ก๊าซเรือนกระจก
ในเรื่องของการส่งออกข้าวจำหน่ายตลาดต่างประเทศ ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก เท่ากับปริมาณการส่งออกของเวียดนามที่ 7.5 ล้านตันเช่นกัน และอินเดียยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกที่ปริมาณ 16.5 ล้านตัน จึงเป็นความเสี่ยงของไทยที่จะต้องรักษาอันดับ การเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวแซงไทยที่เป็นไปได้สูง เพราะเริ่มเห็นตัวเลขการส่งออกข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้น จากปกติการส่งออกเฉลี่ยเพียง 6 ล้านตันต่อปีเท่านั้น แต่เห็นชัดเจนขึ้นจากปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกได้ถึง 8.1 ล้านตัน และประมาณต้นปี 2567 เวียดนามสามารถประมูลข้าวจากอินโดนีเซียได้ถึง 4 แสนตัน จากการประมูลทั้งสิ้น 5 แสนตัน ส่วนที่เหลือเป็นของปากีสถานและเมียนมา ส่วนประเทศไทยไม่ได้เพราะราคาข้าวแพงกว่า ข้าวคาร์บอนต่ำ ทางรอดของเกษตรไทย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับตัวของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันการผลิตและการค้าขายทางภาคการเกษตรข
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ASEAN Food and Beverage Alliance’s Paper Launch and Discussion Event ภายใต้หัวข้อ “Climate Change and Food Prices in Southeast Asia” ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มของอาเซียน (ASEAN Food and Beverage Alliance: AFBA) ร่วมกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Oxford Economics เพื่อหารือและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร ต้นทุนการผลิต อุปทานอาหาร และเสถียรภาพราคาอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 10-11 ธันวาคม 2567 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมนอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ นโยบาย การดำเนินงานในปัจจุบัน และมุมมองด้านอุตสาหกรรมอาหารแล้ว ทางผู้แทนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Oxford Economics ยังได้นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและราคาอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฉบับปี 2024 (Climate Change and Food Prices in Southeast Asia: 2024 Update) ล
ธ.ก.ส. ผลักดัน 9 ชุมชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สู่การซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ผ่านโครงการ BAAC Carbon Credit พร้อมขยายผลไปยังธนาคารต้นไม้อีกกว่า 6,800 ชุมชนทั่วประเทศ ตั้งเป้าสร้างคาร์บอนเครดิตสะสม 5.10 แสนตันคาร์บอน ภายในปี 2571 และสร้างรายได้ให้ชุมชน มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท นายเกียรติศักดิ์ พระวร ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เร่งขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้และชุมชนไม้มีค่าจนปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 6,814 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนกว่า 12.4 ล้านต้น มีสมาชิกกว่า 120,000 คน มูลค่าต้นไม้ในโครงการกว่า 43,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการนำต้นไม้ที่ปลูกมาแปลงเป็นสินทรัพย์ เพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินและนำมาใช้เป็นหลักประกันเงินกู้กับ ธ.ก.ส. ทำให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้/ป่าไม้ ปีละ 116 ล้านบาท และเพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินงานให้ตอบโจทย์เป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี ค
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการวิจัยและพัฒนา การขยายผลการใช้ประโยชน์และสร้างเครือข่ายทั้งนักวิจัยด้านการเกษตรและผู้ประกอบการสู่การใช้ประโยชน์จริง รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้การพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร การบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร ให้สามารถเข้าสู่การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรในระดับสากล โอกาสนี้ ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ และ นายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมีคณะผู้บริหารและบุคลากรทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีด้วย ในวันที่ 19 กันยายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โดยความร่วมมือดังกล่าว จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรปลอดภัย และทำให้สินค้าเกษตรเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเครือข่ายกล
เมื่อพูดถึง “คาร์บอนเครดิต” อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายคน แต่ในความจริงแล้วมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับนานาชาติ คาร์บอนเครดิตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลดโลกร้อน ทั้งนี้ “ก๊าซเรือนกระจก” นั้นไม่ได้มาจากภาคอุตสาหกรรม หรือขนส่งมวลชนเท่านั้น แต่ในกิจกรรมภาคการเกษตรอย่าง “การทำนาข้าว” ก็มีส่วนในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน คุณพรพรรณ ยานะโส นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา จะมาอธิบายให้ฟังว่า การทำนานั้นเกี่ยวกับโลกร้อนได้อย่างไร? และรู้หรือไม่ว่า แค่เปลี่ยนวิธีการทำนาก็ช่วยลดโลกร้อนได้ ทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำนาให้ดีขึ้นอีกด้วย “คาร์บอนเครดิต” คืออะไร? เกี่ยวข้องกับ “การทำนา” อย่างไร? คุณพรพรรณ อธิบายในทางหลักการว่า “คาร์บอนเครดิต” หมายถึง สิทธิที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคล-องค์กรสามารถลดหรือกักเก็บการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยสิทธินี้สามารถวัดปริมาณและนำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งชนิด
ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงาน ในฐานะผู้แทน วว. เข้ารับโล่รางวัลตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับประเทศ ประจำปี 2566 จำนวน 2 รางวัล ดังนี้ 1. ระดับ Gold อาคาร Admin และ 2. ระดับ Silver อาคาร ALEC (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย) จาก นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ การมอบรางวัลดังกล่าว กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานท้องถิ่น ในการลดใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศและดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีหน่วยงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 362 องค์กร
จากสถานการณ์โลกที่กำลังเผชิญสภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทำให้นานาประเทศเข้ามาร่วมมือกันดำเนินนโยบายลดการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” ตัวการหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน มีเป้าหมายในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก โดยประเทศไทยได้ร่วมแสดงเจตจำนงในการมีส่วนร่วมดำเนินการตาม “ความตกลงปารีส” ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 20–25 ภายในปี 2573 ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่มีเป้าหมายให้ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม Bio-Circular-Green Economy (BCG Model) ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติปีละประมาณ 3 แสนล้านบาท ทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งต้นยางพารามีศักยภาพในการดูดก๊าซเ
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าภายในเดือนกันยายน 2567 คาดว่าจะได้โมเดลการซื้อขายคาร์บอนเครดิตมันสำปะหลัง เป็นพืชตัวแรกของพืชเศรษฐกิจนำร่อง 6 ชนิดและภายในปี 67 นี้จะครบทั้งหมดเพื่อใช้ขยายผลให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนหรือหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทยT-VER ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) หรือ อบก. ปัจจุบันกรมได้เตรียมหน่วยงานตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร(CB) ซึ่งใกล้จะได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม( สมอ.) และได้อบรมเจ้าหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ(VVB) ตามหลักสูตรของอบก.จำนวน 31 รายรวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานกองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร เพื่อให้บริการต่อประชาชนซึ่งเป็นไปตามแผนงานและนโยบายของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “กรมอยู่ระหว่างทำเส้นฐานคาร์บอนเครดิตของพืชเศรษฐกิจหลักระดับประเทศ (National Carbon Credit Baseline)เป็นฐานคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตเพื่อใช้คิดค่าตอบแทนกา
(2 พฤษภาคม 2567) สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (SARABURI SANDBOX)” บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง TCMA และ สอวช. ในวันนี้ นับเป็นอีกก้าวของความร่วมมือเดินหน้าสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ (SARABURI SANDBOX LOW CARBON CITY) ที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาสนับสนุนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน Energy Transition ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Thailand 2050 Net Zero Cement and Concrete รวมถึงเชื่อมโยงการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (SARABURI SANDBOX) โดยโครงการแรกที่จะร่วมกันดำเนินการคือ การศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล ครอบ
ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ในฐานะผู้แทน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำผลงานโครงการเทคโนโลยีการจัดการขยะชุมชนต้นแบบ “ตาลเดี่ยวโมเดล” และโครงการพัฒนาต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ร่วมจัดแสดงนิทรรศการเพื่อร่วมขับเคลื่อน โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” จังหวัดระยอง (โครงการจังหวัดเคลื่อนที่) โอกาสนี้ วว. ได้รับเกียรติจาก นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เยี่ยมชมผลงานของ วว. พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานและประชาชน ในวันที่ 12 มีนาคม 2567 ณ โรงยิมเนเซี่ยม เทศบาลตำบลบ้านฉาง ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งนี้ วว. เป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานแกนหลักร่วมกับพันธมิตร ในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้ โครงการ