ปลูกผัก
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้หลายๆ คน รายรับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เห็นได้จากสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่มีคนทำงานประจำใช้เวลาว่างหลังเลิกงาน มาประกอบอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ให้หลากหลาย ทำให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ไม่เกิดหนี้สิน นอกจากนี้ บางครัวเรือนมีการหาวิธีลดเรื่องค่าใช้จ่าย โดยปลูกพืชผักบริเวณบ้านหรือใช้พื้นที่เล็กน้อยที่มีอยู่ทำการเกษตร เพื่อให้มีผลผลิตที่นำมาประกอบอาหาร สามารถช่วยลดในเรื่องของค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งผลผลิตที่มีมากเกินไป นำมาขายเกิดเป็นรายได้เสริมอีกหนึ่งช่องทางด้วย คุณนุจรีย์ ทิพย์ประภาวงศ์ อยู่บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 1 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีแนวความคิดใช้พื้นที่บริเวณบ้านมาปลูกผักแบบอินทรีย์ โดยออกแบบให้แปลงผักมีความสวยงามประดับเหมือนเป็นไม้ประดับ จากที่ทำเพื่อไว้กินเองในครัวเรือน ต่อมาเมื่อผลผลิตมีมากขึ้นสามารถขายเกิดเป็นรายได้ให้กับเธอเป็นอย่างดี จากปัญหาสุขภาพ ทำให้ใส่ใจในเรื่องอาหาร คุณนุจรีย์ เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักทำเกี่ยวกับการเกษตรอยู่แล้ว โดยเน้นปลูกพืชผักสวนครัวที่มีการใช้ยาฆ่าแม
ช่วงนี้หลายๆ บ้าน นิยมปลูกผักสวนครัวไว้ทำอาหารเอง การปลูกผักสวนครัว นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย มีผักสะอาด ปลอดสารเคมีไว้กินเองแล้ว หากปลูกเป็นจำนวนมากและมีเหลือก็สามารถขายได้ด้วย ผักสวนครัวมีหลากหลายชนิด แต่วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะมาแนะนำผักสวนครัว อายุสั้น ที่ใช้เวลาปลูกไม่นาน ที่สามารถกินได้ภายใน 40 วัน สามารถนำเคล็ดลับไปปลูกตามกันได้เลย ง่ายนิดเดียว ☘️สะระแหน่ สะระแหน่เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีกับสภาพดินที่มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงสว่าง และชอบอากาศที่เย็น ดังนั้น แสงแดดที่ร้อนเกินไปจึงไม่เป็นผลดีต่อการปลูกมากนัก การปลูกในที่ร้อนจัดจึงโตไม่ดี การปลูกจะต้องอาศัยที่รำไร หรือกลางซาแรนช่วยพรางแสงและฝนให้ด้วย เพราะหากโดนฝนมากไปก็จะทำให้เกิดโรคเชื้อราและใบเน่าได้ สะระแหน่ไม่ชอบปุ๋ยเคมีเลย เจอเป็นยุบ โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยสูตรต่างๆ การขยายพันธุ์ : ใช้วิธีแยกไหล ชำก้าน ที่ยังไม่แก่จัด หรือยอดที่ไม่อ่อนมากนัก บางส่วนถ้าหาก้านที่เริ่มออกรากบ้างแล้ว ก็จะปลูกติดได้เร็วขึ้น หรือถ้าซื้อสะระแหน่มาจากตลาด สามารถชำกิ่งก้านเพื่อให้ออกรากเล็กน้อยได้ โดยเมื่อเด็ดยอดไปกินแล้ว ก้านที่เหล
กระแสความนิยมของผักสลัดยังดีต่อเนื่อง จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพกันมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกำลังมาแรง โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หาซื้อได้ง่าย จึงได้รับความนิยมทั้งในหมู่ผู้บริโภคและในหมู่นักปลูก เพราะผักสลัดเป็นพืชที่สร้างรายได้ดี ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่การปลูก ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง คุณสถาพร ทรงความดี หรือ คุณเต๋า เจ้าของฟาร์มคุณเต๋า เกษตรทรงดี อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี อดีตนักวิชาการสิ่งแวดล้อม หันหลังให้เมืองกรุง กลับมาพัฒนาบ้านเกิดปรับปรุงพื้นที่หลังบ้านทำแปลงปลูกผักสลัดสร้างรายได้ต่อเดือนไม่ธรรมดา คุณเต๋า เล่าให้ฟังว่า หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว ตอนนั้นแถวบ้านยังไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือปลูกผักสลัดกันมากนัก และค่อนข้างมีราคาสูง จึงเริ่มมีความสนใจอยากปลูกผักสลัดตั้งแต่ตอนนั้นมา ซึ่งจากคนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องการปลูกผักมาก่อน ก็มาเริ่มต้นศึกษาหาข้อมูลการปลูกผักตามอินเตอร์เน็ต และการออกไปอบรมนอกสถานที่ จนมั่
การปลูกผักเป็นกิจกรรมของครอบครัวที่ทำให้มีความสุขแม้ในพื้นที่อันน้อยนิดก็สามารถนำมาเป็นพื้นที่ปลูกผักได้ ดังที่เราได้นำเสนอเรื่องการปลูกผักในเมืองไว้หลายฉบับ ซึ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ไม่มากก็น้อย ฉบับนี้เรานำเสนอ คุณแจ่มศรี และ คุณอโนเชาว์ พจนาธารงพงศ์ ซึ่งเป็นชนเผ่าปกากะญอ จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งสองท่านจบปริญญาตรี ด้านบัญชีและด้านภาษาอังกฤษ ทำงานเป็นพนักงานอยู่ในหน่วยงานระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีเวลาว่างเพียงแค่เสาร์อาทิตย์ ก็เจียดเวลามาปลูกผักเพราะต้องการบริโภคผักปลอดสารพิษ ในบ้านจัดสรร 100 ตารางวา ที่แบ่งพื้นที่ 25 ตารางวา เป็นพื้นที่ปลูกผัก ในตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คุณแจ่มศรี เล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2560 เมื่อ 6 ปีที่แล้วเราสองคนซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ ได้ซื้อบ้านจัดสรรเล็กๆ หลังหนึ่งที่มีพื้นที่เล็กๆ ข้างบ้าน ประมาณ 50 ตารางวา ตั้งใจจะทำสนามหญ้าและสวนผักเล็กๆ โดยการเริ่มต้นจากการไม่มีงบประมาณเลย เพราะทุ่มไปกับการซื้อบ้านหมดเเล้ว เราจึงค่อยๆ ทำไปทีละน้อยเรื่อยๆ โดยไม่มีกฎเกณฑ์ ทำแบบตามใจฉัน ชอบแบบไหนก็ปลูกแบบนั้น เราตั้งใจ
เทคนิคการปลูกผักในกะละมัง 1. เริ่มจากการนำกะละมังมาเจาะรูเพื่อไว้สำหรับระบายน้ำให้ทั่วก้นกะละมัง ด้วยสว่านขนาด 3 หุน จำนวน 8 รู (โดยกะละมังที่นำมาปลูกผักมีขนาดความกว้าง 45 เซนติเมตร สูง 16 เซนติเมตร หาซื้อได้จากร้านขายพลาสติกทั่วไป) 2. การปรุงดินปลูก ประกอบไปด้วย 1. ดิน 2 ส่วน 2. แกลบ 1 ส่วน 3. ขี้วัว หรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน 4. ขุยมะพร้าว 1 ส่วน และ 5. ใบไผ่ 1 ส่วน นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วรดด้วยน้ำหมักจากเศษผัก ผลไม้ หมักทิ้งไว้ 7 วัน โดยให้ใช้ผ้าคลุมปิดไว้เพื่อไม่ให้ดินโดนแสงแดด ช่วยลดอุณหภูมิของส่วนผสมต่างๆ ให้ย่อยสลายได้ดีขึ้น 3. หลังจากหมักดินจนได้ที่ ให้นำดินมาใส่ในกะละมังที่เจาะรูเตรียมไว้ แล้วหยอดเมล็ดผักที่ต้องการลงปลูกได้เลย 4. อัตราการปลูกผักต่อ 1 กะละมัง หากเป็นผักสวนครัว อย่างเช่น ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ขึ้นฉ่าย ต้นหอม สามารถปลูกผักได้ประมาณ 11 หลุม หยอดหลุมละประมาณ 4 เมล็ด หรือดูที่อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ในแต่ละซองประกอบ ส่วนถ้าเป็นผักสลัด 1 กะละมัง สามารถปลูกได้ประมาณ 5 ต้น หรือ 5 หลุม ด้วยลำต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าผักสวนครัว ทำให้ปลูกได้ในจำนวนต้นที่น้อยกว่า การดูแลรด
หน้าร้อนทีไร หลายคนที่ปลูกผักต้องเจอปัญหา ดินแห้ง ใบไหม้ ผักเหี่ยวเฉา หรือบางครั้งก็โดนแมลงศัตรูพืชเล่นงานจนหมดแปลง อากาศร้อนจัดทำให้น้ำระเหยเร็ว ดินแข็งตัว และรากพืชดูดซึมสารอาหารได้ยากขึ้น แต่รู้ไหมว่า ถ้ารู้วิธีรับมือ ก็สามารถปลูกผักหน้าร้อนให้รอดและได้ผลผลิตดีเหมือนเดิม สภาพอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเพาะปลูกพืชผัก และก็เป็นสิ่งที่ยากในการควบคุม แต่เกษตรกรสามารถเตรียมตัวได้ดีโดยการศึกษาสภาพพื้นที่ที่ปลูกและทำความเข้าใจกับพืชผักที่เลือกปลูก เช่น พันธุ์ วิธีการปลูก การจัดการโรคและแมลง รวมไปถึงการดูแลหลังเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ผลผลิตเสียหาย ดังนั้น เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลของพืชที่ปลูกให้ละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปลูกพืชอะไรและทำไมต้องปลูก รวมถึงวิธีดูแลที่เหมาะสม เทคโนโลยีชาวบ้านรวบรวม 10 เคล็ดลับเด็ด ที่จะช่วยให้แปลงผักของคุณอยู่รอดปลอดภัยตลอดหน้าร้อนกันเลย จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย 1. เลือกปลูกผักที่ทนร้อน ไม่ใช่ผักทุกชนิดจะทนแดดจัดได้ดี เลือกปลูกพืชที่เหมาะกับฤดู ก็ลดความเสี่ยงไปได้เยอะ พืชเหล่านี้ทนร้อนดี ไม่เหี่ยวง่าย และให้ผลผลิตดีแม้อากาศจะแห้งแล้ง
ปัจจัย 4 ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย แต่ในยุคปัจจุบันนอกจากปัจจัย 4 แล้ว ความมั่นคงทางการเงิน กลายเป็นปัจจัย 5 เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยพยุงให้เราปลอดภัยและอยู่รอดได้ ด้วยสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ความมั่นคงทางการเงินสำคัญอย่างไร และทำให้กระจ่างว่าการมีรายได้จากช่องทางเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาหลายคนเริ่มตื่นตัวและต่อยอดสร้างรายได้เสริมกันเป็นจำนวนมาก หากใครกำลังมองหาช่องทางเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน ฉบับนี้เทคโนโลยีชาวบ้านขอแนะนำการปลูกผักสลัดในกล่องโฟมสร้างอาชีพเสริม ที่ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก หรือใช้เงินลงทุนที่สูง ก็สามารถทำได้ แถมสร้างรายได้ดีมากๆ อีกด้วย คุณวิพักตร์ อุดทา หรือ คุณก้อย เจ้าของฟาร์มฮัก ผักไฮโดร ตั้งอยู่ที่บ้านอีเลี่ยน ตำบลหนองขอนกว้าง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สาวแบงก์ปลูกผักสลัดในกล่องโฟมเป็นอาชีพเสริม ต้นทุนต่ำ ใช้พื้นที่ไม่มาก มีงานประจำก็ทำได้ ผลตอบแทนดี ยิ่งขยันยิ่งมีรายได้เพิ่ม คุณก้อย เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันตนเองทำงานเป็นพนักงานธนา
พื้นที่น้อยไม่ใช่ปัญหาในการปลูกผักอีกต่อไป ไม่ว่าจะมีพื้นที่เท่าไหร่ก็สามารถปลูกผักไว้รับประทานเองได้ แถมยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ผักที่ปลอดสารไว้รับประทานกันเอง แถมใช้งบน้อยในการลงทุนทำแปลงอีกด้วย วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน มีไอเดียทำแปลงผักไว้รับประทานเอง พื้นที่น้อยก็ปลูกได้ นั่นก็คือ “ปลูกผักยกแคร่” ดูแลง่าย และได้ผลผลิตที่ดีอีกด้วย การปลูกผักบนแคร่ช่วยให้ประหยัดน้ำและปุ๋ย หนีโรค วัชพืช และแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย ผักยกแคร่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อแก้ปัญหาทางเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่มักมีน้ำท่วมขัง จนทำให้เกิดความเสียหายทางการเกษตร การที่ปลูกผักยกแคร่ช่วยสร้างความสะดวกสบายในการปลูกมากขึ้น ลดการเกิดโรคพืชต่างๆ ที่มาจากการปลูกผักบนพื้นดิน อีกทั้งการปลูกผักยกแคร่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี ต้นทุนเริ่มต้น 900-1,200 บาท การทำแคร่ 1 ชั้น (ขนาด 1.2×2.4×1.0 เมตร) = 500-600 บาท – ไม้ไผ่ – ตาข่ายไนลอนรองพื้นที่ปลูก – วัสดุเกาะยึด (ตะปูหรือเชือก) วัสดุปลูก ประมาณ 20 บุ้งกี๋ และอุปกรณ์ให้น้ำ ประมาณ 300-400 บาท – หน้าดิน ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า – วัสดุคลุมดิน (ฟา
ผักบ้านๆ คู่ครัวไทย แถมยังเติบโตง่ายในสภาพอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ผักแต่ละชนิดต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน เพราะผักบางชนิดชอบแดด บางชนิดชอบน้ำ ทุกครั้งที่ปลูกไม่ว่าชนิดไหนเราจึงควรหมั่นดูแล เอาใจใส่ แล้วพืชที่ปลูกจะได้ผลผลิตที่ดี บ้านใครมีพื้นที่ปลูกพืชผักถือว่ามีทำเลทองอยู่ในบ้าน ได้ผักที่ปลอดสารไว้กินเองดีต่อสุขภาพ แถมยังสามารถต่อยอดด้วยการปลูกผักขายได้อีกด้วย เป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับวันหยุด ชวนครอบครัวมาปลูกผักไว้ทำอาหารกินเองกันดีกว่า มีพืชชนิดไหนที่ปลูกรอบบ้านกันบ้างไปดูกันเลย 🍀สะเดา 🪴วิธีการปลูก เป็นพืชปลูกง่าย ทนแล้ง ยิ่งแล้งยิ่งออกดอกดี การปลูกสามารถปลูกได้หลายวิธี จะปลูกแบบชำต้น พอต้นสมบูรณ์แล้วค่อยเอาลงดิน หรือปลูกแบบเสียบยอดก็ได้ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ให้ผลรับออกมาเหมือนกัน สะเดาจะผลัดใบช่วงสั้นๆ ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงออกดอก ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายพวงองุ่น สุกประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลสุกมีสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด 🌱การเพาะกล้าจากเมล็ดสะเดา การเก็บเมล็ดสะเดามาเพาะกล้า มีเคล็ดลับว่าเมล็ดสะเดาจะต้องแก่จัด โดยเมล็ดสะเดาจะร่วงช่วงเดือนเ
คนที่ชอบกินผลไม้ หรือใครมีที่ข้างบ้าน ข้างสวน อยากแนะนำปลูกผลไม้ 5 ชนิดนี้มีติดบ้านไม่อดตาย มีกินทั้งปี แถมยังขายเสริมรายได้ได้อีกด้วย หรือตอนนี้บ้านไหน มีผลไม้เหล่านี้อยู่บ้าง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยว่าปลูกแล้วเป็นยังไงกันบ้าง อีกอย่างไม้ผลบางชนิดอายุยืนมากๆ เหมาะกับสภาพอากาศแบบบ้านเรา และบางชนิดแตกหน่อออกผลผลิตได้เรื่อยๆ โดยไม่สนใจฤดูกาลให้ผลผลิตทั้งปี 🟡ส้มโอ ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น เคล็ดลับ : การใส่ปุ๋ย ในช่วงแรกปลูกไป 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้วัว ห