กล้วยหอมทอง
กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการส่งออก หลายประเทศมีความต้องการบริโภคสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้าในหลายจังหวัด รวมถึงที่จังหวัดอุดรธานี โดยการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการค้าของจังหวัดอุดรธานี เกิดขึ้นในปี 2537 โดยมี คุณทองคูณ โพธิ์พรม เกษตรกร บ้านโพธิ์ ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม เป็นเกษตรกรผู้เริ่มต้นและจุดประกายการปลูกกล้วยหอมทอง เริ่มขายจากตลาดท้องถิ่น เดิมนั้น คุณทองคูณทำงานอยู่ในโรงงานไม้อัดที่จังหวัดนนทบุรี แต่เนื่องด้วยมีรายได้ไม่เพียงพอการค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด มาประกอบอาชีพการเกษตร และได้นำพันธุ์กล้วยหอมทองจากจังหวัดนนทบุรีมาปลูก ด้านการตลาด เริ่มต้นด้วยการปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และนำไปให้เพื่อนที่อยู่บ้านปากสวย ตำบลปากสวย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ช่วยจำหน่ายในร้านค้าริมข้างทาง บนถนนสายหนองคาย-โพนพิสัย เนื่องจากมีรถสัญจรมากพอสมควร ต่อมามีการพัฒนาจนกลายเป็นตลาดกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2540 คุณทองคูณได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทองอำเภอสร้างคอมขึ้น มีสมาชิก
จังหวัดพัทุลง เป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคใต้ที่มีการทำสวนยางพาราด้วยเช่นกัน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาในเรื่องของราคาจำหน่ายผลผลิตยางพาราได้น้อยลง จึงทำให้เกษตรกรเกิดการปรับตัวและหาพืชชนิดอื่นเข้ามาปลูกทดแทน โดยมีการลดพื้นที่ยางพาราบางส่วน เพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกหนึ่งช่องทางโดยไม่รอผลผลิตจากยางพาราเพียงอย่างเดียว คุณจิตรา รุ่งรัศมีวิริยะ เกษตรอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ให้ข้อมูลว่า เมื่อผลผลิตอย่างยางพารามีราคารับซื้อที่ถูกลง จึงทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วเห็นถึงช่องทางการสร้างรายได้ของเกษตรกร โดยในพื้นที่ได้เกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองที่ประสบผลสำเร็จและมีตลาดแน่นอนมั่นคง ต่อมาจึงได้มีการส่งเสริมให้รวมกลุ่มที่เข้มแข็ง เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองผลิตกล้วยที่มีคุณภาพและถูกต้องตามมาตรฐาน GAP “เมื่อเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองมีความเข้มแข็งและสามารถกำหนดทิศทางตลาดได้ หรือที่เรียกว่า ตลาดนำการผลิต ทางสำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วจึงได้เข้ามาส่งเสริมและจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ เพื่อให้ผลผลิตที่จำหน่ายมีเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เราก็ได้ให้หน่วยงานอย่าง กยท. เข้ามาช
ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพของ “กล้วยหอมทอง” เพื่อยกระดับขึ้นไปสู่สินค้าเกรดพรีเมี่ยม ในขณะที่นำเข้า “กล้วยหอมเขียว” สู่ตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน เมื่อเร็ว ๆ ได้มีการจัดงานสัมมนาหลักสูตร “การพัฒนาคุณภาพกล้วยหอมสู่ต่างประเทศ” ณ โรงแรมเซ็นเตอรพ์อยท์ เทอร์มินอล 21 โคราช อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นางพิมใจ มัตสึโมโตกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีแอนด์เอฟเทคโน จำกัดให้ข้อมูลด้านสถานการณ์กล้วยหอมในประเทศญี่ปุ่น และ นายคาตาโอกะ ทาคายูกิ ประธาน บริษัท Bay Commerce Co., Ltd. ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเกษตรจาก Yokohama, Kanagawa Prefecture ประเทศญี่ปุ่น มาร่วมให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วย ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมเพื่อการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ยังนับว่าเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เกษตรกรได้รับรู้หลักการผลิตที่ตรงตามตลาดต้องการ และปริมาณความต้องการของตลาด ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อผลิตออกมาแล้วมีตลาดรองรับอย่างแน่นอน นางพิมใจ มัตสึโมโต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีแอนด์เอฟเทคโน จำกัด กล่าวว่า “เพราะประเ
กล้วยหอมทอง พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ด้วยรสชาติที่อร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ทำให้กล้วยหอมไทยครองใจชาวญี่ปุ่นได้ไม่ยาก รวมถึงความต้องการภายในประเทศก็มีไม่แพ้กัน เนื่องจากกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายควรได้รับ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค รวมไปถึงเรื่องศาสนาและความเชื่อ กล้วยหอมก็เป็นอีกหนึ่งผลไม้มงคลที่ต้องใช้ในการไหว้เจ้าที่เช่นกัน โดยมีความหมายถึง ความมั่งคั่ง ร่ำรวย การมีบริวารเยอะแยะ ใครที่จัดของไหว้เจ้าที่ด้วยกล้วยหอมจึงมักจะมีความร่ำรวยเงินทอง มีเงินเข้ามาอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นหากท่านใดสนใจปลูกกล้วยหอมทองสร้างรายได้ก็ยังน่าสนใจ แต่ต้องศึกษาวิธีการปลูกการดูแลให้ดีอีกเช่นกัน เพราะกล้วยหอมทองเป็นพืชที่ได้รับฉายาว่า “ปลูกง่าย แต่ดูแลยาก” นั่นเอง คุณศศิธร พันธ์มุง หรือ คุณติ๋ว เจ้าของสวน T.N banana อยู่ที่ ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อดีตสาวโรงงานในเมืองกรุง ลาออกจากงานมาเป็นเกษตรกร ปลูกกล้วยหอมทองเน้นคุณภาพส่งห้าง หวีใหญ่ ผิวสวย เนื้อแน่นอร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ฟันรายได้ครึ่งล้านต่อปี คุ
ความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินไทยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ผสมผสานกับภูมิปัญญาการเพาะปลูก ประมง และปศุสัตว์ เกิดเป็นพืชผลการเกษตรที่ดี มีคุณภาพ สืบสานเป็นอาชีพเกษตรกรรมในการดำเนินชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น และได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน แต่ทว่าในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภัยทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตภาคการเกษตร หรือกลไกทางการตลาดที่มีผลต่อราคาจำหน่าย ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสู่ความเสี่ยงที่หากเกษตรกรยังไม่ตื่นตัวยอมรับและปรับตัวให้เท่าทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ก็อาจส่งผลสู่ความล้มเหลวในชีวิตวิถีเกษตร และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสถานะความเป็นอยู่ของตนเอง สภาพสังคม และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติในภาพรวมอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทางเลือกและทางรอดของเกษตรกรไทยมีเพียงแนวทางเดียว คือการยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมปรับตัวและพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง คุณสุริยะ ชูวงศ์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาบัญชีฟาร์มประจำปี 2
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ นำร่อง ยกระดับและต่อยอด 5 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ สู่การผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงวางเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง นายสุบรรณ์ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า พื้นที่การเกษตรของจังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นเป็นหลัก สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรได้ขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อรวมกันผลิต รวมกันจำหน่าย ตามนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเดียว พื้นที่เดียวกัน รวมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่ มีสำนักงานเกษตรอำเภอเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการสวน การเก็บเกี่ยว การตลาด การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ขายผลผลิตที่มีคุณภาพให้ได้ราคาสูง จนถึงปัจจุบันจังหวัดชุมพรมีแปลงใหญ่ จำนวน 154 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่ลดลง เกษตรกรมีความรู้ ความชำนาญในการประกอบอาชีพมากขึ้นแล
กล้วยหอมทอง นับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพราะนอกจากบริโภคภายในประเทศแล้วยังมีการสร้างมาตรฐานส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งกล้วยหอมทองสามารถปลูกได้หลายภูมิภาคของประเทศ จึงช่วยให้เกษตรกรเกิดรายได้จากการจำหน่ายกล้วยหอมทอง เพราะมีการปลูกที่ได้มาตรฐานเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาด หลังจากตัดเครือกล้วยหอมทองจำหน่ายแล้ว สิ่งที่หลงเหลือจากผลกล้วยที่เหลือภายในสวนอย่างต้นกล้วยและเครือกล้วย ปัจจุบันไม่ได้ปล่อยให้เป็นของเหลือทิ้งหรือปล่อยไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่สามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าสร้างเป็นสินค้าหรือนวัตกรรม คือนำผลผลิตที่เหลือทิ้งอย่างเครือกล้วยและต้นกล้วยมาผลิตเป็นกระดาษที่ใช้ติดฝาผนัง และสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะใส่อาหารรักษ์โลก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้วัสดุจากธรรมชาติมากขึ้น ดร.ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า สินค้าอย่างกล้วยหอมทองถือว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถทำตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งถ้าหากผลผลิตจำหน่ายออกจากสวนได้หมดจึงถือเป็นการ
ดร.ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า ‘กล้วยหอมทอง’ เป็นสินค้าเกษตรของไทยที่ได้รับความนิยม เป็นที่ต้องการของตลาด และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค แต่ด้วย ‘กล้วยหอมทอง’ เป็นผลไม้เขตร้อน อายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล ล้วนส่งผลกระทบต่อผลผลิต ตกเกรด ไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาอื่นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เรื่องการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพสินค้า เกษตรกร ชุมชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพสถานการณ์และศักยภาพการปลูกกล้วยหอมทองในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกใหม่ มีระบบนิเวศน์กับสภาพแวดล้อมที่ยังสมบูรณ์ ปัญหาแมลง ต้นทุนค่าปุ๋ยและสารเคมีน้อย จึงทำให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงกว่าพืชเดิมที่เคยปลูกมานาน แต่มีการสะสมของโรค “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองบ้านโคก&
หนองบัวลำภู จังหวัดที่แยกตัวมาจากอุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 หากประเมินดูก็น่าเชื่อได้ว่า จังหวัดที่แยกตัวออกมา ควรมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ทว่าพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู กลับไม่มีระบบชลประทานรองรับเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรต้องพยายามพัฒนาระบบน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งการปลูกพืชทุกชนิด “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญ คำสัมภาษณ์ของ คุณทองแดง อัมไพชา เกษตรกร หมู่ที่ 11 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เกษตรกรต้นแบบ สาขาพืชสวน (ปลูกกล้วยหอมทอง) อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ก็เด่นชัดเรื่องน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรที่ขาดแคลนและต้องพึ่งพาอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แม้จะแก้ปัญหาด้วยการเจาะบ่อบาดาลก็ช่วยได้ไม่มากนัก “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้พูดคุยกับคุณทองแดง ถึงการทำสวน แม้ว่าก่อนหน้านั้นคุณทองแดงจะปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชไร่ จำนวน 10 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 4 ตัน คิดเป็นรายได้ต่อปี ประมาณปีละ 40,000 บาท เมื่อหักต้นทุนที่ลงทุนไป ทำให้เห็นได้ชัดว่า รายได้ที่ได้รับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน คุณจีระพงษ์ อัมไพชา บุตรชาย เป็นต้นคิดให้พ่อเปลี่ยนรูปแบบการทำการเก
กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้ระยะกว่าจะให้ผลผลิตประมาณ 9 เดือนเศษ แต่ก็ตอบแทนเจ้าของได้อย่างคุ้มค่า เพราะหากมีการวางแผนการผลิตที่ดี มีการบริหารจัดการที่ดี จะทำรายได้สูงถึงไร่ละนับแสนบาทเลยทีเดียว แม้แต่ช่างเขียนแบบก็สามารถเรียนรู้และปลูกให้ประสบผลสำเร็จได้ อย่างเช่น คุณเกรียงไกร พิมภูธร อายุ 43 ปี อยู่ที่บ้านท่าขอนยาง หมู่ที่ 3 ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทร. 082-118-1605 จบการศึกษา ปวช. และ ปวส. ด้านช่างจากวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งช่างเขียนแบบ กองช่าง เทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม แรงบันดาลใจในการปลูกกล้วยหอมทอง เกิดจากการที่ได้ดูรายการทีวีเกี่ยวกับกล้วยหอมทอง ก็เลยสนใจคิดว่าเป็นไม้ผลที่คู่กับคนไทย สามารถบริโภคได้ทุกฤดูกาล จากนั้นได้ศึกษาการปลูก การดูแลรักษาอย่างจริงจัง จาก YouTube เป็นเวลา 1 ปี คือในปี 2559 ได้สอบถามราคาซื้อขายในตลาดที่จังหวัดมหาสารคาม ก็พบว่าราคาค่อนข้างดีและไม่มีตลาดค้าส่ง ดังนั้น ถ้าเรานำมาปลูกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามน่าจ