มะม่วงแก้วขมิ้น
ผลผลิตมะม่วงในประเทศไทย กว่าร้อยละ 90 ใช้บริโภคในประเทศ มะม่วงที่ผลิตในประเทศจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือเพื่อการบริโภคผลดิบ เพื่อการบริโภคผลสุก และเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูป โรงงานแปรรูปมะม่วงที่ได้รับการรับรอง GMP และ HACCP จากกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศมีมากกว่า 30 แห่ง ทุกแห่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อมะม่วงทั้งสิ้น ทำให้ในแต่ละวันโรงงานเหล่านี้ มีเมล็ดมะม่วงเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปมะม่วงมีสูงถึงร้อยละ 40-50 เป็นเมล็ดมะม่วงถึงร้อยละ 20-60 ของส่วนเหลือทิ้งดังกล่าว คุณศุภมาศ กลิ่นขจร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลการเกษตร กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลผลิต กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การกำจัดส่วนเหลือทิ้งของมะม่วงที่ทำกันอยู่ คือการนำมาทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดโรคระบาดหนอนเจาะเมล็ดมะม่วง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูกักกันในหลายประเทศ ดังนั้น จึงต้องมีการกำจัดส่วนที่เหลือทิ้งของกระบวนการแปรรูปที่เหมาะสม หรือหาทางนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า คุณศุภม
“มะม่วง” นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ปลูกมะม่วง ประมาณ 40,659 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 33,785 ไร่ มีผลผลิตรวม ประมาณ 50,205 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,486 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยแหล่งปลูกมะม่วงมีอยู่มากในอำเภอเขาฉกรรจ์ วังน้ำเย็น วัฒนานคร อรัญประเทศ กิ่งวังสมบูรณ์ และอำเภอเมือง พันธุ์มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์แก้ว พิมเสน อกร่อง น้ำดอกไม้ เขียวเสวย โชคอนันต์ ฟ้าลั่น ชมรมชาวสวนจังหวัดสระแก้วได้ร่วมกันกำหนดราคาขายมะม่วงตามขนาดและคุณภาพ ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่มุ่งป้อนตลาดส่งออก ที่ผ่านมาอาชีพการทำสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร ไม่ต่ำกว่าไร่ละ 60,000-70,000 บาท ทีเดียว อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์ เจ้าของสวน คุ้มจันทวงษ์ และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเนินสูง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้กรุณาสละเวลาพาทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านไปสัมภาษณ์พิเศษ “คุณ พยอม สุขนิยม” ประธานชมรมชาวสวนจังหวัดสระแก้ว ณ บ้านเลขที่ 95 หมู่ที่ 9 ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โทร. 081-947-3058 ผู้เขียนขอขอบพระคุณ “อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์” มา ณ ที่นี้ ปรับตัวรับการเปลี
มะม่วงแก้วขมิ้น มีถิ่นกำเนิดจากประเทศกัมพูชา “มะม่วงแก้วขมิ้น” ถูกนำเข้ามาปลูกเพื่อเก็บผลผลิตและขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งจำหน่ายในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานแล้ว มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นมะม่วงที่ติดผลง่าย ติดผลดกตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้ติดผลนอกฤดูกาลเหมือนมะม่วงสายพันธุ์อื่นบางชนิด ปลูกมะม่วงให้ได้ผลผลิตดีที่สุดควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน มะม่วงที่ปลูกจะมีการเจริญเติบโตที่ดีมากกว่ามะม่วงที่ปลูกในฤดูแล้ง แต่ถ้าหากมีระบบการให้น้ำที่ดี ก็สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกฤดูกาล ต้นมะม่วงแก้วขมิ้นใช้ระยะเวลาในการปลูก 3 ปี ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ เป็นทรงพุ่มกลม มีกิ่งหลัก และกิ่งแขนงมาก เมื่อแลดูจนกระทั่งเป็นทรงพุ่มหนา เปลือกลำต้นก็จะแตกร่องเป็นแผ่นสะเก็ด และมีสีเปลือกลำต้นสีดำอมเทา ใบมะม่วงแก้วขมิ้น ออกเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบสีเขียว โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน มะม่วงแก้วขมิ้น มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ผลดิบหร
จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ทางการเกษตรรวมทั้งจังหวัด 343,601 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าว ไม้ผล และพืชผัก โดยอำเภอที่มีพื้นที่ทำการเกษตรมากที่สุดคือ อำเภอหนองเสือ ลาดหลุมแก้ว ลำลูกกา ตามลำดับ ปัจจุบันแม้กระแสความเจริญของสังคมเมืองโดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรรที่รุกเข้าสู่พื้นที่การเกษตรอย่างต่อเนื่อง แต่ “อำเภอลาดหลุมแก้ว” เป็นหนึ่งในทำเลทองทางการเกษตรของจังหวัดปทุมธานี ยังมีพื้นที่การเกษตรมากถึง 121,500 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวกว่าแสนไร่ รองลงมาเป็นสวนมะม่วง 793 ไร่ พืชผัก 453 ไร่ และสวนมะพร้าว 334 ไร่ คุณมาโนช ระรวยรส นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี โทร. 081-633-6189 กล่าวว่า ปัจจุบัน อำเภอลาดหลุมแก้ว ยังคงรักษาความเป็นเกษตรธรรมชาติได้อย่างดี ที่นี่ทำการเกษตรหลากหลายชนิด ทั้งนาข้าว ไม้ผล ไร่นาสวนผสม มีสวนกล้วยไม้แปลงใหญ่ เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพราะอยู่ใกล้ กทม. เส้นทางคมนาคมสะดวกสบาย ปัจจุบัน กรมพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนให้มีโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท็อป (OTOP) นวัตวิถี ตามโครงการ “ไทยนิยม ย
แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถปลูกและส่งออกมะม่วงได้มากมายหลายสิบชนิด แต่วันนี้กลับพบว่า ความต้องการบริโภค “มะม่วงแก้ว”เพิ่มขึ้นเท่าตัว และไทยยังผลิตมะม่วงแก้วนอกฤดูได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ นี่คือช่องว่างการตลาดที่ทำให้ “มะม่วงแก้วขมิ้น”จากกัมพูชารุกเข้ามายึดตลาดเมืองไทย สำหรับมะม่วงแก้วขมิ้น ปลูกมากที่ประเทศกัมพูชา เพราะสภาพดิน อากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นเหมาะสม จึงให้ผลดกมาก และยังมีรสชาติหวาน กรอบ อมเปรี้ยวน้อยกว่ามะม่วงแก้วของไทย ลักษณะเนื้อมาก ผลใหญ่ เนื้อมีสีเหลืองสวยงามเหมือนขมิ้น โดยเฉพาะตรงไส้จะเหลืองจัด จึงเป็นที่มาของชื่อมะม่วงแก้วขมิ้น หรือมะม่วงไส้ขมิ้น แต่มีชื่อเป็นทางการว่า “พันธุ์ละเมียด” ข้อมูลปี 2557 กัมพูชามีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 65,250 เฮกตาร์ หรือประมาณ 391,500 ไร่ ผลผลิตส่งขายไทย 30% และเวียดนาม เกาหลี จีน 70% ปลูกมากใน 8 จังหวัด คือ กัมปงสะปือ (ปลูกมากที่สุด 243,750 ไร่) กัมปงจาม กันดาล ตะแก้ว ตบูงขมุม เสียมเรียบ พระตะบอง และบันเตียเมียนเจย มะม่วงแก้วขมิ้นเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของกัมพูชา ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม-พฤษภาคม แต่เว้นระยะหมดรุ่นเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ นำโดย ดร.ธนภัท แสงอรุณ นักวิชาการพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำโดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ หัวหน้าคณะวิจัย ได้จัดประชุมความร่วมมือภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ เกษตรกรภาคตะวันออก 2 คือ ตราด จันทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ตาม “โครงการหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การค้าและประชารัฐเมืองคู่มิตรเพื่อธุรกิจสู่สากล (Strategic Partnership for Sister Cities)” ณ ห้องประชุมพราวมณี โรงแรมนิวแทรเวลลอร์ด จังหวัดจันทบุรี ดร.ธนภัท แสงอรุณ นักวิชาการพาณิชย์สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า เมื่อปี 2559 มีข้อตกลงในเวที CLMV Forum ร่วมกันเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การค้าผลไม้ระหว่างกลุ่มจังหวัดของไทย-เพื่อนบ้านลาว กัมพูชา พม่า ในส่วนของภาคตะวันออก 2 คือ มี จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้วที่มีชายแดนติดกัมพูชา ตาม “โครงการหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การค้าและปร
สนค.หนุนการค้าเมืองคู่มิตร นำร่องมะม่วงแก้วขมิ้นเพิ่มมูลค่า เชื่อมการค้าไทย-กัมพูชา ด้านชายแดนจันทบุรี-ตราดกับเพื่อนบ้านพระตะบอง ไพลิน สร้างโมเดลให้ท้องถิ่นขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ ผลักดันโรงงานแปรรูปไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งออก คาดใน 4 ปี มูลค่าเพิ่มเป็น 30,501 ล้านบาท ดร.ธนภัท แสงอรุณ นักวิชาการพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากเวที CLMV Forum เมื่อปี 2559 ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จ.จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ได้มีข้อตกลงในการพัฒนายุทธศาสตร์การค้าผลไม้ระหว่างกลุ่มจังหวัดของไทยกับ สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา ในโครงการหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การค้าและประชารัฐเมืองคู่มิตรเพื่อธุรกิจสู่สากล (Strategic Partnership for Sister Cities) ทั้งนี้ผู้ประกอบการ เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมร่วมกันและคัดเลือกมะม่วงแก้วขมิ้นเป็นผลไม้นำร่องในปี 2561 โดยพัฒนาตามแนวทางประชารัฐ คือ ท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อน ภาครัฐช่วยสนับสนุนทั้งไทยและกัมพูชา คาดระยะ 4 ปีเพิ่มมูลค่าได้ จากประมาณ 23,462 ล้านบาท เป็น 30,501 ล้านบาท รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวาน
ในปัจจุบันนี้ พื้นที่ปลูกมะม่วงเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้เกือบ 100% เนื่องจากเป็นมะม่วงที่มีการส่งออกมากที่สุด เริ่มจากส่งออกไปญี่ปุ่นประเทศเดียว ต่อมามีการขยายการส่งออกไปยังอีกหลายประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และบางประเทศในยุโรป สำหรับตลาดในประเทศไทยพฤติกรรมการบริโภคมะม่วงในตลาดเมืองใหญ่ๆ ที่มีกำลังซื้อสูงมะม่วงต่างประเทศที่มีขนาดผลใหญ่ รสชาติอร่อย ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับและขายได้ราคาดี อย่างเช่น “สวนคุณลี” อยู่ที่ ตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 886-7398, (056) 613-021 โดย “สวนคุณลี” นั้นเป็นสวนเปิดภาคเอกชนที่เปิดดำเนินการมานานกว่า 10 ปี เป็นสวนเปิดที่ให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมหาความรู้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด มีประสบการณ์การปลูกมะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศแปลกและหายากมานาน รวมถึงการผลิตมะม่วงนอกฤดู จากที่เคยปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง แต่ปรับเปลี่ยนเป็นมะม่วงทางเลือกสายพันธุ์จากต่างประเทศแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเรื่องราคาขาย ปัจจุบันมะม่วงแต่ละสายพันธุ์ที่สวนคุณลี เฉลี่ยขายได้ กิโลกรัมละ 50-200 บาท เล
คุณบริพัฒน์ ธัญอุดม อยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 6 ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ทำสวนมะม่วงมาเกือบ 30 ปี และประสบผลสำเร็จกับการปลูกมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ ต่อมาจึงได้ทำการทดลองนำมะม่วงแก้วขมิ้นมาทดลองปลูกภายในสวน ซึ่งเขามองว่ามะม่วงชนิดนี้มีจุดเด่นหลายอย่างที่สามารถตอบโจทย์ในอนาคต เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย ออกจากงานรับราชการ สู่ชีวิตเกษตรกรชาวสวน คุณบริพัฒน์ เล่าให้ฟังว่า เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงนั้นเขามีความคิดที่อยากจะทำสวน แต่คุณพ่อของเขาได้ทัดทานไว้เสียก่อน เพราะในสมัยก่อนนั้นยังมีความกังวลเรื่องราคาสินค้าเกษตรที่มีความไม่แน่นอน “หลังเรียนจบพ่อรีบบอกผมเลยว่า อย่าเพิ่งรีบมาทำเลยสวน ราคาผลผลิตยังไม่ดีมากนัก ทำมาเดี๋ยวก็ลำบากในเรื่องตลาด ท่านก็เลยบอกผมว่าให้ไปหางานแบบอื่นทำก่อน เพื่อสร้างประสบการณ์ ผมก็เลยไปรับราชการอยู่ที่กระทรวงเกษตรฯ และก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา พอกลับมาจึงมาทำงานใช้ทุนให้หมด พอได้อายุประมาณ 39 ปี ผมก็ได้ลาออกมา เพื่อเตรียมตัวทำในสิ่งที่อยากทำตามความฝัน” คุณบริพัฒน์ กล่า
ชื่อของ “กำปงสปือ” จังหวัดทางตะวันตกของพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา อาจเคยคุ้นหูคนไทยมาบ้าง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ไกลจากประเทศไทยนัก มีพื้นที่ติดกับ 2 จังหวัดที่มีชายแดนติดกับจังหวัดตราด ประเทศไทย คือ จังหวัดโพธิสัตว์และจังหวัดเกาะกง แต่สิ่งที่โดดเด่นขณะนี้ กำปงสปือกลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งปลูกมะม่วงแก้วขมิ้นมากที่สุดในกัมพูชาถึง 60% พื้นที่ปลูก 243,750 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 600,000-700,000 ตัน ส่งออกมาประเทศไทย 30% และเวียดนาม 70% ที่ผ่านมาเส้นทางการค้ามะม่วงแก้วขมิ้นจะผ่านเข้ามาประเทศไทยทางจังหวัดจันทบุรี แต่ภายหลังจากกรมวิชาการเกษตรได้ประกาศให้สามารถนำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นได้ตลอดชายแดนกัมพูชาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาทำให้มีการนำสินค้าผ่านจุดผ่านแดนอื่นๆอย่างคึกคักโดยเฉพาะจุดผ่านแดนถาวรด่านบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งติดกับจังหวัดเกาะกง ถูกหมายตาจากบรรดาผู้นำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นทั้งในจังหวัดตราดและที่อื่น ๆ มากขึ้น เนื่องจากเส้นทางนี้ขนส่งสะดวกสบายที่สุด เนื่องจากเป็นถนนลาดยางตลอดทางจากเกาะกงไปจนถึงกำปงสปือ เส้นทางลำเลียง 230 กม. ผู้สื่อข่าว