อาจารย์เรืองสิน ปลื้มปั่น ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ร่วมวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายสักการะ เพื่อร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2562 โดยได้รับเกียรติจาก นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธี ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
MOST POPULAR
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง
ตำลึง หรือที่หลายคนคุ้นเคยในฐานะ “ผักริมรั้ว” แท้จริงแล้วมีถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติเหมาะสมในระบบนิเวศป่า ซึ่งต้องการร่มเงา ความชื้น และพืชพี่เลี้ยงในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ไผ่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการปลูกป่าในพื้นที่เกษตรผสมผสานอย่างเหมาะสม ตำลึงจึงเกิดขึ้นเองอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ และให้ผลผลิตที่ดี ใบใหญ่ รสชาติดี เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี คุณพอต-อภิวรรษ สุขพ่วง เจ้าของไร่สุขพ่วง อยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างรายได้ในชุมชน “ไร่สุขพ่วง” นับเป็นไร่ตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ทำไร่นาสวนผสมอย่างมีไม่ขาดตกบกพร่อง และไร่สุขพ่วงก็มีอะไรใหม่ๆ ให้เราตื่นเต้นได้อยู่เสมอ โดยครั้งนี้พระเอกของเรื่องคือ “ตำลึง” พืชพื้นบ้าน หรือผักริมรั้วที่เรารู้จักกันนี่แหละ หลายคนบอกไม่เห็นจะตื่นเต้นตรงไหน ก็คงจะใช่ถ้าบอกเรามองว่าตำลึงเป็นแค่ผักริมรั้วก็ไม่น่าตื่นเต้นจริงๆ นั่นแหละ แต่ถ้าบอกว่าเขาเอา “ตำลึง” มาบดทำเป็นผงชาเขียว นี่ตื่นเต้นจนตะลึงกันเลยใช่ไหม งั้นตามมาดูกันเลยว่าเขาทำกันย
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
ในยุคที่เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชแบบปลอดสารพิษมากขึ้น สมุนไพรพื้นบ้าน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการใช้สารเคมี หนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ “หนอนตายหยาก” ซึ่งมีสรรพคุณโดดเด่นในการ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนและแมลงต่างๆ ได้ผลดีแถมปลอดภัยกับคนและสิ่งแวดล้อม รู้จักกับ “หนอนตายหยาก” หนอนตายหยาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris elliptica) เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณของไทย มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น “กำลังช้างเผือก”, “เครือเขาหนัง”, หรือ “บงตายหยาก” นิยมใช้รากและเถ้าเป็นส่วนผสมหลักในการทำยากำจัดแมลง จุดเด่นอยู่ที่สาร โรติโนน (Rotenone) ที่มีอยู่ในรากและเปลือกลำต้น ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ในการทำลายระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงหยุดกิน หยุดเคลื่อนไหว และตายในที่สุด สรรพคุณในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ทำอันตรายต่อพืชหรือผู้บริโภค จึงเหมาะกับเกษตรอินทรีย์หรือผู้ที่ต้องการลดการใช้สารเคมีในสวนของตน หนอนตายหยากสามารถใช้ไล่และฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น วิธีการทำน้ำหมักสมุนไพรหนอนตายหยาก ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้เจือจางน้ำหมัก 100 ซีซี ต่อน