เทคนิคเกษตร
เครื่องหอมตำรับโบราณของไทย มาจากดอกไม้หอมหลากหลายชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา ดอกลีลาวดี ดอกพิกุล ดอกกุหลาบ ดอกจำปา ใบเตย ฯลฯ โดยแบ่งกรรมวิธีการผลิตเครื่องหอม 3 ประเภท คือ การอบ การร่ำและการปรุง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า สมัยก่อนคนไทยใช้ น้ำอบ น้ำปรุง เป็นเครื่องประทินผิวกาย ให้เกิดกลิ่นหอบ ปะพรมร่างกายให้สดชื่น เครื่องหอมไทยนับเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม เพราะมีกลิ่นหอมจรุงใจ ให้ความสดชื่น ช่วยคลายความวิตกกังวล ลดอาการวิงเวียนศีรษะ บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้นอนหลับสบาย ใช้ดูแลความงาม ใช้เป็นของชำร่วยในงานพิธีและงานเทศกาลต่าง ๆ กลิ่นหอมของดอกไม้ไนน้ำอบ น้ำปรุง ที่ใช้รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ หรือสรงน้ำพระในช่วงสงกรานต์มีกลิ่นหอมจรุงใจ ช่วยคลายร้อน ลดอาการเครียดแล้ว ยังใช้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไทย วิธีทำน้ำอบไทย วิธีทำน้ำอบไทยนั้นไม่ยุ่งยากเพียงแต่ต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาด และดอกไม้ที่นำมาใช้ควรปลอดสารพิษ หรือควรปลูกเองกายในครัวเรือน โดยดอกไม้สดที่นิยมนำมาใช้ทำน้ำอบ ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกกร
สภาพอากาศแห้งและร้อน ในช่วงฤดูร้อน เหมาะกับการแพร่กระจายของศัตรูพืช ในกลุ่มพืชเศรษฐกิจสำคัญ คือ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ข้าว มะพร้าว ทุเรียน และมังคุด ดังนั้นกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร จึงแนะนำให้เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงเพาะปลูกของท่านในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชเข้าทำลายจนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง 1) มันสำปะหลัง ศัตรูพืชในช่วงฤดูแล้งที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ไรแดง และโรคใบด่างมันสำปะหลังที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะนำโรค ซึ่งจะทำให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตต่ำ ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่หรือด้อยคุณภาพ หรือต้นมันสำปะหลังอาจตายได้ เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจแปลงมันสำปะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบและยอด จะมีอาการผิดปกติ เช่น ใบและยอดหงิกงอ เป็นต้น 2) อ้อย ควรเฝ้าระวังหนอนกออ้อย ด้วงหนวดยาว และจักจั่น เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจไร่อ้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโคนต้นระดับผิวดิน และบริเวณยอด จะมีอาการผิดปกติ เช่น มีรอยเจาะ ตาอ้อยแตกหน่อใหม่ด้านข้าง แตกยอดพุ่ม หักล้ม หรือแห้งตาย เป็นต้น 3) ข้าวโพด ควรเฝ้าระวังหนอนเจาะลำต้นข้าว
น้ำหมักจุลินทรีย์เป็นสารชีวภาพที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร กากน้ำตาล และสารอินทรีย์อื่นๆ ซึ่งให้ประโยชน์หลายด้านทั้งในภาคเกษตรและสิ่งแวดล้อม ที่พบเห็นได้บ่อยคือการนำมาปรับปรุงคุณภาพดิน เพิ่มธาตุอาหารให้พืช ลดการใช้สารเคมี แต่หรือรู้ไหมว่าน้ำหมักจุลินทรีย์จากเศษผัก ผลไม้ สามารถใช้เป็นยากำจัดหญ้าได้ด้วย ส่วนวิธีและขั้นตอนในการทำมีอะไรบ้าง เทคโนโลยีชาวบ้านรวบรวมมาให้แล้ว โดยสูตรนี้ได้มาจากเฟซบุ๊ก : Watanya Olsen ได้แชร์คลิปเทคนิคการทำน้ำหมักจุลินทรีย์กำจัดหญ้า แถมบำรุงดิน ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของตัวเอง ดังนี้ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีเอ็ม กากน้ำตาล ถังพลาสติกมีฝาปิด วิธีทำ น้ำเศษผัก ผลไม้ เปลือกกล้วย เปลือกมะละกอ ที่เหลือจากการกินนำมาเทใส่ถังหมักที่เตรียมไว้ แล้วผสมน้ำลงไปในถังไม่ต้องเยอะมากแค่พอคนเศษอาหารที่ใส่ลงไปได้ เติมจุลินทรีย์อีเอ็มและกากน้ำตาลลงไปอย่างละ 1-2 ฝา แนะนำให้ใส่ทั้ง 2 อย่างนี้คู่กันทุกครั้ง เพราะถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งอาจทำให้น้ำหมักมีกลิ่นเหม็น และควรเลือกตั้งถังหมักไว้ในที่ร่ม เนื่อ
หญ้าอาจเป็นเพียงพืชคลุมดินที่หลายๆ คนมองข้าม แต่สำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในวงการภูมิทัศน์และการจัดสวน หญ้าคือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเติมเต็มความสวยงาม พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศเมื่อมองไปที่สนามทำให้สบายตา และมอบความรู้สึกสดชื่นให้กับพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่สนามหญ้าหน้าบ้าน สนามกอล์ฟ ไปจนถึงสวนสาธารณะ คุณดารุด พูลเต่า เกษตรกรปลูกหญ้าจากจังหวัดปทุมธานี ซึ่งหญ้าไม่ได้เป็นเพียงพืชประดับสนามเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างชีวิตใหม่ ถ้าหากย้อนกลับไปในอดีตคุณดารุดเคยรับจ้างปลูกหญ้าและจัดสวนในเขตมีนบุรี ซึ่งงานหนักและความยากลำบากไม่เคยทำให้เขาย่อท้อ ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นแรงผลักดันให้เขาเริ่มมองเห็นโอกาส จากชีวิตที่เคยเริ่มต้นจากศูนย์ การต่อสู้เพื่อปูทางสู่ตลาดหญ้าที่มั่นคง คุณดารุด เล่าว่า กว่าจะมีแปลงหญ้าเป็นอาชีพที่มั่นคงได้จนถึงทุกวันนี้ สมัยก่อนรับจ้างปลูกหญ้าและขายหญ้าของผู้อื่นได้ค่าจ้างเพียงวันละ 50 บาท แม้จะรู้สึกอายและต้องหลบซ่อนข้างกองหญ้า แต่ก็ยังคงทำเพราะไม่มีทางเลือก ซึ่งคุณดารุดมองว่าการทำเช่นนี้เป็นการสะสมประสบการณ์เพื่อพัฒนาอาชีพของตนเอง ในช่วงแรกของการเริ่มต้นอาชีพ คุณดารุดต้องเผชิญกับ
ใครมีปัญหาคอกหมูมีกลิ่น ไม่ว่าจะคอกดินหรือคอกปูน ล้างเท่าไหร่กลิ่นก็ยังเหม็น🍃 วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านขอนำเสนอ “สูตรน้ำหมักมะเฟือง” สูตรที่ใช้ให้หมูกินเพื่อความแข็งแรงและลดปัญหากลิ่นเหม็นในคอกหมู วิธีทำง่ายมากๆ สามารถนำไปทำตามกันได้ 🪴วิธีการ 1. ละลายจุลินทรีย์ พด.2 ในน้ำเปล่า 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที 2. เทกากน้ำตาลลง แล้วตามด้วยมะเฟืองสับเป็นชิ้นเล็กๆ 3. หมักใส่ภาชนะพลาสติกปิดฝาไม่ต้องสนิท นาน 1 เดือน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้ประโยชน์ 🪴วัตถุดิบ มะเฟือง จำนวน 3 กิโลกรัม กากน้ำตาล จำนวน 3 กิโลกรัม พด.2 จำนวน 1 ซอง น้ำเปล่า จำนวน 10 ลิตร ✨วิธีการนำไปใช้ – ใช้ผสมน้ำให้หมูหลุมดื่มตลอดทั้งวัน ในอัตรา น้ำหมักมะเฟือง 2 ช้อนโต๊ะ+น้ำ 10 ลิตร – เร่งการเจริญเติบโต ช่วยให้หมูเจริญอาหารได้ดี – ลดกลิ่นมูลหมูในคอกหมูหลุมได้เป็นอย่างดี 💡เคล็ดลับกำจัดกลิ่นขี้หมู – ล้างทำความสะอาดคอก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้มูล เศษอาหาร ปัสสาวะ ไม่ถูกหมักหมม และส่งผลให้คอกหมูสะอาด ปลอดกลิ่น เชื้อโรคไม่ถามหาอีกด้วย – อาบน้ำทำความสะอาดตัวหมู จะช่วยให้ตัวหมูไม่สกปรก และลดกลิ
สำหรับคนที่กำลังปลูกต้นไม้ หรือกำลังทำแปลงผัก ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดปลูก หรือผู้ที่คร่ำหวอดในวงการมานาน คงคุ้นเคยกับคำว่า “ซาแรน” เป็นอย่างดี ซาแรน หรือตาข่ายกรองแสง เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยปกป้องพืชจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะแสงแดดที่ร้อนแรงของประเทศไทย แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ซาแรนที่มีหลากหลายสีสันนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละสีเหมาะกับการใช้งานแบบไหน? ก่อนอื่นไปรู้จัก “ซาแรน” กันก่อน ซาแรน หรือที่เรียกกันว่า ตาข่ายกรองแสง เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้งานได้หลายอย่าง แต่หน้าที่หลักคือ เอาไว้กรองแสง บังแสง พรางแสง ลดความเข้มข้นหรือความแรงของแสงแดดลง ลดความร้อนที่จะส่งผลกระทบ มีหลายสี แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะพาไปดูว่าแต่ละสีต่างกันยังไง ซาแรนจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต ออกดอก ออกผล ของพืชได้ด้วยคุณสมบัติการพรางแสง จะมีปริมาณ % ในการกรองแสงที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน คือ 50%, 60%, 70% และ 80% ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการนำไปใช้งานด้วย ซาแรนมี 2 ประเภท คือ แบบถัก ชนิดนี้ทำจากโพลิเอทิลีนน้ำหนักเบา จึงเห
“คุณประจักษ์ ชื่นตา” ชาวไร่อ้อยในพื้นที่อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด นับเป็นตัวอย่างเกษตรกรที่ใส่ใจเรียนรู้และพัฒนาอาชีพการทำไร่สมัยใหม่แบบโมเดิร์นฟาร์ม โดยอาศัยการบริหารจัดการที่ดี ทั้งเรื่องดิน น้ำ และปุ๋ย ทำให้ประสบความสำเร็จในการปลูกอ้อยข้ามแล้งด้วยระบบน้ำราดน้ำหยด สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ 20 ตันต่อไร่ เทคนิคปลูกอ้อยน้ำราดน้ำหยด โดยทั่วไป อ้อยต้องการน้ำประมาณ 1,200-1,600 มิลลิเมตรต่อปี แต่ทุกวันนี้ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ปริมาณฝนไม่เพียงพอ และยังกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไร่อ้อยหลายแห่งมีผลผลิตลดลง แต่ไร่อ้อยของคุณประจักษ์ไม่ประสบปัญหาดังกล่าว เพราะเรียนรู้เทคนิคบริหารจัดการน้ำอย่างมีคุณภาพ จากมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม คุณประจักษ์ปลูกอ้อยน้ำราด โดยให้น้ำแบบราดร่อง ด้วยการสูบน้ำและปล่อยให้ไหลไปเองตามธรรมชาติ ควบคู่กับการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบน้ำหยด ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นการเติมน้ำได้ถูกช่วงเวลา และเพิ่มปริมาณความชื้นในดินได้เพียงพอสำหรับการงอกและการเจริญเติบโตของอ้อย “เดือนมีนาคม-เมษายน หากใส่ใจดูแลดินและปุ๋ย ด้วยระบบน้ำหยดและน้ำราดให้เพียงพอ อ้อยตอจะเ
น้ำ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำเกษตร โดยเฉพาะในยุคที่โลกต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อน ที่ส่วนเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบการทำงานในไร่ นา และสวนของเกษตรกร เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก คลองไส้ไก่ คือการขุดร่องน้ำในที่ดิน เป็นหนึ่งในรูปแบบหลุมขนมครกเพื่อกักเก็บนํ้าและกระจายความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณพื้นที่เพาะปลูก เปรียบเสมือนลำธารที่มีความคดเคี้ยว มีการไหลตกกระทบ น้ำที่ไหลผ่านจะซึมลงสู่พื้นดินทำให้เกิดความชุ่มชื้น ประโยชน์ของคลองไส้ไก่ คือช่วยกักเก็บน้ำให้ซึมลงดิน เปลี่ยนทางน้ำให้กระจายสู่พื้นที่เพาะปลูก ล็อกตะกอนดินหรือธาตุอาหาร ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และนอกจากเรื่องของประโยชน์ของคลองไส้ไก่ที่กล่าวมาแล้ว หลายคนหันมาให้ความใส่ใจกับเรื่องความสวยงามมากขึ้น หลายคนมีความคิดหาวิธีทำยังไงให้น้ำในคลองใสมองเห็นตัวปลา เพิ่มความสบายตา เพิ่มมุมพักผ่อนหย่อนใจ หรือบางท่านต้องการต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคต เทคโนโลยีชาวบ้านมีเคล็ดลับการเนรมิตคลองไส้ไก่จากน้ำขุ่นๆ กลายเป็นน้ำใสๆ มองเห็นตัวปลามาฝาก ทำได้ง่าย เพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้ เริ่มจากการขุดบ่อ สำหรับท่านที่จะปล่อยปลาเลี้ยงลงในคลอ
การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จแน่นอนว่าปัจจัยสำคัญคือ “น้ำ” หากน้ำไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง ให้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะฉะนั้นก่อนการเริ่มต้นปลูกพืชสักอย่าง ควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเหมาะสมตามที่พืชต้องการ เพื่อผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ นำไปสู่การทำเกษตรแบบยั่งยืน คุณเบิร์ด-ยุทธนา คามบุตร เจ้าของสวนลุงเบิร์ด จังหวัดชัยนาท อีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างในเรื่องของการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกไม้ผลท่ามกลางพื้นที่แห้งแล้งได้ดีเยี่ยม โดยเทคนิคสำคัญของสวนลุงเบิร์ดคือ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีการคิดคำนวณต้นทุนตั้งแต่การวางระบบน้ำ ไปจนถึงการคำนวณอัตราการไหลของน้ำเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต จนสามารถเอาชนะความแห้งแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สวนลุงเบิร์ดมีพื้นที่สำหรับปลูกไม้ผลรวมๆ เกือบ 4 ไร่ แบ่งพื้นที่ปลูกฝรั่ง 2 ไร่กว่า ปลูกฝรั่งได้ประมาณ 200 ต้น ส่วนพื้นที่ที่เหลือประมาณไร่กว่าเลือกปลูกพุทรานมสด ท่ามกลางพื้นที่แห้งแล้ง ระบบน้ำจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับที่นี่ “พื้นที่แถวนี้ส่วนใหญ่จะปลูกพืชไร่กันเกือบทั้งหมด แล
การทำโรงเรือนปลูกผัก ด้วยงบหลักหมื่น เป็นเทคนิคของ คุณวุฒิพงษ์ พลอยวิเลิศ (พี่กระต่าย) ที่ใช้คำแทนตัวเองว่าเป็นไทบ้านฟาร์มเมอร์ มาจากที่ตนเองเป็นคนต่างจังหวัด และมีวิถีชีวิตและหลักคิดในการทำเกษตรแบบบ้านๆ การสื่อสารกับผู้คนก็เป็นหลักคิดง่ายๆ เป็นกันเอง ชาวบ้านคนธรรมดาฟังแล้วรู้เรื่อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ การทำโรงเรือนต้นทุนต่ำ หน้ากว้าง 3 เมตร ยาว 30 เมตร 1.เหล็กกัลวาไนซ์ 6 หุน ยาว 6 เมตร ดัดโค้ง ความสูงของโรงเรือนประมาณ 2.50 เมตร 2.พลาสติกใสคลุมโรงเรือน 1 ม้วน ยาว 100 เมตร หน้ากว้าง 3 เมตร ความหนา 150 ไมครอน กรองแสงยูวี 7 เปอร์เซ็นต์ ราคาม้วนละ 4,300 บาท คลุมพลาสติกแค่เป็นหลังคา ส่วนข้างๆ ใช้ตาข่ายปลูกไม้เลื้อยได้ 3.คลิปล็อกชนิดมีสปริง ขนาด 6 หุน แบบ 3 ข้อ ตัวละ 6 บาท ยาว 6 เมตร ใช้ล็อกเหล็กที่ดัดโค้ง 4.ประกับล็อกเหล็ก สำหรับลดต้นทุนไม่ต้องเสียค่าเชื่อมเหล็ก ล็อกได้มั่นคงดี 5.สายพีอี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 100 เมตร ราคา 90-100 บาท 6.หัวมินิสปริงเกลอร์ 100 เมตร ราคา 300-350 บาท 7.ตาข่ายไนล่อน ราคาม้วนละ 90 บาท ไว้ปลูกไม้เลื้อยรอบโรงเรือน สาเหตุที่ไม่ใช้พลาสติกทั้งหมดเพราะทดลองมาแล้วว่