เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
News

กศน.โพนพิสัย มีไอเดียสร้างบรรยากาศ ดึงชาวบ้านเข้าห้องสมุดแห่งการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 มีมติคณะรัฐมนตรีให้การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ    โดยกําหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปีเป็นวันรักการอ่าน และให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ รวมทั้งให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนกรุงเทพมหานครได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก  ปี 2556 จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ร่วมกับสมาพันธ์ผู้จัดพิมพ์นานาชาติ สมาพันธ์ผู้จัดจําหน่ายหนังสือนานาชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยมีวาระ 1 ปี จึงเป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ดําเนินการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง

ห้องสมุดก่อนการพัฒนา

สำนักงาน กศน. ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา ได้มีจุดเน้นในเรื่องการส่งเสริมการอ่านให้กลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งเสริมให้เกิดชุมชนรักการอ่าน “สร้างการอ่าน เสริมการเรียนรู้” ในรูปแบบหมู่บ้าน หรือชุมชนแห่งการอ่าน อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน บ้านหนังสือชุมชน เป็นต้น

สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงาน กศน. ได้มีจุดเน้นการดำเนินงานอัธยาศัยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านและพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การพัฒนา กศน. ตําบล ห้องสมุด ประชาชนทุกแห่งให้มีการบริการที่ทันสมัย ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่าย ส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องสมุดชาวตลาด พร้อมหนังสือและอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน อย่างหลากหลายรูปแบ

ดังนั้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เป็นอำเภอขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ให้บริการการศึกษา จำนวน 11 ตำบล 159 หมู่บ้าน และมีการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมาอย่างต่อเนื่อง

ดร.มณฑาทิพย์ เสยยงคะ ผู้อำนวยการ กศน.โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จึงศึกษาแนวทางการสร้างบรรยากาศห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ “Happy Public Library for all” เพื่อให้แนวทางการพัฒนาห้องสมุดเป็นไปอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด

 โดยแนวทางการสร้างบรรยากาศห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพ เป็นการบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่

1.1 คณะกรรมการสถานศึกษา เป็นกลุ่มสำคัญในการสนับสนุนด้านแนวคิด และการหางบประมาณ และทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนา

1.2 ผู้บริหาร เป็นบุคคลที่ต้องมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ และทำทันที เพื่อการพัฒนา

1.3 บุคลากร เป็นกลุ่มสำคัญที่คอยสนับสนุนเป็นกำลังแรงงานคอยสนับสนุนงานให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้สโลแกน “สามัคคี รักกัน พัฒนา”

1.4 นักศึกษา กศน. และประชาชนอำเภอโพนพิสัย เป็นกลุ่มสำคัญที่เป็นตัววัดถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

1.5 ภาคีเครือข่าย เป็นกลุ่มสำคัญในการสนับสนุนด้านแนวคิดและการหางบประมาณ และทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนา

2. ประสิทธิผล เป็นผลสำเร็จของการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในแนวคิด แนวทางการสร้างบรรยากาศห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ “Happy Public Library for all” ที่ตั้งไว้ ซึ่งในเบื้องต้นได้ศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในแนวคิด แนวทางการสร้างบรรยากาศห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ “Happy Public Library for all” จากนักศึกษา กศน. และประชาชนอำเภอโพนพิสัยที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2564 จำนวน 657 คน

พบว่านักศึกษา กศน. และประชาชนอำเภอโพนพิสัยมีความพึงพอใจในผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.88 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักศึกษา กศน. และประชาชนอำเภอโพนพิสัยพึงพอใจในมุมมหาราชมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.52 รองลงมาคือ มุมแนะนำหนังสือใหม่ คิดเป็นร้อยละ 89.57 มุมหนังสือทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 80.14 สำหรับข้อเสนอแนะ ได้แก่ นักศึกษา กศน. และประชาชนอำเภอโพนพิสัยต้องการให้พัฒนามุมสำหรับเด็กให้น่าใช้บริการมากขึ้น และเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับนวนิยายร่วมสมัยให้มากขึ้น

หลังพัฒนาห้องสมุดให้ดึงดูดประชาชนมาใช้บริการ

ซึ่งการศึกษานี้ คาดว่าจะทำให้ห้องสมุดประชาชนอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้เพื่อประชาชนอำเภอโพนพิสัย

Related Posts