มังคุด
นางสาวนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปการจัดทำข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2568 (ข้อมูล ณ 2 เมษายน 2568) โดย สศท.6 และศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก.ประชุมร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคตะวันออก ติดตามสถานการณ์การออกดอกและติดผลของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด) สรุป ปี 2568 ปริมาณผลผลิตรวม ทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,298,482 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 999,211 ตัน (เพิ่มขึ้น 299,271 ตัน หรือร้อยละ 29.95) เนื่องจากปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและสภาพอากาศแปรปรวน ออกดอกติดผลน้อย ทำให้ปีนี้ได้พักต้นเพื่อสะสมอาหาร ต้นสมบูรณ์ พร้อมออกดอกติดผลได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับปีนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้การออกดอกและติดผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิดเพิ่มขึ้น สำหรับเนื้อที่ให้ผลของทุเรียนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 17 โดยเนื้อที่ให้ผลของทุเรียนเริ่มให้ผลผลิตในปี 2568 เป็นปีแรกเพิ่มขึ้น 72,908 ไร่ ถึงแม้บางพื้นที่ได้รับผลกระ
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การผลิตมังคุด ในพื้นที่จังหวัดระนอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับการคัดเลือกและผลักดันให้เป็นสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูงของจังหวัด เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและตลาดต่างประเทศมีความต้องการ ซึ่งจากข้อมูลของ สศก. (ณ วันที่ 26 กันยายน 2567) พบว่า ปี 2567 จังหวัดระนองมีพื้นที่ปลูกมังคุดรวม 14,040 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 8,955 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 653 กิโลกรัมต่อไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอกระบุรี และอำเภอละอุ่น ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2568 ผลผลิตมังคุดจะมีทิศทางที่ดี เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมังคุดในพื้นที่จังหวัดระนองพบว่า วิสาหกิจชุมชนไม้ผลคุณภาพเกษตรอินทรีย์ จปร. อำเภอกระบุรี เป็นกลุ่มวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จในการผลิตมังคุดตามมาตรฐาน GAP และผลักดันสู่การผลิตมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มดำเนินการรวมกลุ่มปี 2561 มี นายอำมรินท์ อุ๋ยสุวรรณ เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 387 ราย ผ่า
มูลไก่ถือเป็นปุ๋ยคอกที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน สำหรับนาข้าว และพืชผัก ผลไม้ทุกชนิด เมื่อนำสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติมาปรับใช้เป็นน้ำหมักชีวภาพมูลไก่ จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตเรื่องค่าปุ๋ยเคมีไปได้กว่า 70% 🔴ส่วนผสมการทำปุ๋ยน้ำหมักจุลินทรีย์ขี้ไก่ -ขี้ไก่ จำนวน 1 กระสอบ (30 กิโลกรัม) -น้ำเปล่า จำนวน 50 ลิตร -จุลินทรีย์อีเอ็มสูตรขยาย จำนวน 3 ลิตร -กากน้ำตาล จำนวน 1.5 ลิตร 🪴วิธีการ นำส่วนผสมทั้งหมด มารวมกัน คนให้เข้ากัน ปิดฝาตั้งไว้ในที่ร่ม นาน 15-30 วัน นำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรใช้ให้หมดภายในเวลา 1 เดือน 🍀สูตรขยายจุลินทรีย์อีเอ็ม -หัวเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็มแท้ของบริษัท เอ็มโร เอเชีย จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา -กากน้ำตาล -ขวดพลาสติกแบบฝาเกลียว 🪴ขั้นตอนการทำ 1. ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็ม 2 ช้อนโต๊ะ + กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน 2. บรรจุน้ำสะอาดใส่ในขวดพลาสติกเตรียมไว้ขวดละ 1 ลิตร 3. จากนั้นเทหัวเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็มที่ผสมกากน้ำตาลแล้ว ลงใส่ในขวดพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ แล้วเขย่าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม 7 วัน สามารถนำมาใช้ได้และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับจุลินทรีย์
นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล พร้อมด้วย นายเกรียงไกร กัลหะรัตน์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายณะที ไกรลพ และ นายสุนัน พงศ์ประยูร ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. ร่วมรับมอบมังคุดจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 7,000 กิโลกรัม ตามโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูดซับปริมาณผลผลิตในช่วงที่มีมังคุดออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและราคาตกต่ำ ซึ่งนอกจากได้ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน และสร้างขวัญกำลังใจเกษตรกรแล้ว ยังเป็นการกระจายผลผลิตคุณภาพดีจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาอีกด้วย ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะนำผลผลิตไปกระจายต่อกับพนักงานและหน่วยงานต่างๆ อาทิ โรงเรียน และชุนชนข้างเคียงสำนักงานใหญ่ ธ.ก.ส. บางเขน โดยมีพนักงาน ธ.ก.ส. เข้าร่วม ณ หน้าห้องโถงชั้น 2 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ นำร่อง ยกระดับและต่อยอด 5 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ สู่การผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงวางเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง นายสุบรรณ์ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า พื้นที่การเกษตรของจังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นเป็นหลัก สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรได้ขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อรวมกันผลิต รวมกันจำหน่าย ตามนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเดียว พื้นที่เดียวกัน รวมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่ มีสำนักงานเกษตรอำเภอเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการสวน การเก็บเกี่ยว การตลาด การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ขายผลผลิตที่มีคุณภาพให้ได้ราคาสูง จนถึงปัจจุบันจังหวัดชุมพรมีแปลงใหญ่ จำนวน 154 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่ลดลง เกษตรกรมีความรู้ ความชำนาญในการประกอบอาชีพมากขึ้นแล
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ บริเวณหน้าร้านค้าสวัสดิการ กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร มีการจัดโครงการกระจายมังคุดคุณภาพออกนอกแหล่งผลิต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานส่งมอบมังคุดให้แก่ผู้สั่งซื้อมังคุดที่ Pre order ล่วงหน้า ที่เดินทางมารับมังคุด และ นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมมอบมังคุดแก่ผู้บริโภคอีกด้วย ประเทศไทยส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สู่หลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่ามากกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี ด้วยมังคุดเป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์ทั้งรูปร่างของผลที่สวยงาม มีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค จนได้รับฉายาว่า “Queen of Fruits” ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมังคุดหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้เขตร้อน แหล่งผลิตผลไม้คุณภาพที่สำคัญ ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ในปี 2567 ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ผลไม้ภาคตะวันออก สำนักงานส่งเสริ
น.ส.นริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาพรวมไม้ผลภาคตะวันออก 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ปี 2567 (ข้อมูล ณ 4 เม.ย. 2567) ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ระยอง จันทบุรี ตราด ผลผลิตรวมจำนวน 1,114,070 ตัน เพิ่มขึ้น 6.48% หรือเพิ่มขึ้น 67,816 ตัน จากปี 2566 ที่มีจำนวน 1,046,254 ตัน โดย มังคุด เพิ่มขึ้นมากที่สุด 42% รองลงมา เงาะ เพิ่มขึ้น 8% ลองกอง เพิ่มขึ้น 3% และทุเรียน 1% ผลผลิตรวมของไม้ผลทั้ง 4 ชนิดเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศปีนี้มีความเหมาะสมต่อการออกดอกและติดผลของมังคุด เงาะ ลองกอง จากการได้พักต้นสะสมอาหาร ซึ่งปีที่ผ่านมาออกดอกติดผลน้อย ส่วนทุเรียนผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอัตราเนื้อที่ให้ผลทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการลดลงของผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ซึ่งเนื้อที่เริ่มให้ผลผลิตในปี 2567 ได้เป็นปีแรกเพิ่มขึ้นกว่า 38,000 ไร่ ทั้งนี้ ผลผลิตไม้ผลทั้ง 4 ชนิด จะออกมากที่สุดในเดือนพ.ค. 2567 คิดเป็น 51% ของผลผลิตทั้งหมด เนื่องจากในปีที่ผ่านมาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการออกดอกติดผลของไม้ผล จึงได้พักต้
เกษตรกรหลายคนอาจพบปัญหาหอยเชอรี่ และปูนาระบาดกัดกินทำลายต้นข้าวเสียหาย หอยเชอรี่เป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญมาก นอกจากจะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี โดยจะหมกตัวมีชีวิตอยู่ในพื้นนาได้นานตลอดฤดูแล้ง และยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันกำจัดอย่างต่อเนื่อง 🍀วัตถุดิบ เปลือกมังคุด 1 กิโลกรัม มะกรูด 1 กิโลกรัม น้ำเปล่า 🪴ขั้นตอนการทำ 1. หั่นมะกรูดทั้งหมดเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในภาชนะที่ต้องการใช้หมัก 2. เติมน้ำเปล่าให้พอท่วมมะกรูด ปิดฝา หมักทิ้งไว้ 7 วัน 3. หั่นเปลือกมังคุดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเติมน้ำเปล่าให้พอท่วม ปิดฝา หมักทิ้งไว้ 7 วัน 4. หลักจากแยกหมักทั้งมังคุดและมะกรูด ครบ 7 วันแล้ว ให้เททั้งน้ำหมักมะกรูด และน้ำหมักเปลือกมังคุดผสมกัน 5. คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ 💡การนำไปใช้ สูตรนี้ให้ใช้ทั้งกาก และน้ำที่หมัก โดยสาดหรือโยนในนาข้าวเป็นจุดๆ ในช่วงตอนเย็น ทุกๆ 5-7 วัน จะช่วยป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ และปูนาได้เป็นอย่างดี ✨เคล็ดลับ ถ้าเกษตรกรมีเวลามากพอ คุณนำพาอยากให้เกษตรกรเก็บหอยเชอรี่หรือปูนาที่ระบาดมารวมกันให้มากที่สุด จ
มังคุด หนึ่งในราชินีผลไม้ที่ขึ้นชื่อของไทย เป็นทั้งผลไม้และพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การบริโภคมังคุด มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง “กากใยจากเนื้อมังคุด” ช่วยในการขับถ่ายและให้วิตามิน เกลือแร่มากมาย ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เมื่อได้ลิ้มรสความอร่อยของเนื้อมังคุดแล้ว อย่าทิ้งเปลือกมังคุดให้เปล่าประโยชน์ เพราะเปลือกมังคุดมีสรรพคุณทางยามากมาย เปลือกมังคุด มีสารให้รสฝาด คือ แทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะ แมงโกสติน) แทนนิน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ ตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า เปลือกมังคุดมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจะใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผลและน้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งล้างแผลแทนการใช้ด่างทับทิม แล้วยังช่วยรักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย ทั้งนี้ บางคนอาจสงสัยอยู่นานแล้วว่า ผลไม้ต่างๆ มีหลายพันธุ์ เช่น “มะม่วง” มีพันธุ์เขียวเสวย อกร่อง และน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 “ทุเรียน” ก็มีกระดุม ชะนี และก้านยาว
กรมส่งเสริมการเกษตร ชูแปลงใหญ่มังคุดตำบลกะเฉด จังหวัดระยอง เป็นต้นแบบสวนมังคุด หลังเข้าสนับสนุน และชี้ให้เห็นการทำเกษตรปลอดภัย ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต จน 35 สมาชิก พื้นที่ปลูก 322 ไร่ ได้มาตรฐาน GAP ทั้งหมด พร้อมส่งออกต่างประเทศร้อยละ 70 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยอง พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่แปลงใหญ่มังคุดตำบลกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพื่อเยี่ยมชมกระบวนการผลิตมังคุดทั้งระบบที่มีการลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพการผลิต การบริหารจัดการที่ดี และเชื่อมโยงการตลาด จนสวนมังคุดของสมาชิกแปลงใหญ่ทั้ง 35 ราย พื้นที่ปลูกรวม 322 ไร่ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เกษตรจังหวัดระยอง กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรจังหวัดระยอง ได้สนับสนุนองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตมังคุดแก่สมาชิกแปลงใหญ่ทั้ง 35 ราย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน โดยเฉพาะการบำรุงรักษาดินและการให้ปุ๋ย โดยเน้นให้เกษตรกรให้ปุ๋ยในแปลงตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือให้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็น หรือให้พอดี ซึ