พิษณุโลก
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงภาพรวมสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพิษณุโลกปี 2568 แหล่งผลิตอันดับ 1 ของภาคเหนือ ซึ่งเป็นสินค้า GI ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด โดยในปี 2567 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการขับเคลื่อนนโยบายสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง (1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตภาพการผลิตสินค้ามะม่วงน้ำดอกไม้ของจังหวัดพิษณุโลก สศท.2 เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรระดับภูมิภาค ในฐานะคณะทำงานจัดทำข้อมูลเอกภาพได้ร่วมบูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ในระดับภาค ครั้งที่ 1/2568 (ข้อมูล ณ 18 กุมภาพันธ์ 2568) พบว่า ปี 2568 จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ยืนต้น 54,151 ไร่ เนื้อที่ให้ผลรวม 53,194 ไร่ เท่ากับปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรไม่มีการปลูกใหม่ หรือโค่นทิ้ง ผลผลิตในฤดูรวม 47,609 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI และเป็นของฝากที่คนมาเยือนพิษณุโลกเมืองสองแควจะต้องซื้อ โดยเฉพาะการมานมัสการหลวงพ่อพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จึงนับได้ว่ากล้วยตากเป็น Signature ของจังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้ สศท.2 ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้ากล้วยน้ำว้า ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสมจังหวัดพิษณุโลก ตามโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) และจัดทำแนวทางพัฒนาสินค้ากล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่ จากกา
นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ห้อม” เป็นสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดแพร่ โดยจังหวัดได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน “ห้อมแพร่สู่ห้อมโลก” จึงมีแนวทางในการดำเนินการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านส่งเสริมการปลูก ด้านการผลิตและแปรรูป ด้านการตลาด และด้านการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ห้อมแพร่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศภายในปี 2567 ปัจจุบันจังหวัดแพร่เป็นแหล่งผลิตห้อมที่สำคัญอันดับ 1 ของภาคเหนือ เนื่องจากห้อมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ปลูกที่มีอากาศหนาวเย็น ความชื้นสูง แสงรำไร และใกล้แหล่งน้ำ สำหรับห้อมเป็นพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมผ้าหม้อห้อม โดยย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งไม่ทำให้เกิดผู้สวมใส่เกิดอาการแพ้โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ และเมื่อนำห้อมเปียกมาย้อมเป็นผ้าจะมีกลิ่นหอม สีเป็นสีธรรมชาติ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้ ห้อมยังเป็นสมุนไพร ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบรรเทาไข้ได้ด้วย ด้านสถานการณ์ผลิตห้อมของจังหวัดแพร่ ปี 2564 พบว่า
ในบรรดาไม้ดอกไม้ประดับในตลาดบ้านเรา ชวนชม ถือว่าเป็นอีกพันธุ์ไม้ที่ยังมีกลุ่มผู้ชื่นชอบปลูกและมีการทำตลาดอย่างเหนียวแน่น ยิ่งปัจจุบันระบบขนส่งในบ้านเราได้มาตรฐานอย่างดี ทำให้ไม่ว่าจะลูกค้าจะอยู่ไกลเพียงใด ก็สามารถซื้อสินค้าประเภทต้นไม้ได้อย่างง่ายดาย โดยที่สินค้าไม่เสียหายและสามารถนำไปปลูกต่อได้อย่างสวยงาม จึงทำให้เกษตรกรหลายท่านในไม่กี่ปีให้หลังมานี้ เน้นการทำตลาดออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย คุณไกรศร เจิมจุ้ย อยู่บ้านเลขที่ 305 หมู่ที่ 12 ตำบลบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ทำสวนชวนชมโดยทำเป็นอาชีพเสริม โดยเน้นทำการตลาดแบบออนไลน์ที่ปัจจุบันนับว่าเป็นช่องทางการจำหน่ายได้ดี ทำให้เขาสามารถสร้างรายได้ที่ควบคู่ไปกับงานประจำได้อย่างลงตัว คุณไกรศร เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักทำงานประจำ เป็นพนักงานบริษัทแบบคนทั่วไป ด้วยความที่เป็นคนชอบไม้ดอกไม้ประดับ เวลาเจอหนังสือทางการเกษตร ก็จะหาซื้อหาอ่านอยู่เสมอ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจว่าจะต้องปลูกอย่างจริงจัง ต่อมาเกิดความหลงใหลในชวนชม เพราะมีลูกเล่นได้หลายอย่าง ทั้งการจัดรากและสีดอกที่สด จึงทำให้หาซื้อต้นชวนชมเข้ามาปลูก เริ่มแรกจำนวน 2 ต้น จากนั้นก็พัฒนาการป
อำเภอเนินมะปราง ขึ้นชื่อในเรื่องพื้นที่การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกอันดับต้นของประเทศ มีเกษตรกรที่เก่งและมีความสามารถ การส่งเสริมเยาวชนในพื้นที่ให้มีความรู้และรักเกษตรก็ไม่น้อยหน้า ดังเช่นโรงเรียนวัดบ้านมุง ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก แห่งนี้ มีนักเรียนเกือบ 300 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และที่ไม่เหมือนใคร คือ มีสระว่ายน้ำ สอนว่ายน้ำให้กับเด็กนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการช่วยเหลือตนเองหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของโรงเรียนและเป็นความโชคดีที่มีหน่วยงานเห็นความสำคัญ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งสิ้น 22 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรแบ่งไว้ราว 5 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 3 ไร่ ของพื้นที่เกษตรปรับเป็นสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 สำหรับอนุรักษ์ไม้ไทยต่างๆ เช่น ประดู่ มะค่า ตะเคียน เป็นต้น แต่ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กมีใจรักป่า ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยหลัก ทั้งยังเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาพื้นที่ป่าเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้อีกด้วย โรงเรียนวัดบ้านมุง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษ
นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก มอบหมายให้ นายทรงยศ ไชยมงคล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจุดรวบรวมรับซื้อผลผลิตมะม่วงของสหกรณ์นิคมวังทอง จำกัด และตรวจเยี่ยมแปลงมะม่วงของสมาชิกสหกรณ์ ตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรค COVID -19 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ สหกรณ์นิคมวังทอง จำกัด อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกมะม่วงที่กำลังประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตจำนวนมาก ขาดตลาดรับซื้อ รวมถึงไม่สามารถส่งออกได้ ผลผลิตล้นตลาด เป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินการประสานงานเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ทั่วประเทศ ที่มีความต้องการสั่งซื้อผลผลิตมะม่วงไปบริโภคเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีสหกรณ์นิคมวังทอง จำกัด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการรวบรวมรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรสมาชิกจา
จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 6,759,909 ไร่ แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน ครัวเรือนเกษตรของจังหวัดพิษณุโลก มีจำนวน 101,314 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 29 ของครัวเรือนประชากรทั้งจังหวัด โดยอำเภอชาติตระการ มีสัดส่วนครัวเรือนเกษตรกรต่อครัวเรือนประชากรอำเภอสูงสุดที่ร้อยละ 52 และอำเภอเมืองพิษณุโลก มีสัดส่วนครัวเรือนเกษตรกรต่อครัวเรือนประชากรของอำเภอต่ำสุดที่ร้อยละ 8 แต่หากพิจารณาถึงอำเภอที่มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด อยู่ที่อำเภอวังทอง มีครัวเรือนเกษตรกร 16,457 ครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.24 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งจังหวัด ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวนครัวเรือนเกษตรกร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัด แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย ข้าวนาปีและนาปรัง ที่อำเภอพรหมพิราม บางระกำ เมือง วังทอง และบางกระทุ่ม อ้อยโรงงาน ที่อำเภอบางระกำ พรหมพิราม และบางกระทุ่ม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่อำเภอนครไทย วังทอง และชาติตระการ มะม่วง ที่อำเภอวังทอง เนินมะปราง และวัดโบสถ์ มันสำปะหลัง ที่อำเภอวัดโบสถ์ และวังทอง สับปะรด
นายคำรณ พวงมณี ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16, 17 เป็นประธานการประชุมมอบแนวทางการปฏิบัติงานและการติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนงานโครงการต่างๆ ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกาสะลอง ชั้น 3 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก นายคำรณ พวงมณี ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16, 17 กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เพื่อการขับเคลื่อนสหกรณ์ภาคการเกษตรให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ รวม 763 แห่ง โดยมี 3 แนวทางหลัก คือ 1. การสร้างองค์กรให้เข้มแข็งเพื่อให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน 2. การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและธุรกิจของสหกรณ์ โดยให้สหกรณ์เข้าไปมีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือสมาชิกเรื่องการพัฒนาอาชีพ การเพิ่มมูลค่า และการตลาดแบบครบวงจร เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับสมาชิกสหกรณ์ 3. การพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ให้มีองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อพั
รองอธิบกรมป่าไม้ สั่งตรวจสอบที่ดินโครงการสวนน้ำทั้ง 57 แปลง “ภูขี้ไก่” ให้แปลภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลัง เพื่อใช้เป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนด ชี้ “พ.อ. พงษ์เพชร” คงน้อยใจหลังเห็นงานไม่คืบ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึงความคืบหน้าการเพิกถอนโฉนดที่ดิน 57 แปลง บริเวณภูขี้ไก่ ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ หลังจาก หน.ชป.กอ.รมน.ตัดพ้อถึงขั้นตอนมีความล่าช้าและวิงวอนให้หน่วยงานเกี่ยวข้องมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาว่า ขณะนี้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามใกล้ชิดและสั่งการชัดเจน ให้ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่าสนับสนุนการทำงานของ พันเอกพงษ์เพชร เกษสุภะ หน.ชป.ศปป.4 กอ.รมน. ซึ่งพันเอกพงษ์เพชร ก็อยู่ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่าอยู่แล้ว หมายถึงว่าหลังจากที่ไปตรวจแล้วคงไม่คืบหน้าก็เลยเกิดอาการน้อยใจ จึงดูเหมือนว่าหน่วยงานของรัฐเองก็ยังน้อยใจ ซึ่งความจริงคงไม่ใช่ แต่อาจจะเป็นเรื่องของความตั้งใจทำงาน ซึ่งพันเอกพงษ์เพชร ที่มีความตั้งใจทำงาน และบางทีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจก็เกิดความน้อยใจ ก็ไม่มีปัญหา เราได้ช่วยกัน
เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก จัดประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนา ปี 2560/61 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนา เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้มีรายได้ที่มั่นคง จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สลับกับการทำนา โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก และสมาชิกสหกรณ์ 200 คน เข้าร่วมประชุม ณ สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่ตลาดต้องการและให้ผลตอบแทนสูง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำ ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชทางเลือกที่ใช้น้ำน้อย แนวโน้มตลาดมีความต้องการสูง โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับมอบนโยบายและกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลัง