซ้อน แต่ต้องทำความเข้าใจ ทุกคนอยากได้ลูกไก่ที่สามารถนำไปเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในราคาที่ถูก แต่ลูกไก่เหล่านั้นจะเจริญเติบโตไปได้เท่าไรก็ไม่รู้ เพราะการเลี้ยงไก่แจ้มีหลายแง่มุมให้ศึกษา เมื่อเข้าใจแล้วจะง่าย” คุณกนกศักดิ์ รัตนวงศ์ หรือ คุณตั้ม เกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้ อาศัยอยู่ที่ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นำความชื่นชอบในการเพาะเลี้ยงไก่แจ้มาประยุกต์ต่อยอดเป็นกิจกรรมสร้างรายได้ โดยใช้เวลาว่างจากงานประจำมาดูแลสัตว์เลี้ยงคู่ใจ ภายใต้ปณิธานมุ่งมั่นพัฒนาสายพันธุ์ไก่แจ้ทั้งสีกระดำ สีกระโกโก้ สีดอกหมาก และสีทอง ผ่านการทำตลาดออนไลน์ชูจุดเด่นด้วยสถานที่เลี้ยงบนดาดฟ้า เรียกความสนใจจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี ผสานกับความเอาใจใส่ติดตามให้คำแนะนำอยู่เสมอจนได้รับเสียงการันตีถึงคุณภาพจากกลุ่มผู้เลี้ยงไก่แจ้ คุณกนกศักดิ์ เล่าว่า ปัจจุบันตนเองอายุ 40 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทางทะเล แล้วได้เริ่มต้นประกอบอาชีพส่วนตัวในจังหวัดชุมพร จนวันหนึ่งครอบครัวเริ่มสุขสบายและมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น จึงหันมาให้ความสำคัญกับงานอดิเรกที่รัก คือการเลี้ยงสัตว์ เริ่มจากเพ
ในวงการประกวดไก่แจ้ เป็นที่รู้กันดีว่า ไก่ที่ขึ้นแท่นประกวดหรือผ่านการประกวด ยิ่งได้รับรางวัลจากการประกวด ค่าตัวของไก่หรือมูลค่าเมื่อได้ลูกไก่จากไก่นั้นๆ จะสูงขึ้น ส่วนหนึ่งไก่ถูกเปลี่ยนมือทันทีหลังการประกวดสิ้นสุดลง อีกส่วนหนึ่งเจ้าของเดิมนำกลับไปพัฒนาสายพันธุ์ และอีกส่วนนำไปเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพื่อผลิตลูกไว้จำหน่าย คุณวิชัย สิงห์เทียน เจ้าของ Lena Farm ฟาร์มไก่ย่านคลองสิบ คนรักไก่เช่นเดียวกับนักเลี้ยงไก่ หรือนักประกวดอีกหลายๆ ท่าน คุณวิชัย เปิดฟาร์มให้ชมทุกซอกทุกมุม สังเกตได้ว่า พื้นที่ที่คุณวิชัยเรียกว่าฟาร์ม ไม่ได้กว้างขวางหรือใหญ่โตมากนัก จัดอยู่ในพื้นที่กะทัดรัด แต่แบ่งเป็นสัดส่วน ระหว่างไก่สวยงามและไก่แจ้ Lena Farm ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี คุณวิชัย เป็นเจ้าของฟาร์มที่อยู่ในวัยทำงาน เพราะก่อนหน้านี้ทำงานประจำ แต่สนใจไก่สวยงาม จึงลองศึกษาข้อมูล และที่สุดก็ได้ไก่แจ้สวยงามมา 1 คู่ คุณวิชัยเลือกไก่แจ้ไทยและเลือกสีเบญจรงค์ เพราะเป็นสีที่เขาเองรู้สึกว่า มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ที่สุดในกลุ่มไก่แจ้ไทย ทั้งยังเป็นไก่ที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากเสริมบารมี ซึ่