วันที่ 30 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก อ.กงหรา จ.พัทลุงว่า ในช่วงกลางดึกที่ผ่านมา ได้เกิดฝนกตกหนัก และทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่บ้านน้ำทรายแดง หมู่ที่ 2 ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง น้ำป่าไหลทะลักบ้านหมู่บ้านฉับพลัน ชาวบ้านที่นอนหลับอยู่ต่างสะดุ้งตื่น รีบเก็บข้าวของ ทรัพย์สินที่มีค่าหนีน้ำ
ขณะที่มีอีกหลายรายไม่สามารถเคลื่อนย้ายข้าวของได้ทันจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่นอน เครื่องใช้ไฟฟ้า เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่างๆได้รับความเสียหายจำนวนมาก
นางพรรณี อินยายศ อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 2 ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง กล่าวว่า ขณะกำลังหลับ ฝนตกลงมาหนักมาก ประมาณ ตี 1 มีป่าน้ำไหลหลากเข้ามาในบ้าน น้ำมาเร็วมาก จึงได้เรียกให้เพื่อนบ้านมาช่วยขน แต่ขนได้บางส่วน ที่เหลือเสียงหายทั้งหมด
ที่มา : มติชนออนไลน์
MOST POPULAR
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
ตำลึง หรือที่หลายคนคุ้นเคยในฐานะ “ผักริมรั้ว” แท้จริงแล้วมีถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติเหมาะสมในระบบนิเวศป่า ซึ่งต้องการร่มเงา ความชื้น และพืชพี่เลี้ยงในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ไผ่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการปลูกป่าในพื้นที่เกษตรผสมผสานอย่างเหมาะสม ตำลึงจึงเกิดขึ้นเองอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ และให้ผลผลิตที่ดี ใบใหญ่ รสชาติดี เก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี คุณพอต-อภิวรรษ สุขพ่วง เจ้าของไร่สุขพ่วง อยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างรายได้ในชุมชน “ไร่สุขพ่วง” นับเป็นไร่ตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ทำไร่นาสวนผสมอย่างมีไม่ขาดตกบกพร่อง และไร่สุขพ่วงก็มีอะไรใหม่ๆ ให้เราตื่นเต้นได้อยู่เสมอ โดยครั้งนี้พระเอกของเรื่องคือ “ตำลึง” พืชพื้นบ้าน หรือผักริมรั้วที่เรารู้จักกันนี่แหละ หลายคนบอกไม่เห็นจะตื่นเต้นตรงไหน ก็คงจะใช่ถ้าบอกเรามองว่าตำลึงเป็นแค่ผักริมรั้วก็ไม่น่าตื่นเต้นจริงๆ นั่นแหละ แต่ถ้าบอกว่าเขาเอา “ตำลึง” มาบดทำเป็นผงชาเขียว นี่ตื่นเต้นจนตะลึงกันเลยใช่ไหม งั้นตามมาดูกันเลยว่าเขาทำกันย
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเทพารักษ์ได้ยกย่องนายสุรศักดิ์ กระฉอดนอก เป็นเกษตรกรต้นแบบศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน หมู่ที่ 11 บ้านวังกระทะเหนือ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการทำเกษตรผสมผสาน สร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนโดยประเด็นที่หลายคนสนใจเข้ามาเรียนรู้ คือ การปลูกกล้วยหอมทอง 1 ไร่ สร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท/ปี การดูแลรักษาต้นกล้วย ในขั้นตอนการเตรียมดิน นายสุรศักดิ์ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักปรับปรุงดิน คลุกเคล้าด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องโรคตายพราย พร้อมกับจัดการระบบน้ำ แบบน้ำพุ่ง เพื่อให้กล้วยได้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ช่วยให้ต้นกล้วยสมบูรณ์และเจริญเติบโตเร็ว จากนั้นบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตลอดอายุของต้นกล้วย วิธีการปลูกขยายพันธุ์ นายสุรศักดิ์ จะปลูกขยายพันธุ์โดยใช้หน่อกล้วยจากต้นกล้วยที่เก็บผลผลิตแล้ว ซึ่งต้นกล้วย 1 ต้น จะออกหน่อประมาณ 3-5 หน่อ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะต้องทำการตัดต้นกล้วยนั้นออกทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหาร โดยตัดให้เหลือความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นแม่เป็นอาหารเลี้ยงหน่อเล็ก และเลือกเฉพา
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ แนะ 7 แนวทางดูแลรักษา “ กล้วย ” ในช่วงฤดูฝน ดังนี้คือ 1. หมั่นตรวจดูแปลงกล้วยสม่ำเสมอ 2. ระบายน้ำในสวนให้ไหลสะดวก ไม่ท่วมขัง 3. ตัดแต่งใบแห้ง ใบเป็นโรคและหน่อส่วนเกิน 4. ให้น้ำต้นกล้วยเพิ่มเติม ในช่วงฝนทิ้งช่วง 5. เฝ้าระวังโรคและแมลง หากพบให้ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัด 6. กำจัดวัชพืชในแปลงและค้ำยันต้น 7. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น N-P-K เกษตรกรควรใส่ใจดูแลต้นกล้วยในช่วงหน้าฝนอย่างใกล้ชิดเพราะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคตายพรายในกล้วย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคตายพรายหรือโรคปานามาหรือโรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเท