ดาวเรือง
จากปัญหาภาคการเกษตรของไทยย่างก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ลูกหลานคนรุ่นใหม่นิยมออกไปทำงานในเมืองใหญ่และไม่สนใจประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้แรงงานภาคเกษตรเริ่มขาดแคลน ประกอบกับภาคเกษตรเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญเพื่อการบริโภคของคนไทยและการสู่เป็นครัวของโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีนโยบายที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาทำอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรเพื่อพลิกชีวิตคนเมืองสู่อาชีพเกษตรกรรมในบ้านเกิด มาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ดาวเรือง ไม้ดอกอีกชนิดที่นิยมปลูกกันมาในหมู่เกษตรกรรุ่นใหม่ เนื่องจากเป็นไม้ทำเงิน ปลูกง่าย เก็บเกี่ยวได้เร็ว ลงทุนน้อย แต่ผลตอบแทนดี และที่สำคัญยังเป็นที่ต้องการของตลาดสูง เพราะเป็นไม้ดอกสารพัดประโยชน์ ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ดอกดาวเรืองยิ่งเป็นที่ต้องการสูงเป็นเงาตามตัว คุณอลิสา เรืองพิศาล อายุ 35 ปี หนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพการเกษตร หลังลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพ
“นิอร ปฏิทิน” เกษตรกรรุ่นใหม่วัยเพียง 41 ปี ประสบความสำเร็จปลูกดาวเรืองขาย สร้างเม็ดเงินหลักแสนบาทต่อเดือน ใช้วิชาเก่าจากอาชีพชาวนาของครอบครัว ประยุกต์เทคโนโลยีการเกษตรมาใช้กับสวนดาวเรือง 10 ไร่ ที่ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี “ดาวเรือง” ดอกไม้เศรษฐกิจ การมีอาชีพ “เกษตร” ของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถยืนได้ด้วยผลกำไรจากการค้าขายผลผลิตทางเกษตรนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสำหรับคุณนิอร ก้าวเข้ามาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกดอกดาวเรืองอย่างเต็มตัวเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ซึ่งเวลานั้นเธออายุเพียง 34 ปี และอยู่ในจังหวะหมดหน้าที่จากการเป็นเลขานุการของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในแวดวงวิชาการด้านการกีฬา จึงใช้โอกาสนั้นผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว “ตอนนั้นอายุ 30 กว่าๆ ทำงานกับเจ้านาย พอดีเจ้านายเกษียณ และพ่อก็ไม่ทำนาแล้ว เพราะราคาข้าวไม่ดี ก็ดูเฟซบุ๊กอยู่เฟซบุ๊กหนึ่ง ไปเจอเขาทำไร่ดาวเรืองที่โคราช ก็เริ่มศึกษามาเรื่อยๆ ดูจากเฟซบุ๊กมา และค่อยๆ ศึกษาไป เจ้านายก็แนะนำให้หาตลาดก่อน ก่อนจะทำอะไร เพราะเจ้านายเป็นคนชอบต้นไม้ มาก และพอเรามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวดีกว่า ก็เป็นนายตัวเอง อยู่ที่ความขยัน ความใส
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพงศธร ศรีชัย สหกรณ์จังหวัดพะเยา และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงปลูกดอกดาวเรืองของ นางสาวอลิสา เรืองพิศาล เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ณ แปลงปลูกดอกดาวเรือง เลขที่ 209 หมู่ที่ 8 บ้านเจน ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา นางสาวอลิสา กล่าวว่า ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 49 คน ที่ส่งดอกดาวเรืองมารวบรวมที่นี่ ตนเองและสมาชิกปลูกต้นดอกดาวเรืองไปแล้ว 80,000 ต้น สามารถเก็บดอกได้ประมาณ 120 ดอกต่อต้น คิดกำไรต้นละ 10 บาท จะมีรายได้มากถึง 800,000 บาท มีระยะเวลาการเก็บเกี่ยว 3 เดือน ซึ่งตนเองมองว่าเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ของตนเองและสมาชิกให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการจ้างกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุแพ็กถุงดอกดาวเรือง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุอีกทางหนึ่งด้วย ในส่วนรายได้ของสมาชิกนั้นจะขึ้นอยู่กับการดูแลต้นให้ออกผลผลิตได้สมบูรณ์ ดอกใหญ่กลม จะขายได้ราคาสูง
ดอกดาวเรือง ที่มาพร้อมสีสันสวยงามอร่ามตา แต่นอกจากนี้แล้ว สรรพคุณของดอกดาวเรืองยังจัดว่าไม่ธรรมดา หลายคนอาจรู้จักสรรพคุณดอกดาวเรืองในด้านที่เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสายตา หรือบางคนอาจได้ยินว่าดอกดาวเรืองมีสรรพคุณช่วยดูแลผิวพรรณ นำสารสกัดจากดอกดาวเรืองมาแต้มสิว แก้ปัญหาริ้วรอยบนผิวพรรณได้ ทว่านอกจากดอกดาวเรืองจะมีสรรพคุณเหล่านี้แล้ว ทราบกันไหมคะว่าดอกดาวเรืองสีเหลืองสวยนี้ ยังมีสรรพคุณทางยาและประโยชน์เพื่อสุขภาพอีกเพียบเลย เอาเป็นว่าเรามารู้จักดอกดาวเรืองให้มากขึ้นกันดีกว่า ดอกดาวเรือง ดอกไม้สีเหลืองสวย กับความเป็นมา ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่คุ้นตาคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นดอกไม้ปลูกง่าย สีสันก็สวยสดใสสะดุดตา ซึ่งนอกจากจะมีให้เห็นในบ้านเราแล้ว ในต่างประเทศก็รู้จักดอกดาวเรืองด้วยเช่นกันค่ะ โดยภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า Marigold เนื่องจากมีสีเหลืองทอง ส่วนในชื่อวิทยาศาสตร์ก็จะเรียกกันว่า Tagetes erecta L. เป็นดอกไม้ในวงศ์ Asteraceae และนอกจากนี้ ในบ้านเรายังมีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่นด้วย โดยภาษาเหนือ หรือในภาคเหนือจะเรียกว่า ดอกคำปู้จู้ หรือในแถบแม่ฮ่องสอนจะเรียกว่า พอทู เป็นต้น ส่วนถิ่นกำเนิดข
“ดาวเรือง” จัดเป็นไม้ดอกที่มีความผันผวนทางด้านราคาค่อนข้างสูง หากปีไหนความต้องการมากแต่ผลผลิตน้อยเกษตรกรก็ยังพอยิ้มออกหน่อย เพราะราคาจะดีดขึ้นไปสูงถึงดอกละ 2.50-3 บาท แต่หากช่วงไหนผลผลิตล้นตลาด ราคาจะร่วงลงมา ชนิดที่ว่าคนปลูกก็ร่วงลงมาตามกันเลยทีเดียว และยิ่งมาประจวบเหมาะกับสถานการณ์โควิด-19 เทศกาลงานต่างๆ ถูกยกเลิก ส่งผลให้ราคาดาวเรืองตกต่ำซ้ำเติมเกษตรกรเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรควรที่จะเริ่มหาทางออกให้ตัวเอง ด้วยการนำผลผลิตที่มีอยู่นำมาแปรรูป เนื่องจากได้มีงานวิจัยจากออกมาว่า “ดอกดาวเรือง” ไม่ได้มีดีแค่นำมาร้อยพวงมาลัยหรือจัดแจกันไหว้พระเพียงเท่านั้น แต่ยังมีสารสำคัญที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตาและบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย คุณนฤดี ทองวัตร หรือ พี่อุ๋ย อยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เกษตรกรนักสู้ ผิดหวังกับการปลูกดาวเรืองแบบขายดอกสด พลิกวิกฤตเปลี่ยนเส้นทางการตลาดหันทำชาดอกดาวเรืองขาย สร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมได้กว่าครึ่ง พี่อุ๋ม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการแปรรูปชาดอกดาวเรืองว่า ตนเองประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกดาวเรืองมานานกว่า 13 ปี แต่ช่วงหลายปีหลั
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมมีความสงสัยว่า ดาวเรือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำได้ และใช้ส่วนไหนบ้าง ผมทราบเพียงว่าดาวเรืองขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเท่านั้น แล้วทั้งสองวิธีนี้การขยายพันธุ์วิธีไหนได้ผลดีกว่ากัน ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง วรชัย เหมกำพล กรุงเทพฯ ตอบ คุณวรชัย เหมกำพล ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดี เนื่องจากมีสีสันสดใส ปลูกง่าย เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีอายุสั้นเพียง 60-70 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว นำไปปักแจกันก็อยู่ได้เป็นสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งทุกระดับจะขายได้ราคาดี ทั้งนี้ การขยายพันธุ์ดาวเรืองทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และ การปักชำ วิธีการเพาะเมล็ด กรณีเพาะในกระบะ ใช้วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทรายหยาบ ขี้เถ้าแกลบ อัตรา 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน เกลี่ยวผิวให้เรียบ ให้ระดับผิววัสดุเพาะต่ำกว่าขอบกระบะเล็กน้อย ขีดร่องตื้นให้เป็นรอย ตามแนวกว้าง หรือยาว ตามความเหมาะสม แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดตามแนวที่ขีดไว้ ให้แต่ละเมล็ดห่างกัน 5 เซนติเมตร แล้วกลบเมล็ดด้วยวัสดุเดียวกัน กลบเบาๆ แล้วรดน้ำตามด้วยฝักบัวเป็นฝอย แล้วคลุ
ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรือง ยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย แหล่งปลูกดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ คุณสมจิตร พลบูรณ์ เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรือง เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนมีอาชีพทำนา ทำไร่ ปลูกผัก โดยเฉพาะการปลูกอ้อยโรงงาน ในปัจจุบันนี้การปลูกอ้อยโรงงานมีการลงทุนเยอะมาก ค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี สารเคมี การขนส่ง ประกอบการปลูกอ้อยมีการใช้สารเคมีเยอะมาก
คุณมงคล เกศกนกวงศ์ เกษตรอำเภอบ้านกรวด ให้ข้อมูลว่า ชาวบ้านในอำเภอบ้านกรวด ส่วนใหญ่ทำอาชีพทางการเกษตร ซึ่งจะเน้นไปในทางพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง และปาลม์น้ำมัน นอกจากนี้ ที่อำเภอบ้านกรวดยังมีพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ซึ่งเป็นพืชไม้ดอกไม้ประดับอย่างดอกดาวเรืองที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด และมีผู้ประกอบการปลูกมากที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ “การปลูกดอกดาวเรืองที่นี่ มุ่งเน้นที่จะสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชน ขยายออกไปถึงตำบล ถึงอำเภอ ที่จำเป็นต้องใช้แรงงาน ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่พบบ่อยคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง และราคาของดอกดาวเรืองที่ไม่คงที่ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านกรวดจึงเห็นความสำคัญและส่งเสริมให้คำปรึกษาทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการลดใช้สารเคมีหันมาใช้สารอินทรีย์ผสมกัน เพราะถ้าใช้สารอินทรีย์อย่างเดียวก็คงไม่ได้” คุณมงคล กล่าว นอกจากนี้ คุณมงคล ยังบอกอีกด้วยว่า สำนักงานเกษตรอำเภอยังได้สนับสนุนในเรื่องขององค์ความรู้ที่จะพัฒนา ทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ ซึ่งก็ใช้หลักวิชาการเข้ามาช่วย แต่ในเรื่องของงบประมาณก็ให้เกษตรกรสามารถเข้าจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เพื่อกู้เงินจาก
อาชีพทำเกษตรอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยพื้นที่มากๆ เหมือนเช่นแต่ก่อน มีชาวบ้านหันมาทำเกษตรกรรมแบบครัวเรือนด้วยการปรับพื้นที่บริเวณบ้านสำหรับปลูกพืชผัก ไม้ดอกที่ดูแลง่าย เลือกให้เหมาะและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ตลอดจนดินฟ้าอากาศเพื่อสร้างรายได้เสริม อย่างราย คุณวรรณี บุญศิริ บ้านเลขที่ 11/2 หมู่ที่ 4 ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 90140 โทรศัพท์ (086) 104-3126 ใช้พื้นที่บริเวณบ้านสร้างรายได้ด้วยการปลูกดาวเรืองกับพืชผักสวนครัว อย่างมะเขือเทศ พริก มะเขือ และอื่นๆ สลับหมุนเวียนส่งขายตลาดในชุมชน รวมถึงยังปลูกแคนตาลูปอีกด้วย คุณวรรณีปลูกดาวเรืองขายดอกเป็นหลัก ปลูกครั้งละ 300 ต้น เมล็ดพันธุ์ซื้อมาจากร้านเกษตรในตลาดใกล้บ้าน ลักษณะการปลูกดาวเรืองของคุณวรรณีต่างจากชาวบ้านรายอื่นที่มักปลูกเต็มพื้นที่แบบแปลง แต่เธอปลูกในพื้นที่รอบบ้านที่ว่างซึ่งมีขนาดไม่เท่ากัน หรือปลูกใส่กระถาง หรือในภาชนะต่างๆ โดยต้องเพาะต้นพันธุ์ในถาดหลุมก่อน ให้หยอดเมล็ดลงในหลุมถาดเพาะ พรมน้ำเล็กน้อยทุกวัน ประมาณ 3 วันต้นอ่อนจะโผล่ แล้วให้รดน้ำต่อไปประมาณ 18-20 วันจึงย้ายลงปลูกในแปลงหรือกระถาง หรือภาชนะที่หาได้สะดวก ทั้งนี้ จะปรุง
มักจะพบเห็นกันอยู่เสมอ พวงมาลัยคล้องคอในงานที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้มีชื่อเสียง เดินทางมาสู่กลุ่มชนที่ต้อนรับ ด้วยรักและศรัทธาของประชาชน พ่อยกแม่ยก หัวคะแนนที่คงเห็นภาพปีหน้า งานบวงสรวง เซ่นบูชา อีกสารพัดงาน พวงมาลัยพวงใหญ่ๆ ฝีมือการถักร้อยเจ้าประจำ มักใช้ดอกดาวเรืองกันเป็นส่วนใหญ่ ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่สวยงาม ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากทำพวงมาลัยแล้ว ใช้ทำดอกไม้แห้ง พวงหรีด เป็นไม้กระถางหรือไม้ถุง ประดับเวทีตกแต่งสถานที่งานพิธีต่างๆ เป็นวัตถุดิบส่งโรงงานอาหารสัตว์ ฯลฯ เป็นไม้ล้มลุก ปลูกกันอยู่ทั่วไป ปลูกง่าย ดูแลรักษาไม่ยากนัก มีแหล่งใหญ่ปลูกเพื่อการค้า เช่น นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี ชลบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และที่อุตรดิตถ์ ดาวเรือง (Marigolds) ทางภาคเหนือเรียก ดอกคำปู้จู้ เมื่อก่อนมีพันธุ์ที่ปลูก เช่น พันธุ์ซอฟเวอเรน พันธุ์ทอริดอร์ พันธุ์ดับเบิลอีเกิ้ล เดี๋ยวนี้ก็มีพันธุ์บิ๊กดั๊ก พันธุ์ศรีสุพรรณ ซึ่งอายุตั้งแต่ปลูกถึงดอกบานเต็มที่ ถ้าเวลาเป็นวันสั้นกลางวันน้อยกว่ากลางคืน เช่น หน้าหนาว อายุการบานดอก ประมาณ 50-55 วัน วันยาว เช่น หน้าร้อน อายุการให้