นวัตกรรมการเกษตร
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเข้ามามีบทบาท และเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับชาวสวนได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพ หรือแม้กระทั่งการพยากรณ์อากาศได้ล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมตัวรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านได้ลงพื้นที่ไปที่จังหวัดจันทบุรี เดินทางไปที่สวนจันทร์เรือง ปลูกทุเรียน-มังคุดเป็นหลัก พื้นที่รวมกว่า 50 ไร่ และนอกจากนี้ ยังใช้พื้นที่ว่างภายในสวนเล็กๆ น้อยๆ ปลูกพืชผักอีกหลายชนิดสร้างรายได้เสริม โดยจุดประสงค์ที่พวกเราไปวันนั้นก็เพื่อถ่ายทำคลิปวิดีโอการเลี้ยงผำระบบปิดแนวตั้ง ซึ่งเมื่อคลิปวิดีโอได้เผยแพร่ออกไปก็ได้ยอดวิวกว่า 2.5 ล้านวิว เป็นที่มาของการคิดต่อยอดคอนเทนต์เรื่องของการใช้พลังงานทดแทนภายในสวนจันทร์เรืองมาฝากทุกคน เพื่อเป็นไอเดียการทำเกษตรแบบใหม่ หรือสมาร์ทฟาร์มเมอร์ คุณณัฐ-ณัฐวุฒิ จันทร์เรือง เจ้าของสวนจันทร์เรือง อดีตวิศวกรเคมี ผันตัวเป็นเกษตรกร ใช้วิชาความรู้จากที่ได้ศึกษาเล่าเรียน และทำงานประจำมากว่า 10 ปี มาพัฒนาสวนด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรหลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยหลักๆ ที่สวนม
การปลูกพืชสิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือ แมลงศัตรูพืช ถ้าหากมีวิธีการป้องกันด้วยตาข่ายกันแมลงก็สามารถช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรทั่วไปจะใช้ตาข่ายสีดำ สีขาว สีน้ำเงิน และสีเขียว แต่เกษตรกรบางคนก็จะมีวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ไม่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเลือกใช้สารเคมีมากำจัด การปลูกผักในมุ้งเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผักปลอดจากสารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุด แต่ก็มีแมลงบางชนิดที่ลอดผ่านมุ้งเข้าไปทำลายแปลงผักได้ โดยเฉพาะ “เพลี้ยไฟหัวหอม” นอกจากกินต้นพืชแล้ว ยังมีเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายทิ้งไว้ด้วย งานวิจัยตาข่ายสีแดงปกป้องพืชจากแมลง เป็นการค้นพบของ ศาสตราจารย์มาซามิ ชิโมดะ และทีมงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียว จากการตรวจพบเพลี้ยไฟหัวหอม จะอยู่ห่างจากพืชเมื่อถูกฉายรังสีด้วยแสงสีแดงนั่นเอง ทีมงานได้ทดลองใช้ตาข่ายสีแดงผสมกับสีอื่นๆ 3 สี ประกอบด้วย สีแดง-สีขาว, สีแดง-สีดำ, และสีแดง-สีแดง โดยตาข่ายแต่ละสีมีขนาดรูแตกต่างกัน เช่น 2, 1 และ 0.8 มิลลิเมตร เพื่อให้ได้คำตอบของงานวิจัยที่แม่นยำทั้งในด้านของการใช้สีและขนาดของรูตาข่าย จากการทดลองนำตาข่ายทั้ง 3 แบบ มาคลุมแปลงต้นหอมคูโจ หรือหัวหอมเวลส์ และเริ่มทำกา
พร้อมแล้ว สำหรับเทศกาลงานเกษตรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี “เจียไต๋ แฟร์ 2025” โดย บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย ที่ครั้งนี้ได้นำขบวนทัพสายพันธุ์พืชคุณภาพกว่า 600 สายพันธุ์ รวมถึงสินค้านวัตกรรมการเกษตร บริการ และโซลูชันเจียไต๋ มาจัดแสดงแบบจัดเต็มภายใต้ธีม “สมาร์ทฟาร์ม สมาร์ทไลฟ์ เกษตรยุคใหม่สู่ความยั่งยืน” พาทุกท่านร่วมก้าวสู่วิถีของเกษตรอัจฉริยะไปด้วยกัน พร้อมกันนี้ เจียไต๋ได้ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตร ประกาศการเป็น XAG Thailand เจ้าแรกเจ้าเดียวในไทย กับพันธกิจในการผลักดันเกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะ งานเจียไต๋ แฟร์ 2025 จัดระหว่างวันที่ 15-19 มกราคม 2568 เวลา 08:00-17:00 น. ณ เจียไต๋ ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี งานเจียไต๋ แฟร์ 2025 ครั้งที่ 10 มุ่งเป้านำเสนอแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรด้วยเกษตรอัจฉริยะ โดยเปิดพื้นที่เจียไต๋ กาญจนบุรี เนรมิตฟาร์มสู่พื้นที่ถ่ายทอดแนวทางการเกษตรยุคใหม่ เต็มอิ่มด้วยโซนจัดแสดงทั้ง 8 โซน พร้อมจุดประกายความตระหนักเรื่องความสำคัญของอาชีพเกษตรกรรมของไทย อีกทั้ง กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เข้าใกล้อาชีพด้านการเกษตรที่อยู่เบื้อ
กล้วยไข่เป็นพืชที่ปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ จังหวัดจันทบุรี เป็นอีกแหล่งที่สามารถปลูกและส่งออกกล้วยไข่คุณภาพดีได้ เกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกกล้วยไข่กันมาแถบพื้นที่อำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม และอำเภอคิชฌกูฏ โดยสายพันธุ์กล้วยไข่ที่เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์กำแพงเพชร พันธุ์พระตะบอง และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ถึงเเม้กล้วยไข่จะเป็นผลไม้ที่ทำเงินให้เกษตรกร เเต่ด้วยปริมาณผลผลิตที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งกล้วยลูกเล็กๆ ผิวไม่ค่อยสวยที่อยู่บริเวณปลายเครือ หรือที่เรียกกันว่า “กล้วยตีนเต่า” มักขายไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ อาจารย์สุนทร ฟักเฟื่อง สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จึงได้นำกล้วยไข่ตกเกรดมาแปลงโฉมและรสชาติใหม่ กลายเป็น “ซอสกล้วยไข่” แปลงโฉมกล้วยไข่ให้เป็นซอส อร่อยจนแยกไม่ออก ปกติเเล้วกล้วยไข่จะจำหน่ายผลสด หากเหลือค่อยนำมาแปรรูปเป็นเมนูต่างๆ เเต่สำหรับกล้วยตีนเต่าเป็นกล้วยที่ตกไซซ์ ผิวไม่สวย ไม่มีใครรับซื้อ คนปลูกเลยปล่อยให้เน่าทิ้ง ด้วยเหตุผลอยากเพิ่มมูลค่ากล้วยที่ไม่มีใครต้องการ เลยเป็นที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อเ
เจียไต๋คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติจาก สนช. ตอกย้ำจุดยืนการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตรของไทย กรุงเทพฯ 7 ตุลาคม 2567 – เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย นำโดย นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร พร้อมด้วย นายประวินทร์ คุโรวาท ประธานบริหารด้านการเงินและบริหารกลาง ขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567 จาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ภายในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งรางวัลนี้ได้ตอกย้ำจุดยืนของเจียไต๋ในการเป็นองค์กรที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรต่างๆ มาใช้เพื่อยกระดับวงการเกษตรของไทย ณ ห้องฉัตราบอลรูม โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมนี้ มอบให้กับองค์กรที่นำนวัตกรรมมาปรับใช้ ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ กระบวนการ ถึงระดับโครงสร้างพื้นฐานการทำงาน สำหรับเจียไต๋ได้ยึดถือเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นหลักในการปฏิบัติงานและเป็นหนึ่งในสี่ค่านิยมหลักขององค์กร และด้วยวิสัยทัศน์ของเจียไต๋ในศตวรรษใหม่นี้ ได้มุ่งเป
งานนี้จัดเต็ม!!! ยกขบวนสินค้านวัตกรรมการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กว่า 300 บูธ คัด ไฮไลท์กิจกรรมเพียบ ให้ทุกคนชวนเพื่อนพ้อง มาท่องโลกการเกษตรกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และกิจกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รับประกันว่าเฟี้ยวทุกอัน ทั้งนี้ทาง Farm Expoได้สิทธิเพียงผู้เดียวและเจ้าแรกที่เป็นผู้ผลิต และจำหน่าย เสื้อหมูเด้ง Limited Edition เฉพาะในงานฟาร์ม เอ็กซ์โป 2024 เท่านั้น ซึ่งรายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่าย ร่วมกับองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย จะนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ฟาร์มเอ็กซ์โป 2024 งานเกษตรที่ยิ่งใหญ่ครบวงจรสัญชาติไทย ถือเป็นมหกรรมเกษตรยุคใหม่ในร่มกลางกรุงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ วันที่ 3-6 ตุลาคม 2567 ณ ฮอลล์ 98-99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ Facebook: FarmExpothailand LINE OA: @farmexpo หรือ WWW : www.farmexpo.co.th
กลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมเกษตรอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) 14 คน ร่วมกันนำเสนอโครงงานขนาดเล็ก (Mini Project) ผลงาน “โรงเรือนปลูกข้าวอัจฉริยะแบบลอยน้ำ” โดยเน้นควบคุมระบบให้น้ำอัตโนมัติ อัตราการเจริญเติบโตแต่ละช่วงอุณหภูมิและความชื้น เพื่อออกแบบโรงเรือนแบบลอยน้ำ พัฒนาวิธีการปลูกข้าวที่ประหยัดแรงงาน เพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหนือแหล่งน้ำให้สูงขึ้น ผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 นำโดย นายภัทรดิษฐ์ สุทธิทรัพย์, นายฐาปกรณ์ เสร็จกิจ, น.ส.พรนภัส ชำนาญไพร, นายพีรพล พึ่งทวี, นายจักกฤษ มั่งมี, นายวิสิฐพงษ์ ไชยฟู, น.ส.อารีญา ทนช่างยา, นายณัฐกานต์ เอี่ยมบรรจง, นายจักรพันธ์ รัตนพันธ์, นายนันทิพัฒน์ วงปัตตา, น.ส.ยศวดี ศรีคง, น.ส.ณิชาภัทร บัวสำลี, น.ส.หทัยภัทร หนูสี และ น.ส.อัณณ์ญาดา กมลโรจน์ธนากุล ซึ่งมี รศ.ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง และ ดร.วิพุธ ตุวยานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ตัวแทนกลุ่ม “ทิม” นายภัทรดิษฐ์ สุทธิทรัพย์ เล่าว่า โครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งที่เสริมสร้างและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม
หากกล่าวถึงการปลูกพืชผักรูปแบบไฮโดรโปนิกส์ หลายๆ คนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยวิธีการปลูกพืชโดยการให้สารอาหารทางน้ำ แต่รู้หรือไม่ว่า มีวิธีทำการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้หลายคนอาจเข้าใจผิดว่านั่นคือ การทำเกษตรรูปแบบไฮโดรโปนิกส์ เพราะมีความคล้ายคลึงกันมาก อควาโปนิกส์ Aquaponics เป็นวิธีการทำการเกษตรที่มองดูเผินๆ ก็มีความคล้ายคลึงกับการปลูกผักระบบไฮโดรโปนิกส์ แต่แท้จริงแล้วแตกต่างกัน อควาโปนิกส์ คือการรวมกันของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งได้แก่ การเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ และเป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน อควาโปนิกส์ใช้ทั้ง 2 อย่างนี้ในการผสมผสานทางชีวภาพ ซึ่งพืชจะกินอาหารจากการปล่อยของเสียของสัตว์น้ำ ในทางกลับกันพืชจะช่วยล้างน้ำที่ไหลมา หล่อเลี้ยงกลับไปที่ปลา นอกจากปลาและของเสียแล้ว จุลินทรีย์ยังมีบทบาทสำคัญต่อโภชนาการของพืช แบคทีเรียที่มีประโยชน์เหล่านี้รวมตัวกันในช่องว่างระหว่างรากของพืช และแปลงของเสียจากปลาและของแข็งให้เป็นสารที่พืชสามารถใช้ในการเจริญเติบโตได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์แบบระหว่างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำสวน กระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบอควาโปนิกส์ เร
กาซา, 10 เมษายน (ซินหัว) – ส่องโรงเรือนเลี้ยงไก่ของชายชาวปาเลสไตน์จากเมืองราฟาห์ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ซึ่งถือเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่สมัยใหม่แห่งแรกในดินแดนที่ถูกปิดล้อมรอบด้าน ที่มุ่งรับประกันอุปทานไก่เนื้อแก่ประชาชนท้องถิ่น โมฮัมเหม็ด ดูแฮร์ ก่อตั้งโรงเรือนด้วยเงินลงทุนราว 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 47 ล้านบาท) เมื่อต้นปี 2021 โดยปัจจุบันเลี้ยงไก่อยู่ 30,000 ตัว ภายใต้แสงไฟสีเขียวที่สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ซึ่งช่วยให้ไก่เจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ฟาร์มไก่ล้านดอลลาร์แห่งนี้ยังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยอื่นๆ อาทิ ระบบหยดน้ำ ระบบกำจัดของเสีย และระบบระบายอากาศ ที่ล้วนทำงานอัตโนมัติ รวมถึงระบบทำความเย็นและความอบอุ่นแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ที่มา : ซินหัว https://www.xinhuathai.com/inter/192482_20210410
นักศึกษา มทร.ศรีวิชัย คว้าเหรียญทองการประกวด I-New Gen Award 2024 หลังการประกวด I-New Gen Award 2024 จบลง นักศึกษาจากสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คว้าเหรียญทอง ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร นายชินกฤต ทองศรีนวล, นายธนพล วงศ์สวัสดิ์, นางสาวชนกวนันท์ ไชยอาดูล และ นางสาวณิชาพัชร์ วงศ์สุริยะ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้คว้าเหรียญทอง จากการประกวด I-New Gen Award 2024 กลุ่มเกษตร ในชื่อผลงาน การออกแบบและพัฒนาแผ่นรองกีบเท้าโคนมจากการพิมพ์สามมิติ โดยมี ผศ.ดร.ฐานวิทย์ แนมใส เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหัวหน้าโครงการ และมี รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต, นายธีรวัฒน์ เพชรดี และ นายวสุ สุขสุวรรณ เป็นอาจารย์ผู้ร่วมวิจัย สำหรับการประกวดดังกล่าว เป็นงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2567 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยมีโคนมเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคั