ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันดินโลก “สืบสานศาสตร์พระราชา พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ลุ่มน้ำปราจีนบุรี” พร้อมด้วยนายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ข้าราชการ ประชาชน ร่วมกันถวายราชสดุดี เทิดพระเกียรติในหลวง ร.9 ณ อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี นายวิวัฒน์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดงานวันดินโลกขึ้น ในโอกาสองค์การสหประชาชาติ และ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชติ (FAO) กำหนดให้ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น“วันดินโลก”เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสำคัญนี้ เพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงานพัฒนาระบบกสิกรรมโดยน้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ มาบูรณาการในรูปแบบประชารัฐ เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ และพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมแต่ละพื้นที่ กรมชลประทาน จึงได้ร่วมกับ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อจัดงานวันดินโลก ปี 2561 ขึ้น ภายใต้ชื่องาน “สืบ
ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ โครงการตามพระราชดำริฯ มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือเกษตรกร ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากที่สุด เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร และรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9และดำเนินกิจกรรมตามแนวทางพระราชทาน ภายใต้ร่มพระบารมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ที่ทรงมีพระเมตตา พระราชทานโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ซึ่งศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ได้น้อมนำแนวทางการทำงานพระราชทานนี้ เป็นปณิธานในการปฏิบัติงานเพื่อพี่น้องประชาชนตลอดมา โครงการ “หนึ่งใจ บูโอโน่ ผลิตน้ำหมักรักษ์สิ่งแวดล้อม” กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ตามแนวทางพระราชทานในรัชกาลที่ 10 ตามพระราโชบายโดยมีต้นแบบคือ โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” นั้น เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการนำสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของ บริษัท บูโอโน่ ประเทศไทย จำกัด มาศึกษาวิจัยและพัฒนา ให้เกิดเป
ทุกวันนี้ ราคายางพาราอยู่ในช่วงตลาดขาลง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่บ้านคำสมบูรณ์ อำเภอบึงโขงหลง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น พวกเขาหันมาปลูก “เสาวรส” เป็นไม้ผลริมรั้ว เพื่อขายผลสดและแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปน้ำเสาวรส ปรากฏว่าขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด พวกเขาเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเสาวรสมากขึ้น พร้อมรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อขยายกำลังผลิตน้ำเสาวรสให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านคำสมบูรณ์ สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ “คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร” ที่อยากเห็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราตัดโค่นต้นยางเก่าที่หมดอายุ หรือแบ่งที่ดินว่างเปล่านำมาปลูกผลไม้ เป็นสินค้าทางเลือกตัวใหม่เสริมรายได้ในครัวเรือน วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแทนการปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเหมือนในอดีต จุดเริ่มต้น คุณธีรวัฒน์ พันสุวรรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลบึงโขงหลง ได้โอกาสไปศึกษาดูงานเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ โคร
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2561 ผ่านไปแล้ว มีการนำสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มานำเสนอ รวมถึงการนำเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ในรอบปีมาเป็นแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน เด็กๆ เยาวชน ตามนโยบายวิทยาศาสตร์สร้างคนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำพาประเทศไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมั่นคง ทุกๆ ปี เราจะได้เห็นบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ดีเด่น หรือ “ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูประถัมภ์ ให้เป็นบุคคลดีเด่นหนึ่งเดียวของประเทศไทยที่ทำคุณประโยชน์ ผู้คิดค้นสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเข้ารับโล่พระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2561 เพื่อเป็นเกียรติประวัติอันสูงสุดของการรับราชการครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ บุคคลตัวอย่างทางด้านวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งปีที่จะกล่าวถึงนี้คือ ครูผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ครูพิมลพรรณ พรหมทอง ผู้ก้าวผ่านความท้าทาย ผ่านความเหนื่อยยากกับการทุ่มเท ต้องเดินลุยโคลน ตากแดด ตากฝน เพ
ปัจจุบัน รัฐบาลได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาประยุกต์ใช้ปฏิรูปการศึกษาสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ผ่านโครงการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ โดยใช้ “กศน. ตำบล” เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็ก ภายใต้การเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน และศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศสืบไป อยากรู้เรื่อง “ศาสตร์พระราชา” แวะหาคำตอบได้ที่ สำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี ซึ่งได้ขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกระบวนการเรียนการสอน “ศาสตร์พระราชา” สู่สถานศึกษา โดยจัดอบรมความรู้ให้ครู กศน. ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชา เพื่อช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู รวมทั้งพานักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนร
นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่บูรพระมหากษัตริย์และพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ด้านการเกษตร และเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร สถาบันการเรียนรู้ภูมิปัญญา และนวัตกรรมการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีความร่วมมือในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ในอาคาร พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีเกษตรต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์การที่สร้างสรรค์ภูมิปัญญาสังคมเกษตรไทย ให้ยั่งยืนบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต” พิพิธภัณฑ์ในอาคาร 6 พิพิธภัณฑ์ จัดแสดงด้วยสื่อเทคโนโลยีทันสมัย แสง สี เสียง ภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เกม Interactive วิถีเกษตรไทย โฮโลแกรม ที่สามารถเข้าเรียนรู้ได้ทุกวัย นอกจากนี้ ยังมีฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกษตร
พลตรีหญิง คุณหญิงอัสนีย์ เสาวภาพ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร้อยตำรวจโท ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และรองประธาน สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พลเอก ธงชัย สาระสุข ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ ที่ปรึกษาศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ และรองผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พร้อมพันธมิตรจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีวิทยุ ม.ก. ธนาคารออมสิน มากกว่าการธนาคาร ธนาคารเพื่อสังคม บริษัท ฟาร์มแชนเนล ประเทศไทย จำกัด ในเครือบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด มหาชน บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด บริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด บริษัท บูโอโน่ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกันจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสาธารณประโยชน์ตามแนวทางพระราชทานในรัชกาลที่
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ร่วมกันกำหนดแนวทางในการสานต่อพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 9 นำองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผสมผสานกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค 4.0 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืน โดยส่งเสริมให้ วิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยให้ครู นักเรียน นักศึกษา และชุมชน คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ด้านชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างเป็นรูปธรรม เลขาธิการกอศ. กล่าวต่อว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาด้านเกษตร พัฒนาคุณภาพชีวิตของท้องถิ่น ตลอดจนรักษาสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการมามาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งปัจจุบัน มีวิทยาลัยเกษตรและและเทคโนโลยี 4 แห่ง เป็นศูนย์ประสานงานโครงการ ฯ โดยมีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดรวมจำนวน 1
เด็กและเยาวชนเปรียบเสมือน “ต้นกล้าสีขาว” ที่พร้อมจะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงาแก่สังคมไทยในวันข้างหน้า โดยการน้อมนำพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ และนำไปสู่การปฏิบัติจริงร่วมกับชุมชน ก่อเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังที่เห็นได้จาก 11 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดการดำเนินโครงการด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว ปีที่ 11” จัดโดย บมจ.ธนาคารกรุงไทย ณ ชั้น 2 อาคารนานาเหนือ บมจ.ธนาคารกรุงไทย โดยทีมที่คว้า “รางวัลชนะเลิศ” สามารถทำโครงการสำเร็จเป็นรูปธรรม ทำได้จริง คือ “ทีมปอดบำบัด” จากโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ จ.ราชบุรี กับโครงการ “ผักตบชวาบำบัด สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” น.ส.ประณิธาน ตันติกำธน อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.6 ตัวแทน “ทีมปอดบำบัด” เผยว่า โครงการนี้เกิดจากการมองเห็นปัญหาภายในชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย จึงคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยร่วมมือกับชุมชน สร้างบล็อกใช้ในการจัดระบบผักตบชวาในแหล่งน้ำ จำนวน 20 บล็อก โดยเว้นระยะห่างพอประมาณให้แสงแดดส่องถึง เพราะรากของผักตบช
ว่าที่ร้อยตำรวจโท ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ได้กรุณาอำนวยการ การจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ “เรารักในหลวงรัชกาลที่ 10” โครงการ “เกษตรหนึ่งใจ จุดประกายให้เยาวชน” ณ วัดคุณพุ่ม วัดแห่งความกตัญญู บ้านหนองในดง ตำบลบางลาย อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ซึ่งงานดังกล่าวจัดโดย ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ และพันธมิตรจากหลายภาคส่วน ได้แก่ บริษัท อีทส์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่วยเมล็ดพันธุ์พืช ตราศรแดง ธนาคารออมสิน มากกว่าการธนาคาร ธนาคารเพื่อสังคม หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประชาชนในตำบลบางลาย จังหวัดพิจิตร กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ “เรารักในหลวงรัชกาลที่ 10” ดำเนินงาน ตามแนวทางพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ที่ทรงมุ่งมั่นสานต่อพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ให้เยาวชนได