นวัตกรรมงานวิจัย
หลังคว้าแชมป์รางวัลเหรียญทองมาหลายรุ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการประกวดผลงานวิชาการสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ” เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เป็นรู้จักในระดับประเทศและระดับนานาชาติ สามารถนำไปต่อยอดขยายผลสู่การปฏิบัติ พัฒนาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย สร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งมีรายได้ที่ยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ผลักดันให้มีการจัดทำ “โครงการส่งเสริมการประกวดผลงานวิชาการสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ” มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ และนักวิจัยของ มรภ.สวนสุนันทา ได้พัฒนาสร้างสรรค์งานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มีพื้นที่แสดงความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ เรียกได้ว่า “ เป็นคลังความรู้ สร้างปัญญาและนวัตกรรมด้านวิจัย บริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล” ที่สามารถส่งเสริมในการสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยให้เป็น
ข้าว เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ผลผลิตเกินครึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศ ข้าวส่วนที่เหลือถูกนำไปแปรสภาพเป็นข้าวขาวเพื่อใช้ในประเทศ หลายปีที่ผ่านมาชาวนาประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ จากเดิมที่ขายข้าวเปลือกเป็นหลัก มีความพยายามแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะข้าวสารขาว รวมทั้งข้าวกล้องและข้าวฮางงอก ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคในกลุ่มคนรักสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข้าวฮางงอก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวภูไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สืบต่อกันมากว่า 200 ปี เป็นการทำข้าวกล้องงอกจากข้าวเปลือกที่มีอายุก่อนการเก็บเกี่ยว หรือชาวบ้านเรียกว่า ข้าวระยะฮาง เพื่อให้เก็บข้าวเปลือกไว้ได้นานในกรณีที่เกิดปัญหาข้าวในนาเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง ข้าวฮางงอกสามารถทำได้ทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว กระบวนการสำคัญของการผลิตข้าวฮางงอกคือ การนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำและบ่มให้เกิดการงอก จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเมล็ดข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารกาบ้า (GABA) ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายหลายด้าน เช่น ช่วยลดความดันโลหิต และลดปริมาณคลอเลสเตอรอล มีส่วนในการควบคุมน้
อาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) มักเกิดขึ้นจากปัญหาการนั่งทำงาน หรือการใช้คอมพิวเตอร์รวมถึงโทรศัพท์มือถือ เป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดภาวะปวดเมื่อยหรือภาวะตึงของกล้ามเนื้อตามมา ทีมนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คิดค้นนวัตกรรมสเปรย์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย ในรูปแบบสเปรย์นาโนสูตรเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายความเครียด และความกังวลจากอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการทำงาน และจากภาวะออฟฟิศซินโดรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำนักวิจัย และนักประดิษฐ์ จากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรม “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 15-17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งนวัตกรรม “สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็น บรรเทาอาการปวดเมื่อย” ของ นางสาววราภรณ์ โชติสวัสดิ์, และคณะ แห่งหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกร
นักวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผลิตเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ ทุ่นแรงและเวลา สร้างรายได้เพิ่ม แก่กลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักสานเข่งไม้ไผ่ จ.อุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คณะผู้วิจัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ นะเที่ยง แห่งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้ออกแบบและสร้างเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ ทุ่นแรงและเวลา เพื่อลดระยะเวลาการจัดเตรียมวัตถุดิบเส้นตอกของชาวบ้านสำหรับสานเข่งไม้ไผ่ ช่วยให้ได้เส้นตอกขนาดมาตรฐาน ลดอันตรายระหว่างการทำงาน และเพิ่มจำนวนการผลิตต่อวันให้สูงขึ้น เป็นไปตามความต้องการของตลาด ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพและสมรรถนะเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ ในเขตพื้นที่ ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีการผลิตเข่งสำหรับใส่ผลไม้และพืชผลทางการเกษตรเป็นหลัก ประส
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำนักวิจัย นักประดิษฐ์ จากหน่วยงานต่าง ๆ คว้ารางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่าง วันที่ 15-17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ ด.ช.นิธิยุทธ วงศ์พุทธาแห่งโรงเรียนอินเตอร์เนชั่นแนลเกวลี คว้ารางวัลเหรียญทองมาครอง ด.ช.นิธิยุทธ วงศ์พุทธา เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นว่า เริ่มจากการสังเกตรอบๆ ตัว พบว่าผู้สูงอายุหลายท่านกำลังประสบปัญหาเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง การเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้สูงอายุต้องมีลูกหลาน หรือคนใกล้ชิดคอยดูแลตลอดเวลา แต่ถ้าหากผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแลก็จะมีความลำบากในการใช้ชีวิต จึงประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม “เก้าอี้ช่วยยืน” ขึ้น เพื่อช่วยผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม “เก้าอี้ช่วยยืน” ได้ออกแบบเก้าอี้ช่วยยืนให้แยกเบาะนั่งส่วนกลาง ออกจากด้านขอบเบาะ ส่วนตรงกลางเบาะจะถูกยึดติดกับมอเตอร์แกนชักที่ทำการติดตั้งไว้ด้านล่
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนทุนวิจัย แก่ นักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อการผลิตนวัตกรรมใหม่ เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก สำหรับการผลิตข้าวกล้องฮางงอกคุณภาพดี ช่วยอนุรักษ์พลังงาน เพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิต ข้าวฮางงอก เป็นการทำข้าวกล้องงอก จากการนำข้าวเปลือกที่มีอายุก่อนการเก็บเกี่ยว มาแช่น้ำ ทำการเพาะงอก นึ่ง และผ่านการอบแห้ง ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวอีสาน นิยมบริโภคเพื่อเป็นยา เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหาร และมีราคาค้าปลีกที่สูง เดิมทีวิธีการผลิตของชาวบ้าน ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก และใช้เวลาในการผลิตข้าว ประมาณ 7 วัน ปัจจุบัน คณะนักวิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุพรรณ ยั่งยืน จากสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ได้ศึกษาคิดค้น นวัตกรรมเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการผลิตข้าวกล้องงอก ให้สำเร็จได้ภายใน 24 ชั่วโมง จากเดิม 3 วัน ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่สามารถลดการใช้แรงงานลงได้ 2.5 – 3 เท่า อีกทั้งประห
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ทั่วโลก เป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ และรักษาความสะอาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าหากมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ พรหมสาย อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และทีมวิจัย ได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ทำการศึกษาวิจัย “ผลิตภัณฑ์ SYNBIO TOTAL RICE” ขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส COVID-19 และเมื่อวันที่ 15 – 17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เข้าร่วมการประกวดในเวทีนานาชาติ งาน “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบออนไลน์ จนคว้ารางวัลเหรียญทองมาครอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ พรหมสาย อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
วช. สนับสนุนผลิตชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะเพิ่ม 3,000 ชุด มอบให้โรงพยาบาล แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 นพ. เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุจากภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานกลุ่ม ThaiMIC ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่แสวงหาผลกำไร ประกอบด้วยแพทย์ วิศวกร สถาปนิก และนักวิทยาศาสตร์ จากภาครัฐและเอกชน นพ. เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะ พร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (PAPR) กล่าวว่า จากทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการผลิตชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะ พร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นชุดป้องกันเชื้อโรคสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 จนปัจจุบันโครงการฯ ได้ปรับปรุงพัฒนาชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคฯ มาอย่างต่อเนื่อง เป็นรุ่นที่ 3 ซึ่งมีประสิทธิภาพและการใช้งานดีกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ เช่น ในส่วนของชุดหน้
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ แก่ ผศ.ดร.กนกวรรณ เรืองศิริ แห่งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และคณะ จากผลงานการประดิษฐ์ นวัตกรรมระบบบริการตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสแบบไฮบริด ฆ่าเชื้อได้ 3 ระบบ ควบคุมการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อให้บริการอบฆ่าเชื้อสิ่งของ อุปกรณ์ส่วนบุคคล แก่สถานที่สาธารณะ และสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ แม้ว่าจะมีการฆ่าเชื้อและป้องกันตนเองในเบื้องต้น หากแต่เชื้อไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวของสิ่งต่าง ๆ ได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน จึงอาจสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การฆ่าเชื้อไวรัสบนสิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกวรร
นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คิดค้นนวัตกรรมข้าวอัลตร้าซาวด์ เจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย ล่าสุดคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเทศไทย เป็นผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในอาเซียน อุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งรวมถึงเจลอัลตร้าซาวด์ ที่แพทย์นำมาใช้ตรวจในช่องท้อง ปัญหานี้เอง นักวิจัยจึงได้คิดค้นเจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ จนเป็นผลสำเร็จ วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ แก่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ข้าวอัลตร้าซาวด์” เจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ แก่ นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ เปิดเผยว่า ข้าวอัลตร้าซาวด์ เป็นเจลทางการแพทย์ ที