ข้าวอินทรีย์
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง คุณอภิวรรษ สุขพ่วง (คุณพอต) อยู่บ้านเลขที่ 107 หมู่ที่ 10 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผู้น้อมนำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยอดเยี่ยม คุณพอต เล่าว่า หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรี จากคณะการจัดการอุตสาหกรรม ได้เดินทางกลับบ้านเพื่อจะมาทำอาชีพเกษตรกรรมทันที ไม่ได้มองสายงานที่เรียนมา เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่มรดกไว้แต่ไม่มีใครสร้างประโยชน์ ปล่อยให้เป็นพื้นที่รกร้าง และด้วยนิสัยส่วนตัวที่เป็นคนรักธรรมชาติ และมีความคิดที่อยากเป็นนายตัวเอง ไม่อยากเป็นลูกน้องใ
กรมการข้าว เดินหน้าส่งเสริมข้าวสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง พร้อมหนุนแหล่งผลิตข้าวทั่วประเทศให้มีศักยภาพในการพัฒนาการแปรรูป การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว และการยกระดับแบรนด์สินค้า โดยโชว์ตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์แปรรูป และใช้ประโยชน์จากเมล็ดพันธุ์ข้าว “วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา แหล่งปลูกข้าวที่มีความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเพาะปลูกข้าวคุณภาพได้ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ (กข15 และกข105) ข้าวกล้อง ข้าวมะลิแดง ข้าวก่ำ และข้าวไรซ์เบอรี่ ทั้งนี้ ในปัจจุบันชุมชนได้มีการจำหน่ายข้าวภายใต้แบรนด์ “สร้อยศรี” ข้าวอินทรีย์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องรสชาติ สารอาหาร และคุณภาพที่ตรงใจกับผู้นิยมบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งได้มีการแปรรูปเป็นสินค้าชนิดต่าง ๆ อาทิ ข้าวบรรจุถุง ข้าวพองกรอบเคลือบช็อกโกแลต เวย์ข้าวโปรตีนผสมธัญพืช 9 ชนิด อีกทั้งยังสามารถนำสินค้าก้าวสู่ ช่องทางการขายออนไลน์และกลุ่มโมเดิร์นเทรด นายโอวาท ยิ่งลาภ ผู้อำนวยการกองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว เปิดเผยว่า กรมการข้าวมุ่งสนองนโยบายรัฐบาล รวมถึงกระทรวงเกษตรและส
ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ คือ การส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิตข้าวและมีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับ เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต และมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งยกระดับผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพเกษตรกรปลูกข้าวที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับระบบนิเวศและพื้นที่ของการปลูกข้าวตามชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม โดยมีระบบการจัดการบริหารการวางแผนการผลิต หาปัจจัยการผลิต และการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนการจัดการด้านการตลาด เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในลักษณะประชารัฐ นาแปลงใหญ่ นับเป็นโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวรับผิดชอบดูแลในส่วนของแปลงใหญ่ข้าว ซึ่งได้มีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าว 2. ด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวผลผลิต 3. การบริหารจัดการกลุ่มและเสริมสร้างสมรรถนะกลุ่มนาแปลงใหญ่ 4. ด้านส่งเสริมการตลาดข้าว และยกระดับมาตรฐาน กรมการข้าวได้ดำเนินโครงการยกระดับแปลงใหญ่
เพราะ “ข้าว” เป็นอาหารคู่คนไทย เป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่า ประเทศไทยมีข้าวสายพันธุ์ดีเลิศรส สามารถผลิตและส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเรามีพันธุ์ข้าวถึง 24,000 ตัวอย่าง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างและโดดเด่นในแต่ละท้องถิ่น เป็นของดีสะท้อนภูมิปัญญาในพื้นที่อย่างน่าอัศจรรย์ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ผู้นำสื่อออนไลน์ด้านการเกษตรครบวงจร จึงร่วมกับกรมการข้าว ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยพันธมิตร ถือโอกาสจัดมหกรรมงานข้าวสุดยิ่งใหญ่ “มหัศจรรย์ข้าวไทย 2024” ภายใต้ธีม #ร้อยเรื่องราวพันธุ์ข้าวไทย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567 ณ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เป็นครั้งแรกของการจัดงานข้าวไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง พื้นที่ฮอลล์ละลานตาไปด้วยเรื่องราวความมหัศจรรย์ของข้าวในทุกมิติ เริ่มจากโซนแรกบริเวณด้านหน้าฮอลล์ “นิทรรศการมหัศจรรย์ข้าวไทย 2024” ที่กรมการข้าวได้นำข้าวไทยสายพันธุ์เด่น มาบอกเล่าความเป็นมาและความอัศจรรย์แห่งอัตลักษณ์แต่ละสายพันธุ์จาก 4 ภาคทั่วประเทศไทย เป็นอีกจุดแลนด์มาร์กที่คนมาเที่ยวงานไม่พลาดเช็กอิน ใกล้กันเป็นโซน “
งาน ‘มหัศจรรย์ข้าวไทย 2024’ เสวนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟเรื่องข้าวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน เล่าเรื่องข้าวครบทุกด้าน จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2567 วันสุดท้ายของการจัดงาน “พี่จอบ” วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ คอลัมนิสต์ชื่อดัง และภรรยา “ พี่อ้อย ” ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวาณิชย์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและอดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว มาร่วมบอกเล่าเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อสิบกว่าปีก่อน “พี่จอบ” และ “พี่อ้อย” รู้สึกว่าเมืองกรุงไม่น่าอยู่แล้ว จึงตัดสินใจซื้อผืนนาแปลงหนึ่งที่ทุ่งน้ำนูนีนอย ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารอินทรีย์ เลี้ยงตัวเอง และแบ่งปันให้คนรอบข้าง โดยตั้งใจให้พัฒนาทุ่งน้ำและไร่นาเกษตรอินทรีย์นูนีนอยเป็นศูนย์ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับธรรมชาติ มุ่งทำเกษตรอินทรีย์โดยจ้างแรงงานในพื้นที่เข้ามาช่วยเพาะปลูก เพื่อสร้างงานและการกระจายรายได้ไปสู่คนในพื้นที่ ทุ่งน้ำนูนีนอยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสร้างขึ้นใหม่ในปี 2561 ท่ามกลางนาระบบเหมืองฝายโบราณและปล่อยให้ธรรมชาติและสัตว์ป่าฟื้นตัวขึ้นมาเอง เพื่ออนุรักษ์ค
ตุ๊ก – ชนกวนันท์ นักแสดงสาวที่มีอาชีพเสริมเป็น “ชาวนา” ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่และข้าว กข. 43 เป็นสินค้าทางเลือกให้กับคนรักษ์สุขภาพ สร้างเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์กว่า พันไร่เจาะตลาดออนไลน์ งาน ‘มหัศจรรย์ข้าวไทย 2024’ เสวนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟเรื่องข้าวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน เล่าเรื่องข้าวครบทุกด้าน จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ช่วงบ่ายวันที่สองของการจัดงาน ( 1 มิ.ย.2567 ) เวทีเล่าเรื่องข้าวเกษตรอินทรีย์ : ตุ๊ก – ชนกวนันท์ รักชีพ นักแสดงสาวที่มีอาชีพเสริมเป็น “ชาวนา” มาบอกเล่าเรื่องราวการทำนาวิถีเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ปลูกเอง เก็บเอง ผลผลิตแห่งความภาคภูมิใจ ตุ๊ก – ชนกวนันท์ รักชีพ นักแสดงสาวใส่ใจเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ หากเจ็บป่วยก็ใช้อาหารเป็นยา จับผลัดจับพลูเข้าสู่วิถีเกษตรอินทรีย์เพราะอยากให้ “ ลูก ” ได้เรียนรู้สัมผัสวิถีธรรมชาติ ประกอบกับ คุณพ่อบุญธรรม “ สุธา นิติภานนท์ สนใจทำนาวิถีออแกนิกอย่างครบวงจรของในชื่อ “ สุธาทิพย์ ฟาร์ม” บนเนื้อที่ 100 ไร่ ในอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้คนไทยได้กินข้าวที่ปลอดภัย ซึ่งตุ๊กและพี่สาวได้ช่วยคุณพ่อทำนาออแกนิกตั้งแต่ปีแรกจนถึงท
คุณจิรณี พิมผุย หรือ พี่ณี ประธานวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านวิทย์ ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นี้เกิดจากการรวมกลุ่มจากการมีนโยบายภาครัฐ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันไม่น้อยกว่า 30 คน ในพื้นที่เกือบ 300 ไร่ โดยได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 9 ในพื้นที่ เพื่อเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนภายใต้ชื่อ “วิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านวิทย์” พื้นที่ทั้งหมด 740 ไร่ มีสมาชิกทั้งหมด 60 ราย โดยแบ่งการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ จำนวน 9 ราย จำนวน 160 ไร่ และกำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่กระบวนการปลูกข้าวอินทรีย์ จำนวน 41 ราย ในพื้นที่ 580 ไร่ ต่อมาในปี 2564 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จำนวน 2,880,000 บาท ในช่วงต้นของการลงมือทำ ต้องประสบกับปัญหาจากกลุ่มคณะกรรมการที่ส่วนใหญ่ล้วนแต่ประกอบอาชีพเกษตรปลูกข้าวเป็นหลัก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงมือทำด้านธุรกิจเกษตร เพราะเนื่องจากนโยบายภาครัฐ จำเป็นต้องมีห้างหุ้นส่วนเข้ามาเก
จากการทำตลาดออนไลน์ในปัจจุบันพร้อมกับระบบขนส่งที่ทันสมัย ทำให้ยุคนี้สินค้าออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้บริโภคเลือกซื้อ เพราะนอกจะได้สินค้าจากแหล่งผลิตโดยตรงแล้ว สินค้าที่ซื้อจากผู้ผลิตโดยตรงอย่างสินค้าทางการเกษตร จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรที่ได้จากข้าวที่นับวันเกษตรกรต้องมีการปรับตัวในเรื่องของการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยก็เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีกำไรเพิ่มขึ้น คุณพิรุณวรรณน์ จงใจภักดิ์ พาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์จับมือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนครพร้อมผลักดันข้าวหอมมะลิสุรินทร์ GI จังหวัดสุรินทร์ เป็น 1 ใน 18 แห่ง สินค้าดี GI อีสานสู่สากล มั่นใจคุณภาพข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ซึ่งได้รับการรับรอง ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 จากความพิเศษนี้เอง จึงทำให้ต่อมาทางกลุ่มเกษตรกรได้มีการปรับตัว และรับองค์ความรู้ในเรื่องของการส่งเสริมการทําเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การทำนาของชาวนาในพื้นที่นี้ มีการปรับตัวในเรื่องของการทำเกษตรอ
ข้าวหอมนาคา เริ่มดำเนินการทดสอบผลผลิต ปี 2562 ในแปลงเกษตรกร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรร่วมปลูก 31 คน พื้นที่ประมาณ 95 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 807 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 76 ตัน โดยการใช้ประโยชน์จากข้าวหอมเพื่อการบริโภคประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ (46 ตัน) และแลกเปลี่ยนเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ 40 เปอร์เซ็นต์ (30 ตัน) ในปี 2563 มีเกษตรกรสนใจปลูกข้าวหอมนาคา จำนวน 309 ราย ในพื้นที่ของประเทศจำนวน 37 จังหวัด จำนวน 106 อำเภอ พื้นที่การปลูกประมาณ 250 ไร่ โดยเกษตรกรที่สนใจจะได้รับการจัดสรรเมล็ดพันธุ์ให้คนละ 1 กิโลกรัม ซึ่งในภาคเหนือมีเกษตรกรสนใจปลูกข้าวหอมนาคา จำนวน 115 ราย ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 149.8 ไร่ โดยจังหวัดลำปางมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 92 ไร่ จำนวน 20 คน แบ่งพื้นที่ของสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด จำนวน 58 ไร่ และเกษตรกรอื่นที่สนใจอีก 34 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนเกษตรมีพื้นที่ปลูกจำนวน 50 ไร่ คุณสมาน สุภัควาณิชย์ อยู่บ้านเลขที่ 91 หมู่ที่ 6 ตำบลลำปางหลวง อำเภอเ
เชื่อว่าในหมู่นักฟังเพลงแนวเพลงทางเลือกใหม่คงไม่มีใครไม่รู้จักชายผู้นี้ เฮง-บุรินทร์ทร แซ่ล้อ CEO บริษัท เฮฟวี่ ออร์แกไนเซอร์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ CONCERT MARKETING รายใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย หรือที่รู้จักกันในฉายา “เฮง โคตรอินดี้” หากถามในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจ CONCERT MARKETING สดใสมาตลอด จนมาถึงวันหนึ่งวันที่โลกต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 และธุรกิจของเขาก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้แบบเต็มๆ จึงเป็นที่มาของการผันตัวมาเป็นชาวนา ปั้นแบรนด์ “แม่แต๋ว” ข้าวอินทรีย์รักษ์โลก กินแล้วสบายใจ เดินหน้าผลิตข้าว กข 43 ดัชนีน้ำตาลต่ำ ไม่อบยาฆ่ามอด ไม่ใช้สารเคมีในการปลูก ไม่เผาฟางข้าวให้ทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยจุดมุ่งหมายที่ “อยากเห็นคนไทยสุขภาพดี” คุณเฮง เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น CEO บริษัท เฮฟวี่ ออร์แกไนเซอร์ จำกัด ควบคู่กับบทบาทวิถีชีวิตการเป็นชาวนาถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้มาจากสถานการณ์โควิด-19 เพราะในตอนนั้นไม่สามารถจัดงานเทศกาลดนตรีได้ จึงต้องมองหาอาชีพอื่นเข้ามาทดแทน และเป็นช่วงระยะเวลาที่ยากลำบากพอสมควร แต่ผ่านมาได้เพราะอาชีพดั้งเดิมของที่บ้านคือการทำนาของแม่ “ตอนโควิดสายงานที่เ