ไก่ไข่
ปัจจุบัน อาชีพเลี้ยงสัตว์ที่ล้ำหน้าไปไกลแล้ว โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร เป็ด ไก่ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาจนก้าวไกล ทันสมัย ทั้งการพัฒนาพันธุ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ส่งเสริมให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไทยเหนือกว่ากลุ่มประเทศอาเซียนชนิดไม่เห็นฝุ่น อาจจะไปไกลกว่าทวีปเอเชียด้วยซ้ำไป นี่คือผลงานของภาคเอกชนที่มีการทำงานและบุกเบิกพันธุ์สัตว์ ต้องจารึกลงไปในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่มีบริษัทชั้นนำของประเทศนำเข้ามาส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลพวงทำให้คนไทยมีอาชีพและรายได้ คนมีงานทำทั่วทั้งประเทศ และรายได้ส่งออกเนื้อสัตว์และไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากขึ้นทุกปี จนได้รับขนานนามว่า “ไทยคือครัวโลก” หากกล่าวถึงการเลี้ยงสัตว์ ที่เด่นสุดในเวลานี้ต้องที่การเลี้ยงง่าย จากรายเล็กสู่รายใหญ่ได้ ก็คือการเลี้ยงไก่ไข่นั่นเอง ที่แพร่หลายไปทั่วประเทศ จนถึงโรงเรียนให้นักเรียนฝึกเลี้ยงเพื่อเก็บไข่ไก่ไว้เป็นอาหารกลางวันเด็ก และเหลือขายได้ จากสถิติการประเมินปริมาณจำนวนเลี้ยงไก่ไข่ทั้งประเทศ มีประมาณ 50 ล้านตัวเศษ ไข่ไก่มีวันละ 40-42 ล้านฟอง ต่อวัน คนไทยคาดว่าจะบริโภคถึงปีละ 300 ฟอง อาชีพเลี้ยงไก่ไข่ มีสมาคมอยู่ 2 สมาคม คือ สมาคมส่งเสริม
ซีพี จับมือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ขับเคลื่อนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เข้าสู่ปีที่ 34 ส่งเสริมเด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารปลอดภัย เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการให้น้องๆ นักเรียน เป้า 1,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ในพื้นที่ชนบทห่างไกล เป็นห้องเรียนสร้างอาชีพจากการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ แปรรูปอาหารจากผลผลิตไข่ไก่ ต่อยอดสู่การบริหารจัดการของเสียจากมูลไก่นำมาทำเป็นปุ๋ย ขยายผลสู่ชุมชนเป็นคลังเสบียงในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือซีพี และผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า เครือซีพี ซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตาม “โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน” สานต่อดำเนิน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใ
ปัจจุบัน กระแสสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ใส่ใจในการดูแลตัวเอง โดยเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินอาหารคลีน หรืออาจจะเป็นอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบที่ปลูกแบบระบบอินทรีย์ก็เป็นความมั่นใจของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้นอกจากพืชที่ปลูกในระบบอินทรีย์แล้ว แม้แต่สัตว์บางชนิดก็สามารถนำมาเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อีกด้วย โดยปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติมีการเลี้ยงด้วยอาหารที่ได้จากพืช ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง จึงส่งผลให้สัตว์ที่เลี้ยงด้วยระบบนี้สามารถทำราคาทางด้านการตลาดที่สูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไปเป็นเท่าตัว อย่างเช่นไข่ไก่ที่ผ่านการเลี้ยงในระบบอินทรีย์เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสามารถหาซื้อเองได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าที่ขายสินค้าอินทรีย์ หรือถ้าหากอยากมีกิจกรรมยามว่างก็สามารถหาไก่ไข่มาเลี้ยงแล้วเก็บไข่ไว้กินภายในครัวเรือนเองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประหยัดรายจ่าย คุณณธรา แย้มพิกุล อยู่ที่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 19 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรผู้มีความชอบการกินอาหารที่ปลูกในระบบอินทรีย์ โดยผลไม้และผักสวนครัวต่างๆ ที่ปลูกใน
คุณเวสารัช ตรีโชติ หรือ พี่โจ้ อยู่บ้านเลขที่ 12/2 หมู่ที่ 5 ตำบลสามควายเผือก อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์นครปฐม เลือดนักสู้ ผู้ที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ที่ถึงแม้ว่าจะยังไม่สำเร็จสายอาชีพที่เลือกเดิน แต่จะขอทำต่อไปเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของตนเองและเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร พี่โจ้ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตนเรียนจบคณะอักษรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากเรียนจบมีโอกาสได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักวิชาการแผนที่กรุงเทพฯ แต่ด้วยความที่มีนิสัยส่วนตัวที่ไม่ชอบทำงานอยู่ในกรอบเข้าออกเป็นเวลา จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาเปิดร้านมินิมาร์ท เปิดได้สักระยะก็มีเหตุให้ต้องปิดกิจการกันไป จึงกลับมานั่งคิดทบทวนใหม่ว่าจะทำอะไรต่อไปดีให้เหมาะกับนิสัยส่วนตัวที่ชอบทำงานอิสระ และสามารถใส่ความคิดของตัวเองลงไปในงานได้ ก็มาประจวบเหมาะกับที่บ้านจังหวัดนครปฐมมีที่ดินว่างเปล่าของคุณพ่อที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่จำนวน 2 ไร่ครึ่ง จึงตัดสินใจที่จะมาลองทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ดูสักครั้ง ซึ่งในช่วงแรกของเส้นทางสายเกษตรก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะ
จากกระแสการใส่ใจในเรื่องของสุขภาพที่มีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคยุคนี้ใส่ใจในเรื่องของอาหารการกินเป็นอย่างมาก โดยเลือกซื้อวัตถุดิบที่มาปรุงอาหาร เน้นเป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัย ผ่านกระบวนการผลิตที่ใส่ใจทุกรายละเอียด เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าเมื่อกินแล้วดีต่อสุขภาพ โดยสุขภาพที่ดีเริ่มจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ไข่ เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่มีคุณประโยชน์ สามารถกินและนำมาประกอบอาหารได้ทุกวัน จึงได้มีการพัฒนาการเลี้ยงในแบบเป็นไก่ไข่อารมณ์ เพื่อให้ไก่ผลิตไข่ที่ดีมีคุณภาพ พร้อมทั้งเป็นสินค้าที่มีมูลค่า ตลาดมีความต้องการเหมือนเช่นไข่ไก่อารมณ์ดีของ คุณกชกร ช่วยณรงค์ ตั้งอยู่ที่ 27 หมู่ที่ 5 ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระทำให้ไข่ที่ได้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง ปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงต่อความต้องการเลยทีเดียว คุณกชกร เล่าให้ฟังว่า เธอจบการศึกษาในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้นำองค์ความรู้จากการเรียนมาช่วยครอบครัวดำเนินธุรกิจคือการเลี้ยงไก่ไข่และโคนม พร้อมทั้งต่อยอดการเลี้ยงไก่ไข่เป็นแบบไก่อารมณ
ปัจจุบัน กระแสสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ใส่ใจในการดูแลตัวเอง โดยเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินอาหารคลีน หรืออาจจะเป็นอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบที่ปลูกแบบระบบอินทรีย์ก็เป็นความมั่นใจของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้นอกจากพืชที่ปลูกในระบบอินทรีย์แล้ว แม้แต่สัตว์บางชนิดก็สามารถนำมาเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อีกด้วย โดยปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติมีการเลี้ยงด้วยอาหารที่ได้จากพืช ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง จึงส่งผลให้สัตว์ที่เลี้ยงด้วยระบบนี้สามารถทำราคาทางด้านการตลาดที่สูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไปเป็นเท่าตัว อย่างเช่น ไข่ไก่ที่ผ่านการเลี้ยงในระบบอินทรีย์เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสามารถหาซื้อเองได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าที่ขายสินค้าอินทรีย์ หรือถ้าหากอยากมีกิจกรรมยามว่างก็สามารถหาไก่ไข่มาเลี้ยงแล้วเก็บไข่ไว้กินภายในครัวเรือนเองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประหยัดรายจ่าย คุณณธรา แย้มพิกุล อยู่ที่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 19 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรผู้มีความชอบการกินอาหารที่ปลูกในระบบอินทรีย์ โดยผลไม้และผักสวนครัวต่างๆ ที่ปลูกใ
คุณวนิดา ศรีราเพ็ญ หรือ พี่กานต์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์นครศรีธรรมราช ที่อยู่ 39 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตพยาบาลสาวผันตัวเป็นเกษตรกรทำเกษตรผสมผสานปลูกผัก เลี้ยงไก่ สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวไม่มีขัดสน พี่กานต์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรว่า เมื่อก่อนตนเองประกอบอาชีพเป็นพยาบาล แต่เนื่องด้วยลักษณะงานที่ทำต้องมีการทำงานเป็นกะทำให้ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก จึงได้ลาออกจากงานประจำหันมาทำธุรกิจส่วนตัว เพื่อที่จะได้มีเวลาดูแลลูกทั้ง 2 คน ด้วยการเริ่มต้นเป็นเกษตรกรปลูกพืชผสมผสานสร้างรายได้ แต่เมื่อถึงช่วงระยะเวลาหนึ่งก็เริ่มมีแนวคิดที่อยากจะผลิตปุ๋ยไว้ใช้เอง เนื่องจากที่ผ่านมาที่ฟาร์มมักจะประสบปัญหาในการซื้อปุ๋ยขี้ไก่ที่จะมีการผสมโซดาไฟลงมาด้วย ทำให้พืชผักที่ปลูกไม่โต มีอาการใบเหลือง ผลผลิตไม่มีคุณภาพ จนเกิดเป็นแนวคิดที่จะเลี้ยงไก่ไข่เพื่อผลิตปุ๋ยไว้ใช้เอง และนอกจากนี้ ยังมีการคิดไปถึงอนาคตไว้ว่า นอกจากจะได้ปุ๋ยจากการเลี้ยงไก่แล้ว ในแต่ละวันยังสามารถเก็บไข่ขายได้ และยังสามารถเก็บขี้ไก่ส่วนหนึ่งมาทำเป็นปุ๋ยหมักขี้ไก่ขายได้อีกทางหนึ่ง เรียกได้ว่า “ยิงปืนนัดเดียวได้นก
เกษตรกรในพื้นที่หมู่ 8 ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี นิยมปลูกไผ่รวกหวาน และกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นคอกเลี้ยงไก่ไข่ ให้อาหารไก่วันละ 2 เวลา ตอนเช้าให้ไก่กินอาหารผสมหยวกกล้วยคลุกเคล้าปนกับรำข้าว ตอนกลางวัน ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในป่าไผ่ ปล่อยให้ไก่ไข่ที่เลี้ยงคุ้ยเขี่ยปลวก แมลง ในป่าไผ่เป็นอาหาร ทำให้ไข่ไก่อินทรีย์ที่มีคุณภาพ ขายได้ราคาดี จนผลิตไม่พอขาย เกษตรกรบางรายเลี้ยงไก่สาวสัก 100 กว่าตัว เก็บไข่ออกขายได้วันละ 100-120 ฟอง 1 เดือน ได้ไข่ไก่ประมาณ 3,600 ฟอง สร้างรายได้ให้ประมาณ 14,400 บาท หักต้นทุนค่าอาหารประมาณ 4,000 บาทต่อเดือน ทำให้ยังมีเงินเหลือประมาณ 10,000 บาท ไข่อินทรีย์ที่เลี้ยงในระบบนี้ จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจากไข่ไก่ที่เลี้ยงตามท้องตลาดทั่วไป เนื่องจากไข่ไก่อินทรีย์จะมีความสดใหม่ เมื่อตอกเปลือกไข่ จะได้ไข่ไก่ที่จับเป็นก้อนสีเข้มแดงกว่าและไม่มีน้ำเหลว บริเวณเปลือกจะหนากว่าไข่ไก่ทั่วไป เนื่องจากปล่อยเลี้ยงให้คุ้ยหากินปลวกและแมลงในดงกอไผ่ตามธรรมชาตินั่นเอง ไผ่รวกหวานที่ปลูกไว้ขายหน่อ กลายเป็นพื้นที่เลี้ยงไก่ มีไข่ไก่เก็บออกขายแล้ว ยังมีรายได้จากการเก็บหน่อไม้ไว้ขายได้อีกด้วย
วารสารวิชาการเชิงวิทยาศาสตร์ “เนเจอร์” ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยเรื่องอัตราการตายของไก่ไข่ โดยงานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลเชิงพาณิชย์ปริมาณมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในการวิเคราะห์ และพบว่า อัตราการตายของไก่ไข่ที่ไม่ถูกขังกรงมีจำนวนลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้รับการเลี้ยงดูในระบบการเลี้ยงไก่แบบปล่อย ซึ่งเกิดจากประสบการณ์การจัดการและความรู้ในการเลี้ยงไก่ที่เพิ่มขึ้น การวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากแม่ไก่จำนวน 176 ล้านตัวจาก 16 ประเทศ แล้วนำมาเปรียบเทียบการตายของไก่แต่ละกลุ่มที่แยกตามระบบโรงเรือนเลี้ยงไก่ อันได้แก่ ระบบการเลี้ยงในกรงตับที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ระบบการเลี้ยงในกรงเสริมอุปกรณ์ และระบบการเลี้ยงแบบไม่ใช้กรง (แบบ Aviary) ผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลเป็นเวลาสิบปีพบว่า ประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่โดยระบบแบบไม่ใช้กรงมีความเกี่ยวพันกับการตายที่ลดลงถึงร้อยละ 4-6 หรือเรียกได้ว่า “อัตราการตายที่ลดต่ำลงเร็วกว่าตัวเลขที่รายงาน” แต่อัตราการตายจากระบบการเลี้ยงไก่แบบขังกรงนั้นไม่สูงไปกว่าเดิมแล้ว จึงสรุปได้ว่า การตายของไก่ที่เลี้ยงในระบบไม่ขังกรงไม่ได้สูงกว่าการตายของไก่ที่เลี้ยงในโรงเรือนที่ใช้ระบบกรงตับแบบที่ใช้กันท
ข้าวโพด : ราคาเพิ่มขึ้น สัปดาห์นี้ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ ปรับขึ้นจากหาบละ 612 บาท เป็นหาบละ 630 บาท แม้ว่าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะยังคงออกสู่ตลาด แต่เนื่องด้วยภาวะฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิต ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 1 กันยายน 2564 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 ราคาอยู่ที่ 522.75 เซนต์/บุชเชล เป็นราคาที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากคาดการณ์สภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยจนถึงสัปดาห์หน้า จะทำให้ข้าวโพดเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ใกล้สู่ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวในแถบมิดเวสต์ นอกจากนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานผลผลิตที่อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากที่ 60% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และไม่มีรายงานอุปสงค์การส่งออกข้าวโพดเอกชน ขณะที่ปัจจุบันเกษตรกรประเทศบราซิลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดสำหรับ ฤดูกาล 2563/64 ครบถ้วน แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะทรงตัว ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว กากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ในสัปดาห์นี้ ทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.90 บาท ปริมาณน้ำฝนในฝั่งอเมริกายังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดการณ์