เทคนิคเกษตร
โรงเรือนปลูกพืช ช่วยให้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกพืช โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมากๆ สภาพอากาศแปรปรวน ทั้งอุณหภูมิ ลม และปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ รวมไปถึงการปลูกพืชนอกฤดู พืชที่มีราคาสูงหรือปลูกพืชเมืองหนาว โดยที่ไม่มีแมลงมารบกวน จะต้องมีสถานที่พร้อม เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชที่จะเข้ามาทำลายพืชที่ปลูก โรงเรือนคืออีกตัวช่วยสำหรับเกษตรกร สามารถปลูกพืชได้โดยไม่ได้รับความเสียหาย ไม่ส่งผลกับผลผลิต โรงเรือนยุคนี้มีระบบควบคุม ทั้งอุณหภูมิ น้ำ แสง การใส่ปุ๋ย ช่วยป้องกันโรคและแมลงในโรงเรือนได้ ทำให้เกษตรกรพร้อมที่จะก้าวสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ได้ สามารถควบคุมปัจจัยทุกตัวที่มีผลต่อพืชได้ทั้งหมด ช่วยลดต้นทุนสารเคมี ยากำจัดแมลง 1. โรงเรือนทรงโค้ง เป็นทรงที่นิยมมากในบ้านเรา รูปทรงมีความทันสมัย สามารถปลูกผักได้เกือบทุกชนิด เป็นโรงเรือนราคาประหยัด สามารถต้านทานกับแรงลมที่เข้ามาปะทะได้ดี เพราะลักษณะที่โค้งจะทำให้ลมไหลผ่านได้ง่ายขึ้น ส่วนการระบายอากาศอาศัยการถ่ายเทอากาศจากด้านข้างโรงเรือนผ่านตาข่ายกันแมลง – เหมาะสำหรับการปลูกพืชกินต้นและใบ ตระกูลผักนำหน้า เช่น ผักสลัด ผักคะน้
ในวัฒนธรรมการทำอาหารของไทย “บัว” เป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแกง ต้ม ผัด หรือทานสด แต่สิ่งที่หลายคนมักสงสัยคือ “ไหลบัว” และ “สายบัว” สองส่วนที่นิยมของต้นบัวนั้นแตกต่างกันอย่างไร มาดูรายละเอียดกันเลย ก่อนอื่นจะพาทุกคนไปรู้จัก “บัว” ที่เรานำมาทานจะมีอยู่ 2 สีด้วยกัน โดยสีของไหลบัวจะเป็นสีขาว ไหลบัวที่เรานิยมนำมากินนั้นเป็น “บัวหลวง” หรือ “บัวบูชาพระ” จะมีด้วยกันสองสีคือสีขาว และ สีชมพู ซึ่งการเลือกเก็บไหลบัวนั้นจะนิยมใช้บัวสีชมพู เพราะมียางน้อยกว่า ส่วนบัวสีขาวมียางมาก จะให้รสชาติที่ขมจึงไม่นิยมบริโภค การเก็บสายบัวจะต้องเลือกเก็บจากต้นอ่อนของบัวหลวง ซึ่งสังเกตจากใบที่มีลักษณะยังม้วนอยู่ ไหลบัวจะอยู่ในดินหรือใต้โคลน เวลาเก็บใช้วิธีการงมแล้วใช้มือบีบบริเวณโคนรากของบัว แล้วเด็ดออกมา ข้อสำคัญระหว่างที่เด็ดมานั้นต้องบีบตลอดจนกว่าจะพ้นน้ำ เพราะในไหลบัวนั้นเป็นสุญญากาศ หากไม่บีบไว้ น้ำโคลนหรือสิ่งสกปรกจะเข้าไปได้ เมื่อพ้นน้ำแล้วก็ปล่อยได้ตามปกติ เพราะอากาศจะเข้าไปแทนที่ทำให้น้ำไม่สามารถเข้าไปได้ สา
ในสวนทุเรียน ลางสาด มักจะพบไม้ระดับสี่หรือระดับกลาง คือไม้พุ่มเตี้ยประเภทกินได้ พุ่มใหญ่บ้างเล็กบ้าง สูงประมาณท่วมหัวคน มีที่ถูกตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่มต่ำ พอที่จะไม่ลำบากนัก ในการเก็บผลเด็ดยอดใบ พบไม้พุ่มขึ้นอยู่ทั่วไปในสวน บริเวณโคนต้นไม้หลักบ้าง ริมทางเดินบ้าง ข้างกระท่อมพักบ้าง ริมห้วยลำธารบ้าง เป็นการขยายเจริญพันธุ์ตามวิถีของพืชป่าธรรมชาติ หรืออาจมีพาหะ เช่น นก กระรอก กระแต หรือคน นำพาไปให้เจริญงอกงามจากต้นแม่แพร่ไปอีกจุดหนึ่ง จะด้วยความบังเอิญ หรือตั้งใจก็ตามที “ชำมะเลียง” ผักป่าที่ชาวบ้านนิยมนำยอดใบอ่อนมาเป็นผัก ประกอบอาหารหลายอย่าง ตั้งแต่ยุคสมัยเก่าก่อน ใช้เป็นอาหารกินในป่า ในไร่ สวน เก็บมาใช้เป็นผักสด เอาทำกับข้าวกินที่ครอบครัว เมื่อก่อนคนเก่าเล่าว่า การเลี้ยงเด็กน้อย นอกจากป้อนด้วยข้าวสุกบด กล้วยน้ำว้าบด พอโตขึ้นมาก็เริ่มให้อาหารประเภทข้าว ไข่ต้ม ปลาต้ม เนื้อต้ม ผักต้ม เป็นอาหารอีกระดับ และมักจะมี ต้มจืดหมูสับใส่ใบชำมะเลียง เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ชาวบ้านผู้ใหญ่ ใช้ยอดใบอ่อนเป็นผักสด แกล้มลาบ ยำ พล่า ก้อย ใส่ร่วมกับยอดมะขาม แกงส้ม ต้มโคล้งหัวปลา แกงเลียงผักรวม แกงปลาย่าง แกงหม
ทองหลาง เป็นพืชตระกูลถั่ว ถือว่าเป็นถั่วขนาดยักษ์ พบไม่น้อยกว่า 2 ลักษณะ ขอแนะนำทองหลางลักษณะแรกก่อน คือ”ทองหลางด่าง” ชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันคือ ทองบ้าน, ทองเผือก, ทองหลางลาย เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ มีความสูงประมาณ 18 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมโค้ง คม ปลายหนามเป็นสีม่วงคล้ำ ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือสีเหลืองอ่อนๆ ใบ ออกเป็นช่อ มีประมาณ 3 ใบ ใบรูปมน ปลายใบแหลมยาวคล้ายใบโพธิ์ ใบที่อยู่ยอดมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ล่าง ขนาดของใบกว้าง 2-4 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว หลังใบเป็นสีด่างเหลืองๆ เขียวๆ ดอก ออกเป็นช่อติดกันเป็นกลุ่ม สีแดงสด ออกตามบริเวณข้อต้นหรือโคนก้านใบ ช่อหนึ่งยาว 4-9 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบกว้าง ประมาณ 1-1.4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-2.5 นิ้ว ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผล มีลักษณะเป็นฝัก แบน โคนฝักเล็กลีบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายฝักจะบวม ซึ่งจะเห็นเป็นสัณฐานของเมล็ดได้ชัดมาก พอฝักแก่เต็มที่ปลายฝักจะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม นิยมขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง ส่วนการใช้ประโยชน์นิยมปลูกประดับ เป็นไม้จัดสวนได้ดี เพราะสีที่สดใสของใบ ทองหลางด่าง หรือทองหลางลาย เป็นไม
“ยอ” มีชื่อสามัญ : Noni ; Vomit fruit ; Great morinca ; มะตาเสือ (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia วงศ์ : Rubiaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ยอ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง จัดว่าเป็นไม้มงคลของคนไทยที่นิยมปลูกกันในบริเวณบ้าน เป็นเคล็ดว่าจะได้มีแต่คนมาสรรเสริญเยินยอ ใบมีขนาดใหญ่ หนา เขียวเข้มเป็นมัน มีหูใบเล็กๆ อยู่โคนใบจริง ดอกขนาดเล็กๆ สีขาว เป็นช่อกลมๆ ผลรูปรีๆ ทรงกระบอก ผิวขรุขระเป็นปุ่มปม เปลือกลำต้นสีเทาน้ำตาล แตกกิ่งเป็นชั้นๆ คล้ายต้นหูกวาง ให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ใบก็ไม่ค่อยร่วง ประโยชน์ทางยา ใบยอ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงธาตุ แก้ไข้ ผลยอ รสเผ็ดร้อน ขับลม ฟอกเลือด ขับโลหิตปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้เจริญอาหาร ในทางโภชนาการ ใบยอใช้ทำห่อหมก ที่ใบอะไรก็ไม่สามารถมาแทนได้ มีกลิ่นรสเฉพาะตัว ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร หรือใช้ใส่แกงอ่อม แกงเผ็ด ผลสด คนอีสาน ใช้ตำเป็นส้มตำลูกยอ กินกันมาช้านาน ผลแก่ย่างไฟจิ้มเกลือให้สุภาพสตรีมีครรภ์กิน เพื่อช่วยขับน้ำนม ลดน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร ลูกยอ มีสารซีโรนิน (Xeronine) มากกว่าสับปะรดถึง 10 เท่า ช่วยลดคอเลสเตอรอล บรรเทาอาการจากภูมิแพ้ต่างๆ
“พริก” ถือได้ว่าเป็นพืชยอดนิยมที่คนไทยนิยมนำไปปรุงอาหารเป็นอันดับต้นๆ เมื่อดูจากสถิติแล้ว คนไทยจะบริโภคพริกประมาณ 1 กิโลกรัมต่อคนต่อปี คิดเป็นมูลค่าโดยรวมทั้งประเทศกว่า 30,000 ล้านบาท และมีการปลูกเพื่อส่งออกคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ด้วยเหตุนี้ พริกจึงเป็นพืชเศรษฐกิจของคนไทยที่สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นทั่วประเทศ เนื่องจากพริกสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยในประเทศไทยนั้นมีพริกอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลือง พริกหนุ่ม และอื่นอีกมากมาย ซึ่งนอกจากการให้รสเผ็ดที่เป็นเอกลักษณ์ของพืชชนิดนี้แล้ว พริกยังมีสรรพคุณเป็นยา อาทิ ช่วยลดอาการบวม แก้ปวดเมื่อย และขับปัสสาวะ การปลูกพริกเป็นอาชีพที่หลายคนสนใจ เพราะเป็นพืชที่ใช้ในครัวเรือนทุกวันและมีตลาดรองรับตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกพริกให้ได้ราคาดีและสร้างกำไรอย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการวางแผนและการดูแลที่ดี วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมัดรวม 6 เคล็ดลับ “ปลูกพริก” สร้างกำไรแบบมืออาชีพ ที่จะช่วยให้การปลูกพริกของคุณเป็นที่ต้องการในตลาดและสร้างรายได้อย่างมั่นคง 1. เลือกพันธุ์พริกที่
ปัจจุบันการผลิตกล้าไม้ของเกษตรกรทั่วไปมักปลูกหรือชำกล้าไม้ในถุงหรือกระถางที่ทำจากพลาสติก เมื่อกล้าไม้ที่เพาะชำในกระถางเจริญเติบโตเต็มที่ เกษตรกรจะนำเอากล้าไม้ออกจากถุงเพาะชำ เพื่อนำกล้าไม้นั้นไปฝังลงในดิน โดยการฉีกถุงพลาสติก ส่วนถุงเพาะชำพลาสติกหรือกระถางพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วก็กลายเป็นขยะ มักถูกทำลายโดยการเผาหรือการฝังในดิน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ประกอบด้วย น.ส.กชณัช นาคสัมปุรณะ น.ส.วธิศรา รุ่งแสง น.ส.สุชาดา เชื้อมั่น น.ส.จิณภัค ถมของ และ นายณัฐภัทร หิ่มเก่า จึงเกิดแนวคิดออกแบบพัฒนา “กระถางปุ๋ยเพาะกล้าไม้ชีวภาพเสริมธาตุอาหารในดินด้วยจุลินทรีย์ Bacillus megaterium” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เพื่อเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการเกษตรตามหลักการ BCG ต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ผลงานกระถางปุ๋ยเพาะกล้าไม้ชีวภาพ ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติที่มีธาตุ N P K เมื่อนำไปใช้งาน สามารถย่อยสลายธาตุอาหารในดินออกมาใช้ประโยชน์ ทำให้พืชสามารถจับสารอาหารในดินที่ต้องการได้มากขึ้นและมีฤทธิ์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราแล้ว ย
ช่วงหน้าร้อน ฤดูแล้งของทุกๆ ปี ราคามะนาวแพงหูฉี่ พ่อค้า แม่ค้า หรือเราๆ ท่านๆ ที่ใช้มะนาวปรุงอาหารเดือดร้อนกันไปทั่วหน้า บางคนก็เลี่ยงไปใช้ผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นที่มีตามท้องถิ่นในแต่ละภาคนั้นๆ แทนไปก่อน อย่างเช่น มะขามสด มะขามเปียก ตะลิงปลิง ระกำ มะดัน เม่า หรือผักส้มป่อย ใบชะมวง และอื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด ซึ่งพอปรุงเป็นอาหารหรือเมนูต่างๆ ก็จะได้รสชาติความอร่อยแซ่บแตกต่างกันไป เพราะรสเปรี้ยวของผลไม้แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางชนิดก็เปรี้ยวปี๊ดจนเข็ดฟัน บางชนิดเปรี้ยวนุ่มนวล กลมกล่อม และบางชนิดเปรี้ยวๆ หวานๆ สำหรับคนภาคใต้มีพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่ให้รสเปรี้ยวได้ดี และมีรสชาติอร่อย คือ ลูกเขาคัน หรือ ลูกเถาคัน ซึ่งชาวบ้านพื้นถิ่นส่วนมากจะนิยมนำมาใส่เพิ่มรสชาติในแกงส้ม เพราะเขาคันมีรสเปรี้ยวในตัว เอามาแกงส้มกับปลาสดๆ บอกว่าหรอยอย่างแรงนิ ใครไม่เคยลอง ต้องแคบๆ เลย (รีบๆ) หากท่านมีโอกาสผ่านมาทางภาคใต้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ลองแวะเข้าไปตามตลาดนัดที่ชาวบ้านมักเอาของพื้นบ้านมาวางขาย จะเห็นมีลูกเขาคัน หรือเถาคันมาวางขายทุกนัด คนแก่ๆ ท่านบอกไว้ว่า ลูกเขาคัน เป็นพืชสมุนไพรที่นอกจากจะให้รสเปรี้ยวแล้ว
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช (วษท.นศ. หรือ NSCAT) ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาสู่กระบวนการเรียนรู้ของวิทยาลัย โดยจัดการศึกษาเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนรู้ ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะอาชีพพื้นฐาน อาทิ หลักสูตรการเลี้ยงด้วงสาคู เพื่อสร้างรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วงสาคู เป็นแมลงกินได้ที่มีราคาค่อนข้างแพง เป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยและต่างประเทศ เพราะมีคุณค่าทางโปรตีนสูง เกษตรกรภาคใต้นิยมเพาะเลี้ยงด้วงสาคู ใน 2 รูปแบบ คือ 1. การเลี้ยงโดยใช้ท่อนสาคูหรือท่อนต้นลานก็ได้ ตัดต้นสาคูเป็นท่อน ยาว 50-60 เซนติเมตร ใช้พ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรง 35 คู่ ปิดทับท่อนสาคูด้วยแผ่นไม้ หรือแผ่นปูน รดน้ำ ที่ท่อนพันธุ์ให้หมาดๆ และ 2. การเลี้ยงด้วงสาคู ในกะละมัง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40-50 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร มีฝาหรือตาข่ายปิดกะละมังป้องกันพ่อแม่พันธุ์ด้วงหนี อาหารที่ใช้คือ นำสาคูบดผสมอาหารสัตว์เล็กน้อย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ส่งเสริมการเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง อย่าง
กลุ่มยุวเกษตรกร ไม่ได้ถูกตั้งขึ้นในโรงเรียนทุกแห่ง แต่ได้รับการก่อตั้งขึ้น ตามความเห็นของโรงเรียนในการส่งเสริมกิจกรรมนอกเวลาเรียนให้เด็กนักเรียนมีความรู้ มีพื้นฐานอาชีพ รู้จักการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นอีกแห่งที่มีการก่อตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กในโรงเรียนได้เรียนรู้ด้านอาชีพ นำประสบการณ์ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างเข้มแข็ง ซึ่งปี 2552 ที่ผ่านมา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ในฐานะกลุ่มยุวเกษตรกร นักเรียนทั้งหมดของโรงเรียนมีประมาณ 800 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การเรียนการสอน เน้นอาชีพและส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กนักเรียนที่มีความสามารถโรงเรียนจะส่งเสริมสนับสนุนให้ได้เรียนต่อไปถึงระดับปริญญาตรี กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนเกษตรกร ได้เรียนรู้หลักวิชาการการเกษตร ได้รู้จักวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบและทำงานร่วมกับผู้อื่น การนำประสบ