แปรรูปสินค้าเกษตร
สำหรับจิ้งหรีด ในอดีตเราอาจจะมองว่าเป็นแมลงตามท้องไร่ท้องนา ที่หลายคนมองเป็นเพียงแมลงตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่บางครั้งก็จะเป็นแมลงศัตรูคอยทำลายต้นพืชผักของเราในระยะต้นอ่อนด้วยซ้ำ แต่จิ้งหรีดในวันนี้ ได้กลับกลายมาเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สร้างเงินสร้างรายได้ให้กับหลายคนที่ได้เห็นมาเพาะเลี้ยงอย่างจริงจัง จนสร้างตลาดการค้าได้อย่างต่อเนื่อง เป็นอีกเส้นทางเลือกหนึ่งสำหรับสร้างอาชีพ สร้างรายได้ นายสุวิทย์ เพชรประไพร อยู่บ้านเลขที่ 82/2 บ้านห้วยบง ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เจ้าของฟาร์มจิ้งหรีด “นิวแต๊งค์ฟาร์ม” ได้ย้อนเล่าถึงชีวิตของตนเอง ก่อนที่จะมาทำอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ว่า ชีวิตก่อนที่จะมาจับงานเลี้ยงจิ้งหรีดอย่างจริงจังนั้น ได้เคยทำมาแล้วหลายอาชีพ ตั้งแต่จบ ม.3 ที่จังหวัดชัยนาท แล้วก็ออกมาสู้ชีวิต ให้น้องเรียนต่อ เนื่องจากแม่ต้องหาเงินสร้างรายได้เพียงลำพังคนเดียว ส่วนตัวเองจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทำหลายอย่าง อาชีพสุดท้ายก็ขับรถส่งสินค้าตามห้างใหญ่แห่งหนึ่ง ทำให้ได้ไปพบเห็นการเลี้ยงจิ้งหรีดของเพื่อน เมื่อสอบถามแล้วก็เห็นว่า น่าจะเป็นงานที่ตนเองพอทำได้ จึงได้ทำการศึกษาหาความรู้จากสื
ซาลาเปา เป็นอาหารว่างอีกเมนูหนึ่งที่เรามักเห็นจำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ หรือตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากเป็นอาหารที่หารับประทานง่าย ใช้เป็นอาหารรองท้องสำหรับรอมื้อหลัก หรือรับประทานเป็นอาหารว่างก็เป็นที่นิยม เพราะราคาไม่สูงมากนัก และในปัจจุบันมีคนคิดและปรับปรุงสูตรของการผลิตไส้ซาลาเปาให้มีความหลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการในรสชาติของผู้บริโภคทุกกลุ่ม มีทั้งไส้หวาน ไส้หมูสับไข่เค็ม ไส้หมูแดง ไส้ครีม และไส้แปลกใหม่อื่นๆ สำหรับไส้ที่ขายดิบขายดี เพราะมีคนติดใจในรสชาติดั้งเดิมของซาลาเปาคือ ไส้หมูสับไข่เค็ม หรือไส้หมูแดง ที่หมู่บ้านภูเขาแก้ว ถนนสถิตย์นิมานกาล ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (ริมถนน 4 เลน สายอุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ด่านชายแดนช่องเม็ก) จะมีซาลาเปานึ่งขายกันสดๆ อยู่ริมถนนหลายเจ้า เรียงรายกันไป เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้แวะซื้อรับประทานกันทั้งวัน ด้วยเพราะความอร่อยจริงไม่อิงการโฆษณา ซาลาเปาที่นี่จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักทั่วไปในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง หรือแม้แต่นักท่องเที่ยวที่มาจากภาคอื่นๆ
จากการที่กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 (สวพ.4) อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด ได้ร่วมมือกับเทสโก้ โลตัส วัดป่าทุ่งกุลา ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ผสานพลังประชารัฐ จัดทำโครงการ “ปลูกผักกลางนา ทุ่งกุลา ยิ้มได้” เริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม 2558 ในพื้นที่ของวัดป่าทุ่งกุลา ตำบลทุ่งทอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยวัดป่าทุ่งกุลา ได้จัดสรรพื้นที่ให้ขนาด 13 ไร่ แบ่งเป็นแปลงจำนวน 8 แปลง ให้กับชาวบ้าน 30 ครัวเรือน ปลูกผักบุ้ง ตามมาตรฐานการผลิต GAP และเทสโก้ โลตัส เป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรครอบครัวละประมาณ 5,000 บาท ต่อการเก็บผลผลิตในแต่ละรอบ (1 รอบ ใช้เวลาเพาะปลูกประมาณ 1 เดือน) ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่พยายามเน้นให้เกษตรกรตระหนักก็คือ วิธีการทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง และให้ความรู้การผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP ซึ่งอดีตที่ผ่านมาสินค้าเกษตรที่พ่อค้าคนกลางส่งขายให้เทสโก้ โลตัส ถูกตีกลับประมาณ ร้อยละ 60-70 ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาลที่เกษตรกรต้องสูญเสียเพราะสินค้าขาดคุณภาพ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ คุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์ ดังนั้น
การลงทุนทำปลาทูนึ่งนั้น ใช้ต้นทุนไม่สูงมาก แต่ทำกำไรได้ค่อนข้างดี และน่าจะเป็นหนึ่งในอาชีพที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจในครัวเรือน สร้างรายได้ให้ครอบครัวไม่ยากเลย เปิดตัวธุรกิจทำเงิน ทำกินก็ได้… ทำขายก็ ‘รวย’ กับหลักสูตร ‘ปลาทูนึ่ง’ ที่ มติชนอคาเดมี ‘หน้างอ…คอหัก’ นิยามความอร่อยของ ‘ปลาทูแม่กลอง’ ที่ติดหูสำหรับนักชิมปลามืออาชีพ เรียกได้ว่า ถ้าเดินทางไปถึง จ.สมุทรสงคราม แล้วไม่ได้ลิ้มลองเมนูเด็ดอย่าง ปลาทูแม่กลอง คงเสียชื่อนักชิมมืออาชีพน่าดูเชียวล่ะครับ แต่ครั้งนี้ผมไม่ได้จำเพาะเจาะจง ว่าจะพาไปชิมปลาทูแม่กลองเสียทีเดียว แต่จะแนะนำธุรกิจที่สามารถสร้างอาชีพ-สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับพ่อค้า-แม่ขาย ในย่านนี้มาอย่างยาวนาน ใช่แล้ว…เรากำลังพูดถึงอาชีพการทำ ‘ปลาทูนึ่ง’ขายนั่นเอง ถ้าพูดถึง “ปลาทูนึ่ง”ใครหลายคนอาจจะเข้าใจและนึกถึง การนำปลาทูไปนึ่งในซึ้งหรือในเตาอบอย่างแน่แท้ แต่จริงๆแล้ว ปลาทูนึ่ง ไม่ใช่เป็นการนำปลาไปนึ่งนะครับ แต่จะนำปลาทูที่ได้มาต้ม หรือลวกพอแค่ตาขุ่นขาว แต่ที่เรียกว่า ปลาทูนึ่งนั้น เพราะว่าเป็นคำที่คนโบราณใช้เรียกกัน และเรียกต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ค
ยังพาเที่ยวชมและเที่ยวชิมของอร่อยที่เมืองปีนังปังสุดๆ อยู่เหมือนเดิม คราวที่แล้วพูดถึงภาพรวมเมืองมรดกโลกจอร์จทาวน์ ที่มีจุดขายในเรื่องของการเป็นเมืองศิลปะให้คนไปเดินเที่ยวเล่นสนุกสนาน เที่ยวหาของกินริมทาง เพราะได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีของอร่อยข้างถนนติดอันดับความนิยมระดับโลก แต่ยังไม่ได้เจาะลึกถึงอาหารแต่ละชนิดที่ได้ไปชิมมาเลย ถ้าจะว่าไปแล้วคงไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งไหนที่จะรวมเสน่ห์ของอดีต ปัจจุบัน และอนาคตไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนเท่ากับรัฐปีนังอีกแล้ว ถ้ามีโอกาสไปพักผ่อนกันสักวันสองวันก็แวะไปเลยนะคะ ยังเที่ยวได้ในราคาที่คนไทยไม่กลัวจน ปีนัง ในอดีตนั้นเกือบได้รบกับไทยในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินช่วงที่ขยายอาณาเขตลงทางใต้ ตอนนั้นกองทัพพระเจ้าตากได้แคว้นกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี มาอยู่ในอาณัติแล้ว อีกไม่กี่ก้าวก็จะเจาะถึงรัฐเคดาห์เจ้าของเกาะปีนัง แต่สุลต่านรัฐเคดาห์ไหวตัวทันหันหลังไปซบอกฝรั่งตาน้ำข้าว กัปตันฟรานซิส ไลท์ จากประเทศอังกฤษ ทำสัญญายกเกาะปีนังให้กับบริษัทอีสต์ อินเดีย ให้อังกฤษใช้เป็นท่าเรือค้าขายกับภูมิภาคนี้แลกเปลี่ยนกับการปกป้องรัฐเคดาห์ให้ปลอดภัยจากสยามประเทศ วันที่ลงนาม
จากกองทัพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของไทยและต่างประเทศ 1,800 ราย ใน 4,600 คูหา ที่จัดทัพมาร่วมงาน “ไทย เฟค-เวิล์ด ออฟ ฟู้ด เอเชีย 2016” (THAIFEX-World of Food Asia 2016) ที่อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการไทยที่นำสินค้ามาเปิดตัว และโดนใจผู้ที่มาเดินชมงาน นั่นก็คือ เครื่องแกง แบรนด์ไทย “สมใจนึก” ของดีจากจังหวัดสงขลา “สมใจนึก” มาพร้อมกับบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยไม่แพ้ชาติใดในโลก จัดว่าเป็น “เครื่องแกง โกอินเตอร์” ทำให้ตัวเองให้สวยตั้งแต่ก้าวแรก ด้วยการนำวัตถุดิบทางเกษตร ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงที่มาจากธรรมชาติ 100% ทั้ง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก และมะนาว เป็นต้น มาใส่กระบวนการผลิตแปรรูปจนมีรูปลักษณ์สวยงาม ราคาไม่แพง โดย คุณสารภี อิสโร เจ้าของสูตรเครื่องแกง “สมใจนึก” บอกกับ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ว่าปีนี้ใครจะยอดขายไม่ดี แต่สำหรับน้ำพริกสมใจนึก มียอดขายดีกว่าทุกปีเลยทีเดียว ใช้เวลา 12 ปี กว่าจะขายดี จากจุดเริ่มต้นผลิตเครื่องแกง โดยการรวมกลุ่มภายใต้ชื่อ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงสมใจนึก” มีสมาชิก 13 คน แบ่งกลุ่มกันทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งฝ่ายบริหา
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการพัฒนาชุมชน(พช.) ได้จัดทำโครงการสร้างนักธุรกิจโอทอป สู่การตลาดการค้าอาเซียน โดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ พัฒนาคณะกรรมการบริหารศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าโอทอปต้นแบบ 6 แห่ง ให้มีความพร้อมในการบริหารด้านการตลาดรูปแบบ Trader จะเน้นให้มีความรู้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและข้อควรรู้ในการดำเนินธุรกิจการค้ากับประเทศในประชาคมอาเซียน หรือ AEC นอกจากนั้น อีกกิจกรรมคือ การสร้างนักธุรกิจ OTOP สู่การค้าการตลาดอาเซียน หรือ OTOP Trader อย่างน้อยจังหวัดละ 1 คน ซึ่ง OTOP Trader จะเป็นกลไกสำคัญที่จะเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงตลาด และการบริหารการขายได้ครบวงจร โดยต้องสามารถสร้างเครือข่ายผลิตภัณฑ์ในระดับจังหวัด ภาค หรือข้ามภาค รวมถึงเข้าใจกลไกตลาดตลาดในต่างประเทศ นายอภิชาต กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องสร้าง OTOP Trader ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายอย่างชัดเจนในการยกระดับโอทอปทั้งระบบ ต้นทาง กลางทาง ถึงปลายทาง สู่ “โอทอปประชารัฐ” โดยได้ออกมาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุน เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่นใน
เมื่อหลายวันก่อนมีโอกาสนำเกษตรกรปราดเปรื่องหรือสมาร์ทฟาร์เมอร์ และยังสมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer, Yong Smart Farmer) ของจังหวัดพะเยา ไปศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนบ้านหาดไก่ต้อย ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งผลิตมะม่วงหิมพานต์จำหน่าย มาดูข้อมูลของตำบลหาดล้า ซึ่งเดิมเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำน่าน อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอท่าปลา (เดิม) เมื่อ พ.ศ.2512 ทางราชการได้ก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ กั้นแม่น้ำน่าน ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมครอบคลุมพื้นที่ของตำบลหาดล้า ราษฎรได้พากันอพยพหนีน้ำมาสู่ที่อยู่ใหม่ โดยทางนิคมลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้จัดสรรพื้นที่ทำกิน โดยจับสลาก ครอบครัวละ 15 ไร่ ปัจจุบัน ตำบลหาดล้า จึงประกอบไปด้วยประชาชนหลากหลายหมู่บ้าน หลายตำบลของอำเภอท่าปลาที่โยกย้ายมาอยู่รวมกันเป็นผังๆ รวมกันเป็นตำบลหาดล้า ปัจจุบัน ตำบลหาดล้า เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอท่าปลา มีเนื้อที่ทั้งหมด 56.964 ตารางกิโลเมตร จำนวนราษฎร 5,317 คน 1,168 ครัวเรือน แบ่งการปกครองตามลักษณะพื้นที่ออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม
การทำมาหากินใช่ว่าจะอยู่ที่ รวยเร็ว มีเงินให้ใช้เร็วเท่านั้น สำคัญว่าอาชีพที่เราทำเป็นอาชีพสุจริตหรือไม่ หลายคนมีเป้าหมายในชีวิตตั้งแต่เด็ก อยากเป็นหมอ อยากเป็นตำรวจ หลายคนสมหวังอย่างที่ตั้งใจ แต่หลายคนต้องปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ บางครั้งเป็นอาชีพที่ไม่คาดคิดว่าชีวิตนี้จะได้ลงมือทำ คุณธณพร คงถาวร แม่ค้าขายผลไม้ วัย 50 ปี เล่าถึงชีวิตที่ผ่านมากับการประกอบอาชีพที่หลากหลายว่า “ตอนเด็กมีความฝันว่า อยากเป็นครู แต่ด้วยเรียนมาน้อย เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี ประกอบกับเป็นพี่คนโต จึงเสียสละให้น้องได้เรียนสูงกว่า เมื่อเรียนจบชั้น ม.3 จึงตัดสินใจเดินทางเข้ามาเป็นสาวโรงงานในโรงงานผลิตดิสก์ไดร์ฟคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2534 แต่เนื่องจากโรงงานต้องย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ ในปี 2542 จึงได้ออกจากงาน นับเป็นเวลากว่า 8 ปีที่เป็นลูกจ้างเขา ทำให้รู้ใจตัวเองว่าไม่ชอบและไม่อยากเป็นลูกจ้างตลอดชีวิต ประกอบกับช่วงนั้นตั้งท้องลูกคนที่ 2 จึงตัดสินใจผันอาชีพมาสู่การเป็นเจ้านายตัวเอง ด้วยการเป็นแม่ค้า สิ่งแรกที่ทดลองขายคือ กล้วยแขก จนเมื่อปี 2544 มีโอกาสเข้ามาขายของในโรงงานแห่งหนึ่ง ขายขนมหวาน ผ