ตลาดนำการผลิต
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการเว็บไซต์ “ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com” มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อเป็นช่องทางช่วยให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์สามารถจำหน่ายสินค้าผลผลิตทางด้านการเกษตรทั้งรูปแบบผลผลิตสดและแปรรูปโดยตรงให้กับประชาชนผู้สนใจมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานปัจจุบัน มีเกษตรกรสมัครเป็นสมาชิก จำนวน 1,796 ราย สินค้าที่จำหน่าย จำนวน 2,547 รายการ มีมูลค่าการจำหน่ายสะสมรวม เป็นเงิน 805,229,119 บาท ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของกรมส่งเสริมการเกษตรในการส่งเสริมด้านการตลาดให้กับเกษตรกร และในโอกาสพิเศษเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนของวันแม่ กรมส่งเสริมการเกษตรขอเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรไทย ปรับเปลี่ยนการซื้อสินค้าอื่นเป็นสั่งสินค้าเกษตรเป็นของขวัญให้แม่ เช่น พืชผัก ปลอดภัย ผลไม้เมืองร้อน กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ และสินค้าเกษตรแปรรูปต่างๆ ส่งตรงจากมือเกษตรกรถึงคุณแม่ที่บ้าน ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรยังได้อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรสมาชิกของเว็บไซต์ด้วย โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบริษัทไปรษณีย์ไ
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ผมจะขอนำตัวอย่างและโมเดลใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ในเร็วๆ นี้ครับ ผมขอเรียกตอนนี้ว่า “ผนึกกำลังสร้างอนาคตที่มั่นคง” นั่นคือรูปแบบตลาดนำการผลิต ของมันสำปะหลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็พูดกัน แต่มันก็เกิดขึ้นยากมากในอดีต เพราะเกษตรกรจะปลูกพืชหรือทำการผลิตตามที่ตนเองถนัดเป็นส่วนใหญ่ ถึงเวลาก็ขายกันไป ได้ราคาเท่าไรก็ตามใจพ่อค้า เพราะเกษตรกรส่วนมากจะค้าขายไม่เป็นหรือไม่ชำนาญ แต่ปัจจุบันเรื่องตลาดนำการผลิตกำลังเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้พยายามจะผลักดันให้เกิดขึ้นมาโดยตลอด และที่นครสวรรค์ก็กำลังถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเช่นกันโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแม่งานหลักด้วยตนเอง ในจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังกว่า 500,000 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกประมาณ 26,000 ครัวเรือน ผลผลิตอยู่ในราว 1.5 ล้านตัน หรือประมาณไร่ละ 3 ตัน ซึ่งก็นับว่าผลผลิตยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น โครงการนี้ก็จะพัฒนาผลผลิตให้สูงขึ้นด้วย จึงจะขอเล่าถึงนครสวรรค์โมเดล โครงการมันแก้จนให้เห็นภาพ ที่มาของโครงการ ดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ทำบันทึกข้อตกลง MOU
ใครจะไปนึกว่าสหกรณ์ที่มีแต่หนี้เสียกับหนี้ค้างจ่าย ไม่เคยมีรายได้เข้ามา แต่หลังจาก”สุทิน ปันคำ”เข้ามารั้งตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ กลับเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ สหกรณ์ไม่มีหนี้เสีย สมาชิกก็ไม่มีหนี้ค้างจ่าย สหกรณ์ก็มีรายได้มีกำไรเติบโตขึ้นทุกปีสำหรับ”สหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด” ในต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง กว่า 20 ปีในการบริหารจัดการของเขา ภายในการกำกับดูแลของคณะกรรมการสหกรณ์ฯ โดยการสนับสนุนสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำปาง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้วันนี้สหกรณ์ที่มีสมาชิกเกือบ 2,000 ราย สามารถลืมตาอ้าปากได้ นายสุทิน ปันดี ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด เผยว่า สหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยาง ประสบสุก จำกัด เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ใช้น้ำจากฝายเพื่อปลูกพืช มีเพียงธุรกิจบริการเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่การดูแลเกษตรกรมากยิ่งขึ้น เพิ่มธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจรวบรวมสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด กล้วย พริก ปาล์มน้ำมัน เพื่อช่วยให้สมาชิกสหกรณ์ สามารถ ลดต้นทุนการผลิตและมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นจุดเริ่มต้นของการส่
วันนี้และวันหน้า ภาคเกษตรไทยจะไปทางไหน เกษตรกรจะอยู่รอดกันอย่างไร จะลืมตาอ้าปากกันได้เมื่อไร จะหลุดพ้นภาระหนี้สินกันตอนไหน เริ่มเป็นหนี้จากรุ่นพ่อ ส่งต่อถึงรุ่นลูก พันผูกไปถึงลูกหลาน นั่นคือ สมการความยากจนโดยแท้จริง ปฐมเหตุแห่งปัญหาซ้ำซ้อน ไล่เรียงมาตั้งแต่คำถามที่ว่าเกษตรกรแต่ละคนผลิตอะไร ต้นทุนเท่าไร ขายได้ไหม ขายหมดไหม ขายให้ใคร ราคาเท่าไร คุ้มกับต้นทุนไหม เกษตรกรขาดทุนหรือมีกำไรกันแน่ แล้วใครเป็นคนมารับซื้อสินค้าเหล่านี้ไป ซื้อไปทำอะไร ขายต่อเป็นสินค้าขั้นปฐมภูมิหรือนำไปแปรรูป แปรรูปเป็นสินค้าอะไร คนซื้อสินค้าเกษตรหรือสินค้าแปรรูปคนสุดท้ายนั้นเป็นใคร? คำถามและคำตอบเหล่านี้แหละที่เกษตรกรผู้ผลิตที่ต้นน้ำส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้คิดกัน เกษตรกรไทยกี่ช่วงอายุคนมาแล้วที่ยังคงผลิตสินค้าแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กันมาแบบนี้ จากรุ่นปู่ย่าตายายทำกันอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังทำกันแบบนั้นอยู่หรือไม่…ถ้ายังเป็นนั้นอยู่ก็คงจะรอดยากสำหรับภาคเกษตรไทยครับ ถ้าจะจัดช่วงในการผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ตาม เราก็จะแบ่งได้เป็น 3 ช่วงหลักๆ ที่เรียกกันว่า ห่วงโซ่การผลิตหรือ Supply Chain นั่นคือ ต้นน้ำ กลางน้
สำนักงาน กศน. มีหน้าที่สำคัญในการจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและยกระดับการศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งประสานความร่วมมือเชิงรุกกับภาคีเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบให้มีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน สำนักงาน กศน. ได้ดำเนินโครงการ สระแก้ว โมเดล by กศน. พัฒนาการจัดการศึกษาและอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำการผลิต” ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถทางในการแข่งขัน เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ให้คว
โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) บรรลุเป้าหมายนำร่องการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของข้าวยั่งยืน สร้างโอกาสส่งออกข้าว 1.6 แสนตันให้ชาวนานับหมื่นราย เพื่อผู้บริโภค-สิ่งแวดล้อมปลอดภัย อุบลราชธานี / 2 กันยายน 2565 – ที่เวทีการประชุมเสวนาทิศทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวที่ยั่งยืน และพิธีปิดโครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) (Market-oriented Smallholder Value Chain: MSVC Thailand) จัดขึ้น ณ ห้องประชุม เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กรมการข้าว บริษัท โอแลม อกริ (Olam Agri) และคร็อป ไลฟ์ (Crop Life) ร่วมกันประกาศความสำเร็จ ปักหมุดพื้นที่ต้นแบบการปลูกข้าวหอมมะลิยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมต่อตลาดส่งออกผลผลิต เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อยไทย โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาของเยอรมัน (BMZ) และโครงการ develoPPP มีกรอบระยะเวลาดำเนินกา
ตามนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ 20 ปี ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นการดำเนินงานซึ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต ทั้งนี้ การกำหนดพื้นที่เป้าหมายของเกษตรแปลงใหญ่ดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ โดยเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่จะร่วมกันกำหนดเป้าหมายการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุกขั้นตอน จนถึงการเชื่อมโยงตลาดกับภาคเอกชนแบบประชารัฐ กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง ตั้งอยู่ที่บ้านทอนหาญ หมู่ที่ 4 ตำบลคลองลุ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่เกิดจากการจุดประกายทางความคิดของพนักงาน การยางแห่งประเทศไทย สาขากันตัง ในเวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้านของ 2 หมู่บ้านที่อยู่ติดกัน จนกระทั่งได้หลอมรวม และก่อเกิดมาเป็น “กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง” ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้านหมู่ที่ 4 ตำบลคลองลุ และหมู่ที่ 5 ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ด้วยสาเหตุที่สมาชิกอยู
คณะกรรมาธิการเกษตรฯ สว. ติดตามผลงาน เกษตรแปลงใหญ่มะม่วงดอยหล่อหลังกรมส่งเสริมการเกษตร ทุ่มพัฒนาจนสำเร็จ แข็งแกร่งตามแนว ตลาดนำการผลิตเมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์วุฒิสภานำโดย พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่ระดับประเทศครั้งที่ 2/2565 ระหว่างวันที่ 6 – 8 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรจัดขึ้น ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำคณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาที่กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงหมู่ที่ 19 ตำบลดอยหล่อ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ในการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงาน กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นตามนโยบายการพัฒนาที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 –2580 ของรัฐบาล และการ
สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดกิจกรรม DITP Overseas OBM จับคู่ธุรกิจเปิดตลาดใหม่ขยายตลาดเดิม ระหว่าง วันที่ 7 – 8 กันยายน 2564 ซึ่งการจัดการเจรจาการค้าผ่านระบบออนไลน์ หรือ Online Business Matching (OBM) ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่เน้นรักษาตลาดเดิม เปิดตลาดใหม่ และฟื้นตลาดเก่าให้กลับคืนมา โดยใช้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าทางการค้าให้ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการต่อยอดการค้าระหว่างประเทศด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายการค้าไทยกับ 6 ภูมิภาค นายจิรกานต์ เพชรชาติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 เปิดเผยว่า จากการเปิดรับสมัครผู้ประกอบการไทยที่สนใจเปิดตลาดใหม่ ขยายตลาดเดิม ในภูมิภาคอเมริกา ลาตินอเมริกา ยุโรป CIS แอฟริกา และตะวันออกกลาง มีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจเข้าร่วมการเจรจาการค้ากว่า 114 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหาร อุตสาหกรรมอะไหล่รถยนต์ และสินค้าไลฟ์สไตล์ และมีนักธุรกิจในต่างประเทศสนใจเข้าร่วมเจรจ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี จัดแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์ ในงาน “Pathum Creator Roadshow” อวดโฉมผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 12 ผลิตภัณฑ์ จากฝีมือ 6 นักออกแบบชื่อเสียงระดับประเทศที่รังสรรค์จากภูมิปัญญาและวัสดุเหลือใช้ หวังยกระดับโอกาสทางการตลาด พลิกสู่การสร้างรายได้พร้อมตั้งเป้าให้จังหวัดปทุมธานีเป็นศูนย์ผลิตสินค้าเชิงพาณิชย์ของอาเซียน นายสมเด็จ สุขสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศพร้อมผู้บริหารที่รับผิดชอบสินค้านวัตกรรมสินค้าของใช้ของตกแต่งบ้าน เข้าเยี่ยมชมงานแสดง ได้กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีภารกิจส่งเสริม เชื่อมโยงสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้เห็นโอกาสและศักยภาพของผลิตภัณฑ์ ทั้ง 12 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความโดดเด่น ตอบโจทย์เทรนด์ตลาดโลก สามารถต่อยอดเชิงธุรกิจ ตอบโจทย์นโยบายตลาดนำการผลิต ที่ผู้ประกอบการไทยต้องผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และผลักดันให้มีการส่งเสริมสินค้านวัตกรรมทุกภูมิภาคของไทยสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ด้านนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้เยี่ยมชมงานแสดงสินค้า โดยกล่าวว่า จังหวัดปทุมธานี ให้ความสำคัญการขั