กรมปศุสัตว์
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 68 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1446 (พ.ศ.2568) ณ ศูนย์บริการกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโล่เกียรติคุณแก่ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าร่วมรับเสด็จ พร้อมทั้งเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการภายในงาน โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดนิทรรศการจิตอาสาพระราชทานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนางานด้านปศุสัตว์ฮาลาล ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2556 จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งเป็นการน้อมนําแนวทางของโครงการจิตอาสาฯ มาประยุกต์ใช้ ในการช่วยเหลือเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการปศุสัตว์ฮาลาลไทย ให้เข้มแข็ง ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ อบรมให้ความรู้ด้านปศุสัตว์ฮาลาล บริการตรวจประเมินฮาลาลเบื้องต้น และส่งเสริมขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้รับรองมาตรฐาน
เมื่อวันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 16.00 น. กรมปศุสัตว์จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโคเนื้อสายพันธุ์ใหม่ “ไทยแบล็ค DLD” ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อผลิตเนื้อคุณภาพสูง ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพที่ทันสมัย โดยมีเป้าหมายเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของเนื้อโคไทยในระดับสากล และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย ขานรับนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวรายงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้าร่วมงานฯ ณ ลานอเนกประสงค์หน้าตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ พญาไท นายอิทธิ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของไทยให้ก้าวสู่ระดับโลก ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อ ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยมีแนวโน้มการส่งออกเนื้อโคไปยังตลาดเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาโคเนื้อพันธุ์ “ไทยแบล็ค DLD” ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานจุดเด่นของโค 3 สายพันธุ์ ได้แก่ โคพื้นเมืองไทย โคแองกัส และโควากิว ทำให้
กรมปศุสัตว์ลุย “ Kick Off เปิดปฏิบัติการอวสานสารเร่งเนื้อแดง” คุมเข้มห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงตลอดห่วงโซ่การผลิตโคขุน พร้อมเดินหน้าปฏิบัติการเชิงรุกเต็มกำลัง กรมปศุสัตว์ นำโดย นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ จัดกิจกรรม Kick Off เปิดปฏิบัติการอวสานสารเร่งเนื้อแดง โดยมี นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี ณ อาคารมหานครมิวเซียม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ขับเคลื่อนนโยบายห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงตลอดห่วงโซ่การผลิต พร้อมสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนให้ตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเร่งเนื้อแดง กรมปศุสัตว์จึงดำเนินการมาตรการเชิงรุกเฝ้าระวังการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มเลี้ยงโคขุนทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดสารเร่งเนื้อแดง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค พร้อมส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า นายอิทธิ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้การกำกับดูแลของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตรด้วยการยก
นักวิชาการ ชี้ เนื้อไก่ มีโปรตีนสูง เสริมสร้างกล้ามเนื้อเหมาะสำหรับทุกเพศวัย ย้ำอุตสาหกรรมการเลี้ยงและผลิตสัตว์ปีกของไทย มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด แนะก่อนการบริโภคควรต้องปรุงสุกทุกครั้ง ผศ.น.สพ.ดร.เกรียงไกร วิฑูรย์เสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เนื้อไก่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีโปรตีนสูง หาซื้อได้ง่าย ราคาย่อมเยา เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทุกเพศวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเจริญเติบโต หรือผู้ที่ออกกำลังกายและต้องการสร้างกล้ามเนื้อ สำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงและผลิตสัตว์ปีกในประเทศไทย มีมาตรฐานความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบอาหารสัตว์ ไปจนถึงกระบวนการเลี้ยงในฟาร์มระบบปิด ภายใต้หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงให้มีการเลี้ยงที่ดีตามมาตรฐาน และตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ตลอดจนกระบวนการผลิตปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ประเทศไทยมีการส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศติดอันดับท็อป 5 ของโลก สะท้อนให้เห็นว่าทั่วโลกยอมรับ
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ร่วมกับกรมปศุสัตว์ ฝึกอบรมหลักสูตร “อาสาปศุสัตว์” ภายใต้โครงการ “โคแสนล้าน” นำร่อง ครั้งที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่ สทบ.สาขาเขต 12 : จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ณ โรงแรมราชศุภมิตร ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายจิรพงษ์ ทรงวัชราภรณ์ ประธานคณะทำงานติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ “โคแสนล้าน” นำร่อง เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งพบปะพี่น้องสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และลงพื้นที่เยี่ยมชม ชณาพันธ์ุฟาร์ม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายจิรพงศ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญและเชื่อมั่นในความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งมีอยู่ทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศจำนวน 79,610 แห่ง มีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 13 ล้านคน นับว่าเป็นกำลังหลักในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศโดยจะสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี จึงได้สนับสนุนให้
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ เข้าร่วมงาน “กระบี่ อันดามัน ฮาลาล เฟสติวัล” ประจำปี 2567 ณ มัสยิดกลางจังหวัดกระบี่ เพื่อยกระดับขีดความสามารถและเพิ่มโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์ฮาลาลของไทยสู่ตลาด ฮาลาลโลก รวมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการปศุสัตว์ฮาลาล โดยเปิดบริการให้คำปรึกษาด้านหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อกำหนดในการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังประเทศคู่ค้าอิสลาม โดยในงานนี้ กรมปศุสัตว์ ได้เตรียมเข้าร่วมจัดนิทรรศการในแนวคิด “ปศุสัตว์ฮาลาล ครบวงจร ท่องเที่ยวอย่างมั่นใจ เพื่อสุขภาพอย่างยั่งยืน และถ่ายทอดความรู้พิเศษ “กระบวนการผลิตเนื้อแพะฮาลาลตามมาตรฐานประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง” เริ่มจากต้นน้ำถึงปลายน้ำของการผลิตเนื้อสัตว์ผ่านการกำกับดูแลด้านมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ โดยกรมได้ดำเนินการมาตรการเชิงรุกตามนโยบายรัฐบาลลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เพื่อรับฟังปัญหา ความทุกข์ร้อนของชาวบ้านเกษตรกร ในการยกระดับให้เกิดศูนย์กลางอาหารฮาลาลสู่ครัวโลก มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาและยกระดับธุรกิจสินค้าและบริการฮาลาลของไท
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกิจกรรม “พาณิชย์สั่งลุย ลดราคาตรุษจีน ปีมังกรทอง 2024” โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมดังกล่าว พร้อมร่วมกันลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมร้านจำหน่ายสินค้าในตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กรุงเทพฯ สำหรับวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าสำหรับไหว้บรรพบุรุษหรือเป็นของฝากแก่ญาติในช่วงตรุษจีนว่าสินค้าที่ได้รับเป็นสินค้าราคาถูกและคุณภาพดี รัฐมนตรีช่วยฯ ไชยา กล่าวว่า รู้สึกมีความยินดีที่ได้มาร่วมกิจกรรมกับทางกระทรวงพาณิชย์ และขอให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า ร้านค้าที่ได้รับป้าย “ปศุสัตว์ OK” เป็นร้านค้าที่กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์รับรองว่า สะอาดปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ทั้งเนื้อสุกร เนื้อไก่ ไข่ไก่ มาจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน (GAP) ผ่านกระบวนการเชือดชำแหละในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตได้ จึงมั่นใจได้ว่า ไม่มีการนำเนื้อเถื่อนมาจำหน่ายแน่นอน สำหรับโครงการปศุสัตว์ OK มีสินค้าที่อยู่ในขอบข่ายการรับรองของโครงกา
กรมปศุสัตว์ และสมาชิกองค์กรการเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization: APO) จาก 19 ประเทศ ชื่นชมฟาร์มกรอกสมบูรณ์ ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นต้นแบบฟาร์มไก่อัจฉริยะ (Smart Farm) ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลทันสมัยช่วยยกระดับประสิทธิภาพการเลี้ยงและดูแลสุขภาพสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมจะนำความรู้และแนวทางไปถ่ายทอดและส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยทั่วเอเชียแปซิฟิก ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับภูมิภาค นางสาวรัชฎา อสิสนธิสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมโครงการพิเศษ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กล่าวว่า การเยี่ยมชมฟาร์มกรอกสมบูรณ์ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกองค์กร APO ทั่วเอเชียแปซิฟิกซึ่งเป็นข้าราชการ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา และเกษตรกรได้เรียนรู้ระบบฟาร์มอัจฉริยะ รวมถึงนำข้อดีและแนวปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงไก่เนื้อ ประยุกต์ใช้พัฒนาภาคปศุสัตว์ของภูมิภาคให้ทันสมัยตั้งแต่ระดับเกษตรกรจนถึงระดับนโยบาย รวมถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีขีดความสามารถสูงขึ้น “ขอขอบคุณ ซีพีเอฟ ที่ให้สมาชิก APO ได้ร่วมศึกษาดูงานและความสำเร็จของระบบฟ
นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมหารือการป้องกันการขาดแคลนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2567 พร้อมกันทั้งประเทศ ตามโครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยมีนายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรุงเทพมหานคร สำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9 และผู้แทนจากบริษัทผู้นำเข้าวัคซีนในประเทศไทยทั้ง 7 บริษัทเข้าร่วมประชุมฯ ผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ พญาไท จากการรายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2566 (ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ) พบรายงานโรค 321 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 35
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมสัมมนานานาชาติด้านฮาลาล 2566 (World HAPEX 2023) จัดโดยสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างวันที่ 13-16 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อยกระดับความสามารถและสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการฮาลาลไทยสู่ตลาดฮาลาลโลก รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการฮาลาลให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการเชิงสุขภาพ โดยในงานนี้ กรมปศุสัตว์ ได้เตรียมเข้าร่วมจัดนิทรรศการในแนวคิด “ปศุสัตว์ฮาลาลเพื่อสุขภาพ” เริ่มจากต้นน้ำถึงปลายน้ำของการผลิตเนื้อสัตว์ผ่านการกำกับดูแลด้านมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ และผ่านการรับรองมาตรฐานฮาลาลจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก เป็นอันดับ 4 ของโลกสร้างมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท อีกทั้งสินค้าปศุสัตว์ฮาลาลไทยได้รับการยอมรับใ