ข้าว
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ในปี2559 สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้ปรับเป้าหมายส่งออกข้าวเพิ่มเป็น9.5ล้านตัน มูลค่าประมาณ 4,400ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ156,000ล้านบาท จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 9 ล้านตันเมื่อเดือนม.ค.2559 ที่ผ่านมา ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยังตั้งเป้าไว้ที่ 9.5ล้านตัน สำหรับการส่งออกข้าวในเดือนม.ค.-มิ.ย.59 ได้ส่งออกไปแล้ว 5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12.1% โดยปัจจุบัน ไทยได้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ1 ของโลก มากกว่าอินเดียที่ส่งออกได้ 4.76 ล้านตัน และมากกว่าเวียดนามส่งออกได้ 2.66 ล้านตัน ปัจจัยบวกที่มีผลต่อการส่งออกข้าวไทยในปี 2559 ช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายคาดว่าตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาจะกลับเข้ามาซื้อข้าวตามปกติของทุกปี แบ่งเป็นปัจจัยบวก คือ รัฐบาลได้วางแผนทำการตลาดทั้งการเจรจาขายข้าวและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลมีการระบายข้าวเก่าอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ส่งออกมีสินค้าส่งมอบให้ลูกค้าได้และช่วยทำให้ภาวะราคาข้าวปรับตัวอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ สภาพภูมิอากาศกลับสูภาวะปกติและม
ทุกวันนี้ ปัจจัยการผลิตสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนพืช ค่าน้ำมัน ฯลฯ มีราคาแพง ทำให้ชาวนามีภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ดังนั้น เกษตรกรคงต้องปรับตัวเอง เพื่อสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืน ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะพาไปเรียนรู้เคล็ดลับการปลูกข้าว ต้นทุนต่ำ ของชาวนาบุรีรัมย์ที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวหอมมะลิกับบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวตราฉัตร ที่ใช้เทคนิคการดูแลจัดการแปลงนารูปแบบใหม่ ทำให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้นจาก 390 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 430 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย โครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทกับชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างความยั่งยืนร่วมกัน ประการสำคัญก็คือ บริษัทต้องการที่จะมีแหล่งผลิตข้าวที่มั่นใจในคุณภาพของวัตถุดิบ เพราะจำเป็นต้องรักษามาตรฐานของข้าวตราฉัตร ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงปัญหาด้านการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จึงมีแนวคิดที่จะรวมเอาจุดเด่นของเกษตรกร และความชำนาญของบริษัทเข้าด้วยกัน นับเป็นการทำธุรกิจที่เกื้อกูลกัน “คุณสมนึก ทราบรำ” ผู้ใหญ่บ้าน ต
นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลวิจัย โครงการการระบายข้าวในคลังของรัฐ พบว่าในช่วงสิงหาคม 2557 ถึง มิถุนายน 2559 รัฐบาลระบายข้าวได้เพียง 7.5 ล้านตัน จากข้าวในสต็อกของรัฐที่มีอยู่ทั้งหมด 17.28 ล้านตัน ซึ่งถือว่าระบายข้าวได้ช้า เนื่องจากมีข้าวผลิตออกมาใหม่ทุกปี สาเหตุมาจากวิธีการรอจังหวะให้ราคาข้าวสูงขึ้นจึงค่อยระบาย ทำให้ข้าวยิ่งเสื่อมคุณภาพ รวมถึงมีภาระต้นทุนการเก็บรักษาและค่าดอกเบี้ยสูงถึงปีละ 18,300 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลควรเปิดระบายข้าวอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้ข้าวในสต็อกหมดภายใน 2 ปี ทั้งยกโกดังและแยกกอง แต่หากไม่จำเป็นไม่ควรขายข้าวสู่เกรดอาหารสัตว์และทำเชื้อเพลิง เพราะได้ราคาถูกทำให้ขาดทุนมาก ส่วนข้าวในโกดังที่มีข้าวเสื่อมคุณภาพ หรือข้าวเกรดซี ที่คุณภาพข้าวต่ำมาก ควรใช้มาตรา 44 ขายข้าวในสต็อกเป็นเกรดอุตสาหกรรมเป็นรายกรณี เพื่อระบายข้าวได้เร็วและลดค่าใช้จ่าย โดยต้องพิสูจน์ถึงคุณภาพข้าวว่าเสื่อมมากแล้วจริง ๆ โดยปัจจุบันข้าวเกรดซีในสต็อกมีประมาณ 4.59 ล้านตัน จากข้าวในสต็อกทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนี้ 9.7 ล้านตัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า การระบายข้าวได้ช้าไป
คอลัมน์นอกรอบ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ภาวะภัยแล้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2559 ช่วยดันราคาสินค้าเกษตรรายการหลักพุ่งอย่างชัดเจน ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ดี ข้าวและปาล์มน้ำมัน เป็นรายการที่ราคาน่าจะยังยืนอยู่ในระดับดีได้อย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี ขณะที่ยางพาราและมันสำปะหลัง น่าจะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยชั่วคราวอย่าง “ภัยแล้ง” ที่ทำให้ราคาดีขึ้น แต่คาดว่า ราคาไม่น่าจะยืนอยู่ในระดับดีได้จนถึงสิ้นปีนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการปลายน้ำที่ใช้สินค้าเกษตรเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ อาจต้องมีการวางแผนในการบริหารด้าน “ต้นทุน” อย่างเป็นระบบ อันจะช่วยประคองผลกระทบต่อกำไรของธุรกิจในภาวะที่ราคาสินค้าเกษตรยังคงมีความผันผวน แม้ราคาสินค้าเกษตรหลักที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงภัยแล้งจะส่งผลดีต่อเกษตรกรที่มีสินค้าในมือให้ได้รับอานิสงส์แต่ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรทั้งปีคาดว่าอาจยังให้ภาพที่ไม่สดใสนัก จากปัจจัยด้านอุปทานที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่งจะเริ่มทยอยฟื้นตัว และอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ยังชะลอ ทำให้เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องเผชิญความยากลำบากด้านรา
ข้าว ยังเป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญของมนุษย์ ตามสถิติถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ปริมาณการผลิตข้าวของโลก ผลิตได้ 470.6 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งขึ้นในหลายประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประจำเดือนพฤษภาคม 2559) ประเทศไทย ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้กันเลย มาดูประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก มี จีน อินเดีย บังกลาเทศ เวียดนาม และไทย มีปริมาณการผลิต 145, 103, 35, 28 และ 16 ล้านตันข้าวสาร ตามลำดับ ข้อน่าสังเกต ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง หากภาวะปกติ ประเทศไทยผลิตข้าวได้ 20 ล้านตันข้าวสาร และในปีนี้ ประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญ มี ไทย อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่งออกจำนวน 10.0, 9.0, 7.0 และ 3.0 ล้านตันข้าวสาร และสำหรับประเทศนำเข้าข้าว มี ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ อียู ในปริมาณ 2.5, 2.0, 2.0 และ 1.6 ล้านตันข้าวสาร กลับมาที่ฟิลิปปินส์ ยังไม่สามารถผลิตข้าวให้พอเพียงบริโภคภายในประเทศ แม้จะเป็นที่ตั้งของ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Rescarch Institute : IRRI)