ควาย
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่บริเวณลานเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกันเป็นประธานงานแต่งงานควายพันธุ์ไทย ระหว่างควายเจ้าบ่าวคือ เบิ้ม พันล้าน ควายไทยเพศผู้อายุ 5 ปี จาก จ.มหาสารคาม น้ำหนักตัว 1,300 กิโลกรัม เจ้าของแชมป์ประกวดควายไทยหลายสนาม ราคาค่าตัว 5 ล้านบาท กับควายเจ้าสาวคือ บัวบาน ควายไทยเพศเมียอายุ 3 ปี จาก จ.นครราชสีมา น้ำหนักตัว 800 กิโลกรัม ราคาค่าตัว 7 แสนบาท โดยมีสินสอดเป็นน้ำเชื้อ 100 ล้านตัว และหญ้าเนเปียร์ 20 กิโลกรัม โดยขบวนแห่ขันหมากของควายเจ้าบ่าวได้เริ่มขึ้นที่บริเวณด้านหน้าอาคารสุรนิทัศน์ โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นเถ้าแก่ให้กับควายเจ้าบ่าวด้วย ซึ่งขบวนแห่ขันหมากได้เดินถึงภายในบริเวณงาน และกำลังเดินลอดซุ้มประตูดอกไม้เพื่อจะไปพบกับควายเจ้าสาวก็ต้องผ่านประตูเงินประตูทองกั้นโดยญาติฝ่ายควายเจ้าสาว ซึ่งทางฝ่ายควายเจ้าบ่าวก็ได้ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นค่าผ่านประตูเงินประตูทอง จากนั้นเมื่อควายเจ้าบ่าว และควายเจ้าสาว
พิษณุโลกจัดประกวดควายไทยงาน “มหกรรมควายยักษ์ เมืองสองแคว” ครั้งที่ 2 รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงานประกวดควายไทย ภายใต้ชื่องาน “มหกรรมควายยักษ์ เมืองสองแคว” ครั้งที่ 2ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ซึ่งมีควายเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 100 ตัว จาก 16 จังหวัด วันที่ 14 พฤษภาคม ที่บริเวณสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายทศพร ศรีศักดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงานประกวดควายไทย ภายใต้ชื่องาน “มหกรรมควายยักษ์ เมืองสองแคว” ครั้งที่ 2 โดยมี นายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ดร. สุชาติ เมืองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธี ท่ามกลางเกษตรกรที่นำควายเข้าร่วมประกวดและประชาชนทั่วไปกว่า 1,000 คน ผศ. ดร.ชนินทร์ อัมพรสถิร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า งาน “มหกรรมควายยักษ์ เมืองสองแคว” ครั้งที่ 2 นี้ จัดขึ้นภายใต้โครงการบริการวิชาการ “ฟื้นฟูควายไทย ให้ยิ่งใหญ่ในอาเซียน: ระบบการผลิตและโอกาสทางการตลาด” ประจำปีงบประมาณ 2
แพร่ – นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมควายไทยล้านนา ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า แพร่มีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์พันธุ์ควายของภาคเหนือ เนื่องจากมีเกษตรกรเลี้ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะที่บ้านแม่ทราย อำเภอร้องกวาง และเกษตรกรในอำเภอต่างๆ ก็นิยมเลี้ยงด้วยเช่นกัน รวมทั้งชาวแพร่ยังนิยมบริโภคเนื้อควายมากกว่าเนื้อวัว ซึ่งจังหวัดพร้อมสนับสนุนเพื่อให้แพร่เป็นแหล่งอนุรักษ์ควายไทยล้านนาต่อไป ด้าน นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ควายไทยนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงกันมานานในอดีต แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลงจนไม่เพียงพอในตลาดบริโภค ซึ่งควายไทยนับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีสายพันธุ์ดีกว่าที่อื่นๆ ของโลก แต่นักปศุสัตว์ไทยในอดีตให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นสายพันธุ์ต่างประเทศมากกว่า เวลานี้ควายไทยได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการสูงและที่สำคัญเป็นพันธุกรรมท้องถิ่นที่ดี ซึ่งอนาคตควายจะสามารถสร้างเศรษฐกิจได้เนื่องจากในจีนและเวียดนามใ
วันที่ 28 มีนาคม 2560 หลังจากทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร เกิดพายุฤดูร้อนมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้พายุจะส่งผลกระทบในหลายอำเภอ แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลดีอีกด้านให้เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวและควาย เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้ท้องทุ่งเต็มไปด้วยหญ้าที่เขียวขจี พันธุ์ไม้ต่างๆแตกยอดเขียวอ่อน เกษตรกรต่างพากันดีใจนำวัวควายของแต่ละคนที่มีสภาพผอมโซมาหลายเดือน พากันนำไปเลี้ยงตามท้องทุ่งในระแวกหมู่บ้าน ปล่อยให้กินหญ้าและพืชต่างๆที่ถูกฝนตกลงมาใส่จนงอกงาม เป็นอาหารชั้นดีให้กับวัวและควาย นายนน เนาว์ศรีสอน อายุ 67 ปี เกษตรกรบ้านดงขุมข้าว อำเภอเมืองสกลนคร กล่าวว่า ตนมีควายที่เลี้ยงไว้ทั้งหมด 8 ตัว ก่อนหน้าที่จะมีพายุฤดูร้อน ควายที่เลี้ยงไว้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากต้องต้อนออกจากคอกไปเลี้ยงไกลหลายกิโลเมตร แต่พอฝนมาทำให้หญ้ากลับมาเขียวขจีอีกครั้ง ส่งผลดีต่อควายที่เลี้ยงไว้มีแหล่งอาหารใกล้บ้าน ไม่ต้องต้อนไปเลี้ยงไกลที่สำคัญไม่ต้องเสียเงินซื้อฟางแห้งมาเลี้ยงควาย และไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม ไม่มีความเสี่ยงเวลาไปเลี้ยงไกลๆซึ่งควายอาจหายหรือถูกขโมยได้.
อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 1,163,687 ไร่ ตอนล่างเป็นทิวเขาสูง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน และ “ป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี” ตอนบนเป็นที่ราบสูงลาดเอียง บางส่วนเป็นที่ราบลุ่มขนาดเล็ก มีลำน้ำแชะและลำน้ำมูลไหลผ่าน ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่มันสำปะหลังง อ้อย ข้าวโพด และปศุสัตว์ เลี้ยงกระบือ หรือควาย พบมากในตำบลจระเข้หิน ทำให้เกิดแนวคิดผลักดันเป็นชุมชนกระบือแหล่งสำคัญของจังหวัด ล่าสุด พศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ สุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ นายอำเภอครบุรี สุขสวัสดิ์ ทองน้อย ปศุสัตว์อำเภอครบุรี และเกษตรกร เปิดตัวชุมชนกระบือของอำเภอครบุรี พร้อมจัดกิจกรรม “ขี่ควายลงทุ่ง ได้ปุ๋ยลงนา” ที่บ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ 11 ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี โดยจูงควายลงนาข้าวที่ว่างเว้นจากการทำนา ให้ควายหากินในท้องนาและขับถ่ายมูลบนนาข้าวเพื่อเป็นปุ๋ยคอกสำหรับเพาะปลูกในฤดูกาลหน้า “สุขสวัสดิ์” กล่าวว่า ตำบลจระเข้หิน มีเกษตรกรเลี้ยงกระบือมากถึง 124 ราย มีกระบือกว่า 600 ตัว ในจำนวนนี้เป็นกระบือที่ได้รับมอบจากโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์ควายไทย” ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงควายไทย เนื่องจากปัจจุบันจำนวนควายไทยและผู้เลี้ยงควายไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับการเอาใจใส่จากภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริม สนับสนุนสร้างอาชีพ รวมทั้งด้านวิชาการหรือการวิจัยต่างๆ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้จัดการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยมีผู้แทนสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยเข้าร่วมประชุมด้วย และได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ควายไทย เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสถึงหลักการดำเนินโครงการธนาคารโค กระบือ เป็นครั้งแรก และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยในหลักการ
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา พร้อม นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ นายอำเภอครบุรี และ นายสุขสวัสดิ์ ทองน้อย ปศุสัตว์อำเภอครบุรี พร้อมด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ ร่วมกันเปิดตัวชุมชนกระบือของอำเภอครบุรี ที่บ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ 11 ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พร้อมจัดกิจกรรม “ขี่ควายลงทุ่ง ได้ปุ๋ยลงนา” ให้กระบือลงหากินตามท้องทุ่ง ขับถ่ายมูลลงนาข้าวให้ได้รับปุ๋ยตามธรรมชาติ สำหรับเพาะปลูกในฤดูกาลหน้าต่อไป นายสุขสวัสดิ์ กล่าวว่า ตำบลจระเข้หิน เป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรเลี้ยงกระบือ 124 ราย กระบือกว่า 600 ตัว ทางสำนักงานปศุสัตว์จึงผลักดันให้เป็นชุมชนกระบือแหล่งสำคัญ เป็นศูนย์รวมกระบือพันธุ์ดี และเป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกระบือให้กับเกษตรกรที่สนใจต่อไป โดยหลังจากนี้จะมีการจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์กระบือที่ถูกต้อง เพื่อให้เป็นชุมชนกระบือที่เข้มแข็งและยั่งยืน ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 หลังสภาพน้ำท่วมยาวนานในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ส่งผลทำให้ควาย พื้นที่ ต.ทะเลน้อย ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ทยอยตายต่อเนื่อง กว่า 200 ตัว ล่าสุดทางทีมสัตวแพทย์ได้เก็บตัวอย่างเลือดควายที่ตายส่งตรวจวิเคราะห์พบว่า มีโรคพยาธิในเม็ดเลือดเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว คือ บาบีเซีย ไบเจมีนา ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อจากเห็บ ซึ่งสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจะไม่อยากกินอาหาร มีสภาวะเลือดจางมาก เยื่อบุตาเป็นสีแดง เยื่อเมือกบริเวณอวัยวะเพศแดง ปัสสาวะมีสีแดงเข้ม ทั้งยังมีอาการอ่อนแรงและล้มตาย นายประสิทธิ์ ซุ่นเซ้ง อายุ 58 ปี ชาวบ้าน หมู่ 1 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กล่าวว่า ตนร่วมกับเพื่อนชาวบ้านจำนวน 5 ราย ได้กั้นคอกเลี้ยงควายอยู่ริมคลองยวน บริเวณถนนสายไสกลิ้ง – ระโนด ท้องที่ หมู่ 2 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน ที่เป็นพื้นที่เนินสูงทำให้ช่วงหน้าน้ำที่ผ่านมามีควายตายเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น จากที่อยู่รวมกันทั้งหมด กว่า 100 ตัว แต่หลังจากมีข่าวการควายป่วยเป็นโรค หลังน้ำท่วม ทำให้พ่อค้า แม่ค้า หยุดมารับซื้อควาย ทั้งก่อนหน้านี้ในช่วงหน้าน้ำราคารับซื้อควายก็ลดอยู่แล้ว โดยลดลง ถึง
สถานการณ์น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาต่อเนื่องมาประมาณ 1 สัปดาห์ ส่งผลให้ควายน้ำ ที่เกษตรกรเลี้ยงเอาไว้ในพื้นที่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กับตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีอยู่กว่า 6,000 ตัว ทยอยล้มตายลงไป โดยเฉพาะลูกควาย เนื่องจาก ต้องแช่น้ำนาน ขาดอาหาร เนื่องจากน้ำท่วมทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่เป็นแหล่งอาหารจนจมมิดทั้งหมด ทั้งให้ควายเหล่านี้ไม่สามารถดำลงไปกินหญ้าใต้น้ำได้เหมือนเดิม โดยนายวรรณรพ ส่องสว่าง นายก อบต.บ้านขาว อ.ระโนด กล่าวว่า ขณะนี้ได้บอกให้เจ้าของฝูงควายน้ำ นำควายขึ้นมาอาศัยอยู่บนถนน บนถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 หลังจากต้องยืนแช่น้ำอยู่ริมถนนที่เต็มไปด้วยน้ำมาหลายวัน หลังระดับน้ำบนถนนเริ่มลดลง โดยพบว่าควายน้ำเหล่านี้ได้ล้มตายไปแล้วไม่น้อยกว่า 100 ตาย และเกรงว่าหลังน้ำลดก็จะทำให้ควายน้ำเหล่านี้ล้มตายเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากหญ้าที่เป็นแหล่งอาหารตายทั้งหมด และพบว่าควายเริ่มซูบผอม และมีอาการอ่อนเพลีย ทั้งนี้ควายน้ำเป็นควายที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในป่าพรุแถบรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาประกอบด้วยตำบลพนางตุง ตำบลทะเลน้อย จ.พัทลุง และตำบลบ้านขาว
วันที่ 7 ธันวาคม 2559 ช่วงนี้ในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านที่มีวัว ควาย ต่างก็นำสัตว์เลี้ยงลงลุยท้องทุ่งนาหากินหญ้าและตอซังข้าว โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ต่างก็นำวัว ควาย ลงไปกินตอซังข้าวที่กำลังเริ่มแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ด้วยเช่นกัน แต่ที่ท้องทุ่งนาเขตพื้นที่นี้จะมีสัตว์เลี้ยงตัวใหญ่เพิ่มเติมมาอีก นั้นก็คือช้าง ช้างที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้เพื่อใช้งานและรับจ้าง ทั้งงานบวชงานแต่ง และงานในพิธีมงคลต่างๆ ช้างเชือกไหนที่ไม่มีงานก็นำมาผูกไว้กับต้นไม้ใหญ่กลางทุ่งนาข้างหมู่บ้าน อยู่ปะปนกับวัว ควาย ของชาวบ้านโดยไม่มีการทำร้ายกัน เพื่อให้ช้างได้กินตอซังข้าว ไม่ต้องนำไปเลี้ยงไกลถึง 2-3 กม.ที่แม่น้ำมูลเหมือนช่วงที่ยังไม่เกี่ยวข้าว บางเชือก หลังกินตอซังข้าวอิ่มก็นอนหลับพักผ่อนอย่างสบายอารมณ์ก็มี นายอัษฎาวุธ สดใส ควาญช้างอายุ 18 ปี อยู่บ้านหนองบึง ม.17 ต.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ บอกว่า ตนได้นำช้างของอาที่อยู่บ้านท่าลาด ต.ศรีณรงค์ อ.ชุมพลบุรี มาเลี้ยง 1 เชือก ทุกเช้าจะนำมาผูกไว้ที่ทุ่งนาเพื่อให้กินตอซังข้าว พอตกเย็นก็จะนำกลับเข้าบ้าน ช่วงนี้สบายหน่อยไม