พืชทำเงิน
“ จังหวัดชุมพร” นับเป็นเมืองหลวงของกาแฟโรบัสต้า เป็นแหล่งผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้า อันดับ 1 ของประเทศไทย เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกาแฟผสมผสานในสวนผลไม้ สร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่นมากกว่า 573.71 ล้านบาทต่อปี กาแฟพันธุ์โรบัสต้าของจังหวัดชุมพรที่ได้รับความนิยมมีหลายกลุ่ม เช่น กาแฟเขาทะลุ เอสที กาแฟชุมพร และกาแฟถ้ำสิงห์ เรียกว่า กาแฟโรบัสต้าชุมพรมีคุณภาพดี จนหลายคนต้องออกปากชม กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร ตำบลถ้ำสิงห์เริ่มต้นปลูกกาแฟโรบัสต้าตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 2532 ต้นกาแฟอายุเยอะ รัฐบาลในยุคนั้นมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกกาแฟ เกษตรกรจึงตัดต้นกาแฟทิ้งและหันมาปลูกทุเรียนเป็นพืชเชิงเดี่ยวมีการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นเกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง กระทบต่อสุขภาพเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรจึงรื้อฟื้นการปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าพร้อมนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาใช้เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต จากเดิมที่เก็บเมล็ดกาแฟสดโดยไม่ได้คัด และนำเมล็ดกาแฟมาตากแห้งบนพื้นปูน ที่ต้องใช้เวลานาน 20-25 วันทำให้เมล็ดกาแฟเน่า และมีรสเปรี้ยว กาแฟถ้ำสิงห์ เป็นผู้ผลิตกาแฟรายเเรกใ
ในยุคที่ใครหลายคนกำลังมองหาเส้นทางชีวิตใหม่ โดยเฉพาะการที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิด การมีเส้นทางอาชีพส่วนใหญ่การทำเกษตร จึงเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนเลือกที่จะลงมือทำ ซึ่ง คุณเอก-เป็นเอก ปาคำ ชายหนุ่มที่ทิ้งงานบริการและตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต ด้วยการโบกมือลางานประจำจากเมืองใหญ่ เพื่อกลับมาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรเต็มตัวกับพื้นที่เพียง 1 ไร่ แต่สามารถปั้นพื้นที่แห่งนี้จนกลายเป็นแหล่งปลูกผักกูดคุณภาพ ส่งขายทั้งยอดสดและกิ่งพันธุ์ผ่านตลาดออนไลน์ จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นความสำคัญของเกษตร คุณเอก เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเป็นพนักงานขับรถส่งผู้โดยสารทั่วไปอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์โควิดระบาด จึงได้กลับมาอยู่ที่บ้านเกิดจังหวัดแพร่ และได้รับจ้างกรีดยางในสวนของพี่สาว พร้อมทั้งได้ทดลองปลูกกล้วยเพื่อจำหน่ายหน่อพันธุ์ ในระหว่างนั้นเห็นช่องว่างในพื้นที่ดงกล้วยว่าสามารถปลูกพืชแซมได้ จึงได้ตัดสินใจนำผักกูดเข้ามาทดลองปลูกจนประสบผลสำเร็จ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จึงได้นำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ จนประสบผลสำเร็จเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน “
ประเทศไทย มีศักยภาพในการผลิตไม้ดอกเมืองร้อน เพราะสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร นอกจากนี้ ไม้ดอกเมืองร้อนมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง สามารถสลับสับเปลี่ยนให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ที่สำคัญลงทุนปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้ตลอด หากใครยังมีพื้นที่ว่าง อยากชวนมาปลูกไม้ตัดดอกเมืองร้อนขายทำเงินกันดีกว่า “ไม้ตัดดอกเมืองร้อน” มีหลากสีสัน สวยงาม โดดเด่น ได้แก่ เฮลิโคเนีย (ธรรมรักษา) ขิงแดง ขิงชมพู กล้วยประดับ ดาหลา งาช้าง ลิ้นมังกร ดอกกะทือ ฯลฯ ที่ปลูกง่ายขายดี เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและส่งออก ยืนยันโดย คุณประเสริฐ ลมพัด ประธานกลุ่มไม้ตัดดอกเขตร้อนกาญจนบุรี ตำบลท่าคร้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ที่ยึดอาชีพปลูกไม้ตัดดอกมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เฮลิโคเนีย สินค้าขายดี เฮลิโคเนีย เป็นสินค้าที่ขายดีมาตลอด เพราะมีดอกสุดสวย หลากหลายสีสัน มีทั้งชนิดดอกเล็ก ดอกใหญ่ ช่อตั้ง ช่อห้อย ที่ผ่านมามีการนำเข้าสายพันธุ์เฮลิโคเนียจากต่างประเทศเข้ามาปลูกในเมืองไทยจำนวนมาก โดยขนาดดอกเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ส่วนดอกขนาดใหญ่ทั้งช่อตั้งและช่อห้อยย้อย นิยมปลูกเชิงการค้าในลักษณะไม้ตัดดอก ไม้ตัดดอ
“ต้นขาไก่” เป็นพืชพื้นถิ่นของทางภาคใต้ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะมีคลอโรฟิลล์สูง ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงสายตา และบำรุงโลหิต ปัจจุบันต้นขาไก่เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่เกษตรกรนิยมปลูกแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้ทั่วไป เพราะมีรสชาติอร่อย ปลูกไม่ยาก ที่สำคัญขายได้ราคาดีกว่าผักเหมียง โดยธรรมชาติ “ ต้นขาไก่” มีลักษณะทรงพุ่มคล้ายต้นผักเหมียง ใบเหมือนกุหลาบ ชอบที่ร่ม ไม่ทนแล้ง ชอบน้ำ ถ้าไม่มีน้ำจะเฉาตาย ในการตัดแต่งนั้นไม่ควรให้สูงเกิน 1.20-1.50 เมตร เพราะจะได้ตัดยอดตัดใบอ่อนได้ง่าย ปลูกดูแลไม่ยาก เกษตรกรสามารถขุดหลุมปลูกลึกแค่ 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม ปลูกต้นขาไก่ในระยะห่างกันประมาณ 2 เมตร คอยสังเกตว่า หากช่วงไหน ต้นขาไก่ออกใบ ออกช่อช้าหรือใบเล็กลง ก็ควรใส่ปุ๋ยเข้าไปบำรุงต้นทุกๆ 2-3 เดือน รดน้ำเป็นประจำ อย่าให้ต้นขาดน้ำ เพราะต้องใช้ในการสร้างใบ หากปลูกต้นขาไก่แซมในสวนยางพารา หากสวนยางแห่งใดมีปัญหาเชื้อราใบร่วง จะส่งผลกระทบทำให้ต้นขาไก่ไม่แตกยอดได้ การขยายพันธุ์ ต้นขาไก่สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง และการเพาะชำ แต่วิธีการตอนกิ่งจะให้ผลดีกว่า 100% เพราะได้กิ่งพั
เก๊กฮวย หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งรวมๆ กันว่า เบญจมาศสวน หรือเบญจมาศหนู ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น หรือพื้นที่ที่อุณหภูมิในช่วงกลางคืนต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า พื้นที่ใดที่เคยปลูกเบญจมาศได้ ก็ปลูกเก๊กฮวยได้เช่นกัน เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ เคยนำเสนอ เรื่องราวการปลูกเก๊กฮวยอินทรีย์ไปเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ตามลิ้งค์ข่าว https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_51247 ล่าสุด ได้อัพเดท ข้อมูลกับ คุณอดิศักดิ์ การพึ่งตน หรือ คุณอ้น นักวิชาการเกษตร ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งคุณอ้นเล่าว่า ตอนนี้พื้นที่การปลูกเก๊กฮวยที่แม่โจ้ลดลง แต่ก็ยังมีแปลงปลูกอยู่ ส่วนต้นพันธุ์นั้นก็ยังมีจำหน่าย ในราคา ต้นละ 2 บาท (อายุต้นพันธุ์ 1 เดือน สูง 20 เซนติเมตร) คุณอดิศักดิ์ การพึ่งตน คุณอ้น กล่าวว่า เมื่อเทียบการปลูกเบญจมาศ กับการปลูกเก๊กฮวยนั้น การปลูกเก๊กวยดูแลง่ายกว่า เพราะเบญจมาศเป็นไม้ตัดดอก ฟอร์มดอก ก้าน ใบ ต้องสวย ส่วนเก๊กฮวย เก็บแค่ดอก ถ้าไม่มีหนอน ก็ใช้ได้แล้ว ดอกสมบูรณ์ดีมาก ส่วนราคารับซื้อดอกสดหน้าสวน กิโลกรัมละ 50 บาท และดอกแห้งที่อบแล้ว กิโลกรัมละ 1,5
หนึ่งชีวิตของมนุษย์เรามีเวลาสั้นเหลือเกิน อย่าพยายามมีชีวิตอยู่แบบสิ้นหวัง ท้อแท้ หรือเพื่อรอว่าเมื่อไหร่หนอจะได้รับโชคจากสิ่งที่มองไม่เห็นว่าจะสามารถประทานมาให้ หรือเพียงรอกำลังใจจากใคร จะต้องให้รออีกนานสักแค่ไหนกันเล่า เพราะเวลาไม่มีวันหวนกลับมาอีกและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่นั้นจะค่อยๆ หมดไปทุกวินาทีที่รอคอย คิดเสียใหม่นะครับ อย่ามัวช้ากันนะครับ ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มได้ที่ตัวเราทั้งสิ้น หากต้องการก้าวเดินบนเส้นทางที่สามารถ เดินห่าง…จากความจน ให้ได้ชนิดสมบูรณ์แบบ รีบสร้างกำลังใจให้กับตัวเองและอย่าลืมนำเอาความขยันและอดทนมาเป็นเพื่อนร่วมทาง ชีวิตที่เหลือย่อมมีโอกาสเสมอครับ ก่อนอื่น ขอสวัสดี และขอบพระคุณชนิดมากมายจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียน แฟนๆ ทั่วทุกภูมิภาคที่ให้การตอบรับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีแต่เรื่องราวของ ชะอมไม้เค็ด 2009 เป็นส่วนใหญ่ที่ส่งเสียงไปหา โทร. (081) 846-0652 หรือที่ทางเฟซบุ๊กของผู้เขียน นายสมยศ ศรีสุโร ที่มีอยู่ตลอดเวลา ทุกคำถามต้องมีคำตอบจากผมมานำเสนอให้แฟนๆ ได้รับทราบ เนื่องจากผมจะบันทึกไว้เสมอ สำหรับเพื่อไว้เป็นข้อมูลสำหรับแฟนๆ คนใหม่ที่จะได้ตัดสินใจใ
บุก เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ซึ่งฤดูแล้งส่วนต้นจะตายเหลือแต่หัวอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และทางใต้ไปถึงประเทศไทย อินโดจีน และฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมีพืชสกุลบุกอยู่ประมาณ 170 ชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาใช้ประโยชน์ ประเทศไทยมีบุกทั้งชนิดหัวกลมและหัวยาวอยู่ประมาณ 45 ชนิด ขึ้นอยู่ในสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่นำต้นอ่อนและช่อดอกมาปรุงเป็นอาหารตามฤดูกาล คุณวิทยา วนาสถิตย์ อดีตเกษตรอำเภอสบเมย ผู้ริเริ่มส่งเสริมการปลูกบุก หากเป็นเมื่อก่อน ต้องยอมรับเลยว่า “บุก” เป็นพืชที่มาจากป่าจริงๆ แม้กระทั่งปัจจุบัน “บุก” ก็ยังเป็นพืชที่มีชาวบ้านหรือเกษตรกรเข้าไปเก็บจากป่ามาขายเป็นรายได้ นับย้อนไปเมื่อ 4 ปีก่อน คุณวิทยา วนาสถิตย์ อดีตเกษตรอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เคยดำรงตำแหน่งเกษตรอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในคราวนั้นคุณวิทยารับทราบข้อมูลเรื่องการเข้าป่าขุดหัวบุกไปขาย โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้เคยหารือเรื่องการเข้าป่าหาของป่าไปขายของชาวบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียงที่มีมาก จากการที่มีบริษัทสัมปทานพื้นที่ป่าเพื่อให้ชาวบ้านเข้าไปขุด
เหนือสุดแดนสยาม ที่นึกได้ก็อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีด่านพรมแดนแม่สายเชื่อมต่อกับด่านพรมแดนท่าขี้เหล็ก แขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา และมีจุดเด่นที่ใครๆ หลายคนเมื่อขึ้นไปเที่ยวถึงจังหวัดเชียงราย ต้องแวะคือ ตลาดแม่สาย ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้เกิดพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นเชื่อว่า หากลงปลูกในดินแล้ว จะเจริญงอกงามได้ดีที่สุดคือ ที่บ้านสันทรายมูล หมู่ที่ 6 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพียงแห่งเดียว แม้จะขยับไปปลูกหมู่บ้านถัดไป ผลผลิตและการเจริญงอกงามที่ได้ ก็ไม่สวยงามเท่าบ้านสันทรายมูลแห่งนี้ ภาษาพื้นถิ่น เรียกกันว่า ว่านเศรษฐี หรือ ว่านกวนอิม แต่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อของ ไผ่กวนอิม ในพื้นที่บ้านสันทราย หมู่ที่ 6 ปลูกกันเป็นไม้ประดับเกือบทุกบ้าน บ้านละ 1-3 กอมานาน เสมือนเป็นไม้ในบ้านไปเสียแล้ว กระทั่งมีเกษตรกรหมู่บ้านใกล้เคียงมองเห็นความสวยของไผ่กวนอิม ตัดเอาไปส่งขายให้กับญาติที่ปากคลองตลาด ตลาดขายไม้ดอกไม้ประดับใหญ่ในกรุงเทพฯ ไผ่กวนอิมที่นี่ จึงเริ่มติดตลาด และเริ่มเป็นพืชที่สร้างเม็ดเงินให้กับชาวบ้านในพื้นที่ คุณณัชพล ตาวงค์ ประธานกลุ่ม
คุณเสาวณีย์ ขาวเสน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ข้อมูลว่า ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมทำสวนปาล์มน้ำมันจำนวนมาก และสวนยางพาราเป็นอีกพืชที่ทำกันมาอย่างยาวนานส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ต่อมาระยะหลังๆ เศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัวพืชผลทางการเกษตรบางชนิดมีราคาจำหน่ายได้ไม่ดีนัก จึงส่งผลให้ทางหน่วยงานในพื้นที่หาแนวทางการทำเกษตรแนวใหม่ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่มีการทำเกษตรที่ผสมผสานมากขึ้น เช่น การปลูกพืชแซมและปรับเปลี่ยนพื้นที่มาทำเกษตรให้หลากหลาย โดยไม่ปลูกพืชเชิงเดียวเหมือนในอดีตที่ผ่านมา “ทุกวันนี้เกษตรกรเริ่มมีการตื่นตัวกันมากขึ้น ในเรื่องของการทำเกษตรผสมผสาน โดยมาปลูกพืชแซมบ้าง เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การปลูกไม้ผลแซมสวนยางพารา และเกษตรกรบางรายก็จะค่อยๆ มีการปรับพื้นที่มาปลูกไม้ผล สามารถทำรายได้ค่อนข้างดี จากการปรับเปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมเรื่องการรวมกลุ่ม รวมการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ และสุดท้ายร่วมกันทำตลาด ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร สามารถทำเป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไปได้” คุณเสาวณีย์ กล่าว คุณธานินทร์ ใจ
บวบ นับเป็นพืชผักที่มีคุณประโยชน์สูง สายพันธุ์บวบที่เกษตรกรนิยมปลูกอย่างแพร่หลายคือ บวบเหลี่ยม บวบหอม นอกจากนี้ยังมีบวบอยู่พันธุ์หนึ่งซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลายนัก คือ บวบงู แค่ฟังชื่อ สาวๆ ที่กลัวงู อาจจะไม่ถูกชะตากับชื่อผักชนิดนี้สักเท่าไหร่ หากใครมีโอกาสลิ้มลองรสชาติของบวบงู เชื่อว่าร้อยทั้งร้อย คงต้องยอมซูฮกให้ เพราะผลอ่อนเอ๊าะๆ ของบวบงูมีรสชาติหวาน อร่อยมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้สารพัดเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูผัดกับ ไข่ หมู กุ้ง ต้มจิ้มกับน้ำพริกรสจัด หรือปรุงเป็นเมนูแกงส้ม แกงเลียง ก็อร่อยยอดเยี่ยมทุกเมนู นอกจากมีจุดเด่นในเรื่องรสชาติความอร่อยแล้ว บวบงู ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมสูงในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคอีสาน “ บุญทา ดวงอ้อย ” เกษตรกรผู้ปลูกบวบงู ที่บ้านทับพุง ต.หนองแสง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี เป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงได้ในเรื่องนี้ เพราะ 10 ปีที่ผ่าน บวบงู กลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำเงิน สร้างฐานะและความเป็นอยู่ของครอบครัวแห่งนี้ให้เติบโตอย่างมั่นคง บุญทา ยึดอาชีพปลูกผักมากกว่า 20 ปี เขาปลูกพืชผักตามกระแสความต้องการของตลาดเป็นหลั