News
นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลวิจัย โครงการการระบายข้าวในคลังของรัฐ พบว่าในช่วงสิงหาคม 2557 ถึง มิถุนายน 2559 รัฐบาลระบายข้าวได้เพียง 7.5 ล้านตัน จากข้าวในสต็อกของรัฐที่มีอยู่ทั้งหมด 17.28 ล้านตัน ซึ่งถือว่าระบายข้าวได้ช้า เนื่องจากมีข้าวผลิตออกมาใหม่ทุกปี สาเหตุมาจากวิธีการรอจังหวะให้ราคาข้าวสูงขึ้นจึงค่อยระบาย ทำให้ข้าวยิ่งเสื่อมคุณภาพ รวมถึงมีภาระต้นทุนการเก็บรักษาและค่าดอกเบี้ยสูงถึงปีละ 18,300 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลควรเปิดระบายข้าวอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้ข้าวในสต็อกหมดภายใน 2 ปี ทั้งยกโกดังและแยกกอง แต่หากไม่จำเป็นไม่ควรขายข้าวสู่เกรดอาหารสัตว์และทำเชื้อเพลิง เพราะได้ราคาถูกทำให้ขาดทุนมาก ส่วนข้าวในโกดังที่มีข้าวเสื่อมคุณภาพ หรือข้าวเกรดซี ที่คุณภาพข้าวต่ำมาก ควรใช้มาตรา 44 ขายข้าวในสต็อกเป็นเกรดอุตสาหกรรมเป็นรายกรณี เพื่อระบายข้าวได้เร็วและลดค่าใช้จ่าย โดยต้องพิสูจน์ถึงคุณภาพข้าวว่าเสื่อมมากแล้วจริง ๆ โดยปัจจุบันข้าวเกรดซีในสต็อกมีประมาณ 4.59 ล้านตัน จากข้าวในสต็อกทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนี้ 9.7 ล้านตัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า การระบายข้าวได้ช้าไป
วันที่ 28 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงาน หลังจากเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่ได้หาของป่าออกมาขายกันจำนวนมาก เนื่องจากตามพื้นที่ป่าเขามีความชุ่มชื้นจากฝนที่ตกลงมา โดยเฉพาะที่บ้านวังดินสอ ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ชาวบ้านที่นี้ ได้ใช้เวลาว่างหลังจากทำนาแล้ว ไปหาหน่อไม้ป่า จากเขาห้วยฟอง- ซำประดู่ ซึ่งเป็นเขาที่อยู่ติดกับหมู่บ้านลงมาขาย ที่บริเวณริมถนนทางหลวงหมายเลข 12 พิษณุโลก-หล่มสัก หมู่ 1 ต.วังแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก กันจำนวนมาก แถมในช่วงนี้ราคาดีถึงกิโลกรัมละ 50 บาททีเดียว นางสาวสุรีพร ม่วงมัน ชาวบ้าน บ้านวังดินสอ อ.วังทอง ที่นำของป่ามาขาย กล่าวว่า ตนและเพื่อนบ้าน หลังจากทำนา ก็จะขึ้นภูเขาไปเก็บหาของป่ามาขาย ทั้งเห็ดโคน หน่อไม้ ยอดผักต่างๆที่ขึ้นตามป่า ลงมาขายหมุนเวียนสลับกันไปตามฤดูกาล สร้างรายได้เสริม โดยในช่วงเดือนนี้หน่อไม้ป่า กำลังเริ่มแตกหน่อออกยอด ทำให้ตนและเพื่อนบ้านต่างขึ้นไปหาหน่อไม้ที่เขาห้วยฟอง-ซำประดู่ ลงมาขายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท สามารถสร้างรายได้วันละ 300-500 บาท หน่อไม้ป่า ถึงแม้ว่าหน่อจะไม่ใหญ่มาก แต่มีขนาดกำลังน่ารับประทาน และจะมีรสชาติ อร่อย หวาน กว่าหน
“เป้าหมายสูงสุด” ของอินโดนีเซีย คือ การก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด โดยมุ่งมั่นจะสำเร็จภายในปี 2568 และขยับขึ้นติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลกในปี 2593 ด้วยปัจจัยบวกของความหลากหลายในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ และเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งครองตำแหน่งผู้ผลิตและส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกมานาน โดยเฉพาะ “น้ำมันปาล์ม” สินค้าหลักที่ดันให้อินโดนีเซียอยู่ในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก รองมาคือ “โกโก้และดีบุก” ที่ยืนในตำแหน่งผู้ผลิตอันดับสอง รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น นิกเกิลและอะลูมิเนียม ที่มีมากเป็นอันดับ 4 และ 7 ของโลก อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการผลิตเหล็ก ทองแดง และประมงด้วยจากปัจจัยสนับสนุนเหล่านี้ ทำให้รัฐบาลวางแผนแม่บทเพื่อมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ 15 ปี ระหว่างปี 2554-2568 ภายใต้ชื่อ “MP3EI” โดยเน้นโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 8 ด้าน คือ การเกษตร เหมืองแร่ พลังงาน อุตสาหกรรม ประมง ท่องเที่ยว การสื่อสาร และการพัฒนาพื้นที่สำคัญ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด 22 อุตสาหกรรม เช่น อุตสา
ดิน เป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำเกษตรกรรม แต่จากการสำรวจ พบว่าดินที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างจะมีปัญหาของสภาพดินที่แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งปัญหาในภาพรวม นอกจากพบปัญหาการชะล้างพังทลายของดินแล้ว ยังมีปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ ในพื้นที่ทำการเกษตร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้น กรมพัฒนาที่ดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 12 ได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของกรมพัฒนาที่ดิน โดยยึดหลักตามแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนา ฟื้นฟูพื้นที่นาร้างให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อปลูกข้าวและปาล์มน้ำมัน และสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินในการทำเกษตรกรรมอื่นๆ ได้อย่างยั่นยืน นายปรีชา โพธิ์ปาน ผู้อำนวยการ สำงานพัฒนาที่ดิน เขต 12 เปิดเผยว่า สภาพพื้นที่ของภาคใต้ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ฝั่ง สภาพดินในภาคใต้ส่วนใหญ่จึงเป็นดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ นอกจากนี้ ยังมี
เพจ China Xinhua News รายงานว่า พบผลไม้ประหลาดในมณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของประเทศจีน ผลไม้ชนิดนี้ดูเผินๆ ก็เหมือนแตงโมทั่วไป แต่กลับมีเปลือกที่แข็งอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อคุณขว้างมันลงที่พื้น มันจะไม่แตกในทันที แต่ต้องขว้างถึงสามครั้งกว่าจะแตก และไม่ว่าพยายามจะใช้มือดึงเปลือกผลไม้นี้ให้แยกออกจากกันอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เมื่อใช้มีดผ่าภายใน จึงพบว่าเนื้อมีสีเหลือง รสชาติจืด สัมผัสกรอบ คล้ายคลึงกับแตงกวา ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
“โมซัมบิก” หนึ่งในประเทศที่น่าสนใจและสามารถเป็นตลาดใหม่ของไทยในทวีปแอฟริกา ด้วยปัจจัยความต้องการนำเข้าสินค้าที่ค่อนข้างสูง ทั้งยังเป็นประเทศที่เพิ่งมีความสงบและความมั่นคงทางการเมืองได้ไม่นานโมซัมบิก มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศแอฟริกา ทั้งยังมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับต้น ๆ อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากที่ยังไม่มีการสำรวจและพัฒนา และยังต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลให้สิทธิการลงทุนในหลายภาคส่วน เช่น เกษตร เลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์ ประมง แปรรูปสินค้า พลังงาน เหมืองแร่ การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาบูโต ในเดือนสิงหาคมนี้ แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและโมซัมบิกค่อนข้างบวก นอกจากนี้สถานะทางการค้าระหว่างกันยังมีความน่าสนใจ คือโมซัมบิกเป็นคู่ค้าลำดับที่ 79 ของไทย มูลค่าการค้าในปี 2559 (ม.ค.-เม.ย.) ไทยส่งออกไปโมซัมบิกประมาณ 35.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 5.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสัตว์น้ำ กุ้ง
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 14 ก.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเดือดร้อนของชาวนาศรีสะเกษได้ขึ้นแล้ว ที่บริเวณกลางทุ่งนาบ้านเขวา หมู่ 16 ต.กระแชง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นายธนาวรรณ สุระชาติ นายก อบต.กระแชง พร้อมด้วย นายกิตติศักดิ์ วิมลสุข หัวหน้ากลุ่มอารักษ์ขาพืช สำนักงานเกษตร จ.ศรีสะเกษ นายสมจิตร สอนภักดี เกษตร อ.กันทรลักษ์ และคณะ ได้ออกไปสำรวจนาข้าวของชาวบ้านเขวา ซึ่งขณะนี้กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากว่า ได้ถูกโรคเชื้อราระบาดเข้าไปในนาข้าวของชาวบ้านและทำให้ต้นข้าวใบข้าวเหี่ยวเฉาและเน่าตายไปในที่สุด ซึ่งในช่วงเช้าได้ทำการอบรมให้ความรู้และรณรงค์การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าว รวมทั้งแนะนำสารเคมีที่ใช้ในนาข้าวตามหลัก ไอพีเอ็ม โดยในเขต ต.กระแชง และเขตตำบลใกล้เคียงมีต้นข้าวเน่าตายเพราะโรคเชื้อราระบาดไปแล้วประมาณ 30,000 ไร่ นายธนาวรรณ สุระชาติ นายก อบต.กระแชง กล่าวว่า นาข้าวของชาวบ้านเขวา ได้ถูกโรคเชื้อราระบาดเข้าไปในนาข้าวมานานประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว ตนจึงได้ประสานขอความช่วยเหลือไปยัง นายสว่าง กาลพัฒน์ เกษตร จ.ศรีสะเกษ และได้สั่งการให้เกษตร อ.กันทรลักษ์ และเจ้าหน้าที่จาก สำน
สหภาพยุโรปบี้ไทยนำคดีประมงผิดกฎหมาย 1,000 คดีขึ้นฟ้องศาล ระบุมีผลต่อการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดง IUU รองนายกฯประวิตรสั่งสางปัญหาด่วน เร่งตำรวจ-อัยการทำสำนวนยื่นฟ้อง ชาวประมงวอนรัฐดูเจตนา แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แม้การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ที่สหภาพยุโรป (EU) ประกาศเตือนโดยให้ใบเหลืองไทยจะมีความคืบหน้าตามลำดับ ทำให้ EU พอใจการดำเนินการของฝ่ายไทย แต่มีบางประเด็นที่ EU ต้องการให้เร่งแก้ไขให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการนำคดีการทำประมงผิดกฎหมายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้รับผิดชอบดูแลการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง ศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เร่งนำคดีที่ก่อนหน้านี้มีการปราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.ชัยนาทมีผักตบชวาปริมาณกว่า 50,000 ตัน ที่ไหลมาตามน้ำ เกิดการกีดขวางทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายาวหลายกิโลเมตร และส่งผลกระทบต่อการเดินเรือข้ามฟากด้วย โดยจากการนำอากาศยานไร้คนขับขึ้นบินตรวจสอบเหนือแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงตัวเมืองชัยนาทเริ่มตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท ล่องใต้ไปจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนน 340 พบว่ามีผักตบชวาปริมาณกว่า 50,000 ตัน ได้ไหลมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาหลังจากมีฝนตกทางเหนือเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผักตบดังกล่าวได้มาติดสะสมเป็นแพยาวหลายกิโลเมตร ตั้งแต่พื้นที่ ต.บ้านกล้วย อ.เมืองชัยนาท ยาวไปจนถึงบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท ซึ่งจากปริมาณผักตบจำนวนมากได้เกาะกลุ่มเป็นแพแน่น ทำให้ส่งผลกระทบกับแพข้ามฟากที่เดินเรือจากฝั่ง ตลาดเทศบาลเมืองชัยนาท ไปยังฝั่ง ต.ท่าชัย ทั้งนี้การเข้าออกท่าเทียบเรือทำได้ยากลำบากมากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการเรือข้ามฟากต้องแก้ปัญหาด้วยการนำเรือมาต่อกันเป็นสะพานยื่นลงไปในแม่น้ำ เพื่อลดระยะการเข้าเทียบท่าของเรือซึ่งหากเข้าเทียบท่าตามปกติจะเสียเวลาเพิ่มอีกกว่า 10 นาที แต่วิธีการดังกล่าวก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก เพราะในการเข้าออก
เมื่อก่อนชาวลับแล อุตรดิตถ์ ปลูกทุเรียนและลางสาด โดยเริ่มจากกินทุเรียนแล้วโยนออกนอกหน้าต่าง เมล็ดที่โยนไปจะงอกมีต้นใหม่ขึ้นมา ใกล้บ้านมีต้นไม้มากขึ้น นานเข้าต้องใช้คันสูน ลักษณะคล้ายหนังสติ๊ก ยิงเมล็ดผลไม้ออกไปให้ไกล จึงเกิดสวนขึ้นในบริเวณกว้าง ทุกวันนี้ที่ทางมีขอบเขตจำกัด เขาแบ่งที่กันชัดเจน มีการปลูกพืชสมัยใหม่พันธุ์ไม้ได้จากการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งและติดตา เกษตรกรที่นั่นเริ่มมีผลไม้คุณภาพ อาทิ ลองกอง มังคุด ทุเรียนชะนี หมอนทอง รวมทั้งหลงลับแล ทุเรียนหลงลับแลมีผลมาจากการปลูกทุเรียนโดยการใช้เมล็ดเมื่อครั้งที่ใช้เมล็ดโยนไปตามป่า ซึ่งทุเรียนจำนวนแสนต้นล้านต้นที่ปลูกไว้นั้นมีลักษณะทุเรียนที่ดีไม่กี่ต้น คนท้องถิ่นเขาคัดเลือกต้นที่ดีเด่นอยู่นานปี สุดท้ายได้ต้นของนางหลงอุปละ เพียงต้นเดียว จึงตั้งชื่อว่า หลงลับแล ทุเรียนหลงลับแลเป็นทุเรียนที่กลายพันธุ์ในทางที่ดีคือ ติดผลดก เนื้อมากเมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน หากราคาทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในท้องถิ่นขายกิโลกรัมละ ๓๐ บาท หลงลับแลต้องขาย ๔๐ บาทเป็นอย่างต่ำ บางช่วงขายได้ราคามากกว่าเท่าตัว โดยเฉพาะปีที่หลงลับแลติดผลผลิตน้อย ปัจจุบันเกษตรกรขยายพื้น