กรมวิชาการเกษตร
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรกำลังอยู่ระหว่างการยกร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร เพื่อรองรับการพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ ประมง ที่มาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม Gene Editing (GEd) ซึ่งไม่ใช่การพัฒนาโดยตัดแต่งพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ ทางกรมวิชาการเกษตรได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาต่อเนื่อง คาดว่าจะนำเสนอต่อ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2567 นี้ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ทันการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวางแผนงบประมาณขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงวิสัยทัศน์แนวทางขับเคลื่อนภาคเกษตร IGNITE AGRICULTURE HUB ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตร และอาหารของโลก เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา “ร้อยเอก ธรรมนัส รมว.เกษตรฯ ขานรับนโยบายสนับสนุนภาคเกษตร ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม ให้เป็นนโยบายเร่งด่วน กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตร เ
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้ประชุมผ่านระบบซูมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร สำนักวิจัยและพัฒนาการการเกษตรที่ 7 (สวพ.7) ผู้ส่งออกทุเรียน โรงคัดบรรจุ (ล้ง) และเกษตรกรภาคใต้ตอนบนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2567 โดยมีผู้ประชุมผ่านระบบซูมและในห้องประชุมกว่า 200 คน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน เตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกทุเรียนภาคใต้ไปจีนซึ่งจะเริ่มตัดทุเรียนกลางเดือนมิถุนายน 2567 เป็นต้นไป ปีนี้คาดมีผลผลิตประมาณ 532,573 ตัน และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการให้ไทยรักษาแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนคุณภาพไปตลาดจีนที่แต่ละปีมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท โดยให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออก ซึ่งปีนี้คาดว่าไทยจะส่งออกทุเรียนไปจีนได้มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.3 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม-29 พฤษภาคม 2567 ไทยส่งออกไปจีนแล้ว 4.7 แสนตัน มูลค่า 63,568 ล้านบาท “ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารผลไม้ Fruit Board ที่มี ร้อยเอก ธรรมนัส เป็นประธานนั้น ทางผู้ประกอบการส่งออกผล
หากใครมีโอกาสเดินทางไปภาคใต้ อาจเคยรับประทานถั่วหรั่งต้มใส่เกลือ หนึ่งในอาหารว่างแสนอร่อย เมล็ดถั่วหรั่งใช้ต้มรับประทานเช่นเดียวกับถั่วลิสง เมล็ดอ่อนนิยมผัดแทนเมล็ดถั่วลันเตา ใช้ประกอบอาหารประเภทแกง หรือต้มซุปก็ดี จุดเด่นไม่พบเชื้ออัลฟาท็อกซิน แม้จะเก็บไว้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ เมล็ดถั่วหรั่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีคาร์โบไฮเดรต 55-72% น้ำมัน 6-7% โปรตีน 18-20% นอกจากนี้ ยังมีสารเบต้าแคโรทีน ไทอะมีน ไรโบเฟลวิน ไนอะซิน วิตามินซี และมีสารเมทไธโอนีน ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ถั่วหรั่งมีใบรูปร่างใบหอก ก้านใบสีเขียวอมม่วง ลำต้นสีม่วงแดง ดอกสีเหลือง ผิวฝักมีสีขาวอมน้ำตาล เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ดอกบานเมื่อมีอายุ 38 วัน มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะเปลือกสูงถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ฝักและเมล็ดเจริญเติบโตในดิน หลังจากผสมเกสรแล้วจะแทงเข็มส่งเมล็ดลงดิน พัฒนามาจนเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ คล้ายกับถั่วลิสง โดย 1 ฝัก มีเพียงเมล็ดเดียว ถั่วหรั่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ในต่างประเทศเรียกว่า ถั่วคองโก ถั่วมาดากัสการ์ และถั่วแบมบารา แต่ไม่มีบันทึกไว้ว่ามีการนำมาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่เม
ก้าวเข้าสู่ช่วงภาวะอากาศร้อน แห้งแล้ง และมีลมพัดแรงเป็นระยะ เสี่ยงเจอปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนเจาะดอกมะลิ ที่มักเข้าทำลายต้นมะลิที่กำลังผลิดอก จะพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามบริเวณกลีบดอก ก้านกลีบเลี้ยง ใต้ใบ หรือรอยยอดอ่อน เมื่อตัวอ่อนหนอนฟักออกมาจากไข่จะเข้าทำลายดอกมะลิในระยะดอกตูมที่มีขนาดเล็ก หนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในดอกมะลิ สังเกตได้จากดอกมะลิเป็นรอยช้ำ เห็นมูลของหนอนเป็นขุยๆ อยู่ภายใต้ดอก สีของดอกมะลิจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง สีน้ำตาลแห้ง เหี่ยวแห้ง และร่วงหล่น หากต้นมะลิไม่มีดอก หนอนจะกัดกินใบอ่อนหรือยอดอ่อน หากมีการระบาดรุนแรงจะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บดอกมะลิขายได้เลย หากเกษตรกรผู้ปลูกมะลิเจอปัญหาลักษณะนี้ กรมวิชาการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันและกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ โดยพ่นสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หากพบการระบาดของหนอนเจาะดอกมะลิ ให้ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงทุกๆ 4 วัน ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดเดียวติดต่อกันหลายครั้ง เพราะเสี่ยงให้หนอนเจาะดอกมะลิสร้างภูมิต้านทานยาฆ่าแมลงชนิดนั้นได้รวดเร็ว ห
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันการขยายตัวของตลาดมะพร้าวกะทิมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถซื้อขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ ทำให้มีราคาสูงถึง 150-250 บาทต่อผล รวมทั้งมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น เช่น เครื่องสำอาง ฟิล์มห่ออาหาร อุตสาหกรรมยา และอาหารเสริม เป็นต้น ผลผลิตมะพร้าวกะทิ จึงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด และมีข้อจำกัดในการขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเพิ่มพื้นที่การผลิตให้เพียงพอต่ออุตสาหกรรม คณะนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรจึงได้วิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ ที่ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิทุกผลและให้ผลผลิตสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดมะพร้าวกะทิ นางสาวปริญดา หรูนหีม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระนอง (ศวพ.ระนอง) กรมวิชาการเกษตร หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ในธรรมชาติมะพร้าว 1,000 ลูก จะพบมะพร้าวกะทิเพียง 1-3 ลูกเท่านั้น หรือไม่เกิน 0.3 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากพันธุกรรรมที่ควบคุมการเกิดเนื้อกะทิเป็นลักษณะด้อย และสูญเสียความสามารถในการงอกด้วยวิธีปกติ จึงต้องขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงคัพภะ ดังนั้น จึงได้ทำการวิ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น พื้นที่ทำการเกษตรที่เคยอุดมสมบูรณ์ต่างประสบปัญหาภัยแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำ ชะงักการเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลงกว่าเดิม ในสภาวะที่โลกเข้าสู่วิกฤตโลกร้อน “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตร นับว่าเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาน้ำไม่เพียงพอให้แก่เกษตรกร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มาใช้แก้วิกฤตขาดน้ำทำเกษตร โดยนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ผนวกกับแนวคิด พลังงานทดแทน ระบบเกษตรอัจฉริยะ การให้น้ำตามความต้องการของพืช และคาร์บอนเครดิต จนประสบความสำเร็จในการประยุกต์เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เข้ามาใช้ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น ระบบให้น้ำทุเรียนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเรือนผักพรางแสงอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยให้ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต และยังช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย เทคโนโลยีการให้น้ำแบบแม่นยำ สำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
สภาพอากาศร้อนและแดดจัดในระยะนี้ เกษตรกรผู้ปลูกพริกเตรียมรับมือการระบาดของเพลี้ยไฟพริก สามารถพบได้ในระยะที่ต้นพริกออกดอกและติดผล เริ่มแรกจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากยอด ใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ใบหรือยอดอ่อนหงิก ขอบใบหงิกหรือม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเพลี้ยไฟพริกเข้าทำลายในระยะที่ต้นพริกออกดอก จะส่งผลทำให้ดอกพริกร่วงไม่ติดผล ส่วนการเข้าทำลายในระยะติดผล จะทำให้รูปทรงของผลพริกบิดงอ หากระบาดรุนแรง จะทำให้ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโตหรือแห้งตายในที่สุด เกษตรกรควรสุ่มสำรวจตรวจต้นพริก 100 ยอดต่อไร่ ในทุกสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีการเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ และป้องกันกำจัดเมื่อพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ยมากกว่า 5 ตัวต่อยอด ในขั้นต้นควรเพิ่มความชื้นให้ต้นพริกด้วยการให้น้ำ อย่าปล่อยให้ต้นพริกขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ และเพลี้ยไฟพริกจะระบาดได้อย่างรวดเร็ว หากพบการระบาด สำหรับในแหล่งปลูกใหม่ ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรไทโอฟอส 50% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า “เห็ดฟาง” ถือเป็นเห็ดยอดนิยมในประเทศไทย มีปริมาณการผลิตสูงคิดเป็น 75% ของผลผลิตเห็ดทั้งหมดในประเทศ มีอายุการเก็บรักษาสั้น โดยเฉพาะเห็ดฟางดอกบาน ซึ่งไม่นิยมบริโภค และเน่าเสียได้ง่าย ทำให้เกิดความสูญเสียของผลผลิตทางการเกษตร กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร (กวป.) กรมวิชาการเกษตร จึงมีแนวคิดเพิ่มมูลค่าเห็ดฟางโดยนำมาแปรรูปเพิ่มการใช้ประโยชน์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเห็ดฟางมีโปรตีนสูง และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายและมีความสำคัญต่อผิวสามารถเป็นแหล่งวัตถุดิบของนวัตกรรมในวงการเครื่องสำอางได้ด้วย นางสาวสุรีย์รัตน์ รักเหลือ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร ทีมนักวิจัยกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า งานวิจัยการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากเห็ดฟาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าเห็ดฟาง โดยเฉพาะเห็ดฟางดอกบานที่ใกล้หมดอายุการวางจำหน่าย และราคาตกต่ำ ด้วยการผลิตเป็นโปรตีนไฮโดรไลเซท สำหรับเป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยศึกษาการใช้เอนไซม์อัลคาเลส ในการย่อยเห็ดฟางที่ระยะเวลาการย่อย 2
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 EU โดย รัฐสภายุโรป (European parliament) มีมติรับรองเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม หรือเทคนิคจีโนมแบบใหม่ (GEd, New Genomic Techniques (NGTs), Genome editing) เป็นผลให้พืชที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (GEd) และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ มีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่จัดเป็นพืช GMOs และจะถูกพิจารณาเช่นเดียวกับพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติ ไม่ใช้กฎหมายและหลักเกณฑ์เดียวกันกับพืช GMOs อีกต่อไป ผลการลงมติในครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของยุโรป และการทำให้การผลิตทางการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบใหม่นี้จะอนุญาตให้มีการพัฒนาพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถรับประกันผลผลิตที่สูงขึ้น ทนต่อสภาพอากาศและใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงน้อยลง โดยในขั้นตอนหลังจากนี้ รัฐสภายุโรปจะดำเนินการเจรจากับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในการร่างกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ผลการลงมติของสหภาพยุโรปครั้งนี้ ตอบโจทย์ และ
กรมวิชาการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเฝ้าระวัง โรคตายพราย หรือ โรคปานามา หรือ โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด การป้องกันกำจัดโรค หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน และเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรค หรือไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย ใช้หน่อพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์กล้วยด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช อีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน 6% +