ปุ๋ยมูลไส้เดือน
คุณบลู หรือ คุณธามปริญ แจ้งวิจิตร์ เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เรียนจบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จากมหาวิทยาลัยพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ทำงานที่กรุงเทพฯ 3 เดือน รู้สึกว่าไม่ชอบไม่ถูกจริต จึงย้ายกลับบ้านเพื่ออยู่ใกล้ชิดกับ คุณปู่วรรณ ที่มีอายุมากถึง 107 ปีแล้ว และทำสวนเกษตรภายใต้ชื่อ “ สวนผักปู่วรรณ” คุณบลูทำเกษตร ชื่นชอบการทำเกษตร เพราะมองว่า เป็นอาชีพที่ยั่งยืน สามารถขยายไปได้เรื่อยๆอย่างไม่มีสิ้นสุด เช่น มะขามเทศที่มีอยู่ต้นเดียว แต่ก็สามารถขยายออกได้เป็น 10 เป็น 100 เป็น 1000 ได้ คุณบลูแบ่งพื้นที่ทำ “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” โดยกลุ่มไม้ใช้สอย เช่น ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์ สะเดา ไม้กินได้ เช่น พืชผักสวนครัว สมุนไพร ไม้ผล ส่วนไม้เศรษฐกิจ เช่น สัก พะยูง ยางนา ฯลฯ คุณบลูใช้พื้นที่บ้าน 144 ตารางวา สำหรับเลี้ยงสัตว์ปีกและปลูกผักสลัด ประเภทกรีนโอ๊ค เรดคอรอล บัตเตอร์เฮด เรดคอส ฯลฯและผักสวนครัวไว้รอบบ้าน ทั้ง ผักกาดขาว กระเพรา โหระพา พริก ตะไคร้ คะน้า ผักบุ้ง เพื่อเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน เมื่อการปลูกผักได้ปริมาณมาก จึงโพสต์ขายผ่านสื่อออน
“ไส้เดือน” สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรามักพบเห็นได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ตั้งแต่ในป่าใหญ่ไปจนถึงในสวนหลังบ้าน และแม้ว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะตัวเล็กแต่ประโยชน์นั้นกลับไม่ได้เล็กอย่างตัว เพราะไส้เดือนจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตจำพวกผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตจิ๋วเหล่านี้จึงมีความสามารถในการปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นดิน อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นดัชนีวัดความปนเปื้อนของสารพิษในดินได้อีกด้วย ไส้เดือน สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไส้เดือนที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์ ซึ่งจะมีความสามารถในการย่อยสารอินทรีย์ในดิน และขยายพันธุ์ด้วยความรวดเร็ว ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือ ไส้เดือนที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยใช้การขุดรู ไส้เดือนในกลุ่มนี้จะมีอายุอยู่ที่ราวๆ 4-10 ปี แต่หากนำไส้เดือนชนิดนี้มาเลี้ยงเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรจะมีอายุอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น แล้วประโยชน์ในภาคการเกษตรของไส้เดือนล่ะคืออะไร ? วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาทำความรู้จักสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วและประโยชน์อันหลากหลายของพวกเขาที่จะช่วยให้การทำการเกษตรนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ! กา
ปัจจุบัน เรื่องของสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมคือ การกำจัดขยะอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหาร เศษผักและผลไม้ เป็นต้น หากกำจัดไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น มลพิษทางน้ำและกลิ่น ปัญหาขยะล้นเมือง แหล่งเพาะเชื้อโรค แมลง ที่ส่งผลต่อมวลมนุษย์ วิธีการหนึ่งในการกำจัดขยะอินทรีย์คือ การใช้ไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะ ในทางตรงข้ามแล้ว ยังทำให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตรหลายชนิด ได้เป็นปุ๋ยไส้เดือนดิน และปุ๋ยน้ำหมักไส้เดือนดิน ครูพิศมัย ลิ้มสมวงศ์ อดีตข้าราชการครู โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการศึกษาด้านการเกษตรที่โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก หรือเกษตรบ้านกร่าง รุ่นที่ 8 ได้สอบบรรจุเป็นครูสอนในจังหวัดพิษณุโลกหลายปี ล่าสุดย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ที่เป็นถิ่นกำเนิดของตนเอง ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นครูเกษตรจึงได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นจึงสร้างเรือนโรงเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดเล็กๆ ภายในโ
คุณนิรัชพร ธรรมศิริ หรือ “ต่าย” สาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เล่าถึงตัวเองว่า “หนูเป็นเด็กบ้านนอก เกิดมาจากครอบครัวเกษตรกร พ่อแม่มีอาชีพทำนา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ที่อำเภอจุน พะเยา จำได้ว่าตอนเด็กซุกซนตามประสาคือไปขุดไส้เดือนมาตกปลาบ่อยมาก” เธอเว้นวรรคเล็กน้อย…“ต่อมาหลังเรียนจบออกจากบ้าน ได้ไปทำงานสารพัดจังหวัด (เธอบอกเช่นนี้จริงๆ ครับ) เป็นสาวโรงงานที่อยุธยา เป็นแม่ค้าข้าวมันไก่ที่สัตหีบ สุดท้ายทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่กำแพงเพชร ในเวลานี้” สุดยอดไหมครับ คุณนิรัชพร ธรรมศิริ สำหรับเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนนั้นเธอเล่าว่า คิดว่าเป็นความบังเอิญมากกว่า หลังจากที่ค้นหาจากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อดูเรื่องราวของการปลูกผักปลอดสารพิษ เพราะคิดว่าจะปลูกผักสำหรับไว้กินเอง เนื่องจากส่วนตัวชอบกินผักจิ้มน้ำพริก จนกระทั่งไปเจอวิธีการเลี้ยงไส้เดือน อ่านดูจึงรู้ว่าไส้เดือนเป็นสัตว์มหัศจรรย์มาก คือสามารถนำมูลของมันมาใช้ใส่ผัก ผลไม้ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างดีอีกด้วย ต่อมาจึงได้ศึกษาถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือน เธอคิดว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้โดยไม่ต้
“ไส้เดือน” สัตว์มหัศจรรย์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรีย์สารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินมีช่องว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนได้ สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาแรง ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ส่งผลทำให้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างเงินให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อย คุณศิวภรณ์ นภาวรานนท์ หรือ พี่แต้ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 53/5 หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี สาวนักเรียนนอก จบการศึกษาระดับปริญญาโท จาก University of La Verne ; California ; USA คณะ MBA บริหารธุรกิจ สาขาวิชา Supply chain management สู่วิถีชีวิตการเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไส้เดือน และปัจจัยพื้นฐานในการทำการเกษตร เช่น มูลไส้เดือนสด ดินพร้อมปลูก น้ำสกัดมูลไส้เดือน สร้างรายได้มากถึงหลักแสนต่อเดือน พี่แต้ เล่าถึงสาเหตุของการผันตัวเป็นเกษตรกรให้ฟังว่า เกิดขึ้นจ
ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ที่เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการกำจัดพวกแมลงศัตรูพืช หรือใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืชให้ผลิดอกออกผลมากขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหันมาร่วมรณรงค์งดการใช้สารเคมีขับไล่แมลง โดยเปลี่ยนมา ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน หรือการใช้สารสกัดหรือน้ำหมักจากพืชในการควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น น้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อน และช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรอีกด้วย หนุ่มวิศวะ ใจรักอาชีพเกษตร คุณศราวุธ มะลิชัย หนุ่มวิศวะอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีหัวใจรักการทำอาชีพการเกษตร เพราะเติบโตในครอบครัวเกษตรกร พ่อแม่และญาติๆ ทำอาชีพชาวนาและเกษตรกร หลังคุณศราวุธเรียนจบมาทำงานด้านวิศวะ รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ ในโรงงาน หรืองานบริษัท ไม่ใช่กิจการของคนไทย แต่หลอกเอาขยะมาทิ้งบ้านเรา คุณศราวุธ คิดว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้ สนใจเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพ ก่อนหน้านี้ คุณศราวุธ เคยลองผิดลองถูกในการเลี้ยงหนอนนก แต่ท้ายสุดก็ต้องเลิกทำ
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง ได้นำพันธุ์จากอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มาเลี้ยงในตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เนื่องจากพบว่าหมูดำพันธุ์นี้เลี้ยงง่าย กินง่าย ทนทานแข็งแรง ให้ลูกดก จึงทำให้ชาวบ้านที่เคยเลี้ยงกันจำนวน 5 คนเมื่อปี 2560 มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 41 ครัวเรือนในปี 2562 แม้คุณสมบัติหมูดำเหมยซานจากจีนจะมีข้อดีเรื่องลูกดก แต่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพทางธรรมชาติของชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้น จึงนำหมูดำเชียงใหม่มาผสมแล้วคัดพันธุ์เพื่อต้องการสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อมาก มีสีสวยตรงตามความต้องการของตลาด คุณคามิน คนึงคิด หรือ คุณเน หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง ที่ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้ข้อมูลว่า คุณสมบัติเด่นของหมูดำเหมยซานคือมีลูกดก เลี้ยงง่าย ตัวใหญ่ สามารถเลี้ยงโดยใช้อาหารทางธรรมชาติได้ ไม่ต้องฉีดยา ขณะเดียวกัน ยังนำอาหารเหลือจากการบริโภคมาเป็นอาหารหมู จึงช่วยกำจัดของเหลือในครัวเรือน เป็นการลดต้นทุนได้มาก สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง ได้ประโยชน์
คุณนิรัชพร ธรรมศิริ หรือ “ต่าย” สาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เล่าถึงตัวเองว่า “หนูเป็นเด็กบ้านนอก เกิดมาจากครอบครัวเกษตรกร พ่อ-แม่มีอาชีพทำนา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ที่อำเภอจุน พะเยา จำได้ว่าตอนเด็กซุกซนตามประสาคือไปขุดไส้เดือนมาตกปลาบ่อยมาก” เธอเว้นวรรคเล็กน้อย… “ต่อมาหลังเรียนจบออกจากบ้าน ได้ไปทำงานสารพัดจังหวัด (เธอบอกเช่นนี้จริงๆ ครับ) เป็นสาวโรงงานที่อยุธยา เป็นแม่ค้าข้าวมันไก่ที่สัตหีบ สุดท้ายทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่กำแพงเพชร ในเวลานี้” สุดยอดไหมครับ คุณนิรัชพร ธรรมศิริ สำหรับเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนนั้นเธอเล่าว่า คิดว่าเป็นความบังเอิญมากกว่า หลังจากที่ค้นหาจากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อดูเรื่องราวของการปลูกผักปลอดสารพิษ เพราะคิดว่าจะปลูกผักสำหรับไว้กินเอง เนื่องจากส่วนตัวชอบกินผักจิ้มน้ำพริก จนกระทั่งไปเจอวิธีการเลี้ยงไส้เดือน อ่านดูจึงรู้ว่าไส้เดือนเป็นสัตว์มหัศจรรย์มาก คือ สามารถนำมูลของมันมาใช้ใส่ผัก ผลไม้ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างดีอีกด้วย ต่อมาจึงได้ศึกษาถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือน เธอคิดว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้โดยไม่ต้องห
นักวิจัยและอาจารย์สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ดร.เอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุจยา ฤทธิศร และ คุณนันท์นภัส ศรโชติ บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด “จัดการขยะอินทรีย์แบบครบวงจรในตลาดไท ด้วยระบบผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน” โดยได้ทุนงานวิจัยสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ดร.เอื้องฟ้า เผยว่า ตลาดไทเป็นตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดเฉลี่ย 12,000 ตัน ต่อวัน สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรซึ่งจะถูกนำมาคัดเลือกและคัดแยกเอาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เน่าเสีย มีตำหนิออก ทำให้ตลาดไทมีขยะที่เป็นเศษผักและผลไม้กลายเป็นขยะเหลือทิ้งจำนวนมากประมาณ 120 ตัน ต่อวัน ซึ่งขยะเหล่านี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในพื้นที่ “ในการจัดขยะมูลฝอยที่แยกได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยที่เป็นสารอินทรีย์ สามารถใช้กระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์และการกินของสัตว์หน้าดินคือ ไส้เดือน ทำให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนซึ่งสามา
ที่ศาลาประชาคม หมู่ที่ 3 บ้านด่านโลด ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีการเปิดอบรมโครงการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนของรัฐบาล ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน จำนวน 60 คน จากจังหวัดพัทลุง ภูเก็ต ระนอง และจังหวัดตรัง คุณปารีณา ภคุโล เกษตรอำเภอตะโหมด กล่าวว่า โครงการ 9101 ของรัฐบาล ทางกลุ่มผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน เป็นโครงการของรัฐบาลที่มีค่าแรงตอบแทน และมีค่าวัตถุดิบ ทั้งนี้ รัฐบาลดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และหากโครงการดำเนินไปได้ดีมีความเข้มแข็ง เมื่อมีผลตอบรับที่ดีก็จะมีการลงทุนต่อยอดต่อไปได้ แล้วจะเป็นโครงการ 9102 ต่อไป ด้าน คุณสุชาติ สาเหล็ม กำนันตำบลแม่ขรี กล่าวว่า โครงการ 9101 ทางกลุ่มได้จัดตั้งจดทะเบียน เป็นกลุ่มปุ๋ยมูลไส้เดือน มีสมาชิก จำนวน 60 คน ด้วยงบประมาณ 60,000 บาท ซึ่งผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน สามารถต่อยอดในการทำเกษตรต่างๆ ได้ โดยสอดรับเหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำมาใช้เองและจำหน่าย ทั้งนี้จะดำเนินการให้เป็นศูนย์เรียนรู้อีกต่อไปด้วย “ปุ๋ยมูลไส้เดือน เป็นที่ต้องการของตลาดมาก โดยเฉ