ฟาร์มล้ำ
มูดี โซลีแมน จากสหรัฐอเมริกา แนะนำ “สติ๊กเฟรช” สติ๊กเกอร์อัจฉริยะที่ยืดอายุผลไม้ให้สดใหม่ได้นานขึ้น ผลิตขึ้นจากส่วนประกอบธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อติดสติ๊กเฟรชบนผลไม้ สารประกอบในสติ๊กเกอร์จะสร้างชั้นปกป้องรอบๆ ผลไม้ ช่วยให้โครงสร้างส่วนประกอบของเซลล์ผลไม้คงความสดและเก็บรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้ เพียงเท่านี้ผลไม้ก็จะคงความสดใหม่ได้ยาวนานเพิ่มอีก 2 สัปดาห์ แถมผลไม้ที่ติดสติ๊กเฟรชยังมีรสชาติหวานและชุ่มฉ่ำขึ้นอีกด้วย สติ๊กเฟรชใช้ได้กับผลไม้แทบจะทุกชนิด แต่ชนิดที่ได้ผลดีที่สุด ได้แก่ อะโวคาโด แอปเปิ้ล ส้ม และมะม่วง ส่วนชนิดที่ได้ผลน่าพอใจ ได้แก่ ลูกแพร์ แก้วมังกร กีวี มะนาว แอปริคอต มะละกอ มะเฟือง ทับทิม และมังคุด ด้าน ดร.ฟีบี ถิง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพืชไร่ จากมหาวิทยา ลัยปุจรามาเลเซีย ศึกษาผลการใช้สติ๊กเฟรชกับมะม่วง โดยตรวจสอบลึกลงในระดับโครงสร้างเซลล์ของมะม่วง พบว่าช่วยลดการเกิดโรคและเชื้อโรคในโครงสร้างเซลล์มะม่วงได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ยืดอายุความสดของผลไม้นั่นเอง
การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เป็นการทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้งสลับกันไปในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับรากอากาศ เมื่อได้รับอากาศเสร็จแล้ว ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย เมื่อดูดธาตุอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย เมื่อต้นข้าวแข็งแรงก็จะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นการทำนาเปียกสลับแห้งนี้ เหมาะสำหรับพื้นที่ทำนาในเขตชลประทานที่ควบคุมการระบายน้ำได้ โดยใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไป 30-50% นอกจากนี้ ยังลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุแบบไร้อากาศ เมื่อปลูกข้าวแบบขังน้ำเป็นเวลานานอีกครั้ง คุณปกรณ์ สุพานิช นักวิเคราะห์แพลตฟอร์มเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง งานพัฒนาพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แ
ในยุคที่ภาคการเกษตรกำลังปรับตัวเข้าสู่ “เกษตรแม่นยำ” (Precision Agriculture) เทคโนโลยีการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ (Fertigation) กลายเป็นหนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพผลผลิตได้อย่างชัดเจน การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ (Fertigation) คือ วิธีการให้ปุ๋ยอีกวิธีหนึ่ง เป็นการให้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำในระบบเดียวกัน โดยผสมปุ๋ยที่ละลายน้ำได้หมดลงไปในระบบน้ำ ตั้งแต่การให้น้ำในระบบน้ำหยด (Drip Irrigation) หรือ ระบบมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinkler) เมื่อพืชได้รับน้ำก็จะเป็นตัวนำพาธาตุอาหารไปยังรากพืชโดยตรง จึงทำให้ต้นพืชได้รับทั้งน้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสามารถใส่สารเคมีป้องกันศัตรูพืชลงไปในระบบนี้ได้ด้วยเช่นกัน การใหัปุ๋ยในระบบน้ำ (Fertigation) ดียังไง? คำตอบคือระบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการให้น้ำและการให้ปุ๋ยในคราวเดียวกัน ผ่านระบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกลอร์ ช่วยให้พืชได้รับน้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่แม่นยำ สม่ำเสมอ และสอดคล้องกับช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภา
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเข้ามามีบทบาท และเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับชาวสวนได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพ หรือแม้กระทั่งการพยากรณ์อากาศได้ล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมตัวรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านได้ลงพื้นที่ไปที่จังหวัดจันทบุรี เดินทางไปที่สวนจันทร์เรือง ปลูกทุเรียน-มังคุดเป็นหลัก พื้นที่รวมกว่า 50 ไร่ และนอกจากนี้ ยังใช้พื้นที่ว่างภายในสวนเล็กๆ น้อยๆ ปลูกพืชผักอีกหลายชนิดสร้างรายได้เสริม โดยจุดประสงค์ที่พวกเราไปวันนั้นก็เพื่อถ่ายทำคลิปวิดีโอการเลี้ยงผำระบบปิดแนวตั้ง ซึ่งเมื่อคลิปวิดีโอได้เผยแพร่ออกไปก็ได้ยอดวิวกว่า 2.5 ล้านวิว เป็นที่มาของการคิดต่อยอดคอนเทนต์เรื่องของการใช้พลังงานทดแทนภายในสวนจันทร์เรืองมาฝากทุกคน เพื่อเป็นไอเดียการทำเกษตรแบบใหม่ หรือสมาร์ทฟาร์มเมอร์ คุณณัฐ-ณัฐวุฒิ จันทร์เรือง เจ้าของสวนจันทร์เรือง อดีตวิศวกรเคมี ผันตัวเป็นเกษตรกร ใช้วิชาความรู้จากที่ได้ศึกษาเล่าเรียน และทำงานประจำมากว่า 10 ปี มาพัฒนาสวนด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรหลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยหลักๆ ที่สวนม
ในยุคที่ใครหลายคนกำลังมองหาเส้นทางชีวิตใหม่ โดยเฉพาะการที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิด การมีเส้นทางอาชีพส่วนใหญ่การทำเกษตร จึงเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนเลือกที่จะลงมือทำ ซึ่ง คุณเอก-เป็นเอก ปาคำ ชายหนุ่มที่ทิ้งงานบริการและตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต ด้วยการโบกมือลางานประจำจากเมืองใหญ่ เพื่อกลับมาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรเต็มตัวกับพื้นที่เพียง 1 ไร่ แต่สามารถปั้นพื้นที่แห่งนี้จนกลายเป็นแหล่งปลูกผักกูดคุณภาพ ส่งขายทั้งยอดสดและกิ่งพันธุ์ผ่านตลาดออนไลน์ จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นความสำคัญของเกษตร คุณเอก เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเป็นพนักงานขับรถส่งผู้โดยสารทั่วไปอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์โควิดระบาด จึงได้กลับมาอยู่ที่บ้านเกิดจังหวัดแพร่ และได้รับจ้างกรีดยางในสวนของพี่สาว พร้อมทั้งได้ทดลองปลูกกล้วยเพื่อจำหน่ายหน่อพันธุ์ ในระหว่างนั้นเห็นช่องว่างในพื้นที่ดงกล้วยว่าสามารถปลูกพืชแซมได้ จึงได้ตัดสินใจนำผักกูดเข้ามาทดลองปลูกจนประสบผลสำเร็จ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จึงได้นำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ จนประสบผลสำเร็จเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน “
เกษตรกรนักประดิษฐ์จังหวัดลำปาง ที่มีทักษะช่างหลากหลายด้านนำความรู้มาแก้ไขปัญหาทางการเกษตรจนสร้างนวัตกรรมที่ช่วยลดต้นทุนและแรงงานจากพลังงานสะอาด คุณกฤษณะ สิทธิหาญ หรือ ช่างเอก เจ้าของไร่ช่างเอก วิถีอินทรีย์ จังหวัดลำปาง เป็นเกษตรกรนักประดิษฐ์ที่มากความสามารถ ด้วยทักษะสารพัดช่าง ไม่ว่าจะเป็นช่างไฟฟ้า ประปา ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ที่เริ่มต้นจากความชอบส่วนตัว นำความรู้มาต่อยอดแก้ไขปัญหาทางการเกษตร จนกลายเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งาน ที่ช่วยลดต้นทุน ลดแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันช่างเอกเน้นการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง โดยใช้พลังงานสะอาดเป็นหลัก จุดเริ่มต้นของการทำเกษตรอินทรีย์ คุณกฤษณะเคยทำงานเป็นช่างที่กรุงเทพฯ มาก่อน ตั้งแต่อายุ 14 ปี มองว่าทักษะด้านช่างจะช่วยให้เอาตัวรอดได้ในอนาคต ด้วยความชอบส่วนตัว จึงไปอบรมและเรียนรู้ตามคอร์สต่างๆ พร้อมกับเป็นลูกมือ เรียนรู้จากประสบการณ์และครูพักลักจำ ทำให้เขามีความรู้เรื่องช่างติดตัวมาตั้งแต่เด็ก จนในปี 2553 เขาตัดสินใจลาออกจากงาน กลับมาดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้น รวมถึงที่บ้านทำสวนสับปะรดอยู่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นที่บ้านเปิดร้านขายปุ๋
อย่างที่ทราบกันดีว่าข้าวหอมมะลิไทย ถือเป็นหนึ่งในข้าวที่ได้รับการยอมรับอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ข้าวไทย ช่วยให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สำหรับการประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 ที่ผ่าน รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบโดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า 5 ปีนี้ ประเทศไทยต้องเป็นผู้นำการผลิตตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของโลกให้ได้ แผนยุทธศาสตร์ข้าวไทยจึงได้ตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก โดยต้องพัฒนาสินค้าข้าวให้มีความหลากหลาย และตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรและภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานจะนำมาซึ่งรายได้ และการเติบโตเชิงเศรษฐกิจรวมไปถึงการส่งออกข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งกลิ่นหอมในข้าวเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของข้าวหอมพันธุ์ต่างๆ และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดราคาและคุณภาพของข้าว โดยองค์ประกอบหลักของกลิ่นหอมในข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ได้แก่ สาร 2-อะซิติล-1-ไพโรลีน (2-Acetyl-1-Pyrroline หรือ 2AP) (Buttery et al., 1983) โดยที่สาร 2AP จะพบในส่วนต่างๆ ของข้าว เช่น เมล็ดข้า
หนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของการส่งออกผลไม้สดคือ “การเน่าเสียระหว่างเดินทาง” โดยเฉพาะตลาดที่อยู่ไกล เช่น ยุโรป หรืออเมริกา แต่ด้วยเทคโนโลยีของ Naturen ปัญหานี้กำลังจะหมดไป เพราะเมื่อผักผลไม้สามารถคงความสดได้ยาวนาน โอกาสทางการตลาดก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว วงการเกษตรไทยต้องจับตามอง กับนวัตกรรมใหม่จากฝีมือคนไทย อย่าง “Naturen” ผลิตภัณฑ์เพื่อการยืดอายุผักผลไม้ โดยทีมสตาร์ทอัพชื่อ Eden Agritech ที่สามารถช่วยยืดอายุผักผลไม้ได้นานกว่าปกติ ถึง 5 เท่า แถมยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย Eden Agritech คือ การรวมตัวของทีมงานนักวิจัยและทีมการตลาดรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือการยกระดับภาคเกษตรไทยให้ไปไกลกว่าเดิมทีมผู้ก่อตั้งประกอบด้วย ได้แก่ นายนรภัทร เผ่านิ่มมงคล Chief Executive Officer (CEO) ดร.ศิวัตม์ สายบัว Chief Operation Officer (COO) นายชารีฟ อนิทพันธ์ Chief Technology Officer (CTO) และ ว่าที่ร้อยตรี ดาวิด เพชโรทัย BusinessDevelopment Eden Agritech เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สด โดยใช้สารที่ได้รับการรับรองจาก FDA ซึ่งปลอดภัยและมีประ
ในแต่ละวันมักมีเศษอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภคและจำหน่าย อาหารจำนวนมากหากรวบรวมเก็บใส่ถุงไว้ รอรถขยะของเทศบาลมารับ อาจเสียเวลารอนานหลายวัน จนเกิดกลิ่นเหม็นเป็นที่รำคาญใจและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงออกแบบเครื่องผลิตดินจากเศษอาหารด้วยการเร่งปฏิกิริยาจุลินทรีย์ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกที่คนไทยสามารถกำจัดขยะเศษอาหารในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะสู่สิ่งแวดล้อม นวัตกรรมนี้ นำเศษอาหารไปทำดิน โดยอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ ช่วยย่นระยะเวลาที่ใช้ในการทำดินหมักให้สั้นลง และใช้ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า ที่สำคัญได้ดินคุณภาพดีนำไปใช้ปรับปรุงดิน หรือใช้ปลูกต้นไม้อีกทางหนึ่งด้วย ขั้นตอนการทำงาน 1. นำสารตั้งต้นในการย่อยใส่ลงไปในถังเครื่องผลิตดิน เช่น แกลบดิบ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และน้ำตาล 2. หลังจากใส่สารตั้งต้นแล้วทิ้งไว้ 1 วัน จึงนำเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์ที่เหลือในครัวเรือนใส่ลงไปในเครื่องผลิตดินจากเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์ กดปุ่มเพื่อเริ่มกระบวนการทำงานตามระบบ 3. ตรวจสอบว่าลักษณะทางกายภาพของเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์มีการเปลี่ยนแป