ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(11 มิ.ย. 63) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพฯ – ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะผู้บริหารกระทรวง ให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างความเข้มเข็งของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นฐานในการเพิ่มมูลค่าให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เป็นจุดแข็งและทุนพื้นฐานสำคัญของประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ต่อยอดมูลค่าเพิ่ม สร้างความเข้มแข็งจากภายในเชื่อมโยงไทยสู่ประชาคมโลก การพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติ นำไปสู่การเดินหน้าไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่เน้นการขับเคลื่อนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับประเทศ แ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างหนอในช่วงนี้ เท่าที่ติดตามข่าวได้เห็นความหลากหลายที่เกิดขึ้นจากทุกมุมโลก แต่กับบ้านเมืองเรา นอกจากปัญหาไข่ขาดตลาดในช่วงแรกก็ไม่เจอปัญหาในเรื่องอาหารการกินมากนัก ได้เห็นการแจกข้าวสารอาหารแห้งจากผู้ใจบุญอยู่มากมาย นั่นเป็นคำตอบหนึ่งว่าบ้านเมืองเรายังอุดมสมบูรณ์ดี เรายังสู้กับวิกฤติร้ายนี้ไปได้ด้วยดี นอกจากปัญหาเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ยังมีคนได้-ไม่ได้แล้ว แทบจะไม่เห็นข่าวชาวบ้านแย่งซื้ออาหารกันสักนิด ไม่เหมือนภาคพื้นอื่นๆ ในโลกใบนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมมองเห็น กลับเป็นการมีผลผลิตในปริมาณที่ล้นเกินในบางพื้นที่ และการบริหารจัดการในเรื่องขนส่งที่ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก ผลไม้หลายชนิดที่เคยส่งออกได้ก็เจอปัญหา ต้องหาทางระบายภายในประเทศในแบบขายขาดทุนก็ต้องยอม เพื่อให้เจ็บตัวน้อยที่สุด นี่อาจเป็นปีแรกที่ผมได้กินลำไยกิโลละ 20-25 บาท มะม่วงอกร่องกิโลละ 10 บาท หรือแตงโมกิโลละ 3 บาท หรือบางพื้นที่ประกาศให้ไปเก็บกินฟรีๆ ก็ยังมีให้เห็น แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่แปรรูปผลผลิตออกมาจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงกวน กล้วยตาก กล้วยอบบดผง หรือกระทั่งอาหารปรุงสำ
การพัฒนาเกษตรกร ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคง สร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่เกษตรกรในระยะยาว เป็นเป้าหมายการทำงานที่สำคัญ ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความสำเร็จแก่เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ หนึ่งในนั้น คือ สง่า ชั้นอินทร์งาม อยู่บ้านเลขที่ 68/2 หมู่ 4 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 08-6750-6733 เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้อยู่ในที่ดินพระราชทาน จากพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงพระราชทานที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ใน 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก และฉะเชิงเทรา รวมเนื้อที่ 44,369 ไร่ ให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อสนับสนุนงานปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย บนก้าวการพัฒนาอย่างทุ่มเทเพื่อสร้างสุขให้กับเกษตรกรในที่ดินพระราชทานของส.ป.ก. ได้ส่งผลให้พี่สง่า ได้กลายเป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบผู้ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างชีวิตใหม่ให้กับตนเองและครอบครัว มาจนถึงวันนี้ “ ที่ดินที่ผมทำกินผืนนี้ เป็นที่ดินที่พ่อได้รับพระราชท
โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จัดโครงการ “ศึกษาออนไลน์ อุ่นใจ ไร้โควิด 19” ขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด -19 ด้วยการเปิดสอนบทเรียนออนไลน์เกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างง่าย ทั้งเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ เช่น การผลิตปุ๋ยใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ภายในครัวเรือน การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักสูตรต่าง ๆ ตลอดถึงการเพาะกล้าพันธุ์พืช วิธีการปักชำ การเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ การทำสบู่ และน้ำยาเอนกประสงค์ เป็นต้น ในหลักสูตรออนไลน์เหล่านี้จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายในโครงการฯ ทำการบันทึกเทปเป็นคลิปวิดีโอ พร้อมตัดต่อให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาก่อนเกิดวิกฤตการณ์โควิด -19 ทางโครงการฯ จะมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนต่อปี แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ไม่มีผู้เดินทางมายังโครงการฯ เลย เพราะจะต้องอยู่กับบ้านลดการเคลื่อนไหว “ แต่ทุกคนยังต้องบริโภคซึ่งหากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ก็สามารถทำการเพาะป
“ ศักรินทร์ สมัยสง ” บันฑิตหนุ่มสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่สนใจ อาชีพมนุษย์เงินเดือน หวนกลับคืนบ้านเกิดที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำอาชีพเกษตรตามรอยพ่อแม่ อย่างมีความสุขในวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง บนที่ดินมรดก 47 ไร่ ในวันนี้ เขาประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน กลายเป็นเกษตรกรต้นแบบ Smart Farmer เป็นกูรูด้านเลี้ยงแพะแกะในสวนปาล์มน้ำมัน ให้แก่เพื่อนเกษตรกรจำนวนมาก ด้วยผลงานที่โดดเด่นตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้เขาได้รับการคัดเลือกจากกรมปศุสัตว์ให้เป็น “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ประจำปี 2563 ใช้ “ศาสตร์พระราชา” พัฒนาอาชีพ เมื่อปี พ.ศ. 2549 ศักรินทร์เริ่มต้นการเลี้ยงแพะพันธุ์ลูกผสมแองโกลนูเบียน พื้นเมือง จำนวน 12 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 11 ตัว) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำมูลแพะมาใช้เป็นปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อลดต้นทุนจากการซื้อปุ๋ยเคมี เน้นการจัดการฟาร์มและสวนให้เกื้อกูลกัน สามารถนำทุกอย่างในฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทำให้ครอบครัว มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ธุรกิจฟาร์มแพะมี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น 1 ใน 6 แห่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเยียวยาแบบยั่งยืนให้กับสังคมในการใช้ชีวิตยามเจอวิกฤติตามธรรมชาติ ด้วยเป็นแหล่งรวบรวมการศึกษา ทดลอง วิจัย และการพัฒนาในการปรับปรุงพื้นดินให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม เป็นแหล่งให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว แก่ประชาชนและเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในทุกสาขาวิชาชีพ เสมือน ”พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในด้านการเกษตรกรรมและการพัฒนาอาชีพ เป็นต้นแบบและแนวทางให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม การดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ศึกษาฯได้นำผลสำเร็จจากการศึกษาทดลองที่ประสบผลสำเร็จแล้วมาขยายผลสู่การปฏิบัติให้แก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ราษฎรมีความกินดีอยู่ดีมีเหลือเก็บเหลือใช้สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี นางวันเพ็ญ จันทศรี หนึ่งในเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมิตรสัมพันธ์ หนึ่งในกลุ่มเกษตรกรขยายผ
“คุณหมู” หรือ คุณกรวิชญ์ มาระเสนา อดีตวิศวกรโยธา ที่ตัดสินใจลาออกแล้วเบนเข็มสู่อาชีพเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว โดยมุ่งทำสวนเกษตรผสมผสานตามศาสตร์พระราชา นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดมาใช้ผลิตและจำหน่ายสินค้า สร้างรายได้หลายแสนบาทต่อไร่ สร้างวิถีชีวิตแห่งความสุข บนเส้นทางอาชีพเกษตรกร เดิมทีครอบครัวคุณหมูทำธุรกิจเกษตรและประมง พ่อแม่ตั้งใจส่งเสริมให้คุณหมูเรียนจบสูงๆ เพราะไม่ได้อยากให้มาทำอาชีพเกษตรกรรม หลังคุณหมูเรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ก็ทำงานประจำในตำแหน่งวิศวกรโยธา ทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง เมื่อ 10 ปีก่อน คุณหมูจึงตัดสินใจลาออกแล้วกลับมาทำเกษตรที่บ้านเกิด เพื่อจะได้มีโอกาสดูแลพ่อแม่ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง ในระยะแรก คุณหมูไม่มีพื้นฐานด้านงานเกษตร ก็พยายามเรียนรู้ข้อมูลด้านการผลิต-การตลาด จากหนังสือด้านเกษตรและข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากกระแสนิยมบริโภคผักอินทรีย์ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณหมูจึงสนใจเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ให้ผลตอบแทนสูง คุณหมูเป็นแกนนำรว
“บ้านหมากม่วง เป็นฟาร์มช้อป (farm shop) ที่ขายผลผลิตที่มาจากสวนเป็นหลัก นอกจากนั้น ยังทำผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มาจากมะม่วงในสวนของเรา หลายๆ ผลิตภัณฑ์ เรามีพวกฟาร์มทัวร์ (farm tour) ที่ให้ลูกค้ามานั่งทานที่สวนของเรา” ความตั้งใจของ คุณแนน หรือ คุณวราภรณ์ มงคลแพทย์ สาวน้อยที่จบการศึกษาจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายมาเป็นกุญแจดอกสำคัญในการพลิกโฉมสวนมะม่วง พื้นที่กว่า 250 ไร่ ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นอาชีพของครอบครัว จุดเริ่มต้นของการกลับมาพัฒนาสวนมะม่วงของครอบครัว คุณแนน เล่าให้ฟังว่า เกิดจากครอบครัวของตนเอง เธอเห็นพ่อกับแม่ทำสวนมะม่วงมาตลอดกว่า 30 ปี โตมากับสวนมะม่วง ตั้งแต่วันที่ครอบครัวไม่มีอะไร จากชีวิตที่ติดลบ แต่ ณ วันนี้ ครอบครัวและเธอโตมาได้ มีทุกวันนี้ได้ เพราะอาชีพที่เกิดจากการทำสวนมะม่วงของพ่อและแม่ ด้วยเหตุผลนี้จึงกลายเป็นโจทย์ “ว่าจะทำอย่างไร ที่จะสามารถพัฒนาและยกระดับ เก็บรักษาอาชีพนี้ไว้ให้อยู่กับครอบครัวไปตลอด” จากโจทย์ที่เธอตั้งให้กับตัวเอง การตัดสินใจไปศึกษาในสาขาวิชาที่สามารถจะนำมาพัฒนาต่อยอดอาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นตัวเลือกแรกที่เธอตัดส
“ละอุ่น” เป็นชื่ออำเภอหนึ่งใน 5 อำเภอ ของจังหวัดระนอง มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา สลับกับพื้นที่ราบเชิงเขา เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้แบบผสมผสาน และที่บ้านในวง ตำบลในวงเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เกษตรกรได้ทำเกษตรหลากหลายทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักต่างๆ รวมทั้งปลูกข้าวไร่ในสวนผลไม้ ตามแนวเกษตรพอเพียง เช่น เกษตรกรรายนี้ คุณบุญเลิศ ปานสวี เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม จ.ระนอง ปี 2554 คุณบุญเลิศ ปานสวี อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 2 ตำบลในวงเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ทำการเกษตรแบบพอเพียงบนเนื้อที่เพียง 10 ไร่ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ อยู่แบบพอเพียง เป็นต้นแบบของเกษตรกร อีกทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงของอำเภอละอุ่น และได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดระนองให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ปี 2554 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กิจกรรมเกษตรผสมผสาน บนเนื้อที่เพียง 10 ไร่ คุณบุญเลิศ มีกิจกรรมการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ ด้านการปลูกพืช – พืชหลัก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลองกอง – พืชเสริม ได้แก่ ผักเหลียง
พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี เปิดแล้วมหกรรม “ภูมิพลังแผ่นดิน” อย่างยิ่งใหญ่เพื่อยกย่องสดุดีพระเกียรติคุณและเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์และพัฒนาดินของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านกระทรวงเกษตรฯประกาศพร้อมยึดแนวทางพระราชดำริเดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนา ฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรดินภาคเกษตรทั่วประเทศสู่ความยั่งยืน วันนี้ (4 ธันวาคม 62) พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพิธีงานมหกรรม“ภูมิพลังแผ่นดิน” ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการจัดการดิน เนื่องในวันดินโลก 5 ธันวาคมระหว่างวันที่ 4-8 ธันวาคมโดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานร่วมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีและหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ภายในงานมีการมอบประกาศเกียรติคุณให้ศูนย์เครือข่ายและศูนย์เรียนรู้เครือข่าย พกฉ. ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระอัจฉริยภ